กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
23 กุมภาพันธ์ 2550

Electron Microscope

Electron Microscope


Scanning Electron MIcroscope-CamScan MX 2000
ภาพจาก //www.camscan.com


ในช่วงปีทศวรรษที่ 1870 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Ernst Abbe ได้ทำนายและพิสูจน์ว่าจะไม่มีกล้องจุลทรรศน์ที่จะให้รายละเอียดที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่นแสงได้ (หรือประมาณ 250 นาโนเมตร) และไม่มีวัสดุใดที่ดีพอที่จะใช้ทำเลนส์สำหรับกล้องที่มีกำลังขยายสูงขนาดนั้น

ที่ E.Abbe กล่าวเช่นนั้นเพราะในยุคก่อนกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ในการถ่ายภาพขยายของวัตถุทำงานโดยใช้แสงสว่างในช่วงที่ตาเห็นและใช้วัสดุโปร่งใสในการทำเลนส์ ซึ่งทั้งตัวคลื่นแสงและเลนส์ล้วนมีข้อจำกัดเป็นไปตามที่เขากล่าว

แต่ E. Abbe นั้นไม่รู้ว่าในภายหลังจะมีคนค้นพบมีคลื่นบางอย่างที่มีความยาวคลื่นที่สั้นกว่าความยาวคลื่นแสง และนำมาใช้ประโยชน์ในทางกล้องจุลทรรศน์และมีการประดิษฐ์เลนซ์สำหรับคลื่นนี้ออกมา คลื่นนั้นไม่ใช่คลื่นแสงแต่คือ อิเล็กตรอน

Electron Microscope คือกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้อิเล็กตรอนแทนแสงในการสร้างภาพขยายของวัตถุ มีกำลังขยายมากกว่ากล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงมาก จึงมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพที่ต้องการรายละเอียดและกำลังขยายสูง
Electron Microscope แบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ซึ่งทั้งสองชนิดมีลักษณะการทำงานและภาพที่ถ่ายได้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่
- Transmission Electron Microscope หรือ TEM ในภาษาไทยเรียกว่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน
- Scanning Electron Microscope หรือ SEM ในภาษาไทยเรียกว่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

พฤติกรรมของอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก



ก่อนที่ J. J. Thomson จะค้นพบอิเล็กตรอนปี 1898 นั้น ก็มีการนำเอาอิเล็กตรอนมาใช้ประโยชน์ในชื่อที่เรียกว่า “รังสีแคโธด (Cathod rays)” ในตอนนั้นมีเทคโนโลยีที่สามารถสร้างรังสีแคโธดซึ่งก็คือลำอิเล็กตรอนได้ แต่ตัวนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจธรรมชาติของรังสีนี้

รังสีแคโธดจะถูกสร้างขึ้นในหลอดสุญญากาศ โดยใช้สนามไฟฟ้าช่วยให้เกิดลำรังสีชนิดนี้ออกมา ตัวรังสีนี้สามารถหักเหได้ในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่จะเห็นได้เมื่อตกกระทบลงบนฉากเรืองแสง

ณ ตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าเราสามารถเพิ่มความเข้มข้นของรังสีโดยขนาดลำรังสีเล็กลงได้โดยใช้ Magnetic solenoid (ขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน) พันรอบหลอดสุญญากาศ แม้ลำรังสีนี้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่สามารถทำให้กระดาษอัดรูปบริเวณที่โดนรังสีตกกระทบเป็นสีดำเหมือนกับการที่กระดาษอัดรูปโดนแสง ในปี 1926นักฟิสิกส์เยอรมันชื่อ Has Busch ได้แสดงให้เห็นว่าขดลวดแม่เหล็กสามารถรวมลำอิเล็กตรอนให้โฟกัสได้เหมือนกับที่แว่นขยายรวมแสงอาทิตย์ และนี่เองที่ศาสตร์แห่งElectron Opticsได้เริ่มต้นขึ้น

อิเล็กตรอนเลี้ยวเบนในสนามแม่เหล็กตามกฎมือขวา


พัฒนาการของเลนซ์อิเล็กตรอน



ในปี 1928 Max Knollและ Ernst Ruska (ท่านหลังนี้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 1986 "for his fundamental work in electron optics, and for the design of the first electron microscope") แห่ง Technische Hochschule เบอร์ลิน ได้ทดลองทำการทดสอบการทำงานของเลนซ์อิเล็กตรอน โดยให้ลำอิเล็กตรอนวิ่งผ่านตัวอย่างคือตาข่ายโลหะจากนั้นจะใช้ขดลวดพันรอบหลอดสุญญากาศทำหน้าที่เป็นเลนซ์โฟกัสลำอิเล็กตรอนสร้าง intermediate image ซึ่งจะถูกขยายอีกครั้งด้วยเลนซ์ชุดที่ 2 ภาพที่ได้นั้นขยายได้เพียง 13 เท่า และตัวอย่างที่ใช้ก็จะมีปัญหาหลอมละลายจากความร้อนที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้จริงที่เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสมัยนั้นจะนำเอาอิเล็กตรอนมาใช้สร้างภาพขยายของวัตถุได้

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้งานได้จริงสร้างขึ้นในปี 1933 โดย Ernst Ruska เป็นผลงานการค้นคว้าวิจัยในสมบัติของเลนซ์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electro Magnetic Lens) โดยเลนซ์ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นขดลวดแม่เหล็กพันหุ้มด้วยโครงเหล็กและเว้นช่องเล็กๆ ไว้ภายในรูกลางของขดลวด เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเส้นแรงแม่เหล็กเข้มข้นจะเกิดขึ้นในช่องว่างเล็กๆ นี้ และตัวสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นภายในนี้ทำหน้าที่เป็นเล็นซ์สำหรับลำอิเล็กตรอน

เครื่องมือของ Ruska มีกำลังแยกละเอียดสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงและเป็นต้นแบบของกล้องอิเล็กตรอนในปัจจุบัน

Ernst Ruska ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 1986 "for his fundamental work in electron optics, and for the design of the first electron microscope"


โครงสร้างทางกายภาพของเลนซ์เป็นกระป๋องโลหะมีขดลวดพันอยู่ภายใน ช่องว่างภายในกระป๋องทำหน้าที่เป็นขั้วแม่เหล็กเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด



Transmission Electron Microscope


ในข้างต้นได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ Transmission Electron Microscope ( TEM ) ไว้บ้างแล้วแล้วในที่นี้จะขอกล่าวถึงหลักการทำงานของ TEM หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน
TEM มีหลักการสร้างภาพขยายคล้ายกับกล้องจุลทรรศน์แสง (Light Microscopeหรือ LM) โดยในLMจะมีแหล่งกำเนิดคลื่นพลังงานที่ใช้ส่องตัวอย่างเป็นหลอดไฟฟ้าว่างอยู่ด้านล่างสุด(ในภาพประกอบนำมาวางอยู่ด้านบนเพื่อเปรียบเทียบกับTEM) โดยแสงที่ได้จากหลอดไฟจะผ่านเลนซ์ที่เรียกว่าCondenser Lens เพื่อถูกให้แสงเข้มขึ้นตามความเหมาะสมกับลักษณะตัวอย่าง แสงที่ถูกทำให้เข้มขึ้นแล้วนี้จึงส่องผ่านตัวอย่างที่ถูกเตรียมเป็นชิ้นบาง ภาพของตัวอย่างที่ถูกส่องสว่างนี้จะถูกขยายด้วยเลนซ์วัตถุ(Objective Lens) สร้างภาพที่เรียกว่าintermediate image และเลนซ์ใกล้ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้เป็นภาพขยายสุดท้าย

ใน TEM การสร้างภาพขยายจะคล้ายกับ LM มากแต่คลื่นพลังงานที่ใช้ส่องตัวอย่างเป็นอิเล็กตรอนแทนแสง ซึ่งสร้างจากอุปกรณ์ที่เรียกว่าElectron Gun หรือเรียกว่าแหล่งกำเนิดอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนที่ได้จะผ่าน Condenser Lens เพื่อปรับให้มีความเข้มตามความเหมาะสมกับลักษณะตัวอย่าง ลำอิเล็กตรอนที่ถูกทำให้เข้มขึ้นแล้วนี้จึงส่องผ่านตัวอย่างที่ถูกเตรียมเป็นชิ้นบางมากๆ ภาพของตัวอย่างที่ถูกส่องสว่างนี้จะถูกขยายด้วยเลนซ์วัตถุ(Objective Lens) สร้างภาพที่เรียกว่าintermediate image โดยทีProjetor Lens ทำหน้าที่ขยายภาพขยายสุดท้ายลงบนฉากเรืองแสงหรือบันทึกลงบนฟิล์ม

ซ้ายLight Microscope(LM) ขวาTransmission Electron Micrope(TEM)

ภาพจาก //em-outreach.ucsd.edu/web-course/Sec-I.A/Sec-I.A.html#I.A.END


ภาพด้านบนแสดงการจัดเรียงของอุปกรณ์หลักและตัวอย่างในLM เปรียบเทียบกับ TEM โดยทั้งคู่จะจัดเรียงคล้ายคลึงกันตามลำดับดังนี้
- เริ่มจากแหล่งกำเนิดส่องสว่าง ในLM จะเป็นหลอดไฟ (Lamp) ส่วนใน TEM จะเป็น Electron Gun
- Condenser Lens ในLM จะทำจากวัสดุโปร่งใสเช่นแก้ว นำมาขัดให้เกิดความโค้งนูน ส่วนใน TEMจะเป็นสนามแม่เหล็กที่สร้างจากElectro Magnetic LENS
- ตัวอย่าง
- เลนซ์ใกล้วัตถุ(Objective Lens)
- เลนซ์สุดท้าย(Final Lens) ซึ่งในLM จะเป็น Eyes piece Lens ส่วนในTEM จะเป็น Projector Lens

ในความเป็นจริงตัวกล้องLMนั้นจะวางตำแหน่งขององค์ประกอบที่กล่าวมากลับกันจากล่างขึ้นบน คือมีเลนซ์ไกล้ตาอยู่ด้านบนสุดและแหล่งกำนิดแสงหรือหลอดไฟอยู่ด้านล่างสุด

เนื่องจากว่าในการสร้างลำอิเล็กตรอนนั้นต้องทำในสุญญากาศ(ความดันต่ำถึง 10-4 torr) และตัวของอิเล็กตรอนเองก็จะกระเจิงหรือเสียพลังงานเมื่อกระทบกับสสารหรือก๊าซ ดังนั้นภายในระบบของการสร้างภาพของTEMที่กล่าวมาทั้งหมดจะอยู่ในสุญญากาศซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญอีกข้อหนึ่งระหว่าง LM และ TEM

อุปกรณ์หลักในกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนTEM



แหล่งกำเนิดอิเล็กตรอนหรือElectron Gunเทียบได้กับหลอดไฟในกล้องLM

Electron Gun แบบ Tungsten Filament


LENS
ได้แก่ Objective Lens และ Projector Lens เป็น Electro Magnetic Lens ดังที่อธิบายไว้แล้ว เลนซ์ในชุดนี้ทำงานคล้ายกับในLM ตัว Objective Lensทำหน้าที่สร้างIntermediate Image ซึ่งจะถูกขยายต่อโดย Projector Lens จากนั้นจะฉายภาพขยายลงบนฉากเรืองแสง หรือฟิล์ม หรือCencer รับภาพสำหรับกล้องที่บันทึกภาพเป็นระบบดิจิตอล Projector Lens เทียบได้กับ Eyepiece Lens ใน LM



Scanning Electron Microscope


Scanning Electron Microscope เรียกโดยย่อว่า SEM หรือในภาษาไทยเรียกว่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ใช้อิเล็กตรอนในการสร้างภาพขยายเช่นเดียวกับTEM แต่มีความแตกต่างในรายละเอียดของกระบวนการในการสร้างภาพอย่างมาก SEMเครื่องแรกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 จากนั้นSEMก็ค่อยๆกลายเป็นเครื่องมือที่นำไปประยุกต์ใช้แพร่หลายทั่วไป ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การแพทย์ อุตสาหกรรม นิติวิทยาศาสตร์ โบราณคดี และอื่นๆอีกหลายด้าน

หลักการทำงานของScanning Electron microscope


SEM มีหลักการสร้างภาพต่างจาก LM และ TEM เป็นอย่างมาก ซึ่งพอจะอธิบายได้ดังนี้

อิเล็กตรอนจะถูกสร้างขึ้นโดยใช้Electron Gun จากนั้นลำอิเล็กตรอนจะถูกโฟกัสให้เข้มขึ้นและเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงโดย Condenser Lens จากนั้นจะถูกโฟกัสให้ตกลงบนผิวตัวอย่าง โดย Objective Lens ซึ่ง ณ ตอนนี้ อิเล็กตรอนที่ตกลงบนผิวตัวอย่างจะเป็นเพียงจุดที่เล็กมาก

Scan Coil จะควบคุมการกวาดของลำอิเล็กตรอนให้กวาดจากซ้ายไปขวา เมื่อสุดก็เลื่อนลงอีกขั้นและกวาดจากซ้ายไปขวาอีกครั้ง เป็นเช่นนี้จนครบFram การกวาดลำอิเล็กตรอนเช่นนี้เรียกว่า raster scan และเมื่อครบframeแล้วก็จะไปเริ่มแสกนที่จุดแรกใหม่


ในการกวาดลำอิเล็กตรอนในแต่ละframeจะถูกกำหนดจำนวนจุดและแถวไว้อย่างแน่นอน โดยในภาพตัวอย่าง 1 แฟรม ตามเส้นตามแนวนอนจะประกอบด้วยจุด 1000 จุด และมีทั้งหมด 1000 เส้น

ที่ผิวตัวอย่างที่อิเล็กตรอนตกใส่ จะเกิดสัญญาณอิเล็กตรอนขึ้นหลายรูปแบบซึ่งคล้ายกับการที่แสงตกกระทบวัตถุและสะท้อนออกจากผิววัตถุ ในที่นี้ถ้ากล่าวอย่างง่าย ๆ ว่าถ้าผิวตัวอย่างเรียบก็จะให้สัญญาฯสะท้อนอิเล็กตรอนได้ดี แต้ถ้าผิวตัวอย่างเป็นหลุมลึกก็จะไม่ให้สัญญาณหรือให้ได้น้อย ซึ่งเราสามารถรับสัญญาณได้โดยใช้Detectorที่เหมาะสมกับชนิดของสัญญาณ สัญญาณที่ได้จะนำมาขยายให้มีความแรงที่เหมาะสมแล้วนำมาสร้างเป็นภาพ


ถ้าเราใช้จอหลอดรังสีแคโธด(Cathod ray tube, CRT) เพื่อแสดงภาพ ในหลอดรังสีแคโธดจะมีการสร้างลำอิเล็กตรอนและถูกบีบให้เป็นลำเล็กๆ แต่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าในกล้อง SEMมาก กล่าวคือในSEM ลำอิเล็กตรอนมีขนาดศูนย์กลางในระดับนาโนเมตร คืออาจต่ำได้ถึง 5 นาโนเมตรหรือต่ำกว่า แต่ในจอ CRT มีขนาดศูนย์กลางประมาณ 0.1 เซนติเมตร เมื่อพิจารณาอัตราส่วนของลำอิเล็กตรอนของSEMต่อCRTจะพบว่าห่างกันถึง 20000 เท่า ทำให้เกิดเป็นอัตราส่วนของกำลังขยายที่จะให้ภาพที่มีรายละเอียดได้ดี ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
การแสกนในCRT จะถูกควบคุมให้มีการสแกนแบบRaster scan พร้อม ๆ กับการแสกนของลำอิเล็กตรอนในกล้อง ขณะเดียวกันความสว่างของจุดอิเล็กตรอนในCRTจะขึ้นอยู่กับความแรงของสัญญาณจากAmplifierที่ขยายสัญญาณจากDetector รับสัญญาณอิเล็กตรอนในกล้อง ถ้าสัญญาณแรงก็จะให้ความสว่างของลำอิเล็กตรอนมาก เมื่อส่งลงบนจอของCRTก็จะปรากฏเป็นจุดสว่าง ในทางกลับกันถ้าสัญญาณเบาก็จะได้จุดที่มีความสว่างน้อย บนจอก็จะรากฎเป็นจุดสว่างน้อยด้วย บนจอCRTจะทำการเรียงจุดของสัญญาณที่ได้นี้เป็นแถวจนครบแฟรมก็จะได้เป็นภาพออกมา

ถ้าบนจอCRTมีขนาดกว้างและยาวเป็น 20 เซนติเมตร และเรากำหนดการกวาดลำอิเล็กตรอนในกล้อง ให้ 1 แฟรมมีพื้นที่ขนาด กว้างยาวเป็น 20 เซนติเมตรด้วย อัตราส่วนการขยายของภาพก็จะเป็น 1 เท่า แต่ถ้าเราให้การกวาดลำอิเล็กตรอนในกล้องเป็นพื้นที่ 1 x 1 เซนติเมตร ก็จะขยายภาพเป็น 20 เท่า แต่ในความเป็นจริงขนาดของการสแกน 1 แฟรมในกล้องอาจควบคุมให้เล็กมากถึงระดับไมโครเมตรโดยที่การสแกนบนหน้าจอยังเท่าเดิม ดังนั้นการขยายจึงได้ถึงระดับหมื่นเท่า

สัญญาณที่เกิดขึ้นเมื่ออิเล็กตรอนกระทบผิวตัวอย่าง



อิเล็กตรอนจากColumn ของ SEM เราเรียกว่าPrimary Electron เมื่อตกกระทบผิวตัวอย่างจะมีสัญญาณหลาย อย่างเกิดขึ้น แต่พอจะแบ่งเป็นกลุ่มได้สองกลุ่มคือ

1.Inelastic Scattering

a.Secondary Electrons
b.X-Rays
c.Auger Electrons
d.Phonons
e.Transmitted Electron
f.Cathodoluminescence

2.Elastic Scattering

a.Back Scattered Electrons

สัญญาณที่นำมาใช้ประโยชน์ใน SEM มี 4 ชนิดได้แก่

a.Secondary Electrons (SE) เป็นอิเล็กตรอนพลังงานต่ำที่เกิดจาก Primary Electrons ไปชนเอาอิเล็กตรอนที่ผิวตัวอย่างหลุดออกมา โดยจะหลุดออกจากผิวตัวอย่างที่ความลึกจากพื้นผิวไม่เกิน 10 นาโนเมตร ให้ภาพที่มีรายละเอียดสูง ความเข้มของSE จะขึ้นกับมุมที่Primary Electronsตกใส่ และสภาพพื้นผิวตัวอย่าง ให้ภาพที่มีรายละเอียดสูง ภาพที่ได้จากSE เรียกว่าSecondary Electron Image, SEI

b.Back Scattered Electrons (BSE) คือ Primary Electronsที่กระเจิงกลับออกมาจากผิวตัวอย่าง กล่าวคือ เมื่อPrimary Electronsวิ่งเข้าใกล้หรือเข้าชนนิวเคลียสของอะตอมบนผิวตัวอย่างก็จะเกิดการเปลี่ยนทิศทางกระเจิงกลับออกมาจากผิวตัวอย่าง โดย BSE จะเกิดมากกับธาตุที่มีเลขอะตอมสูง ความเข้มของสัญญาณBSE จะขึ้นกับมุมที่Primary Electronsตกใส่ตัวอย่าง และยังขึ้นกับเลขอะตอมของธาตุที่ผิวตัวอย่าง ภาพที่ได้จากBSE เราเรียกว่า Back Scattered Electron Image (BEI) หรือ Primary Electron Image

c.Characteristic X-rays เกิดจากการที่เมื่ออิเล็กตรอนวงในของธาตุตัวอย่างถูกชนโดย Primary Electronsจนหลุดออกไป ก็จะเกิดเป็นระดับชั้นพลังงานที่ว่าง ทำให้อิเล็กตรอนที่ระดับพลังงานสูงกว่าลดระดับพลังงานลง พร้อมกันนี้ก็จะปล่อยพลังงานในรูป X-Rays ออกมา พลังงานของX-Rays ที่ได้จะมีรูปแบบของระดับพลังงานเฉพาะตัวแตกต่างกันไปในแต่ละธาตุเรียกว่าCharacteristic X-Rays ดังนั้นจึงสามารถทำให้วิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบที่ผิวตัวอย่างโดยอาศัยประโยชน์จากการวิเคราะห์พลังงานหรือความยาวคลื่นของ X-rays ที่เกิดขึ้นนี้

d.Cathodoluminescence ธาตุบางชนิดเมื่อได้รับการถ่ายทอดพลังงานจากPrimary Electrons ก็จะปลดปล่อยพลังงานในรูปของแสงในช่วงที่ตาเห็นหรืออาจเลยไปถึงช่วงUV ปรากฏการนี้เกิดขึ้นในตัวอย่างบางชนิดเท่านั้น

ภาพตัวอย่างจากSEM

เม็ดเลือดแดงปลา(ภาพแต่งสี)i>
ภาพจาก //www.stec.sc.su.ac.th


เกสรดอกไม้
ภาพจาก //www.stec.sc.su.ac.th

ปลายประสาทบนผิวปลา
ภาพจาก //www.stec.sc.su.ac.th


หรือสามารถชมภาพถ่ายจากSEMได้ที่ //en.wikipedia.org/wiki/Scanning_Electron_Microscope#Gallery_of_SEM_images

อ่านเรื่องเกี่ยวกับSEM จาก Wikipedia





Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 28 พฤษภาคม 2550 13:02:07 น. 23 comments
Counter : 6524 Pageviews.  

 
โอย...เหมือนได้เรียนฟิสิกส์ 101 เลยอ่ะคะ
แต่ก็ดีนะ ได้รีวิวความรู้ที่หดหายไปนานแล้ว


โดย: Mariko (GottaBeMary ) วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:20:14:13 น.  

 
ดีมาก ๆ เลยครับ


โดย: angel of music (angel of music ) วันที่: 17 มีนาคม 2550 เวลา:23:41:27 น.  

 
ที่จริงสำหรับเรื่องการทำงานของSEMยังเอาภาพประกอบลงไม่ครบเลยครับ
แล้วจะรีบนำมาลงให้นะครับ


โดย: bite25 วันที่: 18 มีนาคม 2550 เวลา:22:12:53 น.  

 


โดย: เสี่ยวเหลียงจือ วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:22:44:58 น.  

 
ปลายประสาทบนผิวปลา เหอะๆๆ เห็นแล้วจะ ..... ถ่ายได้เก่งมากอ่ะ แต่ชอบอ่ะเนื้อหาดี


โดย: คนเลวๆคนหนึ่ง IP: 158.108.154.235 วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:23:19:20 น.  

 
ถ้ามีแต่ภาพจะสามารถสรุปเกี่ยวกับรูปภาพว่าไงดี
ช่วยบอกที


โดย: น่ารัก IP: 222.123.206.200 วันที่: 17 มีนาคม 2551 เวลา:21:29:23 น.  

 
คุณน่ารัก ต้องรู้ว่าตัวเองต้องการดูลักษณะอะไรและน่าจะเห็นแบบไหน หรือใช้ภาพขยายที่ได้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องค่อยๆคิดอะครับ บางทีอาจจะสรุปอะไรไม่ได้เลยก็ได้ครับ อย่างไรรบกวนช่วยบอกรายละเอียดพื้นฐานมากกว่านี้หน่อยอะครับ


โดย: bite25 วันที่: 18 มีนาคม 2551 เวลา:15:28:59 น.  

 
อย่างทราบว่าถ้าต้องการวิเคราะห์ถ่านกัมมันต์ จะต้องเตรียมอย่างไรบ้าง แล้วต้องเคลือบตัวอย่างด้วยทองไหม เข้าเครื่องที่ภาวะใด ความดันสูงหรือความดันต่ำ
ใครรู้ช่วยบอกที ได้โปรด !
ด่วนที่สุด!!!!


โดย: nataya IP: 118.172.202.87 วันที่: 3 สิงหาคม 2551 เวลา:16:34:49 น.  

 
คุณnataya

ถ่านกัมมันต์ ผมเคยถ่ายภาพวิเคราะห์เหมือนกันครับ ถ้าดูกำลังขยายต่ำเครื่องมีระบบLow-vac ก็คงไม่ต้องเคลือบครับ

แต่ถ้าจะศึกษาลักษณะพื้นผิวที่กำลังขยายสูง(มากกว่า 1000 เท่า) แนะนำให้เคลือบผิวตัวอย่างด้วยทองและถ่ายภาพในระบบปกติ(hi-vac)จะได้ภาพลักษณะพื้นผิวที่ชัดเจนกว่าครับ แต่ต้องใช้เวลาในการเลือบมากพอควรเพราะตัวspecimenมันมีความพรุนคัวสูง

ในกรณีดูhi-vac ที่กำลังขยายสูง เตรียมตัวอย่างโดยติดตัวอย่างบนstub ด้วยเทปกาว 2 หน้า(ถ้าจะให้ดีเอาเป็นเทปที่นำไฟฟ้า เช่นเทปคาร์บอน) ใช้ชิ้นถ่านเล็กๆ หลายๆ ชิ้นติดไว้บนstubเดียวกัน จากนั้นนำไปเคลือบผิวด้วยทองครับ

ถ้าจะต้องการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบที่ผิวด้วยแนะว่า ให้ดูด้วยLow-vac โดยไม่ต้องเคลือบผิว จะวิเคราะห์ธาตุได้โดยไม่มี spectrum ของทองขึ้นมารบกวน...

คุณnataya ให้รายละเอียดเพิ่มเติมอีกหน่อยได้ไหมครับ ว่า ต้องการดูพื้นผิวที่กำลังขยายสูง หรือต้องการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบด้วยหรือป่าว...

อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ผมกล่าวไปคงช่วยได้บ้างพอควร ลองดูนะครับ




โดย: bite25 วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:12:24:00 น.  

 
ผมต้องการหาที่ที่รับทำ SEM สำหรับดูภาพถ่ายของ cell ที่สามารถเห็นลักษณะของ microvilli ได้ ขอคำแนะนำสถานที่รับทำด้วยครับ


โดย: nung IP: 58.137.133.20 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:08:28 น.  

 
เเวะมาดูใน blog เเล้วค่า หวานเองที่เพิ่งจะไปส่อง SEM วันที่มีอาจานมาเเนะนำตัวนักศึกษาป.โทอ่ะค่ะ เห็น blog เเล้ว ยิ้มเลยอ่ะ พี่ยังอุตส่าห์เอาความรู้มาโพสให้เก็บเกี่ยวกันอีก ขอบคุณเเทนคนอ่านด้วยค่ะ


โดย: หวาน IP: 125.27.217.239 วันที่: 29 มกราคม 2552 เวลา:19:16:15 น.  

 
สวัสดีครับ

คุณหนึ่ง ผมคิดว่าปัญหาอยู่ที่การเตรียมตัวอย่างต้องหาห้องLab ที่รักบFixตัวอย่าง ผมแนะนำให้ลองติดต่อไปยังศูนย์เครื่องมือฯ จุฬา ครับ

น้องหวาน ด้วยความยินดีครับ


โดย: bite25 วันที่: 30 มกราคม 2552 เวลา:16:17:30 น.  

 
ผมขาย SEM ยี่ห้อ Camscan ถ้าสนใจและมีที่แนะนำ โปรดติดต่อ
0863965044 ขอบคุณมากครับ


โดย: ชัย IP: 124.121.190.42 วันที่: 11 มีนาคม 2552 เวลา:8:00:12 น.  

 
อ่านแล้วเข้าใจดี มีความรู้ขึ้นอีกมากมายเรยค๊า

ช่วยอธิบายเกี่ยวกับ Electron gun ทั้ง 3 ชนิด
- tungsten filament
- Field Emission
- Lab6
ว่าทั้ง 3 ชนิด มีขนาดลำอิเล็กตรอน
ขนาดกำลังขยายของภาพ และ ลักษณะ gun (รูปภาพ)
ต่างกันอย่างไร ด้วยนะค่ะ

ต้องเอาข้อมูลทำ report ส่ง อ่ะค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ


โดย: bissjoin IP: 203.185.129.211 วันที่: 20 เมษายน 2552 เวลา:14:57:42 น.  

 
หนูอ่ะ อยากทำ cryostate ค่ะพี่
คงไม่มีหวังแล้วช่ายม้ายยยยยย


โดย: แก้วค่ะ (เรื่อยๆ-เหนื่อยก็พัก ) วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:13:54:03 น.  

 
bissjoin เรื่องที่ถามอธิบายยาวมาก... และผมก็ไม่แน่ใจนักว่าจะอธิบายได้ถูกต้องครับ... ลองหาข้อมูลจากในเน็ต หรือในห้องสมุดก่อนดีไหมครับ น่าจะมีคนอธิบายไว้ดีแล้ว..

น้องแก้ว ฮือๆ คงจะยังไม่ซ่อมระบบนี้อีกนานอะครับ... ลองฟรีซดรายดูนะ แต่แช่ตัวอย่างให้แข็งโดยใช้ เมธานอลเย็น -80 องศา เอาเมธานอลไปแช่ดีฟฟรีซจนเย็น -80 และเอาตัวอย่างของเราลงแช่แข็งในเมธานอลเย็น มันจะแข็งทันทีไม่มีน้ำแข็งผลึก แล้วค่อยเอาไปเข้าเครื่องฟรีซดราย...


โดย: เจ้าของบล็อก (bite25 ) วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:11:27:47 น.  

 
ชอบคัรบ ดีมากเลย


โดย: dark-phantom IP: 125.26.21.87 วันที่: 1 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:23:09 น.  

 
สวัสดีคับ

มีที่ไหน บ้างคับที่จะสามารถ ถ่ายภาพ sem ได้หรือเป็นคำปรึกษาด้านนี้บ้าง

ช่วยบอกหน่อยนนะครับ
ตอนนี้กำลังหาข้อมูลทำt-sis

nokkung69@hotmail.com
ขอบคุณคับ


โดย: nok IP: 58.136.81.188 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:49:15 น.  

 
ขอบคุณที่ทำให้การบ้านเสร็จ ไชโยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: เด็กวิทย์ IP: 118.173.177.22 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:10:38 น.  

 
พี่ไบท์ หวานมาขอเอาไปสอบหน่อยจ้า
อวยพรหน่อยวิชานี้ยากกกกกกกกกกกกกกส์


โดย: หวานเองฮับ IP: 113.53.150.212 วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:15:12:09 น.  

 
ขอให้หวานโชคดีในการสอบครับผม


โดย: bite25 วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:17:41:28 น.  

 
แล้ว Freeze-fracture transmission electron microscopy (FF-TEM) คืออะไรหรอคะ


โดย: ขิมคะ IP: 223.206.8.16 วันที่: 17 ธันวาคม 2554 เวลา:22:18:47 น.  

 
ตอบคุณขิม ว่าผมไม่เคยใช้ครับ แต่ลองเข้าไปในวิกิพีเดียมีพูดถึงอยู่ //en.wikipedia.org/wiki/Electron_microscope

ตรงหัวข้อSample preparation มีหัวข้อย่อย Freeze-fracture or freeze-etch ด้านล่างอะครับ


โดย: bite25 วันที่: 21 ธันวาคม 2554 เวลา:23:55:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bite25
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




New Comments
[Add bite25's blog to your web]

MY VIP Friend