แพรร่ำ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แพรร่ำ's blog to your web]
Links
 

 
เพลงพระราชนิพนธ์ "มหาจุฬาลงกรณ์"




มหาจุฬาลงกรณ์

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ร่วมกับ นายสุภร ผลชีวิน





น้ำใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา
พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์
ขอทูนขอเทิดพระนามไท พระคุณแนบไว้นิรันดร
ขอองค์พระเอื้ออาทร หลั่งพรคุ้มครอง

นิสิตพร้อมหน้า สัญญาประคอง
ความดีทุกอย่างต่างปอง ผยองพระเกียรติเกริกไกร

ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
ถาวรยศอยู่คู่ไทย เชิดชัยชโย



เกร็ดประวัติ

เนื่องจากเพลงพระราชนิพนธ์ในระยะแรกส่วนใหญ่เป็นเพลงที่ทรงใช้สเกลแบบสิบสองเสียง (Cromatic Scale) ทรงใช้คอร์ดอย่างสลับซับซ้อนและพัฒนาออกไปไกลมาก ซึ่งทำให้เพลงพระราชนิพนธ์เหล่านั้นค่อนข้างยาก จึงมีพระราชปรารภว่า แม้แต่เพลงที่ใช้เสียงเพียง 5 เสียง (Pentatonic Scale) ก็สามารถแต่งให้ไพเราะได้ ซึ่งสเกลแบบนี้เคยทรงนำมาสอดแทรกอยู่ในเพลง “ใกล้รุ่ง” บ้างแล้ว จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยจะทรงพระราชนิพนธ์ในเพนตาโทนิค เมเจอร์สเกล ซึ่งเป็นเสียงที่คนไทยมักจะคุ้นเคย ด้วยใกล้เคียงกับเสียงของเพลงไทยเดิมและเพลงพื้นบ้านโดยทั่วไป ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงเริ่มนิพนธ์วรรคแรก จากนั้นจึงทรงพระราชนิพนธ์ต่อจนจบทั้งเพลง

ต่อมาเมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้ขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์โดยใช้เพนตาโทนิค เมเจอร์สเกลนั้นแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปใส่เนื้อร้องร้องเอง ซึ่งต่อมาท่านผู้หญิง สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และ สุภร ผลชีวิน ได้ประพันธ์เนื้อร้องถวาย

เพลงพระราชนิพนธ์นี้บรรเลงเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 เมื่อต้นพ.ศ. 2497 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเทวาประสิทธ์ พาทยโกศล นำทำนองเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ มาแต่งเป็นแนวไทยเดิม นายเทวาประสิทธ์ รับพระราชทานลงมาทำและบรรเลงถวายด้วยวงปี่พาทย์ถึงสองครั้ง

ต่อมาเมื่อนายเทวาประสิทธ์ ได้เป็นอาจารย์ประจำชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ แนวไทยเดิมมาเรียบเรียงใหม่ โดยนำท่อนแยกตรงที่ว่า “นิสิตพร้อมหน้า สัญญาประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง ผยองพระเกียรติเกริกไกร” มาแทรกไว้ตอนกลางเพลงด้วย เพื่อให้รำลึกว่าต้นกำเนิดมากจากเพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ แล้วจึงปรับปรุงให้เป็นเพลงโหมโรงประจำชมรมซึ่งใช้มาจนถึงทุกวันนี้




รวบรวมและเรียบเรียงจากหนังสือ "งานช่างของในหลวง" โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรและ "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" โดยโรงเรียนจิตรลดา


Create Date : 13 สิงหาคม 2549
Last Update : 16 กันยายน 2549 21:07:06 น. 0 comments
Counter : 1487 Pageviews.
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.