Group Blog
 
All Blogs
 
กลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านเศร้า Fluoxetine ต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส

อาการซึมเศร้าที่เรียกว่า major depression นั้นหากเกิดเป็นครั้งคราวหลายครั้งก็เรียกว่า major depressive disorder เมื่อคิดเทียบกับ global burden of disease ก็จะพบว่ามีค่าสูงถึงร้อยละ 4.4 ซึ่งใกล้เคียงกับ ischemic heart disease และ diarrheal diseases เมื่อพิจารณาถึงบริเวณสมองที่มีความสำคัญต่อพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดอาการซึมเศร้าที่มีการศึกษาวิจัยในวงกว้าง ได้แก่ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus), prefrontal cortex และ amygdala ยาที่ใช้ในการรักษาอาการนี้มีให้เลือกหลายกลุ่ม แต่กลุ่มยาที่นิยมสั่งจากและจัดเป็น First-line antidepressant ในเด็กและวัยรุ่นคือ ยาต้านเศร้ากลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) โดยเฉพาะยา Fluoxetine [1] ในบทความนี้จะกล่าวถึงทฤษฏีใหม่เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของยานี้ที่เสนอว่าผลทางคลินิกที่เกิดจากยาเป็นผลมาจากการสร้างเซลล์ประสาทมากขึ้นในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส



ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่นักวิจัยจำนวนมากก็ได้ให้ความสนใจในบทบาทของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสต่อกลไกการเกิดอาการซึมเศร้าเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ [2]

ประการแรกในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสมีตัวรับของกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) จำนวนมาก โดยสารนี้หลั่งออกมาต่อมหมวกไตเพื่อตอบสนองสภาวะที่เกิดความเครียด และการทำงานที่เพิ่มขึ้นของระบบ hypothalamic–pituitary–adrenal (HPA) axis ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะซึมเศร้า

ประการที่สองสมองส่วนฮิปโปแคมปัสทำหน้าที่เป็น negative feedback ควบคุมการทำงานของระบบ HPA axis ซึ่งควบคุมการหลั่งกลูโคคอร์ติคอยด์ และพบว่าในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าไม่สามารถควบคุมระบบ HPA axis ได้จึงทำงานมากกว่าปกติ

เหตุผลประการต่อมาเกิดจากข้อสังเกตที่ว่า เมื่อเกิดภาวะเครียดเรื้อรังหรือมีปริมาณกลูโคคอร์ติคอยด์สูงขึ้น นำไปสู่การสูญเสียเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งยิ่งส่งผลให้การควบคุมระบบกำเนิดความเครียดคือ HPA axis ลดลงเป็นอย่างมาก

ประการสุดท้ายสมองส่วนฮิปโปแคมปัสมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่เชื่อมต่อกับสมองส่วน amygdala และ prefrontal cortex ซึ่งมีส่วนร่วมกันในการควบคุมสภาวะอารมณ์ (mood) และการรู้คิด (cognition)

มีอาการทางประสาท (neurological conditions) และทางจิตเวช (psychiatric conditions) หลายกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับภาวะลีบหรือฝ่อของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampal atrophy) ซึ่งยืนยันได้จากภาพถ่ายสมองที่ใช้เทคโนโลยี Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นต้น



สำหรับกลุ่มอาการที่อาจทำให้เกิดภาวะสมองส่วนฮิปโปแคมปัสฝ่อ (hippocampal atrophy) ได้แก่ Normal aging preceding dementia, Alzheimer’s disease, Cushing’s syndrome, Post-traumatic stress disorder (PTSD), Recurrent depressive illness, Schizophrenia, Epilepsy และ Parkinson’s disease และกลุ่มยาที่อาจมีผลป้องกันสมองส่วนฮิปโปแคมปัสฝ่อที่ระบุในรายงานงานวิจัย เช่น Selective serotonin reuptake enhancers (เช่น tianeptine), Selective serotonin reuptake inhibitors (เช่น fluoxetine), Phenytoin, Lithium, Antipsychotics, Tricyclic antidepressants (TCADs), Antagonists of excitatory amino acids, Anticholinestreases (เช่น donepezil, tetrahydroacidrine; tacrine), Estrogens, Mifepristone, Adinazolam และ Cynoketone [2]



มีรายงานวิจัยเสนอว่าความเครียดเหนี่ยวนำให้เกิดการสูญเสียเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัสโดยเฉพาะเซลล์ประสาทที่เรียกว่า CA3 pyramidal neurons และทำให้ปริมาตรสมองส่วนนี้ลดลงซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะพยาธิสรีรวิทยาของความเจ็บป่วยทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น อาการซึมเศร้า เป็นต้น โดยพบว่าอาการซึมเศร้าทำให้การสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสลดลง และเมื่อทดสอบในหนูขาวโดยใช้โมเดล learned helplessness behavior พบว่ายา fluoxetine สามารถลดอาการซึมเศร้า และเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ในบริเวณเดนเตตไจรัส (dentate gyrus) ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส [3] นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยหลายฉบับที่แสดงให้เห็นว่ายาต้านเศร้า (antidepressants) เช่น tricyclic antidepressants, serotonin selective reuptake inhibitors, และ atypical antipsychotics เช่น olanzapine เพิ่มการสร้างเซลล์ประสาท (adult neurogenesis) ในบริเวณเดนเตตไจรัส (dentate gyrus) ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส [4] และอาจมีผลต่อสมองส่วน prefrontal cortex [5]

การใช้ยาต้านเศร้า fluoxetine ในระยะยาวทำให้เกิดการสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มมากขึ้น และอาจเป็นไปได้ว่าผลทางคลินิกที่ดีขึ้นของยากลุ่มนี้จำเป็นต้องเกิดผ่านการเหนี่ยวนำให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มมากขึ้น และเมื่อใช้โมเลกุลติดตาม (marker) ที่ใช้ระบุว่าเซลล์กำลังแบ่งตัวคือ bromodeoxyuridine (BrdU) ซึ่งจัดเป็น thymidine analog พบว่าร้อยละ 75 ของ BrdU-positive cells มีลักษณะทางสัณฐานเป็นเซลล์ประสาทและแสดงโมเลกุลที่จำเพาะต่อเซลล์ประสาท (neuronal marker) เช่น NeuN หรือ NSE มีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่แสดงโมเลกุลที่จำเพาะต่อเซลล์เกลีย (glial marker) คือ GFAP [6]

Santarelli และคณะ [7] รายงานผลงานวิจัยที่โดดเด่นมาก โดยเมื่อตัดยีนของตัวรับที่จำเป็นต่อการออกฤทธิ์ของยาต้านเศร้า คือ 5-HT1A (Serotonin 1A receptor null mice) พบว่าหนูถีบจักรไม่ตอบสนองต่อผลการรักษาและไม่มีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เมื่อให้รังสีเอกซ์ (X-irradiation) ไปยังพื้นที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัสอย่างจำเพาะพบว่าสามารถยับยั้งการสร้างเซลล์ประสาทใหม่และยับยั้งผลทางการรักษา กล่าวคือหนูยังคงแสดงอาการซึมเศร้าแม้ว่าจะได้รับยาร่วมด้วยก็ตาม งานวิจัยนี้จึงเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าผลทางพฤติกรรมที่ดีขึ้นซึ่งเกิดจากการให้ยาต้านเศร้าระยะยาวจำเป็นต้องเกิดผ่านกระบวนการกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส

Experiment Behavior Hippocampal Neurogenesis
Stress Alone Depressed Decreased
Stress Plus Prozac Normal Normal



Experiment Behavior Hippocampal Neurogenesis
Stress Alone Depressed Decreased
Stress Plus Prozac Normal Normal
Stress + x-ray + Prozac Depressed (decreased by the x-rays)

ที่มา PsychEducation.org //www.psycheducation.org/mechanism/7Aneurogenesis.htm

นักวิจัยอีกคณะ [8] ได้เพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดประสาท (neural stem cells) ที่ได้จากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูขาวที่โตแล้ว เพื่อศึกษาฤทธิ์ของยา fluoxetine ในการปกป้องเซลล์ประสาท (neuroprotection) และฤทธิ์การเหนี่ยวนำเซลล์ต้นกำเนิดประสาทให้เจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ในระบบประสาท (neural differentiation) พบว่าความเข้มข้นของยา fluoxetine ในขนาด 20 microM สามารถเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ต้นกำเนิดประสาทอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มปริมาณ mRN และโปรตีน Bcl-2 ในวันที่เจ็ด นอกจากนี้ยังพบว่าการที่ fluoxetine มีผลกระตุ้นการทำงานของ Bcl-2 สามารถยับยั้งฤทธิ์ของ Fas ligand ที่เหนี่ยวนำให้เซลล์ต้นกำเนิดประสาทตายแบบ apoptosis ซึ่งผ่านการทำงานของเอนไซม์ caspase ยิ่งกว่านั้นยังพบว่ายา fluoxetine สามารถกระตุ้นการพัฒนาใยประสาท (neurite) ซึ่งหมายถึง เดนไดรต์และแอกซอน และสามารถกระตุ้นการเจริญพัฒนาของเซลล์ต้นกำเนิดประสาทไปเป็นเซลล์ประสาทซีโรโตนิน



แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาหนึ่งพบว่ายา fluoxetine ออกฤทธิ์ที่ early progenitors และเมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่าเซลล์กลุ่มดังกล่าวจัดเป็น neuronal progenitors ซึ่งจะเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ประสาท ทั้งนี้ยา fluoxetine ไม่ได้มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์ต้นกำเนิดประสาทในบริเวณเดนเตตไจรัสของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสแต่อย่างใด แสดงว่าผลของยาที่เหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างเซลล์ประสาทใหม่นั้นเกิดตัวยาไปมีผลต่อ neuronal progenitors [9] สำหรับวิถีการกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในระดับเซลล์และยีนพบว่า การกระตุ้นตัวรับ 5HT1A สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ได้ [10] ยาต้านเศร้าทำให้ระดับ cAMP, cAMP dependent protein kinase, cAMP response element binding protein (CREB) และ Brain-derived neurotrophic factor (BDNF) เพิ่มขึ้น ซึ่งสารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการสร้างเซลล์ประสาทใหม่

นอกจากมีการศึกษาผลของยา fluoxetine ในโมเดลโรคซึมเศร้าแล้ว ยังมีการศึกษาผลของยานี้ต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสเพื่อค้นคว้าความเป็นไปได้ในการรักษากลุ่มโรคต่างๆ มีการศึกษาหนึ่งที่นักวิจัยได้ศึกษาหนูถีบจักร Ts65Dn ที่ใช้เป็นโมเดลของกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) พบการแบ่งตัวของเซลล์ในบริเวณบริเวณเดนเตตไจรัสของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่น้อยกว่าหนูถีบจักรกลุ่มปกติ เมื่อให้ยา fluoxetine ระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์แก่หนูกลุ่มที่มีอาการดาวน์พบว่ายานี้เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เพื่อสร้างเซลล์ประสาทและมีอัตราการอยู่รอดของเซลล์ประสาทนี้ในระดับที่ใกล้เคียงกับหนูกลุ่มปกติ [11]

สมองส่วนฮิปโปแคมปัสนอกจากจะมีบทบาทต่อการจดจำและการเรียนรู้แล้วยังมีความสำคัญต่อภาวะอารมณ์โดยเฉพาะความเครียดที่บทบาทสำคัญในกลไกการเกิดโรคซึมเศร้า ปัจจุบันนี้มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสเป็นปรากฏการณ์ที่จำเป็นต่อผลทางการรักษาของยาต้านเศร้า จากงานวิจัยหลายฉบับได้แสดงให้เห็นว่าผลของยากลุ่มนี้ต่อการแบ่งตัวของเซลล์และการพัฒนาไปเป็นเซลล์ประสาทใหม่ในฮิปโปแคมปัสนั้นเกิดจากการบริหารยาในระยะยาวไม่ใช่การให้ยาแบบเฉียบพลันซึ่งสอดคล้องกับผลทางคลินิกที่สังเกตได้เมื่อให้ยาแก่ผู้ป่วยแล้วประมาณ 3-4 สัปดาห์

เอกสารอ้างอิง

1. The Medical Management of Depression, the New England Journal of Medicine, 2005;353:1819-34.
2. Is hippocampal atrophy a future drug target?, Med Hypotheses. 2007;68(6):1300-6. Epub 2006 Nov 13 //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=17098374&query_hl=3&itool=pubmed_docsum
3. Hippocampal cell proliferation regulation by repeated stress and antidepressants. Neuroreport. 2006 Jun 26;17(9):863-7. //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=16738477&query_hl=3&itool=pubmed_docsum
4. Malberg, 2004 J.E. Malberg, Implications of adult hippocampal neurogenesis in antidepressant action, J. Psychiatry Neurosci. 29 (2004), pp. 196–205.
5. Kodama et al., 2004 M. Kodama, T. Fujioka and R.S. Duman, Chronic olanzapine or fluoxetine administration increases cell proliferation in hippocampus and prefrontal cortex of adult rat, Biol. Psychiatry 56 (2004), pp. 570–580. SummaryPlus | Full Text + Links | PDF (427 K) //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=15476686&query_hl=3&itool=pubmed_DocSumSantarelli et al., 2003 L.
6. Chronic antidepressant treatment increases neurogenesis in adult rat hippocampus. J Neurosci. 2000 Dec 15;20(24):9104-10 //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=11124987&query_hl=3&itool=pubmed_DocSum
7. Santarelli, M. Saxe, C. Gross, A. Surget, F. Battaglia and S. Dulawa et al., Requirement of hippocampal neurogenesis for the behavioral effects of antidepressants, Science 301 (2003), pp. 805–809. //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=12907793&query_hl=3&itool=pubmed_DocSum
8. Antidepressant administration modulates neural stem cell survival and serotoninergic differentiation through bcl-2, Curr Neurovasc Res. 2007 Feb;4(1):19-29 //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=17311541&query_hl=3&itool=pubmed_DocSum
9. Fluoxetine targets early progenitor cells in the adult brain, Proc Natl Acad Sci U S A. 2006 May 23;103(21):8233-8. Epub 2006 May 15. //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=16702546&query_hl=3&itool=pubmed_docsum
10. Jacobs B, Tanapat P, Reeves A, Gould E (1998) Serotonin stimulates the production of new hippocampal granule neurons via the 5HT1A receptor in the adult rat. Soc Neurosci Abstr 23:1992.
11. Fluoxetine rescues deficient neurogenesis in hippocampus of the Ts65Dn mouse model for Down syndrome Exp Neurol. 2006 Jul;200(1):256-61. Epub 2006 Apr 19 //www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=Retrieve&dopt=AbstractPlus&list_uids=16624293&query_hl=3&itool=pubmed_docsum






Create Date : 01 พฤษภาคม 2550
Last Update : 1 พฤษภาคม 2550 14:03:32 น. 55 comments
Counter : 27623 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาฝากค่ะ

อิ อิ อ่านนานมากเหมือนกัน

แวะมาทักทายวันฝนตกอากาศเย็นสบาย

ดูแลสุขภาพด้วยนะคะระยะนี้อากาศเปลี่ยนบ่อย


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 1 พฤษภาคม 2550 เวลา:8:24:29 น.  

 


*** สวัสดียามเช้าคะ อากาศดีจังเลย แวะมาเยี่ยม ขอบคุณสำหรับบทความดีดีที่นำมาฝาก ***



โดย: หน่อยอิง วันที่: 1 พฤษภาคม 2550 เวลา:9:28:44 น.  

 
มาเก็บความรู้เพิ่มเติมครับ
ยาตัวนี้ผมก็ใช้บ่อยเหมือนกัน
แต่ก็พยายามบอกคนไข้ว่าต้องใช้หลายๆวิธีในการรักษา
ไม่ควรพึ่งยาเพียงอย่างเดียว

ส่วนผมเอง..คงยังไม่อยากกินยานี้เองครับ
เพราะพยายามทำใจให้สบาย ไม่เครียดครับ


โดย: Dr.Manta วันที่: 1 พฤษภาคม 2550 เวลา:11:34:07 น.  

 
ขอบคุณครับ
หมอสั่งยานี้ให้กินอยู่ อาการดีขึ้นจิงๆ
ไม่นึกว่า เคมี จะช่วยเรื่องจิตใจได้ขนาดนี้


โดย: ซึมเศ้ราแมน IP: 124.120.166.196 วันที่: 2 พฤษภาคม 2550 เวลา:0:59:27 น.  

 
บล็อกคราวนี้ยาวดีแท้ครับ และเนื้อหายังแน่นปึกเหมือนเดิมเลย มีประโยชน์มากๆ เลยครับพี่

ช่วงนี้ไม่ค่อยเห็นพี่พงษ์อัพเลย คงเรียนหนักน่าดูเลยนะครับ ยังไงก็อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะครับพี่


โดย: Due_n วันที่: 2 พฤษภาคม 2550 เวลา:2:17:26 น.  

 
ขอคำแนะนำเรื่องการเรียนต่อและการทำงานในสายวิทยาศาสตร์การแพทย์ครับ
ตอนนี้ผมจบป.ตรีชีวเคมี และกำลังเรียนต่อป.โทด้านเภสัชวิทยา อยากขอความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของงานวิจัยทางด้านนี้ว่าจะเป็นไปในแนวทางไหนครับ
ความเห็นส่วนตัวของผมคือเป็นแนว pharmaco genomic ใช้การศึกษาด้วยวิธีทาง Molecular biology เพื่อศึกษาtrancription factor ของ gene ใน stem cell เพื่อประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะแนวโน้มของงานที่กำลังเป็นที่ต้องการ เพื่อที่ผมจะเอาข้อมูลที่พี่ให้ไปประกอบการตัดสินใจในการทำ thesis ครับ
ขอบคุณพี่ที่ช่วยให้คำแนะนำล่วงหน้าครับ
auu5555@hotmail.com


โดย: Luo Wenyou IP: 158.108.88.92 วันที่: 3 พฤษภาคม 2550 เวลา:12:38:39 น.  

 
ยาตัวนี้จะช่วยลดการหลั่งเร็วได้มากน้อยเพียงใด อันตราย และ ขนาดการใช้อย่างไรจึงเหมาะสม


โดย: susit IP: 202.228.229.71 วันที่: 2 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:43:42 น.  

 
Great place to visit!
Malice Mizer
[url=//mucheaters.clan.su/] Malice Mizer [/url]


โดย: Crist IP: 67.84.58.48 วันที่: 18 กรกฎาคม 2550 เวลา:17:24:07 น.  

 
Very interesting and beautiful site. It is a lot of ful information. Thanks.
MuOnline
[url=//muozone.blogspot.com] MuOnline [/url]


โดย: Nikodemos IP: 124.51.21.104 วันที่: 19 กรกฎาคม 2550 เวลา:8:31:35 น.  

 
ขอบคุณที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าครับ เพราะปัจจุบันคนเป็นกันมาก และมีผู้ใช้ยา Fluoxetine เป็นจำนวนมาก และผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้ยาตัวนี้ ขอยอมรับว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพอีกตัวหนึ่ง


โดย: ningnong IP: 203.144.187.18 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:9:55:04 น.  

 
เข้ามาอ่านข้อมูล เพราะผมเองก็กำลังใช้ยาตัวนี้อยู่เหมือนกัน กินมาได้ไม่กี่วันเองครับ แต่รู้สึกดีขึ้นจริงๆ

เวลาเห็นคนอื่นซึมเศร้ามักนึกว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ไม่คิดว่าเวลาตัวเองเป็นบ้าง อาการก็หนักพอสมควรเหมือนกัน


โดย: Carlziessss IP: 203.113.17.155 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2550 เวลา:12:46:48 น.  

 
ทาน fluoxetine มาประมาณ1 เดือนครึ่งช่วงเย็นทาน2 เม็ดพร้อมกับalprazolam และก่อนนอนก็ทานอะไรจำไม่ได้อีก2 เม็ด อาการไม่ดีขึ้น เลยเปลี่ยนมา ทานtianeptine เช้ากลางวันเย็น ยา 2 ตัวนี้แตกต่างกันยังไงค่ะ


โดย: ซึมเศร้าเหทือนกัน IP: 58.9.93.50 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:1:49:47 น.  

 
ขอบคุณมากๆนะคะสำหรับ ข้อมูลคะ


โดย: ซึมเศร้า??? IP: 203.150.104.150 วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:20:16:13 น.  

 
เจ๋งครับ ขอบคุณครับ


โดย: เนตร IP: 202.28.27.6 วันที่: 14 ธันวาคม 2550 เวลา:12:51:54 น.  

 
สวัสดีค่ะพอดีหนูกำลังทำงานโปรเจ็คเกี่ยวกับเรื่องนี้เกียวกับเรื่องความเคลียดค่ะ(Stress)อยู่พอดีค่ะ แต่ว่าใช้สารคนละตัวก็หาข้อมูลมาเรื่อยๆพอดีเจอข้อมูลนี้ก็ช่วยได้มากเลยค่ะแต่อยากรบกวนกวนหรือว่าพอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยใดที่เกียวข้องบ้างหรือป่าวค่ะส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยที่มีแต่ภาษาอังกฤษซึ่งหนูเองต้องใช้เวลาในการแปลนานพอสมควรค่ะถ้ามีข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกรุณาช่วยตอบหนูด้วยน่ะค่ะ
(ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ)


โดย: ชลธิชา IP: 58.147.85.2 วันที่: 15 มกราคม 2551 เวลา:2:39:26 น.  

 
ถ้าผู้ใดพอจะมีข้อมูลหรือกำลังทำวิจัยเรื่องนี้อยู่กรุณาช่วยตอบด้วยน่ะค่ะ
หรือช่วยส่งมาที่เมล poopisty@hotmail.com ด้วยน่ะค่ะ
(ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ)


โดย: ชลธิชา IP: 58.147.85.2 วันที่: 15 มกราคม 2551 เวลา:2:44:32 น.  

 
ยานี้สามารถรักษาแบบเชิงป้องกัน บางครั้งกับตัวเองต้องใช้ด้วยค่ะ


โดย: ยาโย IP: 117.47.148.106 วันที่: 17 มกราคม 2551 เวลา:12:49:47 น.  

 
ใช้ยานี้อยู่ค่ะ ยอมรับว่าหลังได้รับยาแล้ว 6 เดือนอาการดีขึ้นแต่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับค่ะ หมอบอกว่าถ้าอาการยังมีอยู่อาจต้องกินไปตลอดชีวิต มีข้อคิดเห็นอย่างไรบ้างค่ะ


โดย: ยาตรา IP: 203.113.50.9 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:36:56 น.  

 
เป็นครั้งแรกนะค่ะที่เข้ามาเจอ รูสึกดีขื้นมากเลย ทำให้เห็นว่ามีคนอ่นที่เป็นเหมือนเราอีกมาก จะว่าไปแล้วคนเราทุกคนก็มีทั้งสุขและก็ทุกข์เป็นธรรมดา เป็นปกติชองชีวิต ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ทุกๆคนนะค่ะที่กำลังท้ออยู่ สู้ๆค่ะ


โดย: susu ka IP: 125.24.210.221 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:8:19:28 น.  

 
ใช้ยาตัวนี้อยู่ทานก่อนนอนได้มั้ย


โดย: opp IP: 118.172.67.170 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:10:13:20 น.  

 
ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลนี้นะคะ
เห็น profile คุณแล้วกำลังคิดว่าจะเป็นนักศึกษาเภสัชจุฬา รุ่นเดียวกันกับน้องสาวหรือเปล่าก็ไม่รู้ น้องสาวชื่อ บีค่ะ


โดย: nidhiporn วันที่: 1 กันยายน 2551 เวลา:10:28:09 น.  

 
เรื่องจิงค่ะ ความเครียดทำให้เราเปลี่ยนไปมาก แรกๆเป็นคนที่เรียบร้อยและ ร่าเริง แต่ว่าเรียนหนัก เรียนพิเศษตลอด
ช่วงที่เป็นนะ นอนไม่หลับ เพ้อ ฟังอะไรจำไม่ได้ เหมือนเอ๋อไปเลย เราก้อรู้อยู่ว่าไม่ใช่ตัวเรา ทำยังไงดี ช่วงนี้ก้อมีพ่อแม่ญาติพี่น้อง ช่วยให้กำลังใจค่ะ
พาไม่หาจิตแพทย์ ก้อได้ยานี้มาค่ะ
กินทุกวันตอนเช้า พออาการดีขึ้นเรื่อยๆ
ก้อเปลี่ยนเป็นวันเว้นวัน ขอบคุณพ่อแม่จิงๆคะ ท่านดูแลเราแม้เราจะตกอยู่ในสภาวะย่ำแย่แค่ไหนก้อตาม แรกๆยานี้ทำให้ปวดท้องมากเลยค่ะ ตกใจนึกว่าท้องกับใครมา ทั้งๆที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับใคร แล้วหมอให้ยานี้มานึกว่ายาแก้แพ้ท้อง เป็นความคิดมากน่ะค่ะ ช่วงที่เครียด เพ้อเจ้อมากมาย จำเรื่องเก่าๆไม่ได้เลย เพื่อนก้อว่าเราเงียบผิดปกติไม่เหมือนเดิม จนตอนนี้เราดีขึ้นเยอะ มีความสุขมากค่ะ ขอบคุณคุณพ่อคุณแม่อีกครั้งนะคะ


โดย: ประสบการณ์ IP: 125.27.142.190 วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:17:26:46 น.  

 
กินยานี้มาสองเดือนครับ ดีขึ้นบ้าง มีอาการมึนๆนิดเดียว แล้วก็หาวบ่อยๆ จะสู้ต่อไป จะได้หายซักที เป็นมาปีกว่าเพิ่งหาหมอ ไม่รู้จะหายเมื่อไหร่ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนหายไวๆครับ


โดย: เป็นด้วย IP: 58.8.96.7 วันที่: 18 ตุลาคม 2551 เวลา:0:37:20 น.  

 
กินยานี้แล้วลดความอ้วนได้ด้วยรึป่าวเพราะมีคนแนะนำมาว่าลดได้ดีเหมือนกัน ทานยานี้อยู่ด้วยแล้วก้อลดลงจิงๆด้วย จะมีผลอะไรรึป่าวนะ


โดย: iiii IP: 117.47.176.245 วันที่: 7 ธันวาคม 2551 เวลา:9:43:10 น.  

 
ผมกินมาเกือบปี แล้วครับ อาการดีขึ้น ครับ ตอนนี้ทำงานได้ แต่ ยังมีคว่ามวิตกกังกลอยู่ ผมจะสู้ต่อไปคาบ


โดย: Fluoxetine IP: 202.69.136.82 วันที่: 11 ธันวาคม 2551 เวลา:13:37:36 น.  

 
พอดีกินยาลดน้ำหนักมาหลายปี เรยเป็นโรคซึมเศร้าคะ มีพี่คนนึงเค้าแนะนำยาตัวนี้มาให้ทานวันละเม็ดตอนเช้า กำลังจาเริ่มวันพรุ่งนี้คะ พี่เค้าบอกว่าช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย จริงรึป่าวคะ
แร้วยาตัวนี้มีผลเสียยังไงบ้างไหมคะ รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: อยากรู้ค่ะ IP: 124.120.167.80 วันที่: 18 ธันวาคม 2551 เวลา:18:40:04 น.  

 
อย่ากทราบว่าไม่ทานยาจะมีวิทีอื่นหรือเปร่าค่ะ


โดย: กั้ง IP: 124.121.73.18 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:19:49:43 น.  

 
โรคซึมเศร้าสามารถเป็นนานติดต่อกันถึงกี่ปีค่ะแล้วจะหายเองหรือเปร่าค่ะ


โดย: กั้ง IP: 124.121.73.18 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:19:55:19 น.  

 
มีคนทานยานี้มาเป็นปีพร้อมกับยาในกลุ่มโรคประสาทอีกหลายตัว ผมถามเขาก็บอกว่าดีถ้าไม่ทานจะมีปัญหามาก ฟุ้งซ่าน ผมก็เลยถามปัญหากับตัวเขา เจอปัญหาในชีวิตและครอบครัว ผมแนะนำในเบื่องต้น ให้แช่น้ำอุ่น พร้อมกับสวดมนต์ไหว้ พระ การทำสมาธไม่ต้องทำอะไรมากนอนดูลมหายใจเข้าออก จนหลับไป และให้ไปทำบุญหาพระสงฆ์ที่ปฎิบัติดี ตอนนี้ไม่ทานยาอะไรแล้วสภาพดีมากๆ นอนหลับสบายร่าเริงดี
ผมไมชอบให้คนทานที่ยาที่เป็นการรักษาปลายเหตุ แต่ผมจะแก้ที่เหตุ และส่วนมากก็อาการดีมาก ยกเว้นบางรายที่ มีอาการทางร่างกายมาก เพราะเหตุทานยามาเป็น10ปี เกิด การติดยาไปแล้วจะแก้ไขได้ยาก
...ขอให้มหอทุกท่านอย่ารีบจ่ายยาให้อย่างเดียวนะครับ หใหสาเหตุและคอยช่วยเหลือเขามนอีกด้านหนึ่ง ผมว่าจะดีกว่าให้ยานะครับ



โดย: หมอชาวบ้าน IP: 112.142.124.205 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:26:48 น.  

 
ต้องขอบอกว่ายาตัวนี้ดีจริงๆ ครับเมื่อก่อนนี้เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำอยู่หลายปีโดยไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรแต่เมื่อไปพบจิตแพทย์และเล่าอาการให้ฟัง แพทย์สรุปว่าผมเองเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งก็ได้จัดตัวยาดังกล่าวมาให้ทานหลังอาหารเช้า และก่อนนอน ผ่านมา 3 เดือน รู้สึกว่าตัวเองดีขึ้นมากเลยครับ อาการท้อแท้ ไม่มีกำลังที่จะทำอะไร หายไปเลย ซึ่งตอนแรกไม่เชื่อว่ายาตัวนี้จะช่วยได้


โดย: ธง IP: 125.26.139.129 วันที่: 20 ตุลาคม 2552 เวลา:14:48:05 น.  

 
ใช้ยา ตัวนี้มา 6 เดือนค่ะ เห็นด้วยกับการที่น้ำหนักลด
1.เนื่องมาจาก การอยากทานอาหารลดลง แต่ถ้ายังทานมากอยู่ ก็ไม่ลดลงหรอกค่ะ
2. ทีใช้อยู่ เนื่องจากเป็น กล้ามเนื้อพังผืด อักเสบเรื้อรัง (Phyblomyalgia) ต้องการเพิ่ม เซโรโทนิน ในสมองค่ะ
3. ผลข้างเคียงที่กระทบ คือ กระตุ้น ทำให้ มีอาการทาง ไซนัสเพิ่มขึ้นค่ะ เพราะ เพิ่งผ่าตัดไซนัสอักเสบเรื้อรังมา
หากใครมีอาการ และจำเป็นต้องใช้ยา ควรคุยกับแพทย์ ในการเปลี่ยนยาจะดีกว่านะคะ
4. อย่าใช้เองเลยนะคะ ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เถอะค่ะ
5. ตอนนี้ กำลังเปลี่ยนยาในการรักษาค่ะ อาการปวดเรื้อรังดีขึ้น แต่ก็ยังมีอยุ่ แพทย์ให้เปลี่ยนไปใช้ POLYTANAL แต่กำชับว่า อย่าใช้ร่วม กับ FLUOXETINE เด็ดขาด

ระมัดระวังกันหน่อยนะคะ เพราะยามีฤทธฺ และการใช้งานต่างกัน ขึ้นกับเงื่อนไขร่างกายของตนเองด้วยค่ะ


โดย: WORRA IP: 202.12.118.61 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:05:25 น.  

 
เน€เธ‚เน‰เธฒเธกเธฒเธซเธฒเธเธณเธฅเธฑเธ‡เนƒเธˆเธ„เนˆเธฐ เน€เธžเธฃเธฒเธฐเธžเธถเนˆเธ‡เธ—เธฒเธ™เธขเธฒเธ•เธฑเธงเธ™เธตเน‰เน„เธ›เธชเธญเธ‡เธงเธฑเธ™

เธเธฅเธฑเธงเธ—เธตเนˆเธˆเธฐเธ—เธฒเธ™เธขเธฒเธ„เนˆเธฐ


โดย: ppp IP: 119.42.97.48 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:14:24 น.  

 
เพิ่งทานเม็ดแรก แล้วเข้ามาหาข้อมูลครับ


โดย: ขี้ขม IP: 210.1.59.100 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:25:37 น.  

 
หมอเพิ่งให้ผมกินยาตัวนี้ ควบคู่กับยาเก่า
คือยา -Amitriptyline
-perphenazine
-trihexyphennidyl
มาวันนี้เองครับ หลังจากที่ผมเริ่มมีอาการทางโรคซึมเศร้าอย่างหนัก ก็เมื่อเดือนธันวาทีั่้่ผ่านมาเองครับ เนื่องจากเป็นคนที่มีบุคลิกที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มานานตั้งแต่เป็นเด็กแล้วครับ คือ เป็นคนเงียบๆ มักเก็บอารมณ์ ไม่กล้าแสดงออกอย่างที่ควรจะเป็น ตอนนี้ผมออกมาอยู่บ้านแล้ว ไม่ได้เรียนแล้วครับ ออกมาตั้งแต่เมื่อเดือน มิถุนา ปี52 แต่ตอนนี้ได้กินยาที่หมอสั่งแล้วอาการเศร้าลดลงมาก แต่ยังคงมีอาการเบื่อๆ ทำอะไรที่เคยทำแล้วสนุก และชอบ กลับไม่เพลิดเพลินอย่างปกติ หมอเลยเพิ่งให้ยาตัวนี้มาทานเพิ่มครับ
ก่อนหน้านี้ผมมีการหนักมากตั้งแต่เศร้า รู้สึกกลัวสิ่้งรอบข้างไปหมด เวลาคิดอะไรก็มักจะคิดแต่เรื่องที่ผิดพลาด แม้พยายามนึกถึงแต่เรื่องที่ดีๆของตัวเอง แม้พยายามนึกก็นึกไม่ออก มีอาการเบื่อแม้จะดูหนัง หรือฟังเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบแต่กลับรู้สึกเบื่อๆ ไม่ชอบ ไม่เพลิดเพลินซะงั้น จนรู้สึกเหมือน ไม่อยากทำอะไรเลย เลยทำให้รู้สึกอีกว่าไม่มีอะไรให้ทำเลย เพราะว่าทำอะไรก็เบื่อไปหมด แม้แต่ตอนตื่นนอนก็ไม่อยากลุกไปไหน ไม่อยากเริ่้มคิดที่จะทำอะไร บางทีก็จ้องมองแต่พนัง มันเหมือนกับว่าไม่มีอะไรให้ทำได้เลย และบางครั้ง ก็มีอาการประสาทหลอน มักเป็นช่วงตอนเย็น บางทีก็เป็นตอนเมื่อวิ่งออกกำลังกายพอเริ่มเหนื่อยก็จะเป็น เหมือนได้ยินเสียงความคิดของตัวเองที่พูดแต่สิ่งที่ไม่ดี แม้เราไม่อยากจะคิด มันก็หยุดคิดไม่ได้ บังคับความคิดไม่ได้ จนคิดฟุ้งซ่านไปเลย
ตอนนี้กินยาแล้วอาการดีขึ้น ไม่มีประสาทหลอนแล้ว แต่บางครั้งพอเหนี่อยตอนหลักจากวิ่งออกกำลังก็เป็นนิดๆ
ตอนนี้ผมอยากกลับไปเรียนหนักสือต่อมากครับ เนื่องจากไม่ได้สอบ gat-pat ครั้งที่3 และเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจากตอนนั้นยังเครียดอยู่ เลยไม่กล้าไปสอบ หรือทำอะไร ตอนออกมาก็ไม่ได้ทำเรื่องลาออกไว้ คือผมออกมาเฉยๆเลยครับ ตอนนั้นไม่ได้บอกใครด้วย ผมเพิ่งจะมีอาการอย่างที่บอกก็เดิอนธันวาคม และเริ่มไปหาหมอเมื่อเดือนมกราคม ตอนนี้กำลังทำเรื่องขอ Drop เรียนย้อนกลัง และการคืนสภาพการเป็นนักศึกษาอยู่กับทางมหาลัย ยังไม่รู้เลยว่าอนาคตจะเ็ป็นยังไง อาจต้องรออีก 1 ปี เพื่อจะ Entrance ใหม่ ผมก็หวังว่าคงจะได้ ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงกำลังส่งหลักฐานใบรับรองจากหมอ ว่าผมเป็นโรคซึมเศร้านี้เป็นจริง และเพิ่งได้รับการรักษา อาการดีขึ้นมาก แต่ยังคงต้องทานยาต่อเนื่องไปอีก ประมาณ 6 เดือนเป็นอย่างน้่อย มาถึงตอนนี้ก็กินได้เกือบประมาณหนึ่งเดือนแล้วครับ
ก็อยากให้เพื่อนที่มีประการณ์เคยเป็นมาก่อน หรือคนที่มีความรู้เรื่องนี้มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ว่ารักษาโดยยาตัวไหนมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพราะตอนนี้ผมกังวลมาก เรื่องที่เรียน และกลัวว่าจะเป็นแล้วไม่หาย
เพราะว่าผมตอนนี้ทำกิจกรรมอะไรก็ไม่รู้สึก สนุก หรือเพลินเพลินเหมือนช่วงก่อนที่จะมีอาการหนัก ตอนเดือนธันวาเลยครับ มันทำให้อดคิดเปรียบเทียบกับตอนที่ยังไม่มีีอาการไม่ได้เลยครับ


โดย: l2yuk IP: 222.123.198.217 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:39:54 น.  

 
ขอบคุณนะครับที่อ่าน
rooksri@hotmai.com ติดต่อมาได้นะครับ


โดย: l2yuk IP: 222.123.198.217 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:44:19 น.  

 
ทานยาตัวนี้ได้ 2 อาทิตย์ กไม่รู้ว่ามันคืออะไร ก็มาหาข้อมูลเพิ่มเติม เราอยากให้ยานี้ได้ผลเหลือเกิน จากคนร่าเริงเต็มร้อย ร้องเพลงได้ทั้งวี่ ท้งวัน มองโลกแง่ดีสุดๆ ๆ
กับเป็นโรคซึมเศร้าระยะสุดท้าย เรามาคิดไปหาหมอเมือ
หยิบเชื่อกที่มันเหนียวที่สุดมาลองผูกเล่นดู แวปนึกคิดได้
นี่มันไม่ใช่ตัวฉัน ฉันต้องไปพบหมอ แต่ตอนนี้ยังร้องไห้ทุกวันเลย กินยามา 14 วันแล้ว เมื่อไหร่จะดีขึ้นสักที เราอยากกับไปเป็นคนเก่า


โดย: ivy IP: 114.128.2.92 วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:15:43:26 น.  

 
เริ่มมีอาการเครียดจัดจนลงกระเพาะ และก้ตามด้วยอยากอยู่คนเดียว ไมอยากเจอปัญญา อยากเก็บตัวอยู่บ้านจนต้องไปปรึกษาหมอก็ลองให้ยาตัวนี้มาทานมีผลข้างเคียงจนไม่อยากทานยาแต่อาการด้านซึมเศร้าดีขึ้นแต่ก็ไม่แน่ใจว่าถ้าหยุดจะเป็นอย่างไร ใช้วิธีลดยาลงทานวันเว้นวันกลัวจะติดยา อยากถามว่าเริ่มกินยามค.53 แต่ไม่ทานทุกวัน จนวันนี้ไปหาหมอไม่พบหมอจิตเวช เลยขอคุณหมอทั่วไป หมอบอกว่าเป็นที่อันตราย กินติดต่อกันมากไม่ดี จะทำให้ติดยา จริงหรือไม่ มีใครทราบความจริงบ้างค่ะ สับสนไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง
ขอบคุณค่ะ


โดย: ไก่ IP: 124.122.219.122 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:21:36:11 น.  

 
ยานี้จัดในกลุ่มยาประเภทใหม่หรือที่เรียกว่า ยา SSRI จะต้องใช้เวลาออกฤทธิ์ 28 วันไปกำจัดยาที่ตับ 100%ครับไม่ใช่กินเข้าไป 2-14 วันจะดีขึ้นจะต้องให้ยาอยู่ในกระแสเลือดก่อนอารมณ์เราถึงหาย DEEP แต่อย่าทานมากเกินที่หมอสั่งนะครับเพราะอาจทำให้เป็น คุ้มคลั้ง ได้ครับ ต้องทานต่อเนื่องเพราะบางท่านเห็นว่าอาการดีขึ้นแล้วหยุดจึงยาทำให้จะต้องรักษา อาการซึมเศร้า และ อาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น BIPOLAR DISORDERS เป็นต้น ได้ทำให้ต้องไปเริ่มต้นการรักษาใหม่ที่นี้ละงานเข้าลำบากยิ่งกว่าเก่าอีกครับเป็นกำลังใจให้อีกแรงนะทานยาให้ครบ อย่าขาดถ้าลืมกินยาวันนี้ไม่เป็นไรให้กินพรุ่งนี้แทนแต่ห้ามเพิ่มยาของเมื่อวานที่ขาดเข้าไปนะครับ.....


โดย: nut IP: 58.10.171.145 วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:17:13:06 น.  

 
เป็นโรคซึมเศร้ามา เกือบสิบปีแล้วค่ะ ไม่เคยหายขาด มีแต่เป็นมากกับน้องลง ตอนนี้อาการมีมากขึ้นทานยาตัวนี้ก่อนนอนดีค่ะแต่พอตกเย็นจะตาลายมาก ควรทานต่อดีมั๊ย หรือ ทานวันเว้นวัน เผื่อจะได้ไม่ตาลาย ขอบคุณค่ะ


โดย: มิว IP: 101.108.24.19 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:28:17 น.  

 
ผมว่าเราน่าจะจัดกิจกรรมสักอย่างเพราะ ตั้งแต่ที่อ่านมาก็มีอาการคล้ายกันหมดแม้แต่ผมด้วย เราทุกคนอยากกลับไปสนุกเหมือนเดิมแต่ทำได้ยาก ผมว่าลองนัดกันจัดกลุ่มไปออกกำลังกายหรือไปพบปะกันแรกเปลี่ยนความคิดหรือวิธีปรับตัวตนของเราก็ดีนะครับ


โดย: www.thaielectricfence.com IP: 125.24.223.49 วันที่: 8 พฤษภาคม 2555 เวลา:1:09:48 น.  

 
ป่วยเป็นโรคหนังแข็งหรือที่เรียกว่า scleroderma หมอเค้าให้ยา Fluoxetine เป็นยารักษาอาการซึมเศร้า มาให้กินน่ะ
แต่เราไม่ได้เครียดอะไรก็เลยไม่กิน
พอไปหามาเมื่อวานบอกเค้าว่าไม่เอา เพราะไม่ได้กิน
แต่หมอเค้าบอกว่าเค้าไม่ได้หวังผลแก็ซึมเศร้า
เค้าต้องการช้วยเรื่องให้เลือดไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้า
แต่เราหาข้อมูลยาตัวนี้แล้วไม่เห็นเกี่ยวเลย
ถามเภสัชก็บอกว่าไม่เกี่ยว


โดย: ชยานันท์ สุมานิก IP: 61.90.52.6 วันที่: 15 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:23:58 น.  

 
ขอความกรุณาผู้รู้ ช่วยบอกด้วยนะคะว่าย่าตัวนี้เกี่ยวกับการรักษาเรื่องเลือดไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้าไม่ดีด้วยหรือเปล่า เราควรกินยาตามหมอสั่งดีมั๊ย เพราะยืนยันว่าไม่ได้เครียดจริงๆ


โดย: ชยานันท์ สุมานิก IP: 61.90.52.6 วันที่: 15 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:27:52 น.  

 
มีอาการย้ำคิดย้ำทำเกือบทุกเรื่องที่ทำในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงก่อนเข้านอน เป็นทุกข์มาก ไม่รู้ว่าจะวิตกกังวลไปทำไมกับเรื่องปกติทั่วไปที่คนอื่นเห็นเป็นเรื่องธรรมดาแต่เรากลับใส่ใจมากเกินปกติ อย่างเช่น เดินไปซื้อของที่ไหนก็ตาม จะคิดตลอดเวลาว่าที่ๆเรากำลังเดินผ่านไปนั้นมีหมาปัสสาวะเรี่ยราดตามทางที่เดินอยู่ไหม ทำให้ไม่อยากจะเดินทางไปซื้อหรือไปเที่ยวที่ไหนเลยถ้าไม่จำเป็นจริงๆ กลัวว่าจะเดินไปโดนปัสสาวะของหมา ในสมองมันเหมือนบอกให้เรารู้สึกและคิดกับเรื่องปัสสาวะหมาตลอดเวลาว่ามันสกปรก ถ้าเกิดวันไหนเดินไปซื้อของแล้วรู้สึกว่าเราไปสัมผัสโดนปัสสาวะหมาเท่านั้นละก็เดินไม่ถูกเลย ไม่รู้ความวิตกกังวลเรื่องนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่เข้าใจตัวเองเลย พยายามจะปลง หรือไม่ใส่ใจเหมือนคนอื่นๆที่เขาเดินไปไหนมาไหนปกติ แต่ก็ไม่สามารถหักห้ามใจไม่ให้คิดได้เลย ตอนนี้ได้คุยกับพี่หมอแล้ว ได้รับยา Fluoxetine มาทาน 30 วัน เริ่มทานเช้าวันนี้เป็นวันแรก ทานแล้วผลตอบสนองเป็นอย่างไร จะเข้ามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังเป็นระยะๆคะ


โดย: รี IP: 110.49.249.108 วันที่: 29 มิถุนายน 2555 เวลา:1:35:48 น.  

 
ทานมาแล้ว2สัปดา เกิดอาการท้องเสียมา2วันแล้วเพราะกินเปรี่ยวและยาเข้าไปควรทานยาต่อไหมคับยากรู้...กังวงมาก


โดย: อรรถพล IP: 58.11.78.231 วันที่: 10 ตุลาคม 2555 เวลา:21:13:42 น.  

 
เคยเป็นโรคนี้เม่ือตอนเรียนม.3ผลการเรียนตกลงไปมากเรียนเมื่อเทียบกับตอนที่ไม่เป็น ผมได้รับการรักษากับจิตแพทย์และได้รับยาตัวนี้มาทานอาการเริ่มดีขึ้นใน 7 วัน สำหรับวิธีการใช้จิตบำบัดนั้น จิตแพทย์ที่รักษาแนะนำได้ดีมากๆเลยทีเดียว คือแบบนี้ครับ หากอาการย้ำคิดผุดขึ้นมาให้ปล่อยมันซักพักความคิดมันจะค้างและค่อยๆลงเอง หากเราไปตอบสนองด้วยการย้ำทำมันจะยิ่งไปกันใหญ่ครับ สุดท้ายอะไรก็ตามที่ผุดเข้ามาให้ทำเป็นเฉยๆซักพักมันจะค่อยๆจา
งหายไปเอง สู้ๆ นะครับ


โดย: Spurs IP: 110.77.238.228 วันที่: 16 เมษายน 2556 เวลา:22:19:23 น.  

 
ผมกินยา FLUOXETINE ไม่ทราบว่าแอกอฮอร์ อย่างเดียวหรือป่าวห้ามรับประทาน


โดย: มานะ IP: 49.49.166.15 วันที่: 8 พฤษภาคม 2556 เวลา:1:40:46 น.  

 
กิน 20 เม็ด มีอาการข้างเคียงอย่างไรบ้าง ขอคำแนะนำ


โดย: สุ IP: 110.168.108.236 วันที่: 27 มิถุนายน 2556 เวลา:3:20:30 น.  

 
เป็นโรคซึมเศร้ามาแล้ว 2 ครั้ง หมอให้ยากลุ่มใหม่ SNRIsชื่อสามัญ venlafaxine hci ชื่อการค้า efexor xr 75 mg กินยาแล้วกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมทุกประการ เป็นครั้งแรกกิน 2 ปี หมอให้หยุดได้ 2 ปี กลับเป็นรอบ 2 กินยาตัวเติม 5 ปี หมอให้หยุดได้ เว้นไป 4 เดือน ตอนนี้กำลังมีการกลับมาเป็นครั้งที่ 3 หมอแนะนำว่าจะต้องกินยาตลอดชีวิต ขอความรู้จากท่านผู้รู้ว่า มีข้อพึงระวังในการใช้ยาระยะยาว (อาจจะตลอดชีวิต)อย่างไรบ้าง
ขอให้กำลังใจทุกท่าน ทราบดีว่ามันทรมานแค่ไหน ใครไม่เป็นไม่รู้หรอก เท่าที่อ่านมายังไม่ท่านใดมีอาการกลับมาหลายครั้ง ท่านยังโชคดีกว่าเรา


โดย: ทวีพร IP: 172.6.153.86 วันที่: 10 กันยายน 2556 เวลา:10:55:21 น.  

 
เป็นกำลังใจให้กับเพื่อน พี่น้อง มนุษย์ร่วมโลกทุกๆคน และขอให้ต่อสู้ โดยที่ไม่ต้องคิดว่าเราเป็นโรคอะไรก็ไม่รู้ ใครไม่เป็นไม่เข้าใจในเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ และคนที่เข้าใจเรื่องของโรคนี้นั้น ทั้งๆที่ขาเหล่านั้นไม่ได้เป็นแต่เขาพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเราตลอดทุกวินาที และพยายามช่วยรักษาสุดกำลังเท่าที่จะทำได้ ฉะนั้นชีวิตคนเรานั้นล้นค่า อย่าปล่อยให้มนซึมเศร้าไปกับอดีตแลเวลาที่ยังมาไม่ถึง สรุปคือ อยู่กับปัจจุบัน ปล่อยให้ปลผันไปกับอดีต แล้วคืนชีพด้วยอนาคตที่เราต้องเชื่อว่าสดใส และดีกว่าเดิม นี่เป็นแค่คำให้กำลังใจสำหรับโรคอาการซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคPanic ครับผม


โดย: เจ้าชายกาแฟ IP: 122.155.43.6 วันที่: 3 พฤษภาคม 2557 เวลา:20:11:25 น.  

 
ยา fluoxetine สามารถทานได้ตลอดชีวิตไหมครับ ถ้ามันจำเป็นจริงๆ เพราะว่าหมอเคยลดยาชนิดนี้ให้ผมมาแล้ว พอลดแล้วอาการซึมเศร้าก็กลับมาอีก


โดย: มะ IP: 49.230.144.49 วันที่: 29 พฤษภาคม 2557 เวลา:21:14:31 น.  

 
กินมาได้ประมาณ 6 วันมีอาการซึ้มเศร้าและวิตกกังวลอยู่เลย ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะหายจากโรควิตกกังวลค่ะเป็นมา เดือนนึงแล้วไปหาหมอๆให้ยาตัวนี้มาทาน อยากหายไวๆค่ะ ถ้าลืมทานมื้อเช้าทานมื้อเย็นแทนได้ไหมค่ะ


โดย: Bow IP: 1.47.11.92 วันที่: 2 ธันวาคม 2557 เวลา:17:45:16 น.  

 
ทาน effexor xr มา สองเดือนครึ่งแล้วค่ะ ยังไม่เห็นผลเลยค่ะ


โดย: rain IP: 180.183.97.201 วันที่: 27 พฤษภาคม 2559 เวลา:10:21:00 น.  

 
ทาน fluoxetine มาเดือนนึงแล้ว อาการซึมเศร้าดีขึ้นค่ะ แต่ผ่านไป 1 อาทิตย์มีอาการ down ลง หมอให้ทาน effexor xr เสริมเข้าไป ตอนนี้รอดูผลอยู่ค่ะ


โดย: ชวิสรา IP: 49.231.30.9 วันที่: 15 กรกฎาคม 2559 เวลา:15:01:10 น.  

 
ทานมา3วัน 5เม็ด มึนมาก หยุดยาได้ไหมครัย


โดย: guz IP: 1.20.76.252 วันที่: 8 กันยายน 2559 เวลา:13:31:37 น.  

 
ยานี้มีผลต่อฮอร้โมนไหมคะ ลูกชายกินมา1 ปี อ้วนขึ้นและอยากเป็นหญิงขึ้นมาทั้งๆที่ไม่เคยแสดงอาการหญิงเลย งงมาก ก่อนกินยายังใส่ยีนส์สกปรกๆเลย ไม่สนใจความสวยงามอยากขี่มอเตอไซค์ ไม่ทราบเกี่ยวกันไหม แต่ตอนกินยาแรกๆ เขาบอกหมอว่าทำให้เรื่องเพศมีปัญหา ตอนนี้กินมา1ปี เขาบอกไม่รู้สึกต้องช่วยตัวเอง รบกวนผู้รู้ด้วยคะ แม่เครียดมาก หมอที่รักษาบอกไม่เกี่ยวกัน จะ ให้กินไปเรื่อยๆ ทั้งๆที่ลูกชายขอหยุด ก็ไม่ยินดี
ลูกชายอายุ22


โดย: ลิษา IP: 171.96.171.211 วันที่: 6 ตุลาคม 2559 เวลา:15:38:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

weerapong_rx
Location :
London United Kingdom

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




อยู่เมืองกรุงไกลนาเพื่อตามล่าฝัน
Friends' blogs
[Add weerapong_rx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.