<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 

ความเป็นอิสระของศาลยุติธรรม..........

เตือนใจ เจริญพงษ์

วันนี้ได้รับบทความของ
....ท่านสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ว่าด้วยเรื่อง.....ความอิสระของศาลยุติธรรม
จึงนำมาฝากให้อ่านกันคะ
.................................................................................................

ศาล.....เป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย
ซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข
ทรงใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
................................................................................................. ศาลยุติธรรมมี.....อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่....คดีที่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของ
ศาลอื่น
ทั้งนี้ศาลยุติธรรมจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 คือต้องเป็นไปโดยยุติธรรม
ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย
และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
................................................................................................

อย่างไรก็ดี ..... การจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ให้เป็นไปโดยยุติธรรมได้นั้น
ผู้พิพากษาต้องมีอิสระเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นไป
โดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
และต้องไม่ถูกแทรกแซงการใช้อำนาจจากบุคคลหรือองค์กรใด
ซึ่งหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษานั้นมีการรับรองไว้ทั้งตามรัฐ
ธรรมนูญและกฎหมาย
................................................................................................

ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ
กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจของฝ่าย
บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการดุลและคานกัน
ทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถมีอำนาจในการให้คุณ
ให้โทษฝ่ายตุลาการได้ ในการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง
การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาจะ
ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
...............................................................................................
นอกจากนี้ผู้พิพากษาต้องมีความเป็นกลาง
และสามารถใช้ดุลพินิจในการมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยชอบด้วย
กฎหมายได้อย่างเหมาะสม
โดยพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายและพยาน
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
...............................................................................................
จากการรับรองหลักความเป็นอิสระของตุลาการ
เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเพื่ออำนวยความ
ยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างเต็มที่นี้เอง
................................................................................................
จึงเป็นหลักการสากลที่ว่าผู้พิพากษาได้รับความคุ้มกันจากการใช้
อำนาจตุลาการ (Judicial Immunity)
.................................................................................................
หลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการเป็นแนวคิดอันมีที่มาจาก
ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law โดยมีรากฐานมาจาก
แนวคิดของประเทศอังกฤษ ที่ว่า “the King can do no wrong”
ซึ่งมีหลักการในการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มครองแก่พระมหากษัตริย์
และ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
.................................................................................................
เช่น ...... ตุลาการ
เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางการเมืองและตาม
กฎหมายใด ๆ ไม่ว่าจะในฐานะส่วนพระองค์
หรือ ในฐานะประมุขของรัฐและไม่อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
................................................................................................
จากแนวคิดดังกล่าวนี้เอง
ต่อมาจึงได้มีการพัฒนามาเป็นหลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจ
ตุลาการ
เพราะผู้พิพากษาถือเป็นบุคคลที่ใช้อำนาจตุลาการภายใต้
พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มกันทางกฎหมายแก่ผู้พิพากษา
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาพิพากษาคดี
จากการถูกดำเนินคดีในการใช้อำนาจทางตุลาการซึ่งกระทำใน
พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาคดีได้อย่างเป็นธรรม
โดยไม่จำต้องกังวลถึงภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากการ
กระทำตามอำนาจหน้าที่ของตน
.............................................................................................. ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาจากการกระทำอันมิชอบด้วย
กฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำพิพากษา
.................................................................................................
สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา
ศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในคดี Randall v Brigham, 74 US
(7 Wall.) 523 (1868)
ได้เคยมีคำพิพากษาในกรณีผู้พิพากษามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ว่าความของทนายความ ทนายความผู้นั้นจึงฟ้องผู้พิพากษา
ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าทนายความไม่สามารถฟ้องผู้พิพากษาได้
เพราะผู้พิพากษาไม่ต้องรับผิดหากเป็นการใช้อำนาจทางตุลาการ
เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่
ชอบด้วยกฎหมาย
................................................................................................
แม้ผู้พิพากษาจะได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การใช้อำนาจดังกล่าวจะไม่มีขอบเขตจำกัด
หรือไม่สามารถตรวจสอบความชอบธรรมได้
ผู้พิพากษาจึงไม่อาจใช้อำนาจได้ตามความพอใจของตน
การตรวจสอบการใช้อำนาจทางตุลาการของผู้พิพากษาสามารถกระทำ
ได้หลายวิธี
เช่น การอุทธรณ์ ฎีกา
อันเป็นวิธีการตรวจสอบดุลพินิจในการรับฟ้องพยานหลักฐาน
และการทำคำพิพากษาโดยให้คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจคำพิพากษา
สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาต่อศาลสูง
ซึ่งได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้มีหน้าที่กลั่นกรองคำพิพากษาของศาลล่างอีกชั้นหนึ่ง
อันเป็นสิทธิของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณา
ความเป็นต้น
...............................................................................................
นอกจากหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการ
ตามลำดับชั้นศาลแล้ว
ผู้พิพากษาอาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการได้
หากผู้พิพากษาผู้นั้นได้กระทำความผิดวินัย
แต่องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องทางวินัยของผู้พิพากษานั้น
มีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจน
ในมาตรา 220
ว่าให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)
ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน
ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน
และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒ
ซึ่งวุฒิสภาเลือกจากบุคคลที่ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ศาลยุติธรรม 2 คน
................................................................................................
ก.ต. จึงมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบผู้พิพากษาทางวินัย
โดยการให้ความเห็นชอบในการเลื่อนตำแหน่ง
การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม
และการให้ความเห็นชอบดังกล่าวของ ก.ต.
ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถและพฤติกรรมทางจริยธรรมของ
บุคคลดังกล่าว
...............................................................................................
การได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการนั้น
มีขอบเขตจำกัด
ผู้พิพากษาจะได้รับความคุ้มครอง
ก็ต่อเมื่อได้กระทำภายในกรอบอำนาจหน้าที่ทางตุลาการ
ของตนเท่านั้น
เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริต
หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หากเป็นการกระทำนอกกรอบอำนาจหน้าที่
หรือเป็นการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้อง
กับการปฏิบัติหน้าที่
เช่น การเรียกรับสินบน ผู้พิพากษาย่อมต้องรับผิดในการ
กระทำของตนโดยอาจถูกดำเนินคดีอาญาได้
.................................................................................................
ดังนั้น...... ความอิสระและเป็นกลางของศาลยุติธรรม
เป็นหลักการสำคัญของสังคมประชาธิปไตย
ที่จะนำมาซึ่งความปลอดภัยและมั่นคงในสังคม
ทั้งยังเป็นการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนที่ให้สิทธิที่จะได้รับ
การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกด้วย
................................................................................................
......จบแล้วคะ ....เป็นความรู้ที่เป็นหลักการสำคัญและน่าสนใจมาก
....ตอนนี้ประชาชนเขามีคำถามเรื่อง 2-3 มาตรฐานกัน
แล้วต้องทำอย่างไรต่อคะ....




 

Create Date : 18 มกราคม 2553
3 comments
Last Update : 18 มกราคม 2553 8:55:48 น.
Counter : 2397 Pageviews.

 
 
 
 
ถูกต้อง

เสียงเค้าว่ากันพรรณนั้น จ๊ะ
 
 

โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:10:03:27 น.  

 
 
 
สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากที่แวะไปเยี่ยมกันนะคะ ยินดีที่ได้รู้จักกันนะคะ

อ่านบล๊อคแล้วได้ความรู้ดีจังค่ะ ดูท่าคุณจะทำงานเกี่ยวกับศาลแน่เลย
 
 

โดย: haiku วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:20:37:30 น.  

 
 
 
เป็นสิ่งที่ดีหากกระบวนการยุติธรรมทำหน้าที่ให้เหมาะสมดังที่ผ่านมาเมื่อหลายปีก่อนที่จะมีการทำปฏิวืติ
 
 

โดย: แสงทอง ประธรรมเต IP: 180.180.171.248 วันที่: 2 มีนาคม 2554 เวลา:11:25:02 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com