Group Blog
 
All blogs
 

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บทสวด & คำแปล)

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ

ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ

เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )

- สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

- สัมมาวาจา วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )

- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )

- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )

- การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

- ชาติปิ ทุกขา ความเกิดก็เป็นทุกข์



เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- มะระณัมปิ ทุกขัง เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์

- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

วิภะวะตัณหา และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ" การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ

1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง

2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ

3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

นิมมานะระ*ง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ปะระนิมมิตะวะสะวัต*ง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

..........................................................................................
จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี

ขอขอบคุณ : //www.dhammajak.net/prayer/dhammajak.php




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2552    
Last Update : 18 มิถุนายน 2552 22:14:27 น.
Counter : 2675 Pageviews.  

ความทุกข์ที่สุดมาถึง สิ่งที่ควรระลึกถึงมีสองสามสามอย่าง คือ

เมื่อความทุกข์ที่สุดมาถึง สิ่งที่ควรระลึกถึงมีสองสามอย่าง คือ

1) อย่ากลัวว่าความทุกข์นั้นจะมีตลอดไป เพราะมันจะไม่คงอยู่ตลอดไป เดี๋ยวมันก็จางไป

2) อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพราะจะมีทางแก้ไขเสมอ เพียงแต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกเท่านั้น สาม อย่านึกว่าต่อไปนี้เราจะไม่ได้รับสิ่งดีๆ อีก

เพราะเมื่อทุกข์ผ่านไป เราจะยังมีความสุข สนุกสนาน ได้อย่างเดิมแน่นอน

3) สุดท้ายคือ ให้นึกถึงคนข้างหลัง ที่เขาจะต้องเศร้า ได้รับการกระทบกระเทือน จากการกระทำด้วยอารมณ์ของเรา เมื่อทุกข์ที่สุดมาถึงสิ่งที่เราต้องทำทันที ในขณะที่ยังตั้งตัวปรับใจไม่ทันก็คือ รีบหาทางเปลี่ยนอารมณ์ เมื่อเราไปเจอคนอื่นทุกข์สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือช่วยเปลี่ยนอารมณ์เขาก่อน จากนั้นสติจึงจะตามมา

ความทุกข์ที่มากสุดจะแก้ได้เร็วและง่ายที่สุด ด้วยการเปลี่ยนอารมณ์ ดึงอารมณ์ออกจากสถานการณ์นั้นก่อน อาจง่ายๆ เพียงแค่ทำอะไรที่ชอบ ฟังเพลง ดูหนัง หาของอร่อยกิน ชวนเพื่อนไปเที่ยว ชวนคุยเรื่องอื่น ลืมเรื่องทุกข์ไปชั่วคราวก่อน บางทีก็เบาบางได้เอง

ที่สำคัญถ้ามีเพื่อนดี จะเบาบางไปได้มากที่สุด ที่ไม่ควรทำคือดื่มสุรา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ควรหันไปดื่มเหล้าเบียร์ เพราะการกินเหล้าก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่จะมีข้อเสียกว่าคือ จะยิ่งโกรธง่าย น้อยใจง่ายและโมโหง่ายกว่าเดิม และไม่มีสติยับยั้งความโกรธ หรืออารมณ์ที่รุนแรงเหล่านั้น เมื่อเปลี่ยนอารมณ์ได้ ใจจะเข็มแข็งมากพอที่จะแก้ในขั้นต่อไป

ขั้นต่อไปคือ พยายามตั้งใจใช้สติคิดว่าจะแก้ได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล สายไปแค่ไหนแล้วและแก้ได้หรือไม่ ทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่ ถ้าแก้ไม่ได้ ขั้นสุดท้ายคือ ทำให้ใจของเรายอมรับสิ่งนั้นให้ ได้ ใจของเราจะยอมรับได้ คิดได้ ปลงตกได้ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ

ท่านพุทธทาสภิกขุ
สอนว่า โดยสรุปรวมในธรรมะของพระพุทธเจ้า อาจสรุปเป็นแบบหนึ่งได้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

นั่นเป็นเพราะในความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายย่อมไม่ได้ดั่งใจเรา มีความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลาด้วยเหตุและปัจจัย จึงไม่สมควรที่จะไปหลงยึดมั่นหมายว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นของของเรา สิ่งทั้งหลายไม่ได้ดั่งใจทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นใคร รวยเพียงใด อำนาจล้นฟ้าขนาดไหน ต่างก็มีความทุกข์ประจำตัวประจำอยู่ทุกคนทั้งสิ้น

เมื่อคนคนหนึ่งประสพอุบัติเหตุขาขาดสองข้าง เขาจะรู้สึกอยากตายไม่อยากอยู่ จะรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว แต่ผ่านไปสักสองปี ไปดูอีกทีกำลังหัวเราะอยู่เพราะดูละคร ส่วนเรื่องขาขาดก็นั่งรถเข็นเอา และก็ชินเสียแล้ว ไม่เสียใจมากเหมือนตอนขาขาดใหม่ๆ บางคนแฟนตายไปเสียใจแทบตายตาม ผ่านไป 3 ปี มีแฟนใหม่แล้ว มีความสุขดีมากเลย ความทุกข์จึงเป็นของไม่เที่ยงเสมอ เช่นเดียวกับความสุข เพียงแต่ว่าตอนทุกข์ ให้ผ่านวันเวลาไปได้ ไม่ด่วนตายไปเสียก่อน เมื่อทุกข์ผ่านไป จะมีสิ่งดีๆ ตามมาได้แน่นอน

และเมื่อมองย้อนไป ความทุกข์เหล่านั้นมันก็เท่านั้นเอง เมื่อเราอ่านมาถึงตอนนี้ ก็ขอให้ลองใช้เวลานี้ นึกถึงอดีตที่มีทั้งทุกข์และสุขของเราดู

อดีตนั่นแหละที่จะสอนตัวเราในความจริงแห่งธรรมะ ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่สอนว่าเมื่อเราพิจารณาได้เอง ว่านี้เป็นสิ่งดีหรือไม่ดีแก่จิตใจจึงค่อยเชื่อ การจะพิจารณาได้อย่างนั้น จะต้องมีประสบการณ์ในความรู้สึก แบบนั้นในอดีตมาก่อน อดีตจึงเป็นธรรมะที่สอนใจได้เป็นอย่างดี

ทุกข์ที่สุดจะเกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่นที่สุด สิ่งใดที่เรารักมากยึดมากว่าเป็นตัวเราหรือของเรา สิ่งนั้นถ้าขาดหายไปจะทำให้ทุกข์ถึงที่สุด ถ้าเรารักความสวยงาม เมื่อเสียโฉมจะทุกข์ที่สุด ถ้าเรารักสามีหรือภรรยา เมื่อเขานอกใจ หรือเสียเขาไปจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักลูก ลูกหายหรือพิการหรือตายจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักยศถาบรรดาศักดิ์เมื่อสูญเสียจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักตนเอง เมื่อทราบว่าตนป่วยเป็นมะเร็ง เป็นเอดส์ หรือโรคที่รักษาไม่หายก็จะทุกข์ที่สุด

แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งนั้นเลย ก็ไม่มีอะไรจะทุกข์กับสิ่งนั้น ไม่มีลูกก็ไม่ทุกข์กับลูก ไม่มีแฟนก็ไม่มีทุกข์จากแฟน ไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่ทุกข์กับทรัพย์สิน หรือถ้าเรามีแต่ทำใจไว้เสมือนไม่มี หรือทำใจไว้ว่าของที่มีมันไม่เที่ยงย่อมแปรปรวนไป ก็จะทุกข์น้อยลง ยิ่งยึดมั่นได้น้อยลงเท่าไรก็ทุกข์น้อยลงเท่านั้นเป็นสัดส่วนไป เมื่อไม่ยึดมั่นก็ไม่ทุกข์เลย หมายความว่าไม่มีอะไรทำให้ทุกข์ใจได้อีกเลย แต่ความเจ็บปวดยังมีตราบเท่าที่มีสังขารร่างกายอยู่ เพียงแต่ความทุกข์กายอันนั้น จะไม่สามารถมากินใจให้ทุกข์ใจได้เลย

ความทุกข์ที่เกิดขึ้น มักเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนคิดจะทำความดี เพราะธรรมชาติของเราจะหลงลืมและเพลินในสุข ซึ่งความสุขส่วนมากที่เราชอบ มักจะตั้งอยู่บนความไม่เที่ยงทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นข้อนี้จึงสละทุกสิ่งออกบวชแสวงหาธรรมะ แต่อย่างเราๆ มักจะไม่คิดเรื่องนี้จนกว่าจะทุกข์ เสียก่อน เราจึงพบว่าคนจำนวนมาก ได้ประพฤติธรรมะ ได้ทำสิ่งดีๆ แก่ตนและผู้อื่นเพราะประสพกับความทุกข์มาแล้ว ดังนั้นเมื่อมีทุกข์นั่นคือเราได้อยู่ใกล้ธรรมะแล้ว ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ก็มักจะมีสิ่งดีโอกาสดี และเราเองก็จะดำรงอยู่ในความดีมากขึ้น ความทุกข์และความสุขเป็นของคู่โลกเช่นนี้มาตลอด

เมื่อเราทุกข์หรือพบคนที่ทุกข์ อย่าลืมเปลี่ยนอารมณ์ ตั้งสติหาทางแก้ไข ใช้ความดีเอาชนะสิ่งไม่ดี ทุกข์ย่อมไม่เที่ยง ย่อมผ่านไป เป็นธรรมดา และเราก็มีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดี ได้ปรับปรุงตนเป็นคนดีเสมอ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน


ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก

//www.rimnam.com

และ //www.dhammajak.net/dhamma/1.html




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2552    
Last Update : 10 มิถุนายน 2552 21:15:58 น.
Counter : 521 Pageviews.  

สงบจิตด้วยการนั่งสมาธิ (หลวงพ่อชา สุภัทโท) --->>> ธรรมะโดนใจ

ปฏิบัติทำไมมันถึงยากถึงลำบาก เพราะว่ามันอยาก พอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งใจว่าอยากจะให้มันสงบ

ปฏิบัติทำไมมันถึงยากถึงลำบาก เพราะว่ามันอยาก พอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งใจว่าอยากจะให้มันสงบ ถ้าไม่มีความอยากให้สงบก็ไม่นั่งไม่ทำอะไร พอเราไปนั่งก็อยากให้มันสงบ เมื่ออยากให้มันสงบ ตัววุ่นวายก็เกิดขึ้นมาอีก ก็เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นมาอีก มันก็ไม่สบายใจอีกแล้ว นี่มันเป็นอย่างนี้

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่ายืนให้เป็นตัณหา อย่านั่งให้เป็นตัณหา อย่านอนให้เป็นตัณหา อย่าเดินให้เป็นตัณหา ทุกประการนั้นอย่าให้เป็นตัณหา ตัณหาแปลว่าความอยาก ถ้าไม่อยากจะทำอะไรเราก็ไม่ได้ทำ อันนั้นปัญญาของเราไม่ถึง ทีนี้มันก็เลยอู้เสีย ปฏิบัติไปไม่รู้จะทำอย่างไร พอไปนั่งสมาธิปุ๊บ ก็ตั้งความอยากไว้แล้ว

อย่างพวกเราที่มาปฏิบัติอยู่ในป่านี้ ทุกคนต้องอยากมาใช่ไหม นี่จึงได้มา อยากมาปฏิบัติที่นี้ มาปฏิบัตินี่ก็อยากให้มันสงบ อยากให้มันสงบก็เรียกว่าปฏิบัติเพราะความอยาก มาก็มาด้วยความอยาก ปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความอยาก เมื่อมาปฏิบัติแล้วมันจึงขวางกัน ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ทำ จึงเป็นอยู่อย่างนี้ จะทำอย่างไรกับมันล่ะ


๏ อย่าให้ตัณหาเข้าครอบงำในการปฏิบัติ

การกระทำความเพียรก็เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าว่า อย่าทำให้เป็นตัณหา อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่าฉันให้เป็นตัณหา ยืนอยู่ เดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ทุกประการท่านไม่ให้เป็นตัณหา คือทำด้วยการปล่อยวาง เหมือนกับซื้อมะพร้าว ซื้อกล้วยมาจากตลาดนั่นแหละ เราไม่ได้เอาเปลือกมันมาทานหรอก แต่เวลานั้นยังไม่ถึงเวลาจะทิ้งมัน เราก็ถือมันไว้ก่อน การประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

สมมุติวิมุติมันก็ต้องปนอยู่อย่างนั้น เหมือนกับมะพร้าว มันจะปนอยู่ทั้งเปลือกทั้งกะลาทั้งเนื้อมัน เมื่อเราเอามาก็เอามาทั้งหมดนั่นแหละ เขาจะหาว่าเราทานเปลือกมะพร้าวอย่างไรก็ช่างเขาปะไร เรารู้จักของเราอยู่เช่นนี้เป็นต้น อันความรู้ในใจของตัวเองอย่างนี้ เป็นปัญญาที่เราจะต้องตัดสินเอาเอง นี้เรียกว่าตัวปัญญา ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อจะเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เอาเร็วและไม่เอาช้า ช้าก็ไม่ได้ เร็วก็ไม่ได้ จะทำอย่างไรดี ไม่มีช้า ไม่มีเร็ว เร็วก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง ช้าก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง มันก็ไปในแบบเดียวกัน


๏ ตั้งใจทำสมาธิมากเกินไป ก็กลายเป็นความอยาก

แต่ว่าพวกเราทุกๆ คนมันร้อนเหมือนกันนะ มันร้อน พอทำปุ๊บก็อยากให้มันไปไวๆ ไม่อยากจะอยู่ช้า อยากจะไปหน้า การกำหนดตั้งใจหาสมาธินี้ บางคนตั้งใจเกินไป บางคนถึงกับอธิษฐานเลย จุดธุปปักลงไป กราบลงไป “ถ้าธูปดอกนี้ไม่หมด ข้าพเจ้าจะไม่ลุกจากที่นั่งเป็นอันขาด มันจะล้ม มันจะตาย มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน จะตายอยู่ที่นี้แหละ”

พออธิษฐานตั้งใจปุ๊บก็นั่ง มันก็เข้ามารุมเลย พญามาร นั่งแพล็บเดียวเท่านั้นแหละ ก็นึกว่าธูปมันคงจะหมดแล้วเลยลืมตาขึ้นมาดูสักหน่อย โอ้โฮ ยังเหลือเยอะ กัดฟันเข้าไปอีก มันร้อนมันรน มันวุ่นมันวาย ไม่รู้ว่าอะไรอีก เต็มทีแล้ว นึกว่ามันจะหมด ลืมตาดูอีก โอ้โฮ ยังไม่ถึงครึ่งเลย สองทอดสามทอดก็ไม่หมด เลยเลิกเสีย เลิกไม่ทำ นั่งคิดอาภัพอับจน แหม ตัวเองมันโง่เหลือเกิน มันอาภัพ มันอย่างโน้นอย่างนี้ นั่งเป็นทุกข์ว่าตัวเองเป็นคนไม่จริง คนอัปรีย์ คนจัญไร คนอะไรต่อมิอะไรวุ่นวาย ก็เลยเกิดเป็นนิวรณ์ นี่ก็เรียกว่าความพยาบาทเกิด ไม่พยาบาทคนอื่น ก็พยาบาทตัวเอง อันนี้ก็เพราะอะไร เพราะความอยาก


๏ ทำสมาธิด้วยการปล่อยวาง อย่าทำด้วยความอยาก

ความเป็นจริงนั้นนะ ไม่ต้องไปทำถึงขนาดนั้นหรอก ความตั้งใจนะคือตั้งใจในการปล่อยวาง ไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัดอย่างนั้น อันนี้เราไปอ่านตำราเห็นประวัติพระพุทธเจ้าว่า ท่านนั่งลงที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ท่านอธิษฐานจิตลงไปว่า “ไม่ตรัสรู้ตรงนี้จะไม่ลุกหนีเสียแล้ว แม้ว่าเลือดมันจะไหลออกมาอะไรก็ตามทีเถอะ”

ได้ยินคำนี้เพราะไปอ่านดู แหม เราก็จะเอาอย่างนั้นเหมือนกัน จะเอาอย่างพระพุทธเจ้าเหมือนกันนี่ ไม่รู้เรื่องว่ารถของเรามันเป็นรถเล็กๆ รถของท่านมันเป็นรถใหญ่ ท่านบรรทุกทีเดียวก็หมด เราเอารถเล็กไปบรรทุกทีเดียวมันจะหมดเมื่อไหร่ มันคนละอย่างกัน เพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนั้น มันเกินไป บางทีมันก็ต่ำเกินไป บางทีมันก็สูงเกินไป ที่พอดีๆ มันหายาก


๏ สมาธิและนิวรณ์ 5

สมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ได้แก่ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป ศาสนาพุทธเน้นในสัมมาสมาธิ คือสมาธิที่ใช้ในทางแห่งการหลุดพ้น โดยใช้ปัญญาพิจารณาในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง ไม่ใช่การหวังผลสนองตัณหาความอยาก เช่น อวดฤทธิ์ อวดความสามารถ เป็นต้น


๏ สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่ง เป็นสมาธิขั้นต้นที่บุคคลทั่วไปใช้ในการปฏิบัติหน้าท ี่ในการงานประจำวัน

2. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ตั้งได้นานหน่อย ใกล้ที่จะได้ฌาน เกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นแสงสว่างอยู่ระยะหนึ่ง

3. อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ถึงฌาน เป็นการทำสมาธิขั้นสูงสุด

สมาธิใช้สำหรับปราบกิเลสอย่างกลาง ที่จำเพาะเกิดขึ้นในใจคือ นิวรณ์ 5 เมื่อกายวาจาสงบเรียบร้อยแล้ว แต่บางทีจิตยังไม่สงบ คือยังมีความกำหนัด ความโกรธ ดีใจ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ตื่นเต้น กลัว รำคาญ หรือสงสัย ลังเลอยู่ อาจล่วงถึงกายวาจาได้ เช่น สีหน้าผิดปกติ เมื่อกระทบอารมณ์รุนแรงเข้าก็ถึงออกปาก ด่าว่า ทุบตี ฆ่าฟัน เป็นต้น

ศีลมีหน้าที่ตั้งจิต งดเว้นไม่ทำบาปด้วย กาย วาจา สมาธิมีหน้าที่รักษาจิต ให้สงบจากนิวรณ์ทั้งห้า มิให้เศร้าหมอง เพราะความกำหนัด ขัดเคือง ใจหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตื่นเต้น กลัว รำคาญ และสงสัย ลังเล ในอารมณ์ ต่างๆ เหล่านั้น นิวรณ์ 5


๏ นิวรณ์ 5
คือ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เป็นข้าศึกแก่สมาธิ มี 5 อย่างคือ

1. กามฉันท์ คือ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มีรูป หรือความพอใจในกาม
2. พยาบาท คือ การปองร้ายผู้อื่น
3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย

นิวรณ์นั้นเป็นข้าศึกแก่สมาธิ เวลามีนิวรณ์ สมาธิก็ไม่มี เวลามีสมาธิ นิวรณ์ก็ไม่มี เหมือนมืดกับสว่าง เวลามืดสว่างไม่มี เวลาสว่างมืดก็หายไป จะนำมารวมกันไม่ได้

นิวรณ์เกิดจากสัญญา (ความจำได้หมายรู้) และจากสังขาร (ความปรุงแต่งทางจิตบางอย่างเข้ามายั่วยวนให้เกิดนิว รณ์) นิวรณ์เกิดขึ้นที่จิตเพียงแห่งเดียว แต่มีผลต่อแห่งอื่นๆ สาเหตุที่เกิดนิวรณ์ เช่น คนมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ต้องมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูป ก็จะเลือกดูแต่รูปที่ดี จะต้องคิดนึกถึงรูปปานกลาง และรูปเลวด้วย คือ ต้องนึกถึงไตรลักษณ์เป็นหลักพิจารณาอยู่เสมอ จะได้ไม่หลง

ถ้าจะให้จิตอยู่ในอารมณ์พระนิพพานอยู่เสมอ เมื่อเห็นอะไรก็ต้องพิจารณาให้เข้าสู่ไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา แม้เกี่ยวกับการได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ฯลฯ ก็ต้องพิจารณาให้เห็นพระไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน การเพ่งสมาธิวิปัสสนา ให้เพ่งพระพุทธรูป (พุทธานุสสติ), กายาคตาสติ อสุภะดีที่สุด เมื่อเพ่งจนเกิดสมาธิแล้วก็พิจารณาไปสู่พระไตรลักษณ์ หรืออีกวิธีคือ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ทั้งปวงอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกันว่าเป็นสุข แต่พระอริยะเจ้าเห็นสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นทุกข์ การยินดีในสุภนิมิต เช่นนี้เรียกว่า กามฉันท์

ผู้มีกามฉันท์นี้ควรเจริญกายาคตาสติ พิจารณาเห็นร่างกายให้เห็นเป็นปฏิกูล

พยาบาทเกิดขึ้นเพราะความคับแค้นใจ ผู้มีพยาบาทชอบโกรธเกลียดผู้อื่นอยู่เสมอๆ ควรเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา คิดให้เกิดความรัก เมตตาสงสารผู้อื่น

ผู้มีความเกียจคร้านท้อแท้อยู่ในใจ ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน เรียกว่าถูกถีนมิทธะครอบงำ ควรเจริญอนุสสติกัมมัฎฐาน พิจารณาความดีของตนและผู้อื่น เพื่อจะได้มีความอุตสาหะทำงาน แก้ความท้อแท้ใจเสียได้

ความฟุ้งซ่าน รำคาญ เกิดจากการที่จิตไม่สงบ ควรเพ่งกสิณให้ใจผูกอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือเจริญกัมมัฏฐานให้ใจสังเวช เช่น มรณสติ

ความลังเลไม่ตกลงได้ เนื่องจากไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน ควรเจริญธาตุกัมมัฏฐาน เพื่อจะได้รู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง

ธรรมทั้ง 5 ประการนี้เมื่อเกิดกับผู้ใด ย่อมจะเป็นธรรมอันกั้นจิตไม่ให้ผู้นั้นบรรลุความดีหร ือสิ่งที่ตนประสงค์ได้ ฉะนั้น ผู้หวังความสำเร็จในชีวิตควรเว้นจากนิวรณ์ 5 ประการนี้

ขอขอบคุณ

//www.mindcyber.com/home/story/monk_teaching/776.html





 

Create Date : 09 มีนาคม 2552    
Last Update : 9 มีนาคม 2552 23:36:16 น.
Counter : 643 Pageviews.  

วิธีฝึกเจริญสติแบบง่าย ๆ

วิธีฝึกเจริญสติแบบง่าย ๆ
(คัดลอกมาจาก ..รักแท้มีจริง ของ ดังตฤณ)


๑) เมื่อหมั่นไส้

ทันทีที่รู้สึกตัวว่าหมั่นไส้ใคร ให้หมั่นไส้ต่อไป! แต่ให้เลิกใช้สายตามองบุคคลผู้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความหมั่นไส้ แล้วใช้ใจทำความรู้จักกับภาวะหมั่นไส้ตรงๆ คือดูว่าความหมั่นไส้ให้ความรู้สึกทางใจอย่างไร

ชั่วขณะหนึ่งคุณจะรู้สึกเหมือนคนเพิ่งกินน้ำมันหมูเลี่ยนๆ หรือเกิดความอึดอัดแบบที่น่าระอา ตรงนั้นใจคุณจะเลิกยึดความหมั่นไส้ ทิ้งความหมั่นไส้ไปเองโดยไม่แกล้ง ยิ่งทำบ่อยก็จะยิ่งเห็นความหมั่นไส้หายไปเร็วขึ้นทุกที ย้ำว่าอย่าไปพยายามทำให้มันหายไปนะครับ ปล่อยให้ใจหมั่นไส้ไป เราแค่ทำความรู้สึกถึงมันตรงๆเท่านั้น



๒) เมื่อโกรธ

ทันทีที่รู้สึกตัวว่าโกรธใคร ให้ดูว่าโกรธแรงแค่ไหน ถ้าถึงขั้นอยากด่าหรืออยากทุบสักอั้กก็ให้ห้ามใจไว้ อย่าด่า อย่าลงมือ เก็บไว้ในอกนั่นแหละ ทำอกให้เหมือนตู้นิรภัยที่ระเบิดลั่นก็ไม่มีเสียงเล็ดรอดออกมาถึงข้างนอก จากนั้นให้นับดูสนุกๆแบบรู้อยู่คนเดียว ว่าเกิดการระเบิดอยู่ในอกกี่ครั้ง แต่ละครั้งแรงหรือเบาต่างกันเพียงใด

ถ้าปล่อยให้ระเบิดมันดังเปรี้ยงปร้างออกมาทางปากหรือทางมือไม้ คุณจะไม่เหลือสติไว้ดูอะไรเลย แต่ถ้ามันระเบิดอยู่ในอก คุณจะค้นพบว่ามันไม่ทำให้คุณถึงตาย และที่สำคัญคือสติที่รู้เห็นระเบิดในอก จะช่วยให้คุณไม่ต้องเก็บกดด้วย


แต่หากความโกรธของคุณไม่แรงนัก เพียงอยู่ในระดับหงุดหงิด คิดด่าอยู่ในใจ ยังไม่อัดอั้นขนาดต้องทำปากขมุบขมิบหรือชักสีหน้าใส่เขา อันนี้ให้ดูเฉยๆ อย่าห้ามใจไม่ให้หงุดหงิด อย่าไปเร่งให้หายหงุดหงิดเร็วๆ แล้วก็อย่าเผลอคิดถึงเรื่องต้นเหตุ กระทั่งความหงุดหงิดมันกระพือขึ้นเป็นฟืนเป็นไฟใหญ่โต เริ่มต้นมีควันไฟแค่ไหนก็ปล่อยให้มันคลุ้งอยู่แค่นั้น แล้วในที่สุดมันจะหายไปให้ดู

ฝึกอยู่อย่างนี้ ไม่ว่าจะโกรธหนักหรือโกรธเบา จิตของคุณจะกลายเป็นนักดูความโกรธ คุณสมบัติเด่นของนักดูความโกรธคือไม่ถูกความโกรธครอบงำ แล้วก็ไม่พยายามครอบงำความโกรธด้วย กระทั่งเหมือนแยกกันเป็นคนละฝ่าย ฝ่ายหนึ่งโกรธให้ดู อีกฝ่ายหนึ่งรู้ความโกรธไป

สรุปให้จำง่ายๆคือ ถ้าอยากพูดด่าหรืออยากลงมือทำร้ายใคร ตอนนั้นความโกรธมีไว้ห้าม ไม่ใช่มีไว้ดู แต่ถ้าแค่หงุดหงิดคิดไม่ดีกับใคร ตอนนั้นความโกรธมีไว้ดู ไม่ใช่มีไว้ห้าม


๓) เมื่อเกลียด

ทันทีที่รู้สึกตัวว่าเกลียดใคร ให้ระลึกว่าคุณผูกใจเจ็บแล้วนะ คุณเก็บเชื้อโรคทางวิญญาณไว้กัดกินตัวเองแล้วนะ มองให้เห็นโทษของความเกลียด มองให้เห็นว่าผูกใจเจ็บแปลว่าเจ็บที่ใจตัวเองนาน แล้วคุณจะตระหนักว่าความเกลียดเป็นโรคทางใจโรคหนึ่ง

คุณกำลังเป็นโรค!



บอกตัวเองซ้ำๆไปอย่างนี้เลยครับ จะพูดออกปากให้ชัดถ้อยชัดคำเลยก็ดี พูดจนกว่าใจจะได้ยินจริงๆ

ชีวิตเป็นของยากครับ วันๆเจอแต่คนทำเรื่องไม่น่าพอใจให้เก็บมาคิด แต่ต่อให้คิดถึงขั้นจ้างหมอผีปล่อยของเข้าท้องศัตรู ก็ไม่แน่ว่าจะทำให้ศัตรูเป็นทุกข์หรือเปล่า ที่แน่ๆคือสุขภาพของคุณจะเลวลงทุกที โดยเฉพาะถ้าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและระบบประสาทอยู่ ไม่ว่าอาฆาตมากหรือน้อยก็จัดเป็นของแสลงทั้งนั้น เพราะมันทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น แม้กระทั่งกล้ามเนื้อก็พลอยเกร็งและบั่นทอนความสามารถในการควบคุมตนเองลง



หลักฐานแสดงอยู่ทนโท่ โรคทางใจลามเป็นโรคทางกายได้ เพียงเท่านี้ก็ควรที่คุณจะฉุกคิดได้ว่า ศัตรูของคุณไม่ใช่คนอื่นที่คิดร้ายกับคุณ แต่เป็นความคิดร้ายของคุณเองที่มีต่อคนอื่นต่างหาก!



ความตระหนักจะทำให้คุณเลิกเข้าใจผิดคิดว่าความแค้นอยู่ส่วนหนึ่ง หัวใจและกล้ามเนื้ออยู่อีกส่วนหนึ่ง เป็นต่างหากจากกัน เหมือนคุณตกเข้ามาอยู่ในเครื่องลงทัณฑ์เครื่องหนึ่ง ซึ่งพร้อมจะบีบให้คุณร้อง หรือกระทั่งบดขยี้ให้คุณตาย ขอเพียงทำผิดกติกา ปล่อยความแค้นให้ครอบงำจิตใจนานพอ

เมื่อเป็นโรคแล้วทำไมไม่อยากหายจากโรค? คุณหวงโรคด้วยหรือ? ไม่เลย! ทุกคนอยากหายจากโรค อยากกลับมีกำลังวังชากันมิใช่หรือ? ตรงจุดของการเห็นเช่นนี้แหละที่จิตจะมีพลังแห่งเหตุผลมากพอจะวางความแค้นลงเสียได้



ชั่วขณะที่จิตของคุณวางความผูกพยาบาทอาฆาตลง คุณจะรู้สึกดี รู้สึกสบาย หรืออาจจะถึงขนาดปลงใจอโหสิกับศัตรูคู่แค้น ยิ่งแค้นหนักแล้วอภัยได้เร็วเท่าไร ก็จะยิ่งมีประมาณความรู้สึกคล้ายยกภูเขาออกจากอกเร็วขึ้นเท่านั้น



ฝึกแค่ ๓ ข้อนี้แค่สักอาทิตย์สองอาทิตย์ ถึงจุดหนึ่งคุณจะรู้สึก ‘โล่งอก’ ขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นความโล่งอกสบายๆอยู่เรื่อยๆ ไม่อยากเอาเรื่องเอาราวกับใคร มีความสุขกับใจของตนเอง สบายใจกับความไม่หมั่นไส้ ไม่โกรธ ไม่เกลียดของตนเอง ตรงนั้นขอให้ทราบเถิดว่าเสน่ห์ทางจิตเริ่มเปล่งประกายแล้ว

และ ณ จุดนั้นเช่นกัน ที่คุณจะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับความคิดได้ดีขึ้น ความคิดสามารถยกระดับจิตได้ และเมื่อจิตถูกยกระดับแล้ว วิธีคิดก็จะเปลี่ยนไปอีกแบบหนึ่ง



ขอเพียงจิตของคุณไม่ยอมเป็นที่เกาะของความหมั่นไส้ ความโกรธ และความเกลียด คุณจะเห็นโลกต่างไปอย่างน่าแปลกใจ ตรงนั้นคุณจะพบว่า ความคิดที่ดีที่สุดไม่ใช่การคิดพยายามเปลี่ยนโลกทั้งใบให้ดีพร้อม แต่เป็นการยอมคิดเปลี่ยนแปลงตัวเองจากร้ายให้กลายเป็นดีต่างหาก

บนเส้นทางแห่งความพยายาม วิธีคิดทั้งหมดของคุณจะยืนพื้นอยู่บนความไม่อยากเบียดเบียนใคร แม้เขาจะมาเบียดเบียนคุณก่อน คุณก็ไม่อยากเบียดเบียนตอบ และเมื่อความคิดของคุณยืนพื้นอยู่บนความไม่อยากเบียดเบียนอย่างถาวร แต่ละคลื่นความคิดที่ส่งออกมาเป็นห้วงๆจะกระทบใจคนอยู่ใกล้ให้พลอยรู้สึกดีตาม

คุณคงเคยมีประสบการณ์มองใครสักคนแล้วทราบว่าเขากำลังคิด และแม้ความคิดของเขายังคงเป็นเพียงคลื่นลมเร้นลับอยู่ในหัว คุณก็แน่ใจว่าเขากำลังคิดในเรื่องดีงาม นั่นแหละคือตัวอย่างของคลื่นความคิดที่ส่งเสน่ห์ออกมาได้ ทั้งที่เจ้าตัวยังไม่ขยับปากพูดหรือลงมือทำอะไรเลย

หมั่นสังเกตคลื่นความคิดในหัวของคุณ ว่ากำลังเป็นไปในทางสว่างหรือทางมืด แล้วคุณจะยอมรับอย่างไม่มีข้อกังขา ว่าแค่คลื่นความคิดในหัว ก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นแรงดูดหรือแรงผลักรักแท้ให้มาหา




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2551    
Last Update : 10 ตุลาคม 2551 22:48:42 น.
Counter : 682 Pageviews.  

เพียรละพยศร้ายในสันดาน


เคล็ดวิชาดูจิต
เพียรละพยศร้ายในสันดาน
ท่าน ก. เขาสวนหลวง


เมื่อผิดแล้วยอมรับว่าผิด นี่มันเป็นธรรมดา แต่ไม่ผิดแล้วยอมรับว่าผิด นี่มันฝืนทิฏฐิมานะได้อย่างงดงามทีเดียว

ฉะนั้น จึงต้องพูดแล้วพูดอีก เพื่อจะให้ข่มขี่ทิฏฐิมานะลงไป มันจะเอาดีไปถึงไหน นี่มันต้องกดหัวตัวเอง ไม่มีใครเขาด่า ก็ต้องด่าตัวกูนี่แหละ มันอวดดีเรื่อย มันอวดเก่งเรื่อย อวดเป็นคนดีคนถูกไปทีเดียว ฉะนั้นมันจะอวดดีต่อไปไม่ได้

ต้องข่มขี่ทรมานทิฏฐิมานะให้ราบเรียบไปให้ได้ อย่าให้มันโงหัวขึ้นมา กดหัวมันลงไป มันจะเก่งมาท่าไหน มันจะเอาอะไร มันจะเอาดีที่ไหน มันจะเอาดีไปให้ใคร ถามตัวเองนี่แหละ ไม่ต้องไปถามใคร

ถามให้มันจนปัญญา ถามมันบ่อยๆ ว่า "มึงจะเอาดีไปให้ใคร ไม่กี่วันมึงก็จะเน่าเข้าโลงแล้ว มึงจะอวดเก่งไปให้ใคร" ถามมันอย่างนี้ จนมันเกิดปัญญา หุบปากไม่กล้าพูดเลย มันรู้สึกอาย มันอายตัวเอง

เข้ามาเล่นงานตัวกูที่ชูหัวอยู่นี่ สับหัวมันลงไป ไม่ต้องไปเกรงใจมัน ไม่ต้องไปรักหัวมันหรอก ถ้ารักหัวมันแล้ว มันจะชูหัวสูงใหญ่เลย แล้วพิจารณาดู มันมีตัวตนที่ไหน "มึงนั่นแหละมันโง่ โง่เอง ไปยึดถือเข้ามาทำไม" ซักถามมันทีเดียวว่า "มีตัวกูที่ไหน"

ถ้าถามมันบ่อยๆ มันก็จำนนไปเอง ในที่สุดมันจะบอกว่า "อ้อ ความจริงมันว่างจากตัวตนโว้ย" แต่ความโง่มันเสือกทะเล้นยึดถือ จึงทุกข์แล้วทุกอีกอยู่นี่ มันจะได้บอกขึ้นมาอย่างนี้ ไม่ต้องไปพูดดีอะไรหรอก

มันจะยุแหย่แส่ส่ายไปในอะไรไม่เอา ต้องหยุด บอกให้หยุด ต่อให้ดีวิเศษก็ไม่เอา ต้องหยุด ต้องบอกับตัวกูอยู่อย่างนี้ ไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งหมดแล้วก็พิจารณาไปว่ามันมีอะไรจริงจังที่ไหน

มันหลอกขึ้นมาแล้วก็เชื่อไปทำตามมัน มันก็เหนื่อยแล้วเหนื่อยอีก ทุกข์แล้วทุกข์อีก ก็ว่าสบายดี มันจะโง่ไปถึงไหน จะหลงไปถึงไหน ถามตัวกูนี่แหละดู ไม่ต้องไปถามคนอื่น

ถ้ายังดิ้นรนจะเอาอะไรอยู่ ก็ถามมันดูว่า "มึงจะเอาอะไร?" ถามไปถามมา แล้วมันก็หยุดไป แล้วมันว่างไปเลย เอาให้มันรู้ให้ได้ ว่ามันเกิดขึ้นมา หรือมันดับไปอย่างไร เพราะว่ามันจะต้องรู้ของตัวเองได้จริงๆ

เรื่องของกิเลส โลภ โกรธ หลง หรือตัณหาอะไร มันต้องค้นที่จิตใจ ที่ถูกกระทบผัสสะ ซึ่งอาศัยผัสสะเกิด แล้วมันยึดถือขึ้นมาอย่างไร เป็นตัวเป็นตน อวดดี อวดเก่ง ขึ้นมาแค่ไหน มันมีให้สอบอยู่ในตัวเอง

ฉะนั้นข้อปฏิบัติจึงไม่ต้องไปเรียนที่ไหน เรียนเอาในนี้ เรียนเรื่องกิเลส เรื่องเกิดดับ เรื่องไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนดับไป เป็นความว่างจากตัวตน มันมีให้ตรวจสอบ ให้รอบรู้อยู่ในตัว

10 พ.ย. 2514
(เรายังไม่เกิดเลยอ่ะ)

** ธรรมะข้อนี้จำเป็นมาก ๆ




 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 30 กรกฎาคม 2551 0:47:02 น.
Counter : 637 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

npmail
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
.....ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น

อะระหะโต
.....ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ
.....ตรัสรู่ชอบได้โดยพระองค์เอง

~ * ~ * ~ * ~ * ~ * ~ * ~ * ~ * ~

Blog นี้เอาไว้เก็บเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เอาไว้อ่านเองค่ะ ไว้ว่าง ๆ ค่อยกลับมาอ่าน ส่วนใหญ่ก็ก็อป ๆ มากจากคนอื่นค่ะ ต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้นะคะ

ขอขอบคุณสมาชิกทุกท่าน ที่แบ่งปันของแต่งบล็อกสวย ๆ ให้มาแต่งบล็อกนี้

และขอขอบคุณทุกท่านที่ Vote ให้ด้วยนะคะ
โหลดเพลง นิยาย คลิปวีดีโอ การ์ตูน โหลดเพลง คลิปวีดีโอ นิยาย การ์ตูน โหลดเพลง คลิปวีดีโอ นิยาย การ์ตูน โหลดเพลง คลิปวีดีโอ นิยาย การ์ตูน ดูดวง โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา
Friends' blogs
[Add npmail's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.