1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 31
ความสามารถ : บอกมาเลยว่าคิดยังไง โดย อ.ดนัย เทียนพุฒ
ปัจจุบันนี้ใครก็ตามที่ไม่สามารถพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า Competency ได้ว่าคืออะไร อธิบายได้ถูกต้องและจะพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง คงต้องนั่งเงียบในที่ประชุมให้ฝ่ายHR แสดงภูมิรู้ (ทั้งๆ ที่รู้ลึก รู้ตื้น รู้อ่าน ฯลฯ) ซึ่งหากให้ผู้เขียนประเมินคร่าวๆ โดยสรุปจากธุรกิจที่ผู้เขียนได้เข้าไปทั้งด้านการเป็นที่ปรึกษา การเป็นวิทยากรนำสัมมนา พบว่า @ร้อยละ 90% ในองค์กรมีการพูดถึง ความสามารถ หรือ Competency แต่พูดในลักษณะที่มีคำถามและไม่สามารถทำความเข้าใจในสิ่งนี้ได้ หรือพอฟังผู้เขียนบรรยายแล้วสรุปว่าที่รู้มาก่อหน้าที่จะมาฟังบรรยายนั้นไม่ได้รู้อะไรเลยเกี่ยวกับความสามารถ @ร้อยละ 50-70% ได้มีโอกาสอ่านหนังสือตำราเกี่ยวกับความสามารถโดยเฉพาะที่มีเขียนอย่างเกลื่อนกลาดตามร้านหนังสือหนังหา แต่นำเอาไปใช้ได้ยากมากเพราะแปลมาหรือลอกมาจากอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ @ร้อยละ 10% ที่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ยังไม่สามารถทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ของธุรกิจให้เห็นประโยชน์ หรือใช้ได้อย่างคุ้มค่าจริง? ในระยะหลังๆ ผู้เขียนได้รับเชิญหรือมักจะถูกร้องขอให้เช้าไปช่วยบรรยาย หรือพัฒนาโมเดลความสามารถ (Developing Competency Model) ให้กับหน่วยงานระดับกรมฯ ของกระทรวงสำคัญอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ก็เพราะว่า @หน่วยราชการทั้งหลายถูกบังคับให้ทำเรื่องของความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดสิ่งที่ราชการเรียกว่า Core Competency และ Functional Competency แม้กระทั่งการจัดทำ Competency Road Map ในระยะ 3 ปีเพื่อพัฒนาข้าราชการ ซึ่งส่วนใหญ่มีความสับสนในสิ่งที่หน่วยงานกลางด้านนี้กำหนดให้จัดทำ @เอกสาร แนวทาง นิยามหรือสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Competency เกือบ 100% เป็นลักษณะที่ถอดด้ามมาจากตำราหรือแปลเป็นภาษาไทยมาจาก Power Point ของบริษัทที่ปรึกษาฯ (ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่) ซึ่งมีทั้งไม่ชัดเจน ขัดแย้งกันเองของสไลด์แต่ละชุด เอาเป็นว่าสร้างความสับสนและวุ่นวายเป็นอย่างมากกลายเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ผู้รับผิดชอบไม่ได้มีความรู้อย่างเพียงพอในเรื่องที่จะทำ ขณะเดียวกันก็ไม่เข้าใจลักษณะงานของหน่วยงานราชการที่เป็นกระทรวงด้านปฏิบัติการ ดังนั้นจึงขาดความสมบูรณ์ซึ่งน่าเสียดายอย่างยิ่งที่ทำให้สิ่งที่ดีๆ ในระบบธุรกิจ ซึ่งใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เดินมาสู่เส้นทางตันในระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ การบรรยายเรื่อง การสร้างสมรรถภาพด้านบริหารทุนมนุษย์ (Creating Human Capital Management Capability) สังเกตผู้เขียนใช้คำว่า สมรรถภาพ (สมรรถนะ) จากภาษาอังกฤษที่มาจาก Capability ซึ่งจะอธิบายในภายหลังที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ให้กับหน่วยราชการแห่งหนึ่งที่เป็นกรมหลักด้านการค้าการขายของประเทศ ผู้เขียนได้เปิดฉากถามว่า Whats a Competency in the real meaning? Its a Knowledge, skills and attitude???? Its a KM??? Its a BSC & KPIs??? Its a HR Scorecard??? He got a Bsc, Msc, on Phd?? There are the all my portfolio of works??? Its a performance appraisal? Wow!!! ใครรู้บ้างครับ??? นอกจากเรื่องความหมายของความสามารถซึ่งเข้าใจอย่างสับสนแล้ว สิ่งที่ธุรกิจยังไม่ชัดเจนหรือ ยังไม่สามารถมีแนวทางที่ถูกต้องในเรื่องของวิธีการพัฒนาเพื่อให้ได้โมเดลความสามารถ (Competency Model) ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก @ถ้าธุรกิจที่ปรึกษาซึ่งถนัดในการทำ การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ก็จะเสนอให้ธุรกิจใช้การเขียน Competency จากคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) วิธีนี้จะดีกับธุรกิจเล็กๆ ลักษณะงานไม่ซับซ้อนแต่ถ้าเป็นธุรกิจระดับกลางไปถึงขนาดใหญ่แล้วไม่เหมาะสมที่จะใช้เพราะไม่ตอบสนองต่อกลยุทธธุรกิจหรือยุทธศาสตร์องค์กร @หรือการพัฒนา Competency จาก ฐานข้อมูล (Data Bank) ถือว่าเป็นวิธีการที่เรียกว่า Easy Easy Way เนื่องจากโอกาสที่จะถูกต้องและสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจทำได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะ การพัฒนาโมเดลความสามารถและการกำหนดระดับความสามารถ ทั้งนี้ก็เพราะว่า Competency ไม่ใช่สิ่งที่เป็นค่าเฉลี่ยหรือคำซ้ำๆ กับในลักษณะงานของธุรกิจ แต่เป็น Key Result Area หรือ Key Success Factors ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ธุรกิจในแต่ละธุรกิจหรือแม้ในอุตสาหกรรมที่จะมีเหมือนกันในองค์ประกอบ รายการและระดับของความสามารถ โดยสรุปแล้วเรื่องของความสามารถหรือ Competency เป็นเรื่องที่น่าสนใจในธุรกิจ เพราะในปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการธุรกิจ อาทิ การจัดการเชิงกลยุทธที่เป็นมิติของ Strategic Competency หรืออีกนัยหนึ่งคือ Core Competency การจัดการด้านทุนมนุษย์ที่ใช้ความสามารถ (Competency) เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริหารคน การพัฒนา Strategic Intellectual Capital Model ซึ่งต้องอาศัยความสามารถและดัชนีวัด KPIs เพื่อให้ได้ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาที่จะเหมาะสมกับธุรกิจในภาคปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ฉะนั้นทั้งปัจจุบันและอนาคต ความสามารถหรือ Competency ไม่ใช่สิ่งที่นึกๆ คิดๆ ว่าใช่แล้วก็ทำตามนั้น แต่ต้องทำบนหลักของวิชาการทางธุรกิจ-ความรู้และด้วยความเข้าใจอย่างลุ่มลึก มิฉะนั้นก็มิอาจได้ผลลัพธ์ที่ธุรกิจคาดหวังไว้ อ.ดนัย เทียนพุฒ Aj.Danai ThieanphutDNT Consultants
Create Date : 18 พฤษภาคม 2549
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 22:14:57 น.
9 comments
Counter : 1227 Pageviews.
โดย: ผกาพันธ์ อินต๊ะแก้ว IP: 58.10.140.186 วันที่: 17 กันยายน 2549 เวลา:11:49:37 น.
โดย: Dr.Danai IP: 58.8.117.191 วันที่: 17 กันยายน 2549 เวลา:23:59:18 น.
โดย: ทิพวัลย์ IP: 124.120.210.203 วันที่: 3 ตุลาคม 2549 เวลา:21:15:33 น.
โดย: Dr.Danai IP: 58.8.119.134 วันที่: 7 ตุลาคม 2549 เวลา:1:05:10 น.
โดย: อิทธิเวท IP: 58.181.145.220 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2549 เวลา:14:03:38 น.
โดย: Dr.Danai IP: 58.8.123.26 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:18:46 น.
โดย: เด็กชายไทย IP: 125.24.42.155 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2549 เวลา:12:08:34 น.
โดย: Dr.Danai (dnt ) วันที่: 25 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:34:00 น.
โดย: นักศึกษามช.ค่ะ IP: 203.113.50.11 วันที่: 30 พฤษภาคม 2550 เวลา:16:23:04 น.
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [? ]
ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ ( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced Scorecard & KPIs) การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ (Competency Based Approach) การพัฒนา HRD-KM และ การจัดการสมัยใหม่ *************************
รับปริญาเมื่อไรค่ะ งานดุษฏีนิพลของดิฉันยังไม่ไปถึงไหนเลยคะ เรื่องที่ทำคือ การเสนอรูปแบบสมรรถนะหลักเพื่อป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ :กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิธยาลัยรามคำแหง
ขอความชี้แนะด้วยคะ น.ศ.ป.เอก PHD. HRD รามคำแหง