<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 ตุลาคม 2552
 

ร่าง กฎหมายโชห่วย ..กับการรอคอยของกลุ่มโชห่วย

   ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ....                 การรอคอยของกลุ่มโชห่วย

                                                                              เตือนใจ เจริญพงษ์

บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ทาง มติชนรายวัน 
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11548 

ตลอดหลายช่วงอายุของผู้คนในสังคมไทย
ต่างคุ้นเคยกับวิถีชีวิต ที่ผูกพันกับคำว่า ....“โชห่วย” เสมอมา
เนื่องจากเป็นทางเลือกทางเดียวที่บ้านทุกบ้าน และ ชุมชนส่วนใหญ่
ได้พึ่งพาซื้อหาข้าวของสินค้าจากร้านโชห่วยมาบริโภคและใช้กันในครัวเรือนเป็นกิจวัตร
.............................................................................................
โชห่วยจึงน่าจะเป็นอาชีพเก่าแก่อาชีพเดียว
ที่ผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งแบบดั้งเดิมเป็นคนไทยที่ยังเหลืออยู่
บัดนี้......ตำนานของโชห่วยกำลังจะเลือนหายไปจากความเป็นอยู่แบบไทยๆ
.............................................................................................
ปัจจุบันมีเรื่องของ “ModernTrade”
ที่เป็นการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่หลายยี่ห้อของต่างประเทศ ได้เข้ามาแทนที่ในประเทศไทยอย่างรวดเร็วตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของการแข่งขันทางเศรษฐกิจนั่นเอง
................................................................................................
จากการติดตามเรื่องนี้พบว่า
การขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง
มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ .....
.......คือขยายเข้าสู่ ชุมชน อำเภอ และต่างจังหวัดมากขึ้น
โดยปี พ.ศ.2544 มีจำนวนเพียง 1,800 สาขา
เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 สาขา ในปี พ.ศ.2549
และมีแนวโน้มจะขยายสาขาเพิ่มเป็น 5,700 สาขา
............................................................................................
สำหรับ....ส่วนแบ่งตลาดของ Modern Trade
ในตลาดค้าปลีกค้าส่งของประเทศ ได้เพิ่มอย่างรวดเร็ว
จากร้อยละ 25 -30 ของปี พ.ศ.2545 เป็นร้อยละ 50-60
ในปี พ.ศ.2550
ส่วนตัวเลขของปี 2551-52 จะเป็นอย่างไรคงคาดเดากันได้
..............................................................................................
ปรากฎการณ์ดังกล่าว.....ส่งผลกระทบต่อ....
กลุ่มคนไทยที่ประกอบอาชีพด้านการค้าปลีกค้าส่งแบบดั้งเดิมอย่างรุนแรง
แม้ว่าส่วนหนึ่งผู้บริโภคในบ้านเราพึงพอใจกันไปแล้ว
เพราะ.....สามารถซื้อสินค้าในราคาถูก
......มีลดแลกแจกแถม
......มีหลายสิ่งหลายให้เลือกอย่างครบวงจร
และตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกสบาย
............................................................................................
อย่างไรก็ตาม....เรื่องนี้ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่สำคัญของรัฐบาล
และ ผู้เกี่ยวข้อง...ต้องหันหน้าเข้าหากัน.
....และร่วมมือกัน
........เพื่อหาแนวทาง...และมาตรการในการแก้ไขอย่างรวดเร็ว
..........................................................................................
กล่าวคือ....
ให้...กลุ่มผู้ประกอบอาชีพค้าปลีกค้าส่งดั้งเดิม หรือโชห่วย
....สามารถอยู่ได้ ....
..........................................................................................
อีกทั้ง......ยังต้องรักษาบรรยากาศการลงทุนของนักลงทุน
.....จากต่างประเทศให้เป็นไปด้วยดีโดยตลอด ...
.............................................................................................
ปัญหานี้....รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้เริ่มแก้ไขมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543
และมี....การยกร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ. .... ระหว่างปลายปี 2543-2544 ......
............................................................................................
แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ แม้จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเท่าไรก็ตาม
.................................................................................................
ที่ผ่านมา....
การบริหารจัดการเรื่องนี้ทำได้
แค่...ให้...กระทรวงพาณิชย์...และ...หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.....ร่วมกันยกร่างกฎหมายฉบับนี้...
แล้ว...ให้ทำประชาพิจารณ์...กับ...ภาคประชาสังคมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
.............................................................................................
เส้นทางการทำงานเรื่องนี้....ยืดเยื้อถึงขนาด
มี....ตั๋วไป-กลับ
จาก.....กระทรวงพาณิชย์ ไปที่....คณะรัฐมนตรี
อยู่หลายเที่ยวนานกว่า 10 ปี
โดยให้เหตุผลว่า....
...ให้กระทรวงพาณิชย์...ไปปรับแก้บางมาตราให้เหมาะสม
และ...ทำประชาพิจารณ์กันต่อไป
หรือ...อาจสะดุดกับช่วงเวลาของการเลือกตั้ง
และ....เสถียรภาพทางการเมืองของไทย
.................................................................................................
ตลอดเวลาที่ผ่านมา...
กลุ่มชาวโชห่วยจำนวนมากของไทย
ตกอยู่ในสภาพ....ร่อแร่ และ...ต่างเฝ้ารอความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลอย่างใจจดใจจ่อ
................................................................................................
เพื่อให้การพัฒนากฎหมายของประเทศเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ .
..... พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ........
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ได้ใช้อำนาจตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 .... แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่มีการดำเนินการที่เป็นอิสระขึ้น เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 25 50
โดยให้มีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ศึกษาและเสนอแนะการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นเพื่ออนุวัติการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
.............................................................................................. ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ ได้แต่งตั้ง... คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการค้าที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น เพื่อพิจารณาสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง และ พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า ที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเป็นระบบ
...............................................................................................
นับแต่นั้นคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการค้าที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค มีผู้แทนของกระทรวงพาณิชย์ร่วมเป็นกรรมการด้วย ร่วมกับ สำนักงานกิจการยุติธรรม
.......ได้นำร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ. ....
ฉบับของกระทรวงพาณิชย์
ซึ่งเป็นร่างฉบับของรัฐบาลมาพิจารณาอย่างเร่งด่วน
.............................................................................................
อีกทั้ง.....ได้จัดให้มีการประชุมระดมความเห็นจากบรรดานักกฎหมาย นักวิชาการ กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก กลุ่มผู้ประกอบการค้าส่ง และภาคประชาสังคมในเรื่องเกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายฉบับนี้
และ........จัดให้รับฟังปัญหาเฉพาะกลุ่ม ได้แก่
.....กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่
......ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งแบบดั้งเดิม
.......ผู้ค้าและผู้ผลิต (supplier)
........และผู้บริโภคทั้ง ในกรุงเทพมหานคร
ส่วนภูมิภาค...ที่จังหวัดชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา เชียงใหม่ และประจวบคีรีขันธ์ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551- มีนาคม 2552 รวม 10 ครั้งทั่วประเทศ โดยมีผู้แทนของกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมทุกครั้ง
.............................................................................................................................. 
ทำให้รู้ถึงสภาพปัญหา ผลกระทบ และข้อเสียเปรียบทางการค้าของอาชีพคนไทยในประเทศ หลายประการ ได้แก่
..............................................................................................................................
1. พบว่าผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ได้มีการปรับเปลี่ยนประเภทและลดขนาดสาขา จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store) เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็ก เพื่อจำหน่ายสินค้าราคาถูก (Discount Convenience Store) เพื่อเข้าไปแข่งขันโดยตรงกับร้านค้าปลีกรายย่อยที่อยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม
................................................................................................................................ 
 2. พบว่าข้อได้เปรียบจากจำนวนสาขาและส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้นของผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ทำให้มีอำนาจต่อรองในการซื้อสินค้าจากผู้ผลิตสินค้าในราคาต่ำจากการซื้อสินค้าในปริมาณมาก มีการกำหนดเงื่อนไข ขอส่วนลด และการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้สามารถกำหนดราคาขายต่ำและทำการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการบริการที่ดี ขณะที่ร้านค้าปลีกรายย่อยไม่มีความสามารถและโอกาสในการพัฒนาตัวเอง เพื่อให้แข่งขันและอยู่รอดได้ นอกจากนี้ยังมีเสียงโอดโอยที่บ่งบอกว่ากลุ่มโชห่วยไปไม่ไหวแล้ว ดังนี้
..............................................................................................................................
- ผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกรายย่อยดั้งเดิมในชุมชนระดับอำเภอ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทั่วประเทศจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน ยอดขายลดลง บางรายลดลงมากกว่าร้อยละ ๕๐ และบางรายต้องเลิกกิจการจำนวนมาก
..............................................................................................................................
- การใช้กฎหมายผังเมืองและควบคุมอาคารยังไม่สามารถแก้ปัญหากลับทวีความรุนแรงมากขึ้น
.............................................................................................
 (ข้อมูลต่อไปนี้อ้างอิงจากเอกสารการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย 
ที่นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี)

“ ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ กระทรวงพาณิชย์ได้ยกร่างกฎหมายค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นก่อนโดยใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๔๖ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยได้มีการออกประกาศ กฎกระทรวงตามกฎหมายควบคุมอาคารกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารค้าปลีกค้าส่งในเขตผังเมืองรวม จำนวน ๑๔๕ ฉบับ ส่วนนอกเขตผังเมืองรวมได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเพื่อวางผังเมืองรวมและออกประกาศฯ ใน ๗๒ จังหวัด กำหนดพื้นที่การก่อสร้างอาคารค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่เกิน ๑,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป โดยมีผลบังคับใช้เป็นเวลา ๓ ปี
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๔๙ แม้ได้มีการใช้กฎหมายผังเมืองและควบคุมอาคารแล้วก็ตาม แต่ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ยังคงมีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีการปรับลดขนาดพื้นที่สาขาให้เล็กลง เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายผังเมืองและควบคุมอาคาร และกระจายเข้าไปในชุมชนระดับอำเภอทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เพื่อทำการแข่งขันโดยตรงกับร้านค้าปลีกรายย่อย “
.................................................................................................
ข้อเท็จจริง....เรื่องนี้ปรากฏว่า
.......ได้มีการเร่งการก่อสร้างในหลายพื้นที่
..........มีการร้องเรียนและชุมนุมประท้วงของร้านค้าปลีกรายย่อยอย่างกว้างขวางมากขึ้น
.........มีการรวมกลุ่มผู้ประท้วงกลุ่มใหม่ ใช้วิธีการที่รุนแรงมากขึ้น โดยใช้วิธีทั้งการชุมชุมประท้วง การปิดถนน
นอกจากนี้ ......ยังมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้ระงับการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่
..........และมีการเร่งรัดการออกกฎหมายค้าปลีกค้าส่ง
.............................................................................................................................    
3. สำหรับปัญหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งในส่วนของผู้ผลิตโดยผู้ผลิต (Supplier) และผู้ค้า
กำลังประสบปัญหาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรม การเรียกรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Entrance Fee) ที่ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเรียกเก็บอย่างไม่เป็นธรรม หรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสินค้าที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ได้ทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ หลังจากที่ได้วางจำหน่ายแล้ว โดยคุณภาพและปริมาณของสินค้านั้นไม่เปลี่ยนแปลงโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น การคืนสินค้าโดยไม่เป็นธรรม การบังคับให้ซื้อหรือให้จ่ายค่าบริการอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง อันเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนแก่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น การบังคับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายให้จ่ายค่าโฆษณาเพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งได้รับประโยชน์เป็นส่วนใหญ่อย่างไม่มีเหตุผล การผลิตสินค้าตราเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (House Brand หรือ Private Brand ) ที่มีรูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกับสินค้าของผู้ผลิต เป็นต้น
..................................................................................................................................
สถานการณ์โดยรวมของการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งและการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันของประเทศไทย
....ผู้เกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่า....
....... ควรจะมีกฎหมายควบคุมการขยายตัวของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และให้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง
.......ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้าที่เสรีเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม และอาจใช้กฎหมายที่มีใช้อยู่แล้ว ได้แก่
................................................................................................................................
-พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.๒๕๔๒
-พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.๒๕๔๐
-พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ แก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการทำสัญญาที่ถูกผู้ที่มีอำนาจต่อรองเหนือกว่าเอาเปรียบกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง มาพิจารณาก่อนด้วยวิธีบริหารจัดการหรือประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบที่ดี
-ให้มีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ. .... โดยเร็ว
...............................................................................................................................
....เพื่อให้เรื่องนี้มีความคืบหน้ายิ่งขึ้น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และสำนักงานกิจการยุติธรรม
จึงได้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะทางกฎหมายเกี่ยวกับร่างกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ....
...ต่อคณะรัฐมนตรี ว่า.....ควรสนับสนุนผลักดันร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว
และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม
รับไปพิจารณาต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่เสนอเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552นี้
................................................................................................................................ 
หลายฝ่ายสงสัย....?????.....ถึง....?????
ความล้าช้า.....ต่อการออกกฎหมายฉบับนี้ว่า
...ปัญหาอยู่ที่ไหนกันแน่ .
..อยู่ที่ฝ่ายบริหาร ...หรือ... อยู่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
...............................................................................................................................
จนเป็นเหตุ......
ให้มี...ช่องว่างในการตัดสินใจของ....นักการเมืองท้องถิ่น
.....ว่าเอื้อประโยชน์ให้ห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ตั้งในเขตเมือง
หรือชุมชนต่างๆมากมาย
..................................................................................................................................
ทั้งๆที่...เรามีนักอะไรต่อมิอะไรเคลื่อนไหวกันตลอด
มีการเรียกร้องเรื่องของสิทธิชุมชนกันขนานใหญ่
แต่มิอาจทัดทานได้
..............................................................................................................................
...... เห็นทีควร....
รณรงค์เรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้บริโภคของคนไทยแต่ละคน
ให้มีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา
และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขยายตัวของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ด้วยอย่างแท้จริง / จบ
.................................................................................................................................
....ข้อเขียนรื่องนี้
ได้เผยแพร่ลงใน....
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา
ผู้เขียนขอนำมาเผยแพร่ทาง bloggang.com ของ pantip อีกครั้ง
เพราะมีหลายท่านถามหากัน
...............................................................................................................................
และเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ได้เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ข่าววงในเล่าว่า...ท่านนายกสุดหล่อขวัญใจสาวๆ
..... ได้สอบถามเรื่องร่างกฎหมายโชห่วย...
กับ....รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์...ถึงความคืบหน้าว่าไปถึงไหนแล้ว

โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์..ชี้แจงว่ากำลังทำประชาพิจารณ์อยู่
................................................................................................................................
......ก็ต้องช่วยกันจดจำ วัน...เดือน...ปี....กันไว้ให้ดีนะคะ
เพราะไม่อยากเห็น...การ...จองตั๋วไป-กลับ...
ที่เป็นประวัติศาสตร์ของหลายรัฐบาลไทย
และเป็นเหตุผลเดียวกัน....แบบเก่าๆ แต่เหมือนกันอีกว่า......
...ให้กระทรวงพาณิชย์ไปปรับแก้กฎหมายบางมาตรา
แล้วประชาพิจารณ์กันอีกครา......
.................................................................................................................................








Create Date : 29 ตุลาคม 2552
Last Update : 18 พฤษภาคม 2558 18:23:06 น. 1 comments
Counter : 1708 Pageviews.  
 
 
 
 
ทุกวันนี้ก็พยายามซื้อของ จากร้่านโชว์ห่วยนี่ล่ะครับ
ไม่อยากให้หายไปจากสังคมไทย ถึงมันจะแพงกว่าร้านสมัยใหม่ทั่วไปก็เถอะ
 
 

โดย: 1234 IP: 61.7.167.240 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:12:36 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com