<<
ธันวาคม 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
17 ธันวาคม 2558

Scanning Electron Micrograph ละอองเกสรดอกหมอน้อย

หมอน้อย(ชื่อวิทยาศาสตร์Cyanthillium cinereum ชื่อพ้อง Vernonia cinerea Less.) เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณหนึ่งถึงสามฟุต เป็นไม้พื้นถิ่นในเขตร้อนของอัฟฟริกาและเอเชีย แต่กระจายพันธุ์ไปพบได้ในเขตร้อนทั่วโลก อยู่ในวงศ์ASTERACEAE (วงศ์ทานตะวัน)  พบเป็นวัชพืชในแปลงเกษตรและบ้านเรือน และพบได้ทั่วไปตามที่รกร้างป่าโปร่ง ต้นมักตรงแตกกิ่งน้อย ใบเดี่ยวออกสลับขนาดยาวประมาณ 5 ซม. กว้างสัก 2-3 ซม. รูปหอกหรือไข่กลับหรือขอบขนาน ขอบใบมีขยัก ต้นและใบมีขนคลุมกระจายห่างๆ ขนาดใบและรูปร่างต่างกันไปตามท้องที่และความสมบูรณ์ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายต้น ดอกสีชมพูไล่ไปถึงสีม่วง

Scanning Electron Micrograph ของละอองเกสรต้นหมอน้อยแสดงในภาพด้านล่าง

รูปร่างเป็นทรงกลมมีสันเป็นตะข่ายหกเหลี่ยมทั่วทั้งเม็ด บนกลางสันมีหนาม


ดูแล้วนึกถึงลูกบอลผสมกับลูกตะกร้อผสมกับลูกทุเรียน


แสดงลักษณะพื้นผิวของละอองเกสรหมอน้อย


ลำต้นและช่อดอกหมอน้อย ภาพจาก commons.wikimedia.org


ดอกหมอน้อย ภาพจาก commons.wikimedia.org

ภาพScanning Electron Micrograph ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



Create Date : 17 ธันวาคม 2558
Last Update : 17 ธันวาคม 2558 15:12:46 น. 0 comments
Counter : 2565 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bite25
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




New Comments
[Add bite25's blog to your web]

MY VIP Friend