<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 พฤษภาคม 2552
 

กฎหลักของมารยาทเนท Part IV - จบ



หมายเหตุ -
ดัดแปลงจาก //www.albion.com/netiquette/corerules.html
คัดลอกจากหนังสือ มารยาทเน็ต (Netiquette) โดย เวอร์จิเนีย เชีย
แปลและเรียบเรียงโดย สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต (//thainetizen.org)
ในการเสวนากล้วยน้ำไทวิชาการ หัวข้อ "กติกาพลเมืองชาวเน็ต" จากแนวปฏิบัติสู่จารีตประเพณีจนถึงกฎหมายลายลักษณ์อักษร
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท


อ่าน Part I, Part II และ Part III

กฎข้อที่เจ็ด ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์

คนเรามักจะทำ "สงครามเกรียน" (flame wars) คือสงครามอารมณ์ในเน็ต เวลาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรงโดยไม่ยับยั้งชั่งใจหรือพยายามควบคุมอารมณ์ มักจะมีประโยคท้าทาย เช่น "แน่จริงก็บอกมาสิว่าคุณคิดยังไงกันแน่"

ใช่หรือไม่ว่า มารยาทเน็ตต่อต้าน "เกรียน"? ...ไม่ใช่เลย การทำตัวเกรียนในอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องที่มีกันมายาวนาน (และมารยาทเน็ตก็ไม่เคยไปยุ่งกับเรื่องนั้น) แล้วบางครั้งมันก็เป็นเรื่องสนุก ทั้งคนอ่านและคนเขียน อีกทั้งบางที บางคนก็สมควรแล้วที่จะโดนเกรียน

แต่มารยาทเน็ตต่อต้านสงครามเกรียนที่ไม่รู้จักจบสิ้น-ถ้อยคำแสดงความโกรธที่มาเป็นชุดๆ ส่วนใหญ่มาจากคนสองสามคนที่ตอบโต้กันไปมา แต่อาจครอบงำโทนของทั้งกระทู้ ปลุกปั่นอารมณ์และทำลายมิตรภาพดีๆ ของชุมชน มันไม่ยุติธรรมต่อสมาชิกคนอื่น และถึงแม้ว่าบางทีสงครามเกรียนจะก่อให้เกิดความครึกครื้น แต่คนที่ไม่เกี่ยวก็จะเบื่ออย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังไม่ยุติธรรมที่ใครจะใช้แบนด์วิธแบบผูกขาดกันอยู่ไม่กี่คน


กฎข้อที่แปด เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น
คงไม่เคยคิดที่จะไปรื้อค้นโต๊ะทำงานของเพื่อนร่วมงาน ดังนั้น คุณก็คงไม่ไปเปิดอ่านอี-เมลของคนอื่นเช่นกัน

แต่โชคไม่ดีที่หลายคนทำอย่างนั้น นี่เป็นเรื่องยาว แต่โดยสรุปฉันอยากจะเล่าเรื่องเตือนใจเรื่องหนึ่งที่ตั้งชื่อว่า

กรณีนักข่าวต่างประเทศช่างสอดรู้สอดเห็น

ในปี 1933 นักข่าวต่างประเทศผู้เป็นที่เคารพนับถือคนหนึ่งในสำนักข่าวลอสแองเจลิส ไทม์ส์ สาขามอสโd โดนจับฐานแอบอ่านอี-เมลของเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมงานเริ่มสงสัยเขา ตั้งแต่เห็นระบบบันทึกว่ามีคนล็อ8อินเข้ามาเช็คอี-เมลตอนที่พวกเขาไม่อยู่ ดังนั้น พวกเขาจึงจัดฉากดัดหลังขึ้น ด้วยการส่งข้อมูลเท็จผ่านข้อความจากสำนักข่าวอีกแห่ง นักข่าวคนนั้นเปิดอ่าน แล้วก็ไปถามเพื่อนเกี่ยวกับข้อมูลเท็จ เท่านั้นล่ะ เขาก็ถูกโยกย้ายกลับลอสแองเจลิสทันที

การไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นไม่ได้เป็นแค่มารยาทเน็ตที่เลวทรามเท่านั้น มันยังอาจทำให้คุณเสียงานด้วย


กฎข้อที่เก้า อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์
บางคนในไซเบอร์สเปซมีอำนาจมากกว่าคนอื่น เกมออนไลน์ทุกเกมมีพ่อมด ทุกสำนักงานมีผู้เชี่ยวชาญ และทุกระบบมีผู้ดูแลระบบ

การรู้มากกว่าคนอื่นหรือมีอำนาจมากกว่า ไม่ได้แปลว่าคุณมีสิทธิที่จะเอาเปรียบคนอื่นได้ เช่น ผู้ดูแลระบบไม่ควรอ่านอี-เมลส่วนตัวของคนอื่น


กฎข้อที่สิบ ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น
ทุกคนเคยเป็นมือใหม่มาก่อน และไม่ใช่ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ ดังนั้น บางคนจึงทำผิดพลาดในแง่มารยาทเน็ต ตั้งแต่ผิดพลาดเล็กน้อยหรือเกรียนเรื่องตัวสะกด ตั้งคำถามงี่เง่าหรือตอบคำถามยาวโดยไม่จำเป็น จงใจเย็นเข้าไว้ ถ้าใครทำผิดพลาดเล็กน้อยที่พอให้อภัยได้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องพูดอะไร แม้ว่าคุณจะรู้สึกโกรธมาก ก็ลองคิดให้ดีก่อนตอบโต้ การที่คุณมีมารยาทดี ไม่ได้แปลว่าคุณมีสิทธิไปไล่จับผิดคนอื่น

ถ้าคุณตัดสินใจจะบอกคนที่ทำผิดมารยาทเน็ต ก็จงบอกอย่างสุภาพและเป็นส่วนตัว ดีกว่าไปป่าวประกาศให้คนอื่นรับรู้ด้วย จงให้โอกาสในความไม่รู้ของคน และอย่าถือตัวหรือหยิ่งว่าคุณรู้ดีกว่า แน่นอนว่าการเกรียนเรื่องตัวสะกดย่อมมีการสะกดผิดในนั้น การประณามว่าผู้อื่นไม่มีมารยาทตรงๆ ก็มักจะเป็นตัวอย่างของมารยาทที่ไม่ดีเช่นกัน


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 หน้า 26
//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01220552§ionid=0147&day=2009-05-22


อ่านภาษาต้นฉบับ :
//www.albion.com/netiquette/corerules.html


Create Date : 22 พฤษภาคม 2552
Last Update : 22 พฤษภาคม 2552 11:05:41 น. 1 comments
Counter : 948 Pageviews.  
 
 
 
 
เรื่องเกรียนนี่มีบ่อยนะคะ ไม่น่าเชื่อว่าวิธีเขียนของคนก็สามารถดึงอารมณ์คนอ่านให้แตกกระเจิงได้ บางกรณีแทบไม่มีปัญหาอะไรแต่สุดท้ายเรื่องราวบานปลายซะใหญ่โตเชียวค่ะ
 
 

โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 22 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:32:13 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com