แพรร่ำ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แพรร่ำ's blog to your web]
Links
 

 

เพลงพระราชนิพนธ์ "ไกลกังวล" "เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย"




ไกลกังวล

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: วิชัย โกละกนิษฐ์







อยู่ไกลกังวลชนม์ชื่นฉ่ำ
หาดทรายและน้ำนำไกลเศร้า
ไม่มีหาดไหนงามเทียมเท่า
คลื่นครวญคลอเคล้าวอนรักฝั่ง
ค่ำคืนไม่เหงาเราเริงสุข
ไม่มีความทุกข์ใดมาบัง
ได้ยินแต่เสียงดนตรียัง
สนุกกันทั้งยามค่ำคืน

รุ่งอรุณแล้วฟ้าเรืองเรื่อ
แต่ใจยังเหลือความเริงรื่น
สนุกจริงหนอคลอเสียงคลื่น
โต้ลมฉ่ำชื้นยามพลิ้วผ่าน
โน่นเดือนยังค้างฟ้าลอยเด่น
แต่เราไม่เว้นความสำราญ
แข่งกันคอยรับทิวาวาร
สนุกสนานกันเถิดเอย



เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค



เกิดเป็นไทยแล้วใจต้องสู้
ถิ่นไทยเรารู้เรารักยิ่ง
ศัตรูหน้าไหนไม่เกรงกริ่ง
หากมาช่วงชิงตายเสียเถิด
เผ่าไทยเดิมล้วนคนใจเด็ด
แกร่งดังเหล็กเพชรชูชาติเชิด
ต่างรักษาไว้แดนกำเนิด
เกิดเป็นไทยแล้วจำใส่ใจ

ปกครองรักษาทำหน้าที่
ห่วงเมืองไทยนี้ให้ยิ่งใหญ่
สิ้นเมืองไทยแล้วใครอยู่ได้
ชาติไทยคงไร้ความเสรี
เผ่าไทยเราพร้อมอาสาสมัคร
เด็ดเดี่ยวยิ่งนักยอมชีพพลี
เสี่ยงภัยทั้งผองปองความดี
ปกป้องปฐพีตายเพื่อไทย



When

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: Raul Manglapus


When twilight falls, stars appear;
When winter ends, spring is here;
When storm clouds pass, skies are clear,
When I'm alone you are near.

When breezes blow, birds fly high;
Where flowers bloom, bees are night;
Whenever rainbows fill the sky.
In my lone heart you pass by.

Oh won't you please tell me when,
We two would meet once again.
I miss your sweet lovely face,
The thrill of your warm embrace.

You left me feeling so blue,
Now that I've cried over you.
I've got the blues now and then,
So won't you please tell me when.



เกร็ดประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขณะประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเพลงประจำวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ โดยบรรเลงเป็นเพลงสุดท้ายทุกครั้งก่อนเลิกเล่นดนตรี

เพลงพระราชนิพนธ์นี้มีเนื้อร้อง 3 สำนวน ผู้ประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทย “ไกลกังวล” เมื่อ พ.ศ. 2500 คือ วิชัย โกกิละกนิษฐ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2506 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ Raul Manglapus อดีตสมาชิกวุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์ประพันธ์เนื้อร้องภาษาอังกฤษชื่อ “When” จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นช่วงที่เพลงปลุกใจเป็นที่นิยม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ประพันธ์เนื้อร้องภาษาไทยชื่อ “เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย”

เนื้อร้องทั้ง 3 สำนวนมีเนื้อหาที่สื่ออารมณ์ได้ต่างกันไป เพลง “ไกลกังวล” พรรณนาถึงความประทับใจขณะอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล ซึ่งมีแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน อารมณ์เพลง “When” กล่าวถึงธรรมชาติที่มีสิ่งชดเชยกัน เช่น เมื่อมืดลงดวงดาวก็ปรากฏ เมื่อพายุผ่านไปฟ้าก็สดใส ฯลฯ แล้วจึงเว้าวอนว่าเมื่อใดจะได้กลับมาพบกับผู้เป็นที่รัก ส่วนเพลง “เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย” นั้นปลุกสำนึกให้คนไทยรักและหวงแหนแผ่นดินไทย อารมณ์เพลงจึงคึกคัก ฮึกเหิม และเร้าใจ ความหมายของเนื้อร้องทั้ง 3 สำนวนแม้จะต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่สามารถประสานกับทำนองหลักเดียวกันได้อย่างกลมกลืน ซึ่งอาจเป็นเพราะทำนองเพลงมีจังหวะกระชับในแนวดิกซีแลนด์แจส กับทั้งอยู่ในเมเจอร์สเกล จึงทำให้เข้ากันได้ดีกับใจความทั้ง 3 แบบ




รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรและ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา




 

Create Date : 06 เมษายน 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2550 23:51:46 น.
Counter : 7202 Pageviews.  

เพลงพระราชนิพนธ์ "ค่ำแล้ว"




ค่ำแล้ว

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา





ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "แม่ของชาติ"



วันคล้อยมา
ค่ำแล้วแก้วตาสุริยารอนรอน
นอนเสียนอน
จงอย่าอาวรณ์นอนเถิดนะดวงตา

ฟังเสียงเพลง
แว่วดังวังเวงเสียงครวญเครงนภา
จันทร์ฉายมา
พร่างพรายดาราดูงามฟ้าเพลินใจ

โชคนำหนุนบุญส่งมา
งามนักหนาพักตร์อำไพ
ประนมกรขอพรชัย
รัตนตรัยปวงเทวัญ

ดลบันดาล
แต่ความชื่นบานแสนสำราญนิรันดร์
อยู่ด้วยกัน
เป็นมิ่งเป็นขวัญอย่าห่างร้างแรมไกล

สุดรักเอย
ตื่นได้เชยชมดวงใจ



Lullaby

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: H.H. Prince Chakrabandh Pensiri and Prof. Thanpuying Nopakhun Thongyai Na Ayudhya


How time flies! Time to sleep,
My Darling close your eyes.
Lie down, lie.
Listen, Darling, to my lullaby.

Evening's nigh,
Soon the moon will sail across the sky.
Time goes by,
Tiny stars will glimmer up on high

Bless your heart end your play.
Bless your soul end your day.
Go to sleep. Care's away.
By your side I will stay.

Dear don't cry.
I'll be by you till the dawn is nigh.
Try, now try.
Go to sleep, Dear, with my lullaby,
Sleep, Love, sleep,

Soon glitt' ring stars will begin to shine.
Sleep, Love, sleep,
Close your eyes and slumber, Baby mine.
Rest, Love, rest,
While the silv'ry moon comes into view.
Rest, Love, rest,
While your guardian angel watches you.

Day is done; night is here
All your toys, slumber near.
Cuddle close, Baby blest;
Dreamboats sail in the west.

Dream, Love, dream,
Till the golden sunbeams bring the day.
Dream, Love, dream,
Soon the dawn will bid you rise and play.
Lullaby, Precious One,
Day is done!



เกร็ดประวัติ

เป็นเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อมีพระราชธิดาแล้ว เพลงนี้มีผู้เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่มีผู้นำรับสั่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาเล่าว่า

“สมเด็จพระเทพฯ รับสั่งว่าที่จริงแล้วไม่ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงนี้เพื่อสมเด็จพระเทพฯ แต่ว่าเมื่อสมเด็จพระเทพฯ ทรงฟังเพลงนี้ทีไรทรงหลับทุกครั้ง ตอนนั้นท่านเพิ่งประสูติ ใครๆก็เลยคิดว่าเป็นเพลงสมเด็จพระเทพฯ”

เพลงพระราชนิพนธ์ค่ำแล้วเป็นเพลงจังหวะวอลทซ์ที่มีลักษณะเพลงกล่อมนอน (lullaby) อันเป็นแขนงหนึ่งของเพลงบัลลาด เพลงกล่อมนอนแบบนี้นิยมประพันธ์กันมานานแล้วในดนตรีคลาสสิกตะวันตก เพลงพระราชนิพนธ์นี้มีทำนองหวานและเยือกเย็น โน้ตเรียงขึ้นลงเป็นชุดๆ แม้ว่าการไล่เสียงขึ้นลงจะฟังดูง่าย แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะมีตอนต้นของทุกท่อนที่ต้องลากเสียงจนเต็มห้องและติดกันถึง 4 ห้อง ผู้ร้องต้องมีลมหายใจที่ยาวและนิ่ง ซึ่งต้องฝึกฝนมากและมีประสบการณ์สูง ในท่อนแยกมีเสียงไล่กันเพียงเสียงเดียวก็จริง แต่ส่วนใหญ่เป็นครึ่งเสียง ในท่อนนี้ผู้ร้องต้องแม่นเสียง มิฉะนั้นจะร้องเพี้ยนได้ง่าย

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงนิพนธ์เนื้อร้องภาษาอังกฤษร่วมกับท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา เนื้อร้องทั้งเที่ยวแรกและเที่ยวกลับ นอกจากกล่อมให้หลับแล้วยังสัญญาว่าเมื่อรุ่งอรุณจะได้ “rise and play” และยังขอพรให้ “guardian angel” เฝ้าดูแลระหว่างหลับด้วย ส่วนเนื้อร้องภาษาไทย ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา เป็นผู้ประพันธ์



รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรและ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา




 

Create Date : 06 เมษายน 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2550 22:05:39 น.
Counter : 4696 Pageviews.  

เพลงพระราชนิพนธ์ "Laykram goes Dixies"




Laykram goes Dixies

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี ลายคราม (รุ่นแรก) ณ วังอัศวิน จากซ้าย ม.ล.ประพันธ์ สนิทวงศ์ ทรัมโบน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคลาริเนต ม.จ.ชุมปกบุตร ชุมพล ทรงทรัมเป็ต ม.ล.อัศนี ปราโมช ทรัมเป็ต และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทูบา



เกร็ดประวัติ

เป็นเพลงบรรเลงมีลักษณะเป็นเพลงประจำวง “ลายคราม” เช่นเดียวกับเพลงพระราชนิพนธ์ “ศุกร์สัญลักษณ์” แม้ว่าไม่ได้เป็นเพลงที่ใช้นำวง แต่ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

เพลง “Laykram goes Dixies” มีจังหวะและลีลาแบบดิกซีแลนด์แจส อันเป็นการบรรเลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน ฟังแล้วติดหูง่ายเพราะทำนองไม่ซับซ้อนนัก แต่ความยากที่แฝงอยู่ในความไม่ซับซ้อนคือ เพลงนี้เปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงแสดงความเป็นปฏิภาณกวี ผู้บรรเลงจึงต้องมีความช่ำชองมาก ตอนกลางของเพลงมีทำนองที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นแสดงความสามารถในการแสดงปฏิภาณกวีด้วยเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องทองเหลืองและเครื่องลมไม้ ซึ่งปกติมี 2 ชิ้น เช่น ทรัมเป็ต แซ็กโซโฟน และคลาริเน็ต

ด้วยลีลาและจังหวะที่สนุกสนานเพลงนี้จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเพลงลีลาศ มีจังหวะแบบเก่าหลายจังหวะที่สามารถนำมาใช้กับเพลงนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นควิกสเต็ป (quick step) ชาร์ลสตัน (charleston) หรือแม้แต่สวิง (swing)

เนื้อร้องเพลงพระราชนิพนธ์นี้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นบทประพันธ์ของม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ลักษณะของเนื้อร้องแต่งให้ล้อกับทำนองดนตรี มีอารมณ์สนุกสนานและมีลักษณะเป็นส่วนตัว คือเป็นเพลงเฉพาะของวงดนตรี “ลายคราม” เท่านั้น



รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรและ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา





 

Create Date : 06 เมษายน 2550    
Last Update : 6 เมษายน 2550 21:29:22 น.
Counter : 1008 Pageviews.  

เพลงพระราชนิพนธ์ "Can’t You ever see"




Can't You Ever See

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: H.H. Prince Chakrabandh Pensiri





ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์


Can't you ever see
That I love you eternally?
All my heart and my soul
From now forever will belong to you.
Can't you ever see
Lovingly your I'll always be?
All my thoughts and my dreams,
My whole life is just meant for you.
How can I make you see I love you alone?
I never could have you for my own
I love you, love only you,
Forever and ever I'm yours it's true.
Life is meaningless
I'd never find my happiness,
Without you I would die
Can't you see? I love only you.



เกร็ดประวัติ

มีกำเนิดไล่เลี่ยกับเพลงพระราชนิพนธ์ “Oh I say”พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงนิพนธ์เนื้อร้องภาษาอังกฤษ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษแต่อย่างเดียวเป็นเพลงที่สอง

เพลงพระราชนิพนธ์ “Can’t You ever see” เมื่อเปรียบเทียบกับเพลงพระราชนิพนธ์ “Oh I say” แล้วจะพบว่าเพลงนี้มีความเป็นแจสที่ซับซ้อนกว่า การใช้ครึ่งเสียงมีมาก และวางในตำแหน่งที่ยากกว่า เหมาะสำหรับนักร้องที่แม่นจังหวะและสามารถจัดกลุ่มคำร้องได้อย่างมีอารมณ์ โดยเฉพาะในท่อนที่ 3 ซึ่งมีลักษณะเป็นประโยคคำพูด ต่างจัดกลุ่มคำร้องในลักษณะที่ลักจังหวะ และคร่อมในบางตำแหน่ง เช่น “make you see” และ “for my own” แต่ในขณะเดียวกันก็มารวบคำตรง “I love you, love only you” กับ “Forever and ever I’m yours it”s true” ซึ่งค่อนข้างยากพอสมควร

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้ทรงนิพนธ์คำร้องอย่างคมคาย มีการใช้ถ้อยคำที่บ่งบอกถึงความรู้สึกออดอ้อน เว้าวอน และแฝงความสนุกสนานตามประสาเพลงแจสในแนวสวิงไว้ได้อย่างครบครัน




รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรและ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2549    
Last Update : 12 ตุลาคม 2549 23:41:16 น.
Counter : 3100 Pageviews.  

เพลงพระราชนิพนธ์ "Oh I Say"




Oh I Say

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: M.R. Seni Pramoj





ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "แมวผู้ใหญ่ลี"


Oh let me say, just to say, What I'll say.
Or do you say, just to say, What you'll say.
Oh let us say, Just to say, What we'll say.

Now what'll we say? Just something to be gay,
To chase the trouble and the cares of the day away.
Let us all sing the song, we want to be happy today.

Happiness comes only once in a lifetime.
We do not know whence we come, where we go.
So here goes.

Now let me say, just to say, What I'll say.
And do you say, just to say, What you'll say
Let us all sing the song, we want to be happy today.



เกร็ดประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลง Oh I say ขณะแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล เป็นเพลงที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้เป็นภาษาอังกฤษแต่อย่างเดียวเป็นเพลงแรก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง

เพลงพระราชนิพนธ์ Oh I say เป็นเพลงแจสในแนวสวิงง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนักเมื่อเทียบกับเพลงสวิงแท้อย่างเพลง “ศุกร์สัญลักษณ์” แม้จะมีการใช้ครึ่งเสียงอยู่หลายตำแหน่ง แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นเพลงที่ยากเท่าใด และอาจเป็นเพราะโน้ตและคอร์ดไม่ซับซ้อน จึงทำให้ติดหูผู้ฟังได้ง่าย

เนื้อร้องมีลักษณะสนุกสนานง่ายๆ คล้ายเนื้อร้องเพลง “Friday Night Rag” แต่แฝงแง่คิดไว้ด้วย เช่นในท่อนที่2 เมื่อกล่าวถึงความสุขในชีวิตว่า “Happiness comes only once in a lifetime. We do not know whence we come, where we go. So here goes."



รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรและ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา




 

Create Date : 19 กันยายน 2549    
Last Update : 12 ตุลาคม 2549 23:29:28 น.
Counter : 5811 Pageviews.  

1  2  3  4  5  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.