|
สาระน่ารู้ : แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป

สวัสดีค่ะ ทุก ๆ ท่าน ขา
เช้านี้ เข้า Intranet ของบริษัท พบเรื่องดี ๆ ขออนุญาตนำมาฝาก นะคะ สาระน่ารู้ : แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป
> คลุกวงใน > > พิษณุ นิลกลัด > > แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป > > สัปดาห์สุดท้ายของปี 2548 ผมไปงานสวดและงานเผาศพผู้ชายวัย 81 > ปีที่ผมรู้จักเขามายาวนาน 30 ปี > > ไม่ใช่ญาติ แต่สนิทนักรักใคร่เสมือนญาติ > > ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วันเขาสั่งลูกและภรรยาแบบคนไม่ครั่นคร้ามความตายว่าสวดสามวันแล้วเผา > ไม่ต้อง > บอกใครให้วุ่นวาย อย่าเศร้า อย่าร้องไห้ ทุกคนต้องมีวันนี้ > เพียงแต่เขาอยู่หัวแถวเลยต้องไปก่อน > > แล้วลูกเมียก็ทำตามคำสั่ง สวดสามวันเผา > > งานสวด 3 คืนมีคนฟังพระสวดคืนละ 14 คนคือเมีย ลูก หลาน เขย สะใภ้ > และผมซึ่งเป็นคนนอก > > เป็นงานศพที่มีคนไปร่วมงานน้อยที่สุดเท่าที่ผมเคยไปฟังสวด > > วันเผามีเพิ่มเป็น 17 คน > สามคนที่เพิ่มเป็นเพื่อนบ้านที่เคยคุยด้วยเกือบทุกเย็นคนหนึ่ง > > เป็นแม่ค้าล็อตเตอรี่ที่เคยยืมเงินแล้วไม่มีสตังค์จ่าย > เลยเอาล็อตเตอรี่ทยอยผ่อนใช้หนี้แทนเงินงวดละ > สองใบคนหนึ่ง > > และคนสุดท้ายเป็นหญิงที่ผู้ตายเคยผูกปิ่นโตทุกมื้อเย็น > > ทั้งสามคนบอกว่าเกือบมาไม่ทันเผา เคราะห์ดีที่แวะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล > เจ้าหน้าที่บอกว่าเสียชีวิตไป > แล้ว 3 วัน > > หลังฌาปนกิจพระกระซิบถามเจ้าหน้าที่วัดว่าเจ้าของงานจ่ายเงินค่าศาลาสวดพระอภิธรรมแล้วหรือยัง > > พระท่านคงไม่เคยเห็นงานศพที่มีคนน้อยแบบที่ผมก็รู้สึกตั้งแต่สวดคืนแรก > > จริงๆ แล้วผู้ตายเป็นคนค่อนข้างมีสตังค์ > ทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยจนเกษียณอายุที่ตำแหน่งหัวหน้า > หน่วย แต่ด้วยความที่รักและศรัทธา อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ > อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ จึงดำเนินชีวิตแบบ > ไม่ปรารถนาให้ใครเดือนร้อน - แม้กระทั่งวันตาย > > > > ผมสนิทกับเขาเพราะเขามีความฝันในวัยเด็กอยากเป็นนักประพันธ์แบบ ไม้ เมืองเดิม > ที่เขาเคยนั่ง > เหลาดินสอและวิ่งซื้อโอเลี้ยงให้ > > เมื่อตัวเองเป็นนักเขียนไม่ได้ > พอมาเจอะผมที่เป็นนักข่าวก็เลยถูกชะตาและให้ความเมตตา > > การมีโอกาสได้พูดได้คุยกับเขาตามวาระโอกาสตลอด 30 ปีทำให้ได้แง่คิดดีๆ > มาใช้ในการดำรงชีวิต > > วันหนึ่งเขารู้ว่าขโมยยกชุดกอล์ฟของผมไปสองชุดราคา 4 แสนกว่าบาท > เขาปลอบใจผมว่า > " ของที่หายเป็นของฟุ่มเฟือยของเรา > แต่มันอาจเป็นของจำเป็นสำหรับลูกเมียครอบครัวเขา คิดซะว่าได้ > ทำบุญ จะได้ไม่ทุกข์ " > > เขามีวิธีคิด " เท่ๆ " แบบผมคิดไม่ได้มากมาย > > เป็นต้นว่าสุขและทุกข์อยู่รอบตัวเรา อยู่ที่ว่าเราจะเลือกหยิบเลือกคว้าอะไร > > คงเป็นเพราะเขาเลือกคว้าแต่ความสุข ช่วงปีสุดท้ายของชีวิตเขาต่อสู้กับโรคชรา > เบาหวาน หัวใจ > ความดัน เกาต์ และไตทำงานเพียง 5 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ปริปากบ่น > แถมยังสามารถให้ลูกชายขับรถพา > เที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์โดยที่ตัวเองต้องหิ้วถุงปัสสาวะไปด้วยตลอดเวลาเนื่องจากไตไม่ทำงาน > ปัสสาวะเองไม่ได้ > > 6 เดือนสุดท้ายของชีวิตต้องนอนโรงพยาบาลสามวันนอนบ้านสี่วันสลับกันไป > เวลาลูกหลานหรือเพื่อนของ > ลูกรวมทั้งผมด้วยไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล เขามีแรงพูดติดต่อกันไม่เกิน 10 นาที > แต่ 10 นาทีที่พูดมีแต่ > เรื่องสนุกสนานเรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากคนไปเยี่ยมไข้ > ทุกคนพูดตรงกันว่า > " คุณตาไม่เห็นเหมือนคนป่วยเลย ตลกเหมือนเดิม " > > พอแขกกลับ ลูกหลานถามว่าทำไมคุยแต่เรื่องตลก > > เขาตอบว่า " ถ้าคุยแต่เรื่องเจ็บป่วย วันหลังใครเขาจะอยากมาเยี่ยมอีก " > > เขาเป็นคนชอบคุยกับผู้คนไม่ว่าจะอยู่บนเตียงคนไข้หรืออยู่บนรถแท็กซี่ > > บ่อยครั้งที่นั่งรถถึงหน้าบ้านแล้ว > แต่สั่งให้โชเฟอร์ขับวนรอบหมู่บ้านเพราะยังคุยไม่จบเรื่อง แล้วจ่ายเงิน > ตามมิเตอร์ ! > > > > 4 เดือนสุดท้ายของชีวิตแพทย์ที่รักษาโรคไตมาตั้งแต่สมัยเป็นแพทย์อินเทิร์นจนกระทั่งเป็นหัวหน้าแผนกแนะ > นำให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้แข็งแรงแล้วค่อยกลับบ้าน > > แต่อยู่ได้ 4 วันเขาวิงวอนหมอว่าขอกลับบ้าน > > หมอซึ่งรักษากันมา 16 ปีไม่ยอม เขาพูดกับหมอด้วยความสุภาพว่า > " ขอให้ผมกลับบ้านเถอะ ผมอยากฟัง > เสียงนกร้อง คุณหมอไม่รู้หรอกว่าคนคิดถึงบ้านมันเป็นอย่างไร > เพราะพอเสร็จงานหมอก็กลับบ้าน " > > หมอได้ฟังแล้วหมดทางสู้ ยอมให้คนไข้กลับบ้าน > แต่กำชับให้มาตรวจตรงตามเวลานัดทุกครั้ง > > 1 เดือนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต > เขาสูญเสียการควบคุมอวัยวะของร่างกายเกือบทั้งหมด เคลื่อนไหวได้ > อย่างเดียวคือกะพริบตา แต่แพทย์บอกว่าสมองของเขายังดีมาก > เวลาลูกเมียพูดคุยด้วยต้องบอกว่า > " ถ้าได้ยินพ่อกะพริบตาสองที " > > เขากะพริบตาสองทีทุกครั้ง ! > > เห็นแล้วทั้งดีใจและใจหาย > > เขายังรับรู้ แต่พูดไม่ได้ นี่กระมังที่เรียกว่าถูกขังในร่างของตนเอง > > > > สิบวันก่อนพลัดพราก ภรรยากระซิบข้างหูว่า " พ่อสู้นะ " > > เขาไม่กะพริบตาซะแล้วทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สองเดือนเคยตอบว่า " สู้ " > > เขาสู้กับสารพัดโรคด้วยความเข้าใจโรค สู้ชนิดที่หมอออกปากว่า > " คุณลุงแกสู้จริงๆ " > > ตอนที่วางดอกไม้จันทน์ ผมนึกถึงประโยคที่แกพูดกับลูกเมื่อสี่เดือนก่อนว่า > " โรคภัยมันเอาร่างกายของพ่อไปแล้ว อย่าให้มันเอาใจของเราไปด้วย " > >

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2549 | | |
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2549 8:03:04 น. |
Counter : 802 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
แนะนำหนังสือ 2
สวัสดีค่ะ ทุก ๆ ท่าน ขา
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีธุระจำเป็นต้องไปธนาคาร ผ่านร้านหนังสือซึ่งไม่ค่อยจะได้แวะเข้าไปแล้ว เพราะไม่ค่อยจะมีสตางค์ สุดท้ายก็อดที่จะซื้อหนังสือจนได้.... ว่าจะไม่แล้วเชียว
ความที่ว่า...เคยอยากเรียนสถาปัตย์ เห็นหนังสือเล่มนี้ จึงอดไม่ได้ที่จะต้องอ่าน
จะสรุปย่อมาเล่า ก็คงจะสู้มืออาชีพไม่ได้ หนังสือเล่มนั้นก็คือ 'ก้าวเข้าสู่ควอร์เตอร์สุดท้ายแห่งชีวิต' โดย หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ข้อความที่คัดมานี้ มาจาก จุดประกาย วรรณกรรม ... จักรรถ จิตรพงศ์ ... 'ก้าวเข้าสู่ควอ ร์เตอร์สุดท้ายแห่งชีวิต' ... //www.bangkokbiznews.com/jud/wan/ 20041002/news.php?news=column_14944335.html
(แต่รู้สึกว่า link จะชำรุด)
-ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ค่ะ
พรานอักษร
ชื่อเรื่อง.... สู่ควอร์เตอร์สุดท้าย หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ บายไลน์... ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี
บางครั้งบางคราวที่เราอยากจะหยุดเวลาเอาไว้เพื่อสิ่งดีๆ ที่อยู่ตรงหน้า ณ นาทีนั้น จะได้ไม่ลอยหายลับไป และหลายครั้งหลายคราวเช่นกันที่เราไม่อาจทำเช่นนั้นได้ นอกจากเก็บสิ่งเหล่านั้นเอาไว้เป็นความทรงจำ บทบันทึกจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการช่วยให้วันเวลาดังกล่าวเลือนหายไปตามเข็มนาฬิกา
ทั้งหมดเป็นหน่วยความคิดที่ผุดพรายขึ้นในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ "ก้าวสู่ควอร์เตอร์สุดท้ายแห่งชีวิต" อัตชีวประวัติของ หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ที่เพิ่งก้าวข้ามหลักชัยในชีวิตราชการไป พร้อมด้วย เตช บุญนาค ราชเลขาธิการ และจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ณ ห้องออดิทอเรี่ยม ชั้น 5 อาคารนานมีบุ๊คเฮาส์ เมื่อไม่นานมานี้ ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ ออกตัวว่า การที่เกิดมาเป็นหลานปู่ (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์) หลานตา (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) นั้น ไม่ได้แปลว่าตนเองจะเป็นผู้วิเศษแต่อย่างใด ในความเป็นจริงนั้น ตนเองเป็นเด็กขี้โรค เรียนหนังสือปานกลาง แต่บังเอิญเกิดมาในรั้วในวังเท่านั้น
"เนื้อหาในควอร์เตอร์แรกนี้ ประเด็นก็คือ ผมเป็นคนที่ไปเรียนในประเทศอังกฤษเป็นเวลา 7 ปี จึงมีความเป็นคนอังกฤษอยู่ในตัวเองมาก มีเพื่อน และความทรงจำดีๆ ที่นั่นเยอะ เมื่อกลับมาตั้งใจไว้ว่าจะหาโอกาสกลับไปที่นั่นอีก ก็ได้ให้สัญญากับตัวเองเอาไว้ว่า 5 ปีจะกลับไปครั้งหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาไม่เคยทำสำเร็จเลย เคยแวะกลับไปเยี่ยมดูบรรยากาศเก่าๆ ก็เป็นการค้นพบสัจธรรมว่า ชีวิตคนเราเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ ของเวลาจริงๆ ความจำเป็นของเราทำไมมันถึงสำคัญกับตัวเราอย่างยิ่ง ทั้งที่ในห้วงเวลาโลกนั้นมันแทบไม่มีค่าอะไรเลย ข้อคิดเหล่านี้ก็ได้นำไปเน้นกับงานวัฒนธรรมคิดย้อนกลับมาที่ประเทศไทยเองก็จะพบว่า ที่เมืองไทยเรามีคนอาศัยอยู่มาเป็นเวลากว่าหมื่นๆ ปีมาแล้ว ที่สำคัญก็คือกี่พันกี่หมื่นปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงระยะเวลาเพียง 3 ชั่วคนเท่านั้น ที่จะช่วยกันจรรโลงรักษาและสร้างสรรค์ ความเป็นมนุษย์ ศิลปวัฒนธรรม และมรดกทางเชื้อพันธุ์ต่างๆ ให้ดำรงอยู่ต่อไปในมิติเวลาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้ สิ่งที่นึกออกตามมาก็คือ อยากจะให้คนเราทุกวันนี้เลิกยึดติดกันเสียที"
ที่มาของชื่อหนังสือว่า เกิดจากการดูอเมริกันฟุตบอลที่แบ่งเป็น 4 ช่วงเวลาการแข่งขัน อีกทั้งเป็นแนวของการวางแผนทางวัฒนธรรมที่ต้องวางเป็นชั่วคน ไม่ใช่ 5 ปี 10 ปี แต่เป็นการมองถึง 20 ปี เคยมีคนกล่าวไว้ว่า การที่เราต้องการให้คนที่เกิดมาเป็นแบบไหน เราต้องดูกันตั้งแต่ตอนเกิดมาจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ ซึ่งโดยส่วนตัวมีการวางแผนเอาไว้ว่าจะมีอายุให้ถึง 80 ปี ให้ได้ แบ่งเป็น 4 ช่วงก็จะได้ช่วงละ 20 ปีพอดี โดยวางแผนเอาไว้ว่างานเขียนในช่วงควอร์เตอร์แรกนี้จะแจกในงานแซยิดตัวเอง สำหรับชื่อหนังสือที่ใช้คำว่าควอร์เตอร์ เพราะต้องการจะสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ แต่คำในภาษาไทยที่ใช้แล้วสื่อออกมานั้นยังหาไม่ได้ เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งทักท้วงเอาไว้ว่าทำไมไม่ใช้เสี้ยวในความคิดของตนก็ยังรู้สึกว่าเสี้ยวมันก็ยังไม่ใช่สี่ เลยใช้คำทับศัพท์ว่าควอร์เตอร์เพราะเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันว่าเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ ส่วนภาพปกที่เป็นรูปวาดได้ให้ช่างจินตนาการออกมาว่าหน้าตาตอนอายุ 80 จะเป็นอย่างไร ต้องขอบคุณช่างคนนั้นด้วยที่วาดออกมาแล้วเป็นหน้าที่ไม่มีความทุกข์เหลืออยู่เลย
เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนราชินีอย่าง เตช บุญนาค แสดงความรู้สึกที่มีต่อ 'คุณชายจักร' ว่า การที่เพื่อนคนหนึ่งเขียนบันทึกเกี่ยวกับความทรงจำแบบนี้ออกมา ก็เป็นการช่วยให้เพื่อนที่เคยมีความทรงจำร่วมกันนั้นได้ระลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ขึ้นมาด้วย สำหรับตนเองจะชอบบทส่งท้ายที่ว่า "การที่ผมดั้นด้นเดินทางไปไกล เพื่อแสวงหาร่องรอยของความทรงจำที่จดจำไว้ตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้พบก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้วตามครรลองและบริบทของมันเอง ไม่มีประโยชน์ที่เราจะถวิลหาสิ่งเหล่านี้อีกต่อไป ประสบการณ์ในร้าน สตาร์ ออฟ อินเดีย เผยสัจธรรมข้อนี้ให้แก่ผม จากบัดนั้นเป็นต้นไป ผมก็มีความรู้สึกเหมือนตื่นจากภวังค์ สลัดของเก่าทิ้งไป นำสติและจิตใจของตนเองให้กลับมาอยู่ในปัจจุบันและมองสู่อนาคตต่อไป" เนื้อหาโดยรวมเมื่อได้อ่านจะทำให้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ซึ่งถือว่าเป็นความมหัศจรรย์มากสำหรับการที่เมืองๆ หนึ่งจะเปลี่ยนไปได้ขนาดนั้น
"รูปถ่ายภายในหนังสือก็จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพ และเรื่องราวต่างๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น" ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ เสริม "สิ่งต่างๆ เป็นความเปลี่ยนแปลงเพียงช่วงอายุคนเดียวเท่านั้น สำหรับเรื่องความแตกต่างระหว่างวัยรุ่นยุคนี้กับวัยรุ่นยุคก่อนนั้นคงต้องออกตัวว่าคุยไม่ค่อยได้เพราะจะอยู่ในกลุ่มเล็กๆ โดยส่วนตัวจะไม่ค่อยชินกับคนกลุ่มใหญ่เพราะจะรู้สึกอาย และช่วงนั้นผมอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่เป็นชาวต่างประเทศที่อังกฤษเป็นหลัก จะรู้เรื่องของคนอังกฤษดีกว่า" สีสันของหนังสือเล่มนี้จะเป็นความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จากวัยเด็กขึ้นมาสู่วัยผู้ใหญ่ ช่วง 20 -40 ก็จะเริ่มจริงจังขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าจะเล่าถึงความจำเป็นในการสืบสกุล เช่นช่วงควอร์เตอร์ที่สอง ค่อนข้างจะติดมาในเรื่องการหาคู่ครอง ซึ่งกว่าจะเลือกได้ก็ข้ามทวีปเลยทีเดียว นอกจากนั้นในควอร์เตอร์ที่สอง ยังจะบอกถึงวิธีการเลี้ยงลูก เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว ชีวิตการรับราชการ ทำงานจนกระทั่งไปสู่จุดพลิกผัน ในการทำงานหลังจากที่ซ่อมองค์พระธาตุพนม ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานที่ประหลาดๆ ตามมา โดยจะมีเรื่องราวของปาฏิหาริย์เยอะ ส่วนควอร์เตอร์ที่สาม เรื่องเกี่ยวกับเมืองนอกก็จะเข้ามา ศูนย์วัฒนธรรม ความสนุกในการทำงานในโรงละคร จนไปถึงการก้าวสู่ตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
สำหรับควอร์เตอร์ที่สี่นั้น ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ เปิดเผยว่า จริงๆ วางแผนเอาไว้ สองอย่างด้วยกันคือ อย่างแรกเป็นการเขียนควอร์เตอร์ที่สองและสามให้จบเร็วๆ เมื่อเขียนจบก็จะเขียนบันทึกต่อไปว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในควอร์เตอร์ที่สี่นี้ โดยตกลงกับภรรยาเอาไว้ว่าจะแจกในงานวันเกิดอายุครบ 80 ปี หรือวันเผาก็ว่ากันไป โดยจะยึดแบบอย่างจากสมเด็จปู่ (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์) ที่เขียนไดอารีทุกวันจนกระทั่งเขียนไม่ได้ในที่สุด 'ก้าวเข้าสู่ควอร์เตอร์สุดท้ายแห่งชีวิต' อัตชีวประวัติของปลัดกระทรวงวัฒนธรรมคนแรกในยุคปัจจุบัน สายสกุลรุ่นที่สามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องราวในบทบันทึกของกาลเวลาที่หมุนไปจะยังคงอยู่ในตัวอักษรเป็นการเก็บรายละเอียดของชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนโลกการศึกษาในยุคเก่ากลางเก่าใหม่ของอังกฤษ เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น สะท้อนความคิดมุมเดิมภายหลังการเสวนาระหว่างเดินทอดน่องท่ามกลางมหานครยามเย็นจาก 'คุณชายจักร' ทั้งระยะเวลาหกสิบปีในชีวิต ก็สั้นนิดเดียวเมื่อเทียบกับการเดินรุดหน้าต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของกาลเวลา

Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2549 | | |
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2549 5:57:51 น. |
Counter : 763 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ความสุข
สุขพึงใจกับสุขชื่นใจ
คำว่า 'ความสุข' เป็นคำที่ใช้เกร่อมากในการเขียนก๊อปปี้โฆษณา เช่น สุขเหลือล้ำ, สุขเหลือล้น, สุขใจเมื่อใช้...(ชื่อสินค้า) ฯลฯ
แทบจะกลายเป็นกฎการตลาดที่โฆษณาส่วนใหญ่มักแสดงภาพของคนที่มีความสุขที่เกิดจากการใช้สินค้า เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม โฆษณาที่ประสบความสำเร็จเชิงตลาดมักแสดงภาพเปรียบเทียบตามกลยุทธ Before-After นั่นคือแสดงความทุกข์ก่อนใช้สินค้าคู่กับความสุขหลังใช้สินค้า
เมื่อตอกย้ำไปนานๆ ผู้คนก็เริ่มคล้อยตามว่า ความสุขซื้อหาได้
เอ๊ะ! แล้วไม่จริงหรือ?
หลายคนมีความสุขมากเมื่อได้รถยนต์คันใหม่ แต่งงาน เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือนขึ้น ขายหุ้นได้ราคาดี ฯลฯ หากนี่ไม่ใช่ 'ความสุข' แล้วมันคืออะไร?
คำถามคือ หากรถยนต์เป็นต้นเหตุของความสุข ทำไมไม่ใช่ทุกคนที่สุขเมื่อได้รถยนต์คันใหม่?
ทั้งนี้เพราะความสุขไม่ใช่ตัววัตถุ ไม่ใช่สสาร ความสุขเป็นกระบวนการทำงานของสมอง
คนดื่มเหล้าสามารถกลบ 'ความทุกข์' ชั่วคราว เมื่อสร่างเมาทุกข์ก็ยังคงรออยู่
ความสุขแยกออกได้เป็นสองแบบ สุขพึงใจ (Happiness) กับสุขชื่นใจ (Bliss)
สุขพึงใจเป็นความสบาย เช่น การได้กินอาหารอร่อย คนรอบข้างน่ารัก แน่นอนมันรวมการได้รถยนต์คันใหม่ เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือนขึ้น ขายหุ้นได้ราคาดี การมีคู่ครองที่ดี เป็นความพึงใจที่ผูกกับวัตถุและ/หรือสภาวะภายนอก เมื่อวัตถุหรือสภาวะภายนอกนั้นเสื่อมสลาย สุขพึงใจก็ลอกเปลือกออกเห็นตัวตนภายในคือทุกข์
สุขชื่นใจลึกซึ้งกว่านั้นมาก สุขชื่นใจซื้อหาไม่ได้ เพราะเป็นความรู้สึกและตัวตนภายใน
ขณะที่สุขพึงใจคือการรับ สุขชื่นใจคือการให้
ขณะที่สุขพึงใจคือความดื่มด่ำ สุขชื่นใจคือความเข้าใจ
การเข้าสู่สภาวะนิพพานทางพุทธ หรือเซนโตริทางเซน ก็คือความเข้าใจที่ก่อให้เกิดสุขชั้นสูง อันปูฐานมาจากการรู้จักพอ
ปรัชญาพุทธสอนให้มองความสุขว่าเป็นความเข้าใจในสภาวะของตัณหา เมื่อเข้าใจก็เกิดความสันโดษ พอเพียง ชีวิตก็เรียบง่าย
ความสุขชื่นใจเกิดมาจากสติความรับรู้สิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตด้วยความเยือกเย็น ไม่ร้อนรน และสงบเสงี่ยม ทว่านี่ไม่ใช่คุณสมบัติที่ได้มาง่ายๆ ต้องผ่านประสบการณ์ การทดสอบ และความทุกข์
นี่ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่หล่อหลอมผู้คนให้ไขว่คว้าหาความสุขตามแนวทางที่การตลาดกำหนด ตัณหาใหม่ๆ ถูกสร้างขึ้นตามจุดหมายแห่งกำไรสูงสุด
เนื่องจากสุขไม่ใช่สสาร การผูกตัวเองกับวัตถุนิยมจึงเป็น 'ความสุข' ประเดี๋ยวประด๋าว เหมือนไฟไหม้ฟาง มาวูบเดียว ไปวูบเดียว
ขอขอบคุณข้อเขียนดี ๆ จาก คุณวินทร์ เลียววาริณ
//www.winbookclub.com
www.winbookclub.com/basket_detail.php?id=95

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2549 | | |
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2549 5:09:59 น. |
Counter : 734 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
สวัสดีปีใหม่
สวัสดีปีใหม่ ค่ะ
มั่งมี ศรีสุข ร่ำรวย ร่ำรวย นะคะ

Create Date : 29 มกราคม 2549 | | |
Last Update : 29 มกราคม 2549 6:14:48 น. |
Counter : 828 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
สวัสดีค่ะ
วันนี้ขออนุญาตแนะนำ
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
ท่านสามารถ download หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
ได้ที่
//www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/416_2157.pdf
นะคะ

Create Date : 21 มกราคม 2549 | | |
Last Update : 21 มกราคม 2549 6:22:32 น. |
Counter : 919 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|