<<
กันยายน 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
21 กันยายน 2552
 

"อ่าน"



ตัดตอนและเรียบเรียงใหม่ จาก "อ่านอะไร เป็นอะไร" คอลัมน์ โลกสองวัย โดย บางกอกเกี้ยน
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 21 กันยายน 2552 หน้า 20
//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra04210952ionid=0131&day=2009-09-21


พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) วัดสุทัศน์เทพวราราม ได้เทศนาถึงวาระการอ่านหนังสือแห่งชาติของรัฐบาล
และแสดงความสำคัญของการอ่านหนังสือ ความว่า

"ไม่อ่านพระไตรปิฎก เป็นนักปกครองไม่ได้
ไม่อ่านนิทานชาดกในพระสูตร เป็นนักพูดที่ดีไม่ได้
ไม่อ่านพระอภิธรรม เป็นนักกรรมฐานไม่ได้
ไม่อ่านพระอภัยมณี เป็นกวีไม่ได้
ไม่อ่านพระมหาชนก ยกฐานะไม่ได้
ไม่อ่านมโหสถบัณฑิต เป็นนักคิดไม่ได้
ไม่อ่านศรีธนญชัย เป็นเสนาธิการให้ใครไม่ได้
ไม่อ่านสามก๊กให้จบ เป็นนักรบไม่ได้
ไม่อ่านคัมภีรไตรเภท เป็นผู้วิเศษไม่ได้
ไม่อ่านโมรา-กากี เป็นหญิงที่ดีไม่ได้
ไม่อ่านพงศาวดาร เป็นนักวิชาการไม่ได้
ไม่อ่านประวัติศาสตร์ สร้างชาติ-กู้ชาติไม่ได้
ไม่อ่านบทกวี เป็นนักคิดที่ดีไม่ได้
ไม่อ่านภาษาต่างประเทศ หากินข้ามเขตไม่ได้
ไม่อ่านนวนิยาย เขียนจดหมายเอาดีไม่ได้
ไม่อ่านและท่องหนังสือสวดมนต์ เป็นคนดีไม่ได้
ไม่อ่านพระคัมภีร์ เป็นศาสนิกที่ดีไม่ได้
ไม่อ่านราชาศัพท์ เป็นคนระดับสูงไม่ได้
ไม่อ่านข่าว ก้าวทันโลกไม่ได้
ไม่อ่านรามเกียรติ์ เป็นเซียนชั้นปกครองไม่ได้
ไม่อ่านนิทานพื้นบ้าน สนิทสนมกับลูกหลานไม่ได้
ไม่อ่านบทวิเคราะห์ เจาะลึกข้อมูลของปัญหาไม่ได้
ไม่อ่านบุคคลสำคัญ คิดงานสร้างสรรค์ไม่ได้
ไม่อ่าน พล นิกร กิมหงวน สร้างความเสสรวลไม่ได้
ไม่อ่านพระบรมราโชวาท เป็นนักปราชญ์และนักปกครองไม่ได้
ไม่อ่านหนังสือนานาชนิด เป็นบัณฑิตไม่ได้
ไม่อ่านหนังสือโต้ตอบทางราชการ ปฏิบัติงานไม่ได้"


และบอกกล่าวถึงการสร้างวินัยกับใจรักการอ่านไว้ 10 ขั้น ที่นำมาเกริ่นนำเป็นขั้นที่ 3 ส่วนขั้นอื่น คือ

ขั้นที่ 1 ต้องฝึกการอ่าน 3 แบบ คือใจจดจ่อ ปากกา-ดินสอจดบันทึก ท่องและนึกทบทวน

ขั้นที่ 2 ถามตนเองเนื่องๆว่า 1 วัน อ่านหนังสือดีมีสาระกี่หน้า 1 สัปดาห์ เข้าห้องสมุดค้นคว้ากี่ครั้ง 1 เดือน จ่ายสตางค์ซื้อหนังสือดีๆ กี่เล่ม

ขั้นที่ 3 คือขั้นสำรวจว่าตนเองอ่านหนังสือ (ที่เกริ่นนำ) หรือยัง

ขั้นที่ 4 ตั้งคำถาม อ่านอย่างไร อ่านอะไร อ่านแล้วจะเอาไปทำอะไร และอ่านที่ไหน

ขั้นที่ 5 ต้องเขียนเตือนใจตนเองเสมอว่าไม่รักการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นอะไรไม่ได้ อ่านภาษาไทยไม่แตกฉาน เป็นนักศึกษา-นักวิชาการไม่ได้

ขั้นที่ 6 ขอให้รู้ในใจตนเองเสมอว่าเขียนหนังสือหนึ่งตัว คือเงินหนึ่งตังค์ กระเป๋าหนังสือที่ถือหรือแบกข้างหลัง คือถังใส่เงินทอง

ขั้นที่ 7 จงรู้แก่ใจตนเองว่าห้องสมุด คือ สุดยอดของที่พักผ่อนหย่อนใจ

ขั้นที่ 8 จงรู้ว่าคบคนที่ดี ต้องคบคนที่เข้าห้องสมุด หาคู่ครองที่ดี ให้หาที่ห้องสมุด หนีเพื่อนชั่ว จงพาตัวเข้าห้องสมุด

ขั้นที่ 9 จงเตือนใจตนเองว่าถ้าไม่รักการเรียนรู้ จะมีชีวิตอยู่อย่างอับเฉา ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันเขา จะต้องเศร้าเพราะอับจน

และขั้นที่ 10 จงเก็บหนังสือที่มีค่า เหมือนกับว่าเก็บเพชรทอง เงินทองกองอยู่ข้างหน้า ถ้าเรามีความรู้วิชาเสียวันนี้



Create Date : 21 กันยายน 2552
Last Update : 22 กันยายน 2552 6:53:10 น. 3 comments
Counter : 944 Pageviews.  
 
 
 
 


พอจะเข้าเค้าตัวเองได้บ้างอยู่เหมือนกัน แหะๆ
 
 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:16:56:46 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากนะคะที่เอาบทความดีๆมาฝากให้ได้อ่านกันค่ะ
 
 

โดย: pichayaratana วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:9:58:48 น.  

 
 
 
ป๊าด..27 ข้อ..เราอ่านไปไม่ถึง 10 ข้อด้วยซ้ำ
 
 

โดย: nikanda วันที่: 21 พฤษภาคม 2553 เวลา:3:45:46 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com