<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
13 เมษายน 2550
 

สงกรานต์





คัดจาก คอลัมน์ สยามประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
และ คอลัมน์ โลกสองวัย : บางกอกเกี้ยน

หนังสือพิมพ์ มติชน : 13 เมษายน 2550


สงกรานต์แห่งอุษาคเนย์ - มิใช่วันขึ้นปีใหม่ไทย
เดือนห้าทางจันทรคติของชุมชนท้องถิ่นกลุ่มหนึ่งในภูมิภาคอุษาคเนย์ เริ่มเข้าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า ประเพณีชาวบ้านช่วงเวลานี้สืบเนื่องจากเดือนก่อน (คือ เดือนสี่) เป็นช่วงเวลาหลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร แล้วพักรอฤดูการผลิตใหม่ที่จะมาถึงในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า จึงมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมาก เช่น เลี้ยงผี (บรรพบุรุษ เช่น ผีฟ้า ผีมด ผีเม็ง) ฯลฯ แต่ที่สำคัญคือ สงกรานต์ เพราะถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแท้ๆ มาแต่โบราณกาล ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะสงกรานต์เป็นประเพณีพราหมณ์ที่รัฐโบราณทุกรัฐในอุษาคเนย์รับจากพราหมณ์ชมพูทวีป (อินเดีย) เหมือนๆ กัน ไม่ใช่มีที่ไทยแห่งเดียว

ลำดับการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ ของสยามประเทศและประเทศไทย
เดือนอ้าย ขึ้นปีใหม่ของไทยสยามยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์หลายพันปี มาแล้ว ถือตามจันทรคติ ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือนที่ 1) เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มปีนักษัตรใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วเป็นช่วงหลังลอยกระทงกลางเดือน 12 ถือเป็นส่งท้ายปีเก่า
คติอย่างนี้มีอย่างเดียวกันหมดทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคอุษาคเนย์เมื่อเทียบปฏิทินสากลตามสุริยคติจะอยู่ราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม

ขึ้นปีใหม่สมัยกรุงศรีอยุธยา "สยามประเทศ" แบ่งเป็น 2 ภาคส่วน คือของราชสำนักกับของราษฎร
สงกรานต์ปีใหม่ในราชสำนัก รับแบบแผนพิธีพราหมณ์-ฮินดูจากอินเดีย ตั้งแต่หลัง พ.ศ.1000 เป็นต้นมา เหมือนกันหมดทุกราชสำนักของรัฐในอุษาคเนย์ คือถือวันสงกรานต์เป็นขึ้นปีใหม่ ตรงกับช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ทางจันทรคตินับเป็นเดือน 5

เดือนอ้าย ปีใหม่ของราษฎร ไม่รู้จักแบบแผนพราหมณ์-ฮินดู จึงถือเอาขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นขึ้นปีใหม่ตามคติเดิมสืบมา แต่ในสังคมเมืองใช้ทั้งสองคติ คือนับเดือนอ้ายด้วยแล้วทำบุญสงกรานต์ด้วย

1 เมษายน ขึ้นปีใหม่ สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดให้วันที่ 1 เมษายนของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา

1 มกราคม ขึ้นปีใหม่ ตามแบบสากลตะวันตก เริ่มเมื่อ พ.ศ.2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีสืบจนทุกวันนี้



วันหยุดเทศกาลสงกรานต์
แต่เดิมเมื่อหลายสิบปีก่อน ตั้งแต่สมัยก่อนกึ่งพุทธกาล คือก่อน พ.ศ.2500 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้ก่อตั้งสโมสรวัฒนธรรมฝ่ายหญิง และสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม กำหนดให้มีวันหยุดสงกรานต์ 3 วัน จำไม่ผิดน่าจะเป็นตั้งแต่วันที่ 12-14 เมษายน

หลังจากการปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วันหยุดสงกรานต์ลดเหลือวันเดียว คือวันที่ 13 เมษายน มาหลายปี

กระทั่ง พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเห็นความสำคัญของครอบครัวไทยที่ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในต่างจังหวัดต้องเดินทางออกจากถิ่นฐานบ้านช่องไปทำงานในที่ต่างถิ่นต่างแดน เห็นควรให้เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่ครอบครัวจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน จึงจัดให้มีวันหยุดสงกรานต์เป็น 3 วันตามเดิม คือวันที่ 12-14 เมษายน

ต่อมาเห็นว่าวันสงกรานต์ หรือเทศกาลสงกรานต์เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จึงเปลี่ยนวันหยุดจากเดิมเป็นตั้งแต่ 13-15 เมษายน

เมื่อเทศกาลสงกรานต์เป็นเรื่องของครอบครัว เช่นเดียวกับวันตรุษของชาติอื่น เช่นเทศกาลคริสต์มาส วันคริสต์มาสก็เป็นวันพบปะครอบครัวของชาวคริสต์ วันหยุดตรุษจีนก็เป็นวันพบญาติเยี่ยมญาติของคนจีน ระหว่างวันสงกรานต์จึงกำหนดให้เป็นวันที่สำคัญเกี่ยวกับครอบครัวไปด้วยในตัวเอง

คือวันที่ 13 เป็นวันผู้สูงอายุ หมายถึงบรรดาลูกเด็กเล็กแดงทั้งหลายจะถือโอกาสนี้ไปแสดงความเคารพ ไปรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ โดยเฉพาะญาติผู้ใหญ่ทั้งหลาย ปู่ย่าตายาย และพ่อแม่

การไปไหว้ไปกราบญาติผู้ใหญ่ ที่นิยมคือนำผ้าใหม่ไปกราบ เรียกว่าผ้ากราบ เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เราเคารพนับถือได้มีผ้าผืนใหม่ใช้ ซึ่งมักจะเป็นผ้านุ่ง ผ้าที่นำไปตัดเย็บเสื้อ ส่วนใหญ่เป็นผ้าไหมที่ผู้ให้ถักทอเอง จะซื้อหาไปให้ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

ถัดจากวันผู้สูงอายุ วันที่ 14 เมษายน ก็เป็นวันครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวพ่อแม่ลูกญาติพี่น้องได้มีโอกาสอยู่ร่วมกัน ไปทำบุญด้วยกัน กินข้าวกินปลาด้วยกัน ที่สำคัญคือได้มีโอกาสพูดจาปราศรัย ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบสนุกสนาน



Create Date : 13 เมษายน 2550
Last Update : 9 มิถุนายน 2550 20:47:41 น. 0 comments
Counter : 758 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com