จุดกำเนิด HR Scorecard
นับถอยหลังไปสักทศวรรษได้ที่ผู้เขียนบุกเบิกให้ธุรกิจหรือผู้บริหารธุรกิจระดับสูงได้จัดทำ การวางแผนกลยุทธธุรกิจ (Strategic Planning) โดยแนวคิดใหม่ในขณะนั้นที่รู้จักกันคือ BSC & KPIs (Balanced Scorecard & Key Performance Indicators) พัฒนาการของ BSC & KPIs ผู้เขียนได้ปรับโมเดลในการนำไปใช้กับธุรกิจจนกระทั่งปัจจุบันได้บูรณาการทั้งเรื่อง การวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis) การจัดทำ BSC & KPIs และกลยุทธทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy) ให้เข้ามาอยู่ในเทมเพลต (Template) เดียวกันของการจัดการกลยุทธ (Strategic Management) จุดเริ่มของ HR Scorecard มีปัจจัยหลักๆ ที่ผู้เขียนพอจะนึกได้อยู่ 2 ปฐมบทคือ
ปัจจัยเหตุผลหลักที่ 1 ในขณะที่ผู้เขียนดำเนินการจัดทำ BSC & KPIs ในการแปลวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจ (Mission) ไปสู่กลยุทธ (Strategy) ได้ครุ่นคิดอยู่ว่า ถ้าธุรกิจมีภารกิจที่เป็นด้าน HR โดยเฉพาะการจัดทำ BSC & KPIs ในด้าน HR หรือด้านคน ควรจะมีดัชนีวัดผลสำเร็จ (KPIs) ในรูปแบบใดได้บ้างและควรจะมีชื่อเรียกอย่างไรดี ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้ปรับปรุงหนังสือ การบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 2543 จึงถือโอกาสจัดทำวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ HR พร้อมทั้งมีระบบ HR Indicators หรือ HR Scorecard เข้ามาใช้ในขณะนั้นด้วย (ดูตัวอย่างจากล้อมกรอบ) ปัจจัยเหตุผลหลักที่ 2 การริเริ่มโครงการ HUMAN CAPITAL ในช่วงปี43-45 เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้าง เครือข่ายองค์ความรู้ด้านธุรกิจและ HR ด้วยความตั้งใจที่ว่า - คุณค่าสำคัญของ เครือข่ายองค์ความรู้ด้านธุรกิจและ HR จะทำให้เกิดการ-ศึกษาและวิจัยถึงแนวคิด หลักการ ทฤษฎีหรือโมเดลทางธุรกิจและ HR ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพแวดล้อมของกลุ่มธุรกิจตะวันออก - ผู้บริหารธุรกิจหรือผู้บริหาร HR รุ่นใหม่จะได้มีแหล่งความรู้ที่สามารถนำไปใช้อ้างอิง ขณะเดียวกันก็จะเป็นการต่อยอดความรู้หรือพัฒนาองค์ความรู้ด้านธุรกิจและ HR ให้แตกแขนงออกไปอย่างไปรู้จบ
ตัวอย่าง : ฝ่ายงานด้าน HR (บางส่วน) ในการจัดทำ การวางแผนกลยุทธธุรกิจ ได้กำหนดให้ฝ่ายงานด้าน HR จะต้องจัดทำ BSC & KPIs ให้มีความชัดเจนด้วย ดังนั้น สิ่งที่ผู้เขียนริเริ่มในขณะนั้นโดยการจำลองภาพของฝ่ายงานด้าน HR (ตัวอย่างบางลักษณะงาน) เพื่อจัดทำตามวิธีการของ BSC & KPIs | หน้าที่ความรับผิดชอบ | สรรหาบุคลากร ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร บริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ |
ภารกิจ (Mission) สรรหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการขององค์กร พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความชำนาญตรงกับงานที่รับผิดชอบ มีโครงสร้างค่าตอบแทนและสวัสดิการที่สามารถแข่งขันกับองค์กรในธุรกิจประเภทเดียวกัน |
ตัวอย่าง (ต่อ) : ฝ่ายงานด้าน HR (บางส่วน) | HR B-Model |
ขอบเขตผลลัพธ์สำคัญ (KRA: Key Result Area) | สมมติฐานทางกลยุทธ (Strategic Hypothesis)
| ดัชนีวัดผลสำเร็จ (KPIs) | 1.1 ได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการ 1.2 มี Data Bank สำหรับตำแหน่งต่างๆ 2.1 พนักงานมีความรู้ความสามารถตามตำแหน่ง 2.2 มี Training Roadmap 3.1 มีโครงสร้างกลุ่มตำแหน่งงาน 3.2 มี Salary Structure 3.3 มีระบบการประเมินผลการ ปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ | การเงิน (F) * ผลิตภาพด้านกำลังคน * จัดสรรงบประมาณในการสรรหาพนักงาน การฝึกอบรม/สวัสดิการพนักงาน ลูกค้า (C) * หน่วยงานต่างๆ มีความพึงพอใจในการดำเนินงานด้านการสรรหา การฝึกอบรมและบริการของ HR *ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกชื่นชมบริษัท กระบวนการภายใน (I) * ระบบการการบริหาร HR ระบบดำเนินงาน HR ที่มีมาตรฐาน การเรียนรู้และนวัตกรรม (L) * พนักงานมีศักยภาพและความสามารถในงานที่รับผิดชอบ | F: % การใช้งบประมาณ HR ได้ตามที่กำหนด อัตราค่าใช้จ่ายต่อหัวในการบริหาร HR ไม่เกิน 10,000 บาท C: ดัชนีความพึงพอใจในทุกด้านอยู่ที่ระดับ 4.0 (สเกล 5) I: คู่มือปฐมนิเทศพนักงาน ใหม่ ส่งมอบให้สายงาน ต่างๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี52 : จัดทำมาตรฐานงาน HR เสร็จภายในปี52 L: อัตราสะสมของความรู้ใน.งาน HR ของฝ่าย HR สูงขึ้น (โดยการทดสอบ)
| * พัฒนาขึ้นในช่วงปี 2004 DNT Consultants Co.,Ltd. |
สามารถสร้างความเป็นมืออาชีพทั้งด้านธุรกิจและ HR ให้เป็นที่ยอมรับและออกไปสู่โลกการแข่งขันที่แท้จริงโดยไม่ต้อง แพ้ภัยตัวเอง (Burn Out) ตามที่มีให้เห็นอยู่มากมายของผู้บริหาร HR และงานฝ่าย HR
ความเป็นมืออาชีพด้าน HR | คนที่ได้ชื่อว่าเป็นมืออาชีพ ไม่ควรที่จะตีค่าหรือให้ราคาตนองว่าเป็นมืออาชีพ แต่ต้องให้ผู้อื่นเป็นผู้ที่ประเมินหรือตีค่าความเป็นมืออาชีพนั้น ต้องมีผลงานเป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะทั้งด้านการแสดงความคิดเห็น ผลงานด้านหนังสือหรือตำราวิชาการ และต้องมีประสบการณ์ในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ สามารถให้ ทิศทาง หรือ ชี้นำ ทางด้านความคิดในวิชาชีพหรือให้คำปรึกษาทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม จาก หนังสือธุรกิจของ HR, B2E: Business of Employee ดนัย เทียนพุฒ : 2546 |
ความเป็นมืออาชีพด้าน HR ถ้าจะขยายผลในภาคปฏิบัติสามารถอธิบายเป็นตัวอย่างได้ดังนี้ - ถ้าทำงานในองค์กรหรือบริษัท สิ่งที่ผู้บริหาร HR จะนำเสนอต่อธุรกิจในเรื่องหลักการทางด้าน HR โดยจะต้องไม่คำนึงว่าตนเองจะได้หรือเสียประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากๆ คือ หลักการทางวิชาการหรือวิชาชีพที่เหมาะสมโดยบางเรื่องอาจรอได้บางเรื่องอาจยอมไม่ได้ - ความจำเป็นที่จะต้องสร้าง แสดงทัศนะหรือชี้นำทางวิชาการ และสร้างผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้บริหารธุรกิจ ผู้บริหาร HR หรือผู้ที่กำลังร่ำเรียนในเรื่องเหล่านี้ ได้มีเอกสารตำรา หรือถ่ายทอดประสบการณ์ให้เป็นพื้นฐานที่จะใช้ในการศึกษาและพัฒนาเพื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้าน HRโดยไม่หวงหรือเก็บไว้เพื่อมุ่งผลได้แต่เพียงมูลค่าทางเศรษฐกิจ - ดำรงตนในฐานะอันควรคือ อะไรที่ควรได้และอะไรที่ควรให้ เช่น ผู้เขียนเคยได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเหลือสมาคมวิชาชีพในช่วงที่ผู้เขียนมีชื่อเสียงและผลงานเป็นที่ยอมรับปรากฏสู่สาธารณะ แต่เมื่อเข้าไปแล้วมีความรู้สึกว่าไม่แตกต่างไปจาก "กลุ่มผลประโยชน์หรือพรรคการเมือง" จึงคิดว่า โครงการ HUMAN CAPITAL ของผู้เขียนจะช่วยสังคมหรือวิชาชีพด้าน HR ได้ดีกว่า ความสามารถที่จะหยิบและวางได้ หมายความว่าไม่ยึดติดหรือยึดมั่นในตำแหน่งหรือหัวโขน คือ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียง "ภาพมายา" จะหาแก่นสารหรือคุณค่าในชีวิตได้น้อยมาก ผู้เขียนเคยดำรงตำแหน่งทั้งอุปนายกและนายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้เขียนก็เห็นว่าสมาคมวิชาชีพต่างๆ คล้ายๆ กัน ดีที่สุดคือ "หยิบและวางได้" ตัวอย่างที่ผู้เขียนพยายามนำเสนอให้กับผู้บริหาร HR รุ่นใหม่คือ "ดัชนีวัดผลสำเร็จด้าน HR" (The HR Scorecard) ที่บ่งบอกได้ว่า จะใช่หรือไม่ใช่มืออาชีพด้าน HR ด้วยปัจจัยเหตุผลหลักทั้ง 2 ประการจึงนำสู่การพัฒนา The HR Scorecard ตามความจำเป็นของธุรกิจและความตั้งใจของผู้เขียนที่อยากเห็นงาน HR มีพัฒนาด้านวิธีวิทยาการและองค์ความรู้ใหม่ที่บอกความสำเร็จของคนทำงาน |
ดร.ดนัย เทียนพุฒ Dr.Danai Thieanphut Managing Director DNTConsultants
Create Date : 23 มกราคม 2551 |
Last Update : 23 มกราคม 2551 11:24:02 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1692 Pageviews. |
 |
|