<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 มกราคม 2552
 

การเก็บแบตเตอรี่



แบตเตอรี่เป็นของที่เสียได้ มันเริ่มเสื่อมตั้งแต่ออกจากโรงงาน มีมาตรการป้องกันอย่างง่ายให้ผู้ใช้แบตเตอรี่เอาไปใช้เพื่อลดการเสื่อมจากอายุของแบต เอกสารนี้เป็นแนวทางเพื่อลดการสูญหายของความจุของแบตอันเนื่องมากจากอายุ และการเตรียมขั้นแรกสำหรับแบตเตอรี่ใหม่ และ แบตเตอรี่ที่จัดเก็บมานาน

อุณภูมิที่เหมาะสมกับการจัดเก็บแบตที่สุดคือ 15 C ( 59 F ) แบตตะกั่วกรดต้องชาร์จเต็มเสมอ ส่วนแบตพวกนิกเกิล กับแบตลิเทียมควรชาร์ 40 % STATE OF CHARGE ก่อนจัดเก็บ การชาร์จระดับนี้จะลดค่าความเสื่อมของความจุให้หายน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกิดการคายประจุเองแล้ว การวัดแรงดันที่ขั้วแบตเตอรี่เปล่า สำหรับแบตนิแคตจะไม่สามารถหาค่า STATE OF CHARGE ได้ ส่วนแบตลิเทียมจะสามรถวัดแรงดันเพื่อหาค่าได้ แต่ความแตกต่างของสารเคมีในตัวแบตเตอรี่ของแต่ละผู้ผลิตทำให้ค่าของแรงดันอาจเปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยที่ ค่าของ 50% ของ STATE OF CHARGE จะวัดได้ประมาณ 3.8 V ซึ่งค่า 40% ของ STATE OF CHARGE จะเป็น 3.75 V ดังนั้นเก็บที่แบตลิเทียมควรวัดแบบตัวเปล่าได้ 3.75-3.8 V ซึ่งก่อนวัดจะต้องพักแบต 90 นาที หลังชาร์จ

ตัวอย่าง การกู้คืนความจุได้ที่อุณหภูมิจัดเก็บแตกต่าง และระดับการชาร์จก่อนเก็บ เป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี


จากรูปที่ 1 ความจุที่สูญหายไม่สามารถกู้คืนได้ของแบตลิเทียม และแบตนิกเกิลหลังจากการเก็บ การชาร์จมากก่อนเก็บ และเก็บที่อุณหภูมิสูง จะก่อให้เกิดการเสียความจุนี้
ในระหว่างตระกูลแบตลิเทียมด้วยกัน Cobalt จะมีความสามารถเหนือ Maganese กว่าเล็กน้อย ในเรื่องการเก็บที่อุณหภูมิสูงกว่า แบตนิเกิลมีผลกระทบจากการจัดเก็บที่อุณหภูมิสูงแต่ก็ยังน้อยกว่าแบตลิเทียม

แบตลิเทียมไออ้อนที่ใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ในส่วนของแบตเตอร์จะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 45 C ระหว่างใช้งาน การชาร์จที่เต็ม และอุณหภูมิรอบตัวที่สูง รวมกันเป็นเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมต่อแบตเตอรี่ นี่เป็นเหตุผลของการลดทอนอายุของแบตให้สั้นลง

แบตนิเกิลเม็ตทอลไฮด์ไดน์ (NI-MH) สามารถเก็บได้ประมาณ 3 ปี ความจุของแบตจะลดลงในระหว่างการจัดเก็บนี้เป็นการลดลงอย่างถาวร แก้คืนไม่ได้ การให้อุณหภูมิที่เย็น และการชาร์จเป็นบางส่วนจะช่วยชะลอการเสื่อมอายุของแบตเตอรี่ จากการทดสอบภาคสนามได้แสดงให้เห็นว่าแบตนิเกิลแคดเมี่ยม (NI-CD) ที่เก็บมานานกว่า 5 ปี สามารถใช้งานได้ดี หลังจากที่ผ่านการทำ CYCLE ส่วนแบตอัลคาไลน์ และแบตลิเทียม (แบบชาร์จไม่ได้) สามารถจัดเก็บได้นานถึง 10 ปี โดยที่ความจุสูญหายน้อยมาก

แบตตะกั่วกรดสามารถจัดเก็บได้นานถึง 2 ปี มีระยะเวลาการชาร์จเติมสม่ำเสมอซึ่งเป็นการชาร์จกระตุ้น มีความจำเป็นสำหรับป้องกันไม่ให้แรงดันขณะแบตเปล่าลดต่ำกว่า 2.1 V (แบตบางยี่ห้อสามารถลดต่ำกว่านี้ได้) การที่ประจุแบตไม่เพียงพอจะก่อให้เกิด Sulfation (การที่แบตไม่สามารถจับประจุได้) การเกิดออกไซด์บนแผ่นขั่วลบจะเป็นตัวกั้นไม่ให้กระแสไหลขณะชาร์จ และดิสชาร์จ การชาร์จเติม และ/หรือทำ Cycle อาจช่วยกู้ความจุที่สูญหายไปบ้าง ในขณะที่เพิ่งจะเกิดขบวนการ Sulfation แรก ๆ

การจัดเตรียมแบตเตอรี่ใหม่


ผู้ผลิตแนะนำให้ชาร์จแบบ Trickle เป็นเวลา 24 ช.ม. สำหรับแบตนิเกิลที่เป็นแบตใหม่ และแบตที่จัดเก็บมานาน การกระทำเช่นนี้เป็นการทำให้ทุกเซลประจุเท่ากัน และเกิดการกระจายตัวของอิเลคโตไลน์ใหม่ เพื่อแก้ไขจุดแห้งจากการแยกตัวเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่เกิดบนอิเลคโตรโลน์ วิธีการนี้ถูกแนะนำใช้กับเครื่องวิเคราะห์แบตเตอรี่่ ก่อนที่จะตรวจความจุของแบตเตอรี่ เป็นข้อสำคัญอย่างมากในการเอาไปใช้งานที่มีความเสี่ยงสูง

การ Cycling (Priming) ถูกแนะนำให้มาใช้สำหรับการกู้คืนของความจุแบตที่หายไป หลังจากแบตนิกิลได้ถูกจัดเก็บเป็นเวลา 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ให้เราทำการชาร์จแบบ Slow Charge แล้วตามด้วย Discharge/ Charge cycle เป็นจำนวนหนึ่งครั้งหรือหลาย ๆ ครั้ง อัตราการกู้คืนได้ถูกควบคุมโดยเงื่อนไขภายใต้การจัดเก็บของแบตเตอรี่ การที่จัดเก็บที่นาน และเก็บที่อุณหภูมิร้อนกว่าจะต้องการจำนวน Cycle มากกว่า โปรแกรมของเครื่องวิเคราะห์แบตเตอรี่ยี่ห้อ CADEX จะป้อนจำนวน Cycle อัตโนมัติ เพื่อกู้คืนความจุขอแบตเตอรี่ให้เต็ม

แบตนิเกิลไม่ได้พร้อมใช้งานอย่างเต็มที่(Forming) เมื่อออกจากโรงงาน การทำ Charge/Discharge Cycle เพื่อให้แบตเข้าสู่สภาวะพร้อมที่จะใช้งาน (หรือด้วยเครื่องวิเคราะห์แบตเตอรี่ ) โดยที่จำนวน Cycle ที่ต้องการจะแตกต่างกันตามผู้ผลิต เซลที่ดีสามารถพร้อมใช้งานหลังจากผ่านการทำ 5-7 Cycle ส่วนพวกเซลที่บกพร่องอาจต้องทำมากกว่า 50 Cycle เพื่อจะได้ระดับความจุที่ยอมรับได้
อะไรเป็นความแตกต่างระหว่างการ Priming และ Forming สำหรับผู้ใช้ คำทั้งสองเป็นการแสดงถึงการที่มีความจุไม่เพียงพอ ความแตกต่างอาจอธิบายได้ว่า การ Forming เป็นการทำครั้งเดียวสำหรับแบตเตอรี่ใหม่ ขณะที่การ Priming ต้องการทำซ้ำหลังจากแต่ละการจัดเก็บที่ยาวนาน

แบตลิเทียมไอออนสามารถจ่ายพลังงานได้เต็มที่ หลังจากชาร์จครั้งแรก ผู้ผลิตเซลแบตลิเทียมไอออนยืนกรานว่าไม่ต้องทำการ Priming อย่างไรก็ตาม การทำ Priming ก็ยังเป็นประโยชน์สำหรับการเริ่มต้นเพื่อที่จะตรวจสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่่ แต่ให้หลีกเลี่ยงการทำ Cycle มากเกินจะเป็นเหตุให้แบตชำรุด

วงจรป้องกันแบตลิเทียมภายในตัวแบตเตอรี่ ก็เป็นสาหตุให้เกิดปัญหาหลังจากเก็บเป็นเวลานาน ถ้าแบตเตอรี่ที่เหลือจากการใช้งาน การคายประจุของก้อนแบตสำเร็จจะเกิดขึ้นต่อไปจนกระทั่งไหลตกลงมาถึงค่าวงจรป้องกันประมาณ 2.5 V/เซล จุดนี้ทำให้เครื่องชาร์จไม่สามารถมองเห็นเบตเตอรี่ และกลายเป็นแบตเสีย เครื่องวิเคราะห์แบตเตอร์ (CADEX) มีคุณสมบัติ โปรแกรม Boot ซึ่งช่วยกระตุ้นให้วงจรป้องกันอนุญาตให้ทำการชาร์จใหม่ได้ ถ้าเซลตกต่ำว่า 1.5 V/เซล และยังคงไว้ 2-3 วัน ควรเลียกเลี่ยงการชาร์จใหม่เพื่อความปลอดภัย

การลดการคายประจุของแบตเตอรี่ใหม่ แบตลิเทียมไอออนแพคขั้นสูงมีคุณสมบัติ Sleep Mode เพื่อให้หยุดวงจรป้องกันไม่ให้ทำงาน จนกระทั้งมันถูกกระตุ้นจากการชาร์จระยะสั้น ๆ การกระตุ้นเพียงครั้งเดียวแบตเตอรี่ยังทำงานต่อไปตลอด และ ประโยชน์ของ Sleep Mode ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด ควรทำการ Prime โดยการ ชาร์จเต็ม แล้วตามด้วย ดิสชาร์จ และ ชาร์จซ้ำ การตรวจสอบความจุผ่านการดิสชาร์จเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าแบตเตอรี่่ถูกนำไปใช้กับงานที่มีความเสี่ยง เช่น เครื่องจ่ายไฟสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ แนะนำให้ทำการ Priming หลังจากเก็บแบตเตอรี่เป็นเวลานานกว่า 6 เดือน ซึ่งเครื่องวิเคราะห์แบตเตอรี่จะจัดการทำ Priming โดยอัตโนมัติ

มีความเชื่อทีว่าการชาร์จบางส่วน หรือชาร์จเต็มทุก ๆ 6 เดือน ช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด และอย่าดิสชาร์จจนหมดซึ่งเป็นเหตุให้แบตชำรุดโดยไม่จำเป็น

ขณะที่การสูญเสียความจุของแบตเตอรี่ตามอายุซึ่งไม่สามารถหยุดยั้งได้ แนวทางง่าย ๆ เพื่อให้เกิดผลน้อยที่สุด
  • - เก็บแบตเตอรี่ในที่เย็น และแห้ง แนะนำให้เก็บในตู้เย็น แต่ไม่ใช่ช่องทำน้ำแข็ง ควรเก็บในถุงพลาสติกเพื่อป้องกันการกลั่นตัวของหยดน้ำ

  • - อย่าชาร์จแบตจนเต็มสำหรับ แบตลิเทียม และแบตนิเกล ก่อนที่จะเก็บ ให้ชาร์จเพียงบางส่วน แล้วค่อยมาชาร์จเต็มก่อนที่จะใช้งาน จัดเก็บแบตลิเทียมที่ชาร์จแล้ว ประมาณ 40% ของ STATE OF CHARGE (3.75 - 3.8 V/เซล วัดแบตตัวเปล่า) ส่วนแบตตะกั่วกรดต้องเก็บแบบชาร์จเต็มเสมอ

  • - อย่าเก็บแบตลิเทียมที่หมดเกลี้ยง ถ้าหมดเกลี้ยง ควรจะชาร์จประมาณ 30 นาทีก่อนที่จะเก็บ การจ่ายไฟจนหมดเกลี้ยงอาจเป็นเหตุให้วงจรป้องกันแบตทริปทำให้ไม่ชาร์จซ้ำได้

  • -อย่าเก็บแบตลิเทียมไว้ในคลัง อย่าซื้อแบตใกล้หมดอายุ ถึงแม้จะเสนอลดราคาให้ ให้สังเกตวันที่ผลิด ถ้ามี

  • - อย่าทิ้งแบตนิเกิลไว้ในเครื่องชาร์จเป็นเวลานานกว่า 2-3 วัน การชาร์แบบ Trickle เป็นเป็นเวลานาน ทำให้เกิด Crystalline (Memory)

  • - ให้เก็บแบตตะกั่วกรดที่ชาร์จเต็มแล้วเสมอ ให้ตรวจแรงดันที่ขั้วแบต และชาร์จซ้ำทุก ๆ 6 เดือน หรือ ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ


From : //9turbo.com/board/index.php?topic=56694.0




 

Create Date : 12 มกราคม 2552
1 comments
Last Update : 12 มกราคม 2552 19:49:40 น.
Counter : 1944 Pageviews.

 
 
 
 
เป็นความรู้ดีมากเลยนะคะคุณนัทธ์ เราใช้กันอยู่ทุกวันโดยไม่ค่อยรู้ถึงอันตรายของมันว่ามีมากแค่ไหน
 
 

โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 12 มกราคม 2552 เวลา:21:31:16 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com