<<
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
10 กุมภาพันธ์ 2559

ต้อยติ่งเทศ ละอองเกสรผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กครอนแบบส่องกราด

ต้อยติ่งเทศมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruellia simplex C. Wright เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงคู่ อยู่ในวงศ์Acanthaceae (วงศ์เหงือกปลาหมอ)  มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Britton's wild petunia, Mexican petunia, Mexican bluebell และมีชื่อสามัญอื่นในภาษาไทย คือ ต้อยติ่งฝรั่ง ฟ้าประทาน เป็นไม้ประดับจากต่างแดนที่นิยมปลูกกันคงเนื่องด้วยดูแลง่าย ให้ดอกเก่ง และมีสีสันสวย เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก คาริเบียน และอเมริกาใต้ 

ต้อยติ่งเทศเป็นไม้พุ่มล้มลุก สูงได้ถึง 80 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบตรงข้าม ใบยาวเรียว ขอบใบเรียบ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกเป็นกรวยปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีหลายสี ขาว ชมพู ฟ้าไปจนถึงม่วงเข้ม ผลเป็นฝักแบบแคบซูลรูปร่างยาว เมื่อแห้งและโดนน้ำจะแตกตามตะเข็บตามความยาวของฝัก เมล็ดแบนคล้ายเมล็ดพริก


ดอกและใบต้อยติ่งเทศ กลีบดอกเป็นกรวยปลายเป็น 5 กลีบ

เกสรของดอกต้อยติ่งเทศภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงไว้ด้านล่าง

ละอองเกสรสดของต้อยติ่งเทศเป็นทรงกลมมีลายตาข่ายเป็นสัน










สีสันหลากหลายของดอกต้อยติ่งเทศ 


ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้อยติ่งเทศในเว็บไทยนั้นสับสนมาก โดยมักจะใช้ชื่อเป็น R. squarrosa แต่เมื่อค้นหารูปดอกไม้ของ R. squarrosa เราจะพบเป็นดอกไม้ชนิดอื่นที่มีดอกคล้ายกันแต่มีลักษณะของลำต้นและใบที่ต่างไป  ผมเองต้องขอขอบคุณเว็บของกรมการอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยเฉพาะในส่วนของเว็บ-ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันท์ //www.dnp.go.th/botany/mplant/index.aspx ที่ช่วยให้ค้นหาชื่อวิทยาศาสตร์ของต้อยติ่งเทศ Ruellia simplex C. Wright  และเมื่อนำชื่อที่นี้ไปค้นหารูปจากอินเตอร์เน็ตก็สอดคล้องกัน 

จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามบางครั้งข้อมูลที่ผิดพลาดที่ดูมีความเป็นวิชาการ เป็นวิทยาศาสตร์ดูมีหลักการหลักฐาน หรือถูกเสนอโดยคนที่น่าเชื่อถือ และด้วยความน่าเชื่อถือดังกล่าวข้อมูลที่ผิดพลาดนั้นจะถูกคัดลอกและเผยแพร่ไปโดยขาดการตรวจสอบ  จนหลายคนกลายเป็นพาหะของความผิดพลาด และหลายคนต้องกลายเป็นเหยื่อของการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดนี้ ดังนั้นต้องเตือนตัวเองก่อนเสมอว่าให้ตรวจสอบให้ดีก่อนจะเชื่อหรือเผยแพร่ข้อมูลต่อไป

SEM micrograph ของต้อยติ่งเทศด้านบนถ่ายที่ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

ขอบคุณ อ.เก๋ : อาจารย์ กัญจน์รัตน์ สุขรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สำหรับดอกต้อยติ่งเทศสีหวานที่ผมนำมาถ่ายภาพละอองเกสร และภาพดอกต้อยติ่งเทศสีฟ้าที่แสดงในบล็อกนะครับ

ขอความสุขสงบสถิตย์ในดวงใจ




Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2559 15:52:25 น. 0 comments
Counter : 4978 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bite25
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




New Comments
[Add bite25's blog to your web]

MY VIP Friend