<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
10 ตุลาคม 2551
 

องค์กรเพื่อปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระ


เตือนใจ เจริญพงษ์

คิดว่า...หลายฝ่ายกำลังอยากเห็นการปฏิรูปกฎหมายของประเทศ อย่างเป็นระบบเสียที......อะไรๆ จะได้ดีขึ้นบ้าง
จึงขอนำความคืบหน้าการทำงานขององค์กรเพื่อปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระ ..... มาฝากคะ
...............................................................................................


กระบวนการออกกฎหมาย การพัฒนากฎหมาย และการบังคับใช้
กฎหมาย ในบ้านเมืองเราขณะนี้ ได้มีการขับเคลื่อนขนานใหญ่
...................................................................................................
.... ผลพวงความตื่นตัวเรื่องนี้ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลชุด พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ....ได้มีแนวคิดให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม รวมถึง องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เร่งปฏิรูปกฎหมายที่ใช้กันในประเทศทั้งหมด และ อำนวยการให้ระบบการบริหารจัดการ เอื้อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง มีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนากฎหมายด้านต่างๆ รวมถึงงบประมาณ
................................................................................................

....ประกอบกับบรรดาผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ 2550 ได้เห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดให้มีการจัดระเบียบกฎหมายของประเทศให้เข้าที่เข้าทางและสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น
...............................................................................................

พบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
มาตรา 81 (3) ได้กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้าน กฎหมายและการยุติธรรม จัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้นด้วย
..................................................................................................
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่มีการดำเนินการที่เป็นอิสระภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
................................................................................................
คณะกรรมการดังกล่าว มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นเพื่ออนุวัติการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และให้คณะกรรมการดังกล่าวจัดทำกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายตามมาตรา 81 (3) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (วันที่ 23 สิงหาคม 2551) โดยในกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติกำหนดให้มีหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการยกร่างกฎหมายของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย ศ.ดร. คณิต ณ นคร เป็นประธานคณะกรรมการ และคณะอีก 10 คน มีผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ
................................................................................................

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้ดำเนินการร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย และเสนอแนะการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นเพื่ออนุวัติการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รวมทั้งดำเนินการเรื่องสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ยกร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ... เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ประกอบการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนในการสัมมนา
................................................................................................
2.จัดทำสรุปผลการศึกษากฎหมายและหลักการขององค์กรปฏิรูปกฎหมายในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์
................................................................................................
3. จัดทำสรุปข้อมูลการดำเนินการเบื้องต้นเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
................................................................................................
4.มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 4 รวม คณะ ได้แก่

-คณะอนุกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ ทบทวน และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน และกำหนดช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบ
................................................................................................

-คณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน ทำหน้าที่ ศึกษาและพิจารณากฎหมายที่ใช้บังคับแล้วและร่างกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐเสนอ หรือจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาว่าสอดคล้องกับหลักสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไร แล้วจัดทำความเห็น ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย หรือร่างกฎหมาย
.................................................................................................

-คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการค้าที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ ทบทวน เสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างเป็นระบบ และมีแบบแผน
...............................................................................................
-คณะอนุกรรมการพิจารณากฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนแบะวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้าหรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ ทำหน้าที่ ศึกษา ทบทวน และเสนอแนวทางในการ จัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้าหรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ
................................................................................................
5. จัดสัมมนา เรื่อง “ทิศทางองค์กรปฏิรูปกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเผยแพร่ที่มาขององค์ปฏิรูปกฎหมาย การดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ....
...............................................................................................

6. จัดเวทีสัมมนาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. .... ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี ชลบุรี และสงขลา เพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาสังคม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครอง เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. .... และการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
................................................................................................

7.จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สำนักงานข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค และเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
...............................................................................................

สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ..... หลักๆ ได้แก่

1.กำหนดให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย แผนงาน และมาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนากฎหมาย และงาน ยุติธรรมของประเทศอย่างเป็นระบบ เสนอความเห็นให้คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการออกกฎหมายที่จำเป็น รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย จากหน่วยงานและประชาชน รายงานผลการปฏิบัติต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
.................................................................................................
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ว่านี้.....
ต้องเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และผลงาน หรือเคยปฏิบัติงานด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปกฎหมาย
..................................................................................................
2.ให้มีกองทุนเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย
3.ให้มีสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ดูแลกิจการทั่วไปของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และเป็นหน่วยงานของรัฐ มีเลขาธิการขึ้นตรงต่อประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
...............................................................................................

ทั้งหมดนี้ก็... ด้วยเจตนารมณ์ที่จะทำให้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในบ้านเราเป็นไปด้วย ความเสมอภาค เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อย่างแท้จริง
..............................................................................................

ส่วนจะทำได้....แค่ไหน...เมื่อใด .... ก็ต้อง..รอดู..กันต่อไป
...............................................................................................

ซึ่งขณะนี้ ร่างพ.ร.บ.กฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย
พ.ศ..... นี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ ยังมีร่างกฎหมายชื่อเดียวกันนี้อีกฉบับหนึ่งเป็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะซึ่งอยู่ในระหว่างการขอความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเช่นกัน .
...
..ประชาชน อย่างเรา... ได้แต่อดใจ....รอสิ่งใหม่ๆดีๆ...ที่จะเกิดขึ้น ........






Create Date : 10 ตุลาคม 2551
Last Update : 28 ตุลาคม 2551 10:44:03 น. 0 comments
Counter : 665 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com