<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
21 พฤษภาคม 2552
 

กฎหลักของมารยาทเน็ต Part III



หมายเหตุ -
ดัดแปลงจาก //www.albion.com/netiquette/corerules.html
คัดลอกจากหนังสือ มารยาทเน็ต (Netiquette) โดย เวอร์จิเนีย เชีย
แปลและเรียบเรียงโดย สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต (//thainetizen.org)
ในการเสวนากล้วยน้ำไทวิชาการ หัวข้อ "กติกาพลเมืองชาวเน็ต" จากแนวปฏิบัติสู่จารีตประเพณีจนถึงกฎหมายลายลักษณ์อักษร
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท


อ่าน Part I และ Part II

กฎข้อที่ห้า ทำให้ตัวเองดูดีเวลาออนไลน์
ใช้ประโยชน์จากความเป็นนิรนาม : ฉันไม่อยากจะให้รู้สึกว่าอินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่โหดร้าย เย็นชา เต็มไปด้วยผู้คนที่อดใจรอไม่ไหวที่จะดูถูกคนอื่น แต่โลกอินเตอร์เน็ตก็เหมือนโลกจริง คนที่สื่อสารกันในนั้นอยากเป็นให้คนอื่นชอบ การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดานสนทนา ทำให้คุณเข้าถึงคนที่คุณไม่เคยพบเจอ และไม่มีใครสามารถเจอคุณได้ คุณไม่ต้องถูกตัดสินด้วย สีผิว, สีตา, สีผม, น้ำหนัก, อายุ หรือการแต่งตัวของคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณจะถูกตัดสินผ่านคุณภาพของสิ่งที่คุณเขียน นี่เป็นข้อได้เปรียบสำหรับคนส่วนใหญ่ที่เลือกจะติดต่อออนไลน์ เพราะถ้าพวกเขาไม่สนุกกับการเขียนตัวหนังสือ ก็คงไม่ทำต่อ ดังนั้น การสะกดคำให้ถูกและเขียนให้ตรงตามหลักไวยากรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ

ถ้าคุณใช้เวลาเล่นอินเตอร์เน็ตมากและคุณไม่เก่งเรื่องการสะกดหรือไวยากรณ์ คุณก็ควรจะไปทบทวนสองเรื่องนี้ มีหนังสือให้อ่านมากมาย แต่คุณจะได้เรียนรู้มากและบางทีก็อาจจะสนุกกว่าถ้าไปลงเรียนเอง ถ้าคุณอยู่ในวัยกลางคน คุณไม่จำเป็นต้องไปลงเรียนวิชาประเภท "ไวยากรณ์แบบเรียนลัด" กับกลุ่มวัยรุ่นที่เบื่อเรียน คุณอาจจะไปลงเรียนวิชาตรวจปรู๊ฟและเรียบเรียงแทน วิชาพวกนี้ส่วนมากจะครอบคลุมหลักไวยากรณ์พื้นฐานอย่างค่อนข้างครบถ้วนอยู่แล้ว และก็จะเต็มไปด้วยนักเรียนที่กระตือรือร้นเพราะอยากรู้เรื่องนี้จริงๆ ลองไปเปิดหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยชุมชนดู นอกจากนี้ ผลพลอยได้ในการลงเรียนวิชาก็คือ คุณจะได้พบปะผู้คนจริงๆ อีกด้วย

รู้ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ และพูดอย่างมีเหตุมีผล
ให้ความสนใจกับเนื้อหาของสิ่งที่คุณเขียน จงแน่ใจว่าคุณรู้ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ เวลาที่คุณเขียนประโยค "ผมเข้าใจว่า..." หรือ "ผมเชื่อว่าในกรณีนี้..." ให้ถามตัวเองว่า คุณอยากจะโพสท์ข้อความนั้นก่อนที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนหรือไม่

ข้อมูลแย่ๆ ลามในโลกอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็วไม่ต่างกับไฟป่า และเมื่อมีการส่งต่อไปซ้ำๆ คุณก็จะพบว่ามันบิดเบือนไปเรื่อยๆ เหมือนเวลาเล่นเกมปากต่อปากในงานปาร์ตี้ คุณจะจำเนื้อความที่ฟังมาทีแรกไม่ได้ทั้งหมด และเมื่อพูดต่อไป มันก็ย่อมจะไม่เหมือนที่ได้ฟังมา (แน่นอน คุณอาจจะบอกว่านี่เป็นเหตุผลที่คุณจะไม่ใส่ใจเรื่องความถูกต้องแม่นยำของสิ่งที่คุณโพสท์ แต่อันที่จริง คุณรับผิดชอบเฉพาะสิ่งที่คุณโพสท์เองเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับว่าคนเอาสิ่งที่คุณโพสท์ไปทำอะไร)

นอกจากนั้น จงแน่ใจว่าข้อความของคุณชัดเจนและมีตรรกะ การเขียนย่อหน้าที่ไม่มีข้อผิดพลาดเลยทั้งด้านไวยากรณ์และการสะกดคำนั้นเป็นไปได้ แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าเนื้อความมันไม่สมเหตุสมผล เรื่องนี้มักจะเกิดขึ้นเวลาที่คุณอยากใช้คำยาวๆ หลายคำที่คุณเองก็ไม่เข้าใจจริงๆ เพียงเพื่อให้คนอ่านฮือฮา เชื่อเถอะว่าคุณทำไม่ได้หรอก เขียนให้ง่ายเข้าไว้ดีกว่า

อย่าโพสท์กระทู้ล่อเป้า : สุดท้าย คุณควรทำตัวเป็นมิตรและสุภาพ อย่าใช้ถ้อยคำก้าวร้าว และอย่าเขียนแบบหาเรื่องเพียงเพราะว่าคุณอยากจะมีเรื่อง

ถาม : สังคมอินเตอร์เน็ตยอมรับการสบถหรือไม่?

จะยอมรับก็เฉพาะบริเวณที่ขยะถูกมองเป็นงานศิลปะเท่านั้น เช่น ในกระดานข่าว USENET กลุ่ม alt.tasteless ปกติแล้วถ้าคุณรู้สึกว่าต้องสบถสาบาน ก่นด่าอะไรสักอย่างจริงๆ มันจะดีกว่าถ้าคุณเลือกใช้คำเปรียบเปรยที่ฟังดูครื้นเครงกว่า เช่น "เช็ดดดด" และ "ยี้" หรือคุณอาจจะใช้ดอกจันแทน เช่น แ**ง

การพูดเลี่ยงอาจจะเหมาะกว่าเมื่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต คุณจะไม่ทำให้ใครรู้สึกว่าถูกคุกคามโดยไม่จำเป็น แล้วทุกคนก็เข้าใจความหมายของคุณด้วย


กฎข้อที่หก แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ
จากข้อแนะนำเชิงลบ ท้ายสุดฉันอยากเสนอข้อแนะนำเชิงบวกบ้าง

ความมหาศาลคือจุดแข็งของไซเบอร์สเปซ มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่อ่านคำถามบนอินเตอร์เน็ต ถึงแม้จะมีส่วนน้อยมากในจำนวนนั้นที่ตอบคำถาม ความรู้โดยรวมของโลกก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี อินเตอร์เน็ตเองก็ก่อตั้งและเติบโต เพราะนักวิทยาศาสตร์อยากจะแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และพวกเราที่เหลือก็ค่อยๆ เริ่มมีบทบาทหลังจากนั้น ดังนั้น คุณก็ทำในส่วนของคุณไป แม้ว่ามารยาทเน็ตจะมีข้อห้ามยาวเหยียด คุณก็มีความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น อย่ากลัวที่จะแบ่งปันในสิ่งที่คุณรู้

ถ้าคาดหวังว่าจะได้คำตอบเยอะๆ หรือถ้าโพสท์คำถามลงในกระดานสนทนาที่คุณไม่ได้เข้าไปดูบ่อยๆ มันเป็นธรรมเนียมที่คุณจะขอให้คนตอบคำถามผ่านอี-เมลของคุณโดยตรง แล้วเมื่อคุณได้คำตอบมากพอสมควรแล้ว คุณก็ควรรวบรวมคำตอบ แล้วเอาไปโพสท์สรุปไว้ในกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอีกที เมื่อทำแบบนั้นทุกคนก็จะได้ประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญที่สละเวลามาเขียนตอบคุณ

ถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญเอง คุณสามารถทำอะไรได้มากกว่านั้น หลายคนรู้สึกว่าสามารถโพสท์แหล่งที่มาและบรรณานุกรม ตั้งแต่รายการจากแหล่งที่มาถูกกฎหมายออนไลน์ ถึงรายการในหนังสือ UNIX ซึ่งเป็นที่นิยม ถ้าคุณเป็นคนที่มีส่วนร่วมสูงในกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ไม่มี FAQ (คำถามที่พบบ่อย) ก็ควรเขียน FAQ ขึ้นมาซะ ถ้าคุณกำลังวิจัยในเรื่องที่คนอื่นอาจกำลังสนใจอยู่เช่นกัน คุณก็ควรโพสทŒมันลงไปด้วย

การแบ่งปันความรู้เป็นเรื่องสนุก เป็นธรรมเนียมของการใช้อินเตอร์เน็ตมายาวนาน นอกจากนั้นยังทำให้โลกดีขึ้นด้วย


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 หน้า26
//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01210552ionid=0147&day=2009-05-21


Create Date : 21 พฤษภาคม 2552
Last Update : 21 พฤษภาคม 2552 17:08:50 น. 3 comments
Counter : 836 Pageviews.  
 
 
 
 
เมื่อกี้ข้ามไปอ่านช่วงหลังเฉยเลย ยังไม่ได้อ่านช่วงแรกเลย เรื่องกระทู้ล่อเป้าเห็นในคาเฟ่พันทิปบ่อยเลยนะคะ
 
 

โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 21 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:47:59 น.  

 
 
 
มีประโยชน์มากเลยค่ะคุณนัทธ์
ต้องตามไปอ่านข้อ 1 และ ข้อ 2 ซักแล้ว
 
 

โดย: ปณาลี วันที่: 21 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:41:37 น.  

 
 
 
ย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่ภาคหนึ่งมาแล้ว
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ที่นำมาแบ่งบันกันนะคะ
^^
 
 

โดย: ศรีสุรางค์ วันที่: 22 พฤษภาคม 2552 เวลา:8:50:44 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com