<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
18 กุมภาพันธ์ 2553
 

ความอิสระในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการ เป็นอย่างไร


เตือนใจ เจริญพงษ์

เรื่องการตีความของกฎบัตรกฎหมายบ้านเราขณะนี้
วุ่นจัง....อย่าว่าแต่ชาวบ้านเลย
บรรดาผู้เกี่ยวข้องแต่ละองค์กรหลักๆในกระบวนการยุติธรรม
ยังต้องออกโรงเปิดตำรากัน
................................................................................................
วันนี้ได้รับบทความ
เรื่อง "ความอิสระในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการ "
จาก...ท่านสราวุธ เบญจกุล
รองเลขาสำนักงานศาลยุติธรรม
น่าสนใจมาก และ เข้ากับกระแส
ที่.....บรรดาผู้พิพากษาออกมาเคลื่อนไหว !!!!!!! กันในวันนี้
...............................................................................................
อ่านและพิจารณากันดีๆนะคะ....
(เนื้อหาเยอะคะ คนเขียนblogก็เมื่อย ที่แน่ๆอ่านแล้วได้อาหารสมอง เพราะเป็นเนื้อๆล้วนๆคะ))
.................................................................................................

ระบบตุลาการ
..............เป็นศูนย์กลางของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ศาลมีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้เสียหาย
หรือ ผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหายของการละเมิดสิทธิ
ได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพและได้รับความคุ้มครอง
พร้อมทั้งนำตัวผู้กระทำการละเมิดสิทธิเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
................................................................................................
นอกจากนั้น
ศาล....ยังสร้างหลักประกันว่าทุกคนที่ต้องสงสัย
ว่ากระทำความผิดจะได้รับการพิจารณาคดี
อย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล
ฝ่ายตุลาการ....จึงมีความสำคัญ
ในการเป็นผู้ถ่วงดุลและคานอำนาจองค์กรของรัฐบาล
เพื่อให้มีหลักประกันว่ากฎหมายและการกระทำของฝ่ายบริหาร
ได้ดำเนินการสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล
และหลักนิติธรรม
.................................................................................................
การมีศาล.....ที่เป็นอิสระ
และทรงความเที่ยงธรรรมเป็นหัวใจของระบบตุลาการ
ที่เป็นหลักประกันของสิทธิมนุษยชน
อย่างสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างสมบูรณ์
.................................................................................................
รัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายของแต่ละประเทศ
จะต้องรับรองให้ตุลาการเป็นอิสระจากฝ่ายอื่นๆของรัฐอย่างแท้จริง
และจะต้องได้รับความคุ้มครองทั้งโดยกฎหมาย
และในทางปฎิบัติ
....จากการทำร้าย
..... การคุกคาม
..หรือประหัตประหารใดๆจากการทำหน้าที่วิชาชีพเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน
................................................................................................
ผู้พิพากษาต้องไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียในคดีใดๆ
และไม่มีความเห็นล่วงหน้าใดๆเกี่ยวกับคดีนั้นๆหรือเกี่ยวกับคู่กรณีคดี
ต่างๆ....จะต้องพิจารณาพิพากษาโดยอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง
โดยสอดคล้องกับกฎหมายและปราศจากข้อจำกัดใดๆ
.................................................................................................
ขณะเดียวกัน.
...องค์กร...หรือ...สถาบันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
จะต้องละเว้นการกดดัน
หรือโน้มน้าวผู้พิพากษาให้ตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง
และผู้พิพากษาก็มีหน้าที่ที่จะปฏิบัติตนให้ทรงความเที่ยงธรรม
................................................................................................

การทรงความเที่ยงธรรมของศาล
มีนัยว่าผู้พิพากษาต้องไม่คิดล่วงหน้า
เกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพิจารณา
และผู้พิพากษาต้องไม่ปฏิบัติไปในทางใดที่ส่งเสริมผลประโยชน์ของ
คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
.................................................................................................

การรักษาความเที่ยงธรรมของศาล
สามารถอธิบายได้ว่า....
เป็นการปราศจากอคติทั้งปวงต่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แม้ว่าความเป็นอิสระของตุลาการจะเป็นหลักประกันที่สำคัญ
ผู้พิพากษาจะต้องปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรม
คุณค่าเหล่านี้ถูกสะท้อนในหลักจริยธรรม
คือ ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม การมีคุณธรรม การประพฤติ
เหมาะสม คุณภาพ ความสามารถ และความหมั่นเพียร
................................................................................................. การปลดผู้พิพากษา..............
เนื่องจาก....การปฏิบัติของผู้พิพากษานั้น
มักจะอยู่บนพื้นฐานของหลักการเหล่านี้
................................................................................................

เป็นกฎทั่วไปว่า.......
ผู้พิพากษา...สามารถถูกปลดออกจากตำแหน่งได้
หากประพฤติผิดอย่างรุนแรง กระทำละเมิดทางวินัย
หรือกระทำผิดทางอาญา หรือไร้ความสามารถ
ซึ่งทำให้ผู้พิพากษาไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้
................................................................................................
การถูกปลดจากตำแหน่งนี้
.....ต้องกระทำโดยกระบวนการที่เป็นธรรมเท่านั้น
ผู้พิพากษา....ไม่สามารถถูกให้ออก
หรือ..ถูกลงโทษจากการกระทำผิดโดยสุจริต
จากการไม่เห็นด้วยกับการตีความกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง
ยิ่งไปกว่านั้น
.................................................................................................
ผู้พิพากษา.....ไม่ต้องรับผิดจากการถูกฟ้องร้องทางแพ่ง
ในความเสียหายที่คิดเป็นตัวเงินอันเกิดจากคำตัดสินของตนเองด้วย
...............................................................................................

ด้วยความแตกต่างทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
กระบวนการที่ใช้ในการปลดผู้พิพากษา
อาจแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม
การปลดจากตำแหน่งโดยวิธีการทางรัฐสภานั้น
เป็นที่ปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียมในบางสังคม
................................................................................................
ความเป็นอิสระ....
ในการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษา
เป็นหลักการสำคัญของการปกครอง
ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากลและนานาอารยประเทศ
โดย..........
สหประชาชาติได้ประกาศ......
หลักการพื้นฐานสหประชาชาติ
ว่าด้วยความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ
กำหนดเงื่อนไขพื้นฐานของความเป็นอิสระ
และหลักประกันความเป็นอิสระนั้น
ไว้ในหลักการแรกว่า..............
................................................................................................

“ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการจะต้องได้รับการรับประกันโดยรัฐและถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของรัฐ ทุกรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพและรักษาความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ”
...............................................................................................

ส่วนกฎบัตรสากลของผู้พิพากษา (Universal Charter of the Judge)
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้รับการรับรอง....
โดยผู้พิพากษาจากทุกภูมิภาคทั่วโลกได้บัญญัติไว้ว่า
................................................................................................
“ความเป็นอิสระของผู้พิพากษานั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ของความยุติธรรมภายใต้กฎหมายมันแยกขาดออกไปไม่ได้ ทุกสถาบันและทุกหน่วยที่มีอำนาจไม่ว่าจะในระดับชาติหรือในระดับนานาชาติจะต้องเคารพ คุ้มครอง และปกป้องความเป็นอิสระนั้น”
................................................................................................

รัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกฉบับ
ได้กำหนดหลักการที่สอดคล้องกับหลักสากลไว้
และในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550
มาตรา 197 บัญญัติว่า.................
................................................................................................

“การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย.......”
.................................................................................................

ตัวอย่างคดีที่น่าสนใจ
เกี่ยวกับความอิสระในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการ
................................................................................................

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ร.79/2546
................................................................................................
การที่พนักงานสอบสวนไม่จับกุมผู้ถูกกล่าวหา
และพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ถูกกล่าวหา
เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ้งอยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลยุติธรรม
ตามมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กรณีไม่ใช่การกระทำละเมิด
อันเกิดจากการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ
...............................................................................................

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ร.433/2545
.................................................................................................

ศาลยุติธรรมไม่ใช่หน่วยงานทางปกครอง
ตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ
เนื่องจากไม่ใช่หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย
ให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจกรรมทางปกครอง
แต่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 271
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และ ผู้พิพาษาศาลยุติธรรมไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ตามมาตรา 3 วรรคสอง (1) แห่ง พ.ร.บ. ข้างต้น
เนื่องจากเป็นข้าราชการที่มีอำนาจหน้าที่
ในลักษณะพิเศษแตกต่างจากข้าราชการอื่น
มีอำนาจอิสระ ในการใช้ดุลพินิจพิจารณาคดี
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และ กฎหมาย ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้ใด
โดยมีระบบตรวจสอบการพิจารณาพิพากษาศาลชั้นต้น
โดย ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา
ด้วยเหตุดังกล่าวการพิจาณาพิพากษาของผู้ถูกฟ้องคดี
ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นที่มาของการฟ้องคดีนี้ จึงไม่อยู่ในอำนาจของ
ศาลปกครองตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลปกครองฯ
................................................................................................

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ร. 242/2545
................................................................................................

การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
เป็นอำนาจของศาลตามรัฐธรรมนูญ
ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีอำนาจหน้าที่
ที่จะสั้งผู้พิพากษาหรือศาล รับหรือไม่รับฟ้องคดีได้
กรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิด
อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
หรือ จากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น
หรือละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล้าช้า
ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ
................................................................................................

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ร.137/2545
................................................................................................

แม้ผู้พิพากษาจะเป็นข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการอื่นๆ
แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีนั้น
ผู้พิพากษาจะมีอำนาจอิสระในการใช้ดุลพินิจ วินิจฉัย
ปัญหา ทั้ง ข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมาย
ภายใต้บังคับ แห่งรัฐธรรมนูญตามราชอาณาจักรไทย
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีระบบตรวจสอบ
โดยศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา ตามลำดับ
ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวนี้
ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ใด
ดังนั้น ผู้พิพากษา ........
จึงเป็นข้าราชการ ที่มีอำนาจหน้าที่ในลักษณะพิเศษ
แตกต่างจากข้าราชการอื่นๆ
และ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ"
ในส่วนศาลยุติรรมซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ตามมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงไม่ใช่หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง
หรือ ดำเนินทางปกครองตามความหมายของ
คำว่า "หน่วยงานทางปกครอง"
ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ
ดังนั้นคำฟ้องเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลจังหวัดภูเก็ต
และ ศาลอุทธรณ์ จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
................................................................................................

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ร.58/2545
...............................................................................................
การรับฟังข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของผู้ถูกฟ้องคดี
เป็นการใช้อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง
หรือดำเนินกิจกรรมในการออกกฎ
หรือ คำสั่งทางปกครอง
................................................................................................ นอกจากนี้
ศาลยุติธรรมไม่ใช่หน่วยงานทางปกครอง
และผู้ถูกฟ้องคดีก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ
หากผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการวินิจฉัยคดีของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ถูกต้อง
หรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ฟ้องคดีชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกา ได้
ตามขึ้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้
คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
...............................................................................................

หลักกฎหมาย และ คดีตัวอย่าง
ที่กล่าวมาข้างต้น....แสดงให้เห็นว่า
.....ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย
ต่างตระหนักถึง.....
การให้ความสำคัญ กับ ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ
จึงมีการวางหลักกฎหมายเพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติอย่างเคร่งครัด
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คนในสังคม
ว่าทุกคนมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม

.................................................................................................
ขอขอบพระคุณ....ท่านผู้เขียนบทความ
ผู้อ่านคงได้ข้อคิดที่เป็นความรู้.....มากโข
อย่ากระพริบตานะคะ !!!!!!!
.........ว่าเรื่องนี้จะมีข้อสรุปเป็นอย่างไร...............
...............................................................................................



























Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2553 15:25:38 น. 0 comments
Counter : 1181 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com