<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 พฤษภาคม 2552
 

กฎหลักของมารยาทเน็ต Part I



หมายเหตุ -
ดัดแปลงจาก //www.albion.com/netiquette/corerules.html
คัดลอกจากหนังสือ มารยาทเน็ต (Netiquette) โดย เวอร์จิเนีย เชีย
แปลและเรียบเรียงโดย สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต (//thainetizen.org)
ในการเสวนากล้วยน้ำไทวิชาการ หัวข้อ "กติกาพลเมืองชาวเน็ต" จากแนวปฏิบัติสู่จารีตประเพณีจนถึงกฎหมายลายลักษณ์อักษร
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท




มารยาทเน็ต (netiquette) คืออะไร?
พูดง่ายๆ มารยาทในการสื่อสารแบบเครือข่าย หรือไซเบอร์สเปซ
คำว่า "มารยาท" หมายถึงกิริยาอาการที่พึงประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มารยาทเน็ตคือชุดวิธีประพฤติตนที่เหมาะสมเมื่อคุณใช้อินเตอร์เน็ต

เมื่อคุณต้องเจอกับวัฒนธรรมใหม่ๆ และโลก ไซเบอร์สเปซก็มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง จะต้องยอมรับว่าอาจทำผิดพลาดไปบ้าง เช่น อาจไปละเมิด ผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูดแบบผิดๆ และต่อว่าคนพูดโดยไม่ได้เจตนา สิ่งที่แย่กว่านั้นอีกคือ ไซเบอร์สเปซมีลักษณะอะไรบางอย่างที่ทำให้เราลืมไปว่า เรากำลังมีปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ไม่ใช่แค่รหัสตัวอักษร (ASCII) ที่ปรากฏบนจอ ดังนั้น คนใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะผู้ใช้รายใหม่ที่มีเจตนาดี ก็อาจทำผิดพลาดได้หลายรูปแบบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะลืมไปว่ากำลังสื่อสารกับคนจริงๆ อีกส่วนเพราะไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติในโลกนี้


หัวข้อมารยาทเน็ตนี้มีจุดประสงค์ 2 ส่วน คือ
เพื่อช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากผู้เล่นอินเตอร์เน็ตมือใหม่ให้เหลือน้อยที่สุด และช่วยให้ผู้ท่อง อินเตอร์เน็ตที่มีประสบการณ์ช่วยผู้เล่นมือใหม่ได้ สมมติฐานนี้คือ คนส่วนใหญ่น่าจะอยากหาเพื่อน ไม่อยากสร้างศัตรู และถ้าทำตามกฎพื้นฐานไม่กี่ข้อ จะมีโอกาสทำผิดแบบเสียเพื่อนน้อยลง


กฎและคำอธิบายต่อไปนี้คัดมาจากหนังสือ เพื่อนำเสนอชุดแนวทางทั่วไปสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับมารยาทต่างๆ แต่จะให้หลักการพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้เมื่อเจอกับปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต

กฎข้อที่หนึ่ง อย่าลืมว่ากำลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนจริงๆ
จงปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนที่คุณอยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อคุณ เป็นบทท่องจำแสนง่าย ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องไม่ทำร้ายความรู้สึกของคนอื่นด้วย

ในโลกไซเบอร์สเปซ กฎนี้เป็นมากกว่าธรรม เนียมทั่วไป เพราะเมื่อติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต สิ่งเดียวที่คุณเห็นคือจอคอมพิวเตอร์ ไม่มีโอกาสแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงเพื่อสื่อความหมาย คุณทำได้แต่เขียนออกไปเท่านั้น เมื่อคุณติดต่อกันทางออนไลน์ ไม่ว่าด้วยอี-เมล หรือโต้ตอบผ่านกระทู้ คุณอาจจะเข้าใจความหมายของคนที่คุยด้วยผิดไป อาจลืมไปว่าเขาก็เป็นคนและมีความรู้สึกเหมือนกัน

เรื่องนี้อันที่จริงเป็นตลกร้าย เพราะเครือข่าย อินเตอร์เน็ตทำให้คนที่ไม่เคยพบเจอกันมารู้จักพูดคุยกันได้ แต่มันก็ห่างเหินเกินกว่าที่จะเหมือนกับเวลาพูดคุยกับคนจริงๆ คนที่คุยกันทางอี-เมลเปรียบเสมือนคนขับรถ ที่มักจะด่าทอต่อว่าคนขับรถคันอื่นๆ ทำท่าทางลามกหยาบโลนใส่กัน และทำตัวป่าเถื่อนโดยรวม คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ทำตัวแบบนั้นเวลาอยู่ที่ทำงานหรือบ้าน แต่ดูเหมือนว่าการมีเครื่องจักรกลอะไรสักอย่างมาคั่นกลางทำให้พวกเขายอมรับพฤติกรรมเหล่านั้นได้

สิ่งที่มารยาทเน็ตบอกเราก็คือ จริงๆ แล้วพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ จริงอยู่เราใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อสื่อความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างอิสระ ออกสำรวจโลกใหม่ๆ และไปในที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน แต่อย่าลืมกฎข้อสำคัญ นั่นคือ คนที่เจอในอินเตอร์เน็ตนั้น ก็เป็นคนจริงๆ เหมือนกับคุณนั่นแหละ เราจะพูดอย่างนั้นตรงๆ ต่อหน้าเขาหรือเปล่า?


กาย คาวาซากิ นักเขียนและนักรณรงค์เครื่องแมคอินทอช เล่าเรื่องที่เขาได้รับอี-เมลจากคนแปลกหน้าคนหนึ่งที่ไม่เคยเจอ เนื้อความต่อว่ากายว่า เขาเป็นนักเขียนที่ห่วยแตก ไม่มีอะไรน่าสนใจจะสื่อ อี-เมลนั้นหยาบคาย แต่โชคร้ายที่เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาบนโลกอินเตอร์เน็ต

มันอาจเป็นเพราะคุณรู้สึกว่ามีอำนาจพิเศษ ที่สามารถส่งอี-เมลโดยตรงไปหานักเขียนที่มีชื่อเสียงได้ และอาจจะจริงที่คุณไม่ต้องเห็นเขาทำหน้ายับย่นด้วยความหดหู่ตอนที่อ่านอี-เมลของคุณ แต่ไม่ว่า เหตุผลที่แท้จริงคืออะไรก็ตาม เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นบ่อยมากอย่างไม่น่าเชื่อ

กายเสนอบททดสอบชุดหนึ่งให้ลองทำ ก่อนจะส่งอี-เมลหรือโพสท์ข้อความบนอินเตอร์เน็ตให้ตัวเองว่า ถ้าเจอกันต่อหน้าคุณจะพูดแบบนี้กับเขาหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ ก็จงแก้ข้อความนั้นแล้วอ่านใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนคุณรู้สึกว่าไม่ลำบากใจที่จะพูดแบบนี้กับใครแล้ว จึงค่อยส่ง

แต่ถ้าคุณเป็นพวกที่ชอบพูดอะไรหยาบคายรุนแรงต่อหน้าคนอื่นเพื่อความสะใจ ก็คงต้องไปอ่านหนังสือประเภทสมบัติผู้ดี เพราะมารยาทเน็ตช่วยอะไรคุณไม่ได้

เวลาที่คุณติดต่อสื่อสารผ่านอี-เมลหรือโพสท์กระทู้ คุณต้องพิมพ์สิ่งที่ต้องการสื่อลงไป และมันมีโอกาสที่คนจะบันทึกสิ่งที่คุณเคยเขียนเอาไว้ โดยที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ พูดอีกอย่างคือ สิ่งที่คุณเขียนนั้นมีโอกาสกลับมาหลอกหลอนคุณได้ในอนาคต ดังนั้น พยายามอย่าก้าวร้าว ถึงคุณจะไม่อยากก่ออาชญากรรม ก็ควรอยากระมัดระวังตัว ข้อความอะไรที่ส่งอาจถูกเก็บไว้หรือส่งต่อได้ เแล้วก็ไม่อาจควบคุมได้อีกว่ามันจะไปไหนต่อ


กฎข้อที่สอง การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง
คนส่วนใหญ่มักจะเคารพกฎหมาย ไม่ว่าจะด้วยนิสัยหรือเพราะกลัวโดนจับก็ตาม แต่ในโลกเน็ต โอกาสถูกจับมีน้อย และบางทีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมักลืมว่าอีกฝ่ายที่กำลังคุยด้วยเป็นคนที่มีตัวตนจริงๆ จึงปฏิบัติต่อกันโดยมีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำกว่าในโลกจริง

ถ้าเรื่องนี้เกิดจากความสับสนก็ยังพอเข้าใจได้ แต่คนพวกนี้ก็เข้าใจผิดอยู่ดี มาตรฐานของพฤติกรรมบนโลกอินเตอร์เน็ตอาจแตกต่างจากโลกความจริงในบางเรื่อง แต่มันไม่ได้ต่ำกว่าแน่นอน เรื่องนี้ เกี่ยวกับมารยาท ไม่ใช่ศีลธรรม จงปฏิบัติตามแบบแผนที่ยึดถือในชีวิตจริง


การแหกกฎเป็นมารยาทที่แย่

ถ้าคุณอยากจะทำอะไรผิดกฎหมายในไซเบอร์สเปซ สิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นก็น่าจะผิดมารยาทด้วย จริงอยู่ที่กฎหมายบางข้อคลุมเครือซับซ้อน ยากที่จะปฏิบัติตามได้ และในบางกรณีเราก็ยังถกกันไม่ตกว่าจะนำกฎหมายไปประยุกต์ใช้ในโลกไซเบอร์สเปซได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว และกฎหมายลิขสิทธิ์


นี่เป็นคู่มือมารยาท ไม่ใช่คู่มือกฎหมาย แต่มารยาทเน็ตก็เรียกร้องให้คนปฏิบัติต่อกันและกันอย่างดีที่สุดภายใต้กฎหมายของสังคมและไซเบอร์สเปซ

อ่านต่อ Part IIใส่ข้อความที่ต้องการให้เห็น

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2552 หน้า 26
//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01180552ionid=0147&day=2009-05-18




Create Date : 18 พฤษภาคม 2552
Last Update : 21 พฤษภาคม 2552 12:19:08 น. 5 comments
Counter : 1868 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุงสำหรับความรู้นะคะ
 
 

โดย: peeshin วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:25:11 น.  

 
 
 
ถ้าทุกคนปฏิบัติได้แบบนี้โลกไซเบอร์ต้องมีความสุขสงบมากๆ เลยค่ะ
 
 

โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:57:45 น.  

 
 
 
ถูกต้อง

โลกไซเบอร์สนุกเหมือนโลกจริงนั้นแหล่ะ

รักโลภโกรธหลง เช่นกัน

เสียงเค้าว่ากันพรรณนั้น จ๊ะ
 
 

โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:48:52 น.  

 
 
 
หลายคนในโลกไซเบอร์มักไม่สนใจเรื่องต่างๆ เหล่านี้ เพราะคิดว่า ยังไงก็คงไม่เจอตัวกัน หรือ บโลกแห่งความนจริงนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

อยากให้คนเล่นเน็ตใส่ใจเรื่องมารยาทกันให้มากๆ ค่ะ
 
 

โดย: น้องเบจัง วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:22:41:36 น.  

 
 
 
ขอบคุฯสำหรับบทความดีดีครับ ฝากเว็บใหม่ของผมด้วยนะครับ my new web
 
 

โดย: prempcc วันที่: 28 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:46:09 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com