มกราคม 2561
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
19 มกราคม 2561

ตัวอยู่กับหมาลูกมากับฝน


By Witoon Wattananit

กำลังเตรียมตัวอย่างเพลินๆ เหลือบเห็นแมลงอะไรสักอย่างเดินอยู่บนโต๊ะ หยีตาเพ่งมองต้องร้องยี้ มันคือ "เห็บ!"

ไม่ใช่เห็บตัวใหญ่อ้วนๆ ที่ชอบเกาะตามหูตามซอกนิ้วหมา แต่เป็นเห็บสีน้ำตาลเข้มตัวแบนๆ คงเป็นเห็บตัวผู้รึไม่ก็เห็บตัวเมียที่ยังไม่ได้กินให้ขยายขนาดเป็นเม็ดลูกหยี ดีนะที่เห็นก่อน ถ้ามันไต่ขึ้นตัว มาแอบกัดดูดเลือดคงเจ็บตัวน่าดู

อย่าให้ความขยาดทำให้เสียการ พอตั้งสติมั่นจึงพบเห็นโอกาส ถ้าจับมันมาถ่ายภาพด้วยกล้อง Field Emission Scanning Electron Microscope คงจะดี ในการนี้จะได้ทดสอบการเตรียมตัวอย่างและการฝึกหัดถ่ายภาพให้ชำนาญ


เห็บตัวแบนๆ ยาวสักสองสามมิลลิเมตร


ส่วนหัวของเห็บ เห็บจะดูดเลือดจากเหยื่อโดยฝังส่วนหัวลงในผิวหนังของเหยื่อ บางครั้งถ้าเราดึงเห็บที่เกาะดูดเลือดอยู่ออกอาจทำให้ส่วนหัวขาดค้างอยู่ใต้ผิวหนัง ในคนที่แพ้ส่วนที่ค้างใต้ผิวทำให้เกิดการแพ้อย่างต่อเนื่องยาวนาน และนอกจากนี้เห็บยังเป็นตัวแพร่โรคติดต่อบางอย่างอีกด้วย

จากScanning Electron Micrograph จะเห็นว่าบนตัวและหัวเห็บเต็มไปด้วยคราบสกปรกซึ่งเห็บตัวนี้คงเดินทางผ่านสิ่งที่ก่อคราบสกปรกเหล่านั้นมา 

ใต้ถุนห้องSEM ที่ผมทำงานอยู่ เป็นที่อยู่ของลูกหมาครอกหนึ่ง ซึ่งตอนเล็กๆ มันน่ารักมากจนยากที่ใครจะไม่เอ็นดู แต่ตอนนี้มันเติบโตเป็นขี้เรื้อนจึงยากนักที่จะหาใครเอ็นดู  ดีที่มีคนสงสารให้ข้าวมันกิน แต่ที่แย่สำหรับคนอื่นๆ ก็คือบางครั้งมันเห่าเกะกะระรานน่ากลัวทีเดียว

เห็บตัวนี้คงไต่ขึ้นมาจากใต้ถุน เดินตามซอกมุม ผ่านมาถึงขอบหน้าต่างและเล็ดลอดหลุดเข้ามาถึงบนโต๊ะเตรียมตัวอย่างให้ได้ขยะแขยง มันอาจจะหมายมั่นปั้นมือหวังดูดเลือดอุ่นๆ ของผม


ส่วนปาก


ส่วนขา ดูไปก็คล้ายขาปูเหมือนกันนะ


เจ้ยยย.... ปลายขามีเล็บเป็นตาขอด้วย คงไว้ช่วยในการเกาะผิวเหยื่อให้แน่น รวมถึงไต่ไปตามที่ต่างๆ 


ส่วนของบริเวณหลังเท้า


การเตรียมตัวอย่าง เนื่องจากเห็บตัวนี้เป็นเห็บที่ตัวแบนๆ เล็กๆ และมีเปลือกแข็งอยู่ภายนอก ผมจึงเตรียมตัวอย่างโดยนำไปแช่ใน Absolute Alcoholทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อฆ่าเห็บและดึงน้ำออกจากตัวเห็บ จากนั้นนำเห็บขึ้นจากแอลกอฮอล์ทิ้งให้ระเหยจนแห้ง(Air Dry) แล้วนำมาติดบนstubด้วยเทปกาวคาร์บอน (stubเป็นฐานวางตัวอย่างทำด้วยอลูมิเนียม) เคลือบผิวตัวอย่างด้วยทอง แล้วจึงนำเข้าถ่ายภาพด้วยScanning Electron Microscope


Scanning Electron Micrograph ทุกภาพ ถ่ายด้วยกล้อง TESCAN MIRA3 - Field Emission Scanning Electron Microscope จากศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ขอความสุขสถิตย์กับทุกท่าน สวัสดี





 

Create Date : 19 มกราคม 2561
4 comments
Last Update : 19 มกราคม 2561 19:12:35 น.
Counter : 4709 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกาบริเอล, คุณ**mp5**, คุณnewyorknurse

 

ได้เห็นหนเากันจะๆก้อวันนี้แหละครับ

 

โดย: จีรภัทร IP: 171.97.101.145 19 มกราคม 2561 19:41:26 น.  

 

ขอบคุณที่จับเอามาขยายภาพ ขยายความให้ชมนะคะพี่ไบรท์
อื้อหือ คราบเยอะมาก! แถมขายังมีปลายตะขออีก (ซับซ้อนจริง ๆ)
นี่ถ้าไปเจอตัวที่เป็นลูกเกดระดับเป่ง ๆ แล้วเวลาจับมันไปแช่
แอลกอฮอล์ แล้วน้ำในตัวมันจะระเหยแห้งได้แบบนี้มั้ยเนี่ย


 

โดย: กาบริเอล 20 มกราคม 2561 8:20:45 น.  

 

ภาพสวยมากครับ
วันหลังขอดูตัวหมัดด้วยนะครับ

 

โดย: polpris IP: 171.5.238.130 22 มกราคม 2561 5:18:33 น.  

 

สวัสดีครับ

-คุณจีรภัทร(Rx)ยินดีที่ได้มาทักทายกันที่นี่ครับ
-คุณฟ้า(กาบริเอล) สำหรับเห็บลูกเกดน้ำในตัวมันเยอะไปครับ ถ้าทำแบบนี้ตัวมันจะเหี่ยวเป็นลูกเกดแห้งเลย ต้องเอาไปแช่เยือกแข็ง หรือดูด้วยเทคนิคไคโอครับ(เคยถ่ายแบบCryoด้วยกล้องSEMตัวเก่าเดี๋ยวเอาลงให้ดูครับ)
-คุณpolpris ถ้ามีหมัดหลงมาจะถ่ายให้ดูเลยครับ(เคยถ่ายด้วยเครื่องเก่าแต่คิดว่าคงได้เห็นในกล้องตัวใหม่ที่รายละเอียดสูงกว่าครับ)

 

โดย: bite25 22 มกราคม 2561 10:31:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


bite25
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




New Comments
[Add bite25's blog to your web]

MY VIP Friend