Group Blog
 
All blogs
 
สมองคนรวย สมองคนจน



โปรยปกหน้า

“สัมพันธภาพไม่ธรรมดาระหว่างเงินและสมอง

เรียนรู้การสร้าง “ความฉลาดทางการเงิน”

เพื่อสร้างนิสัยสู่ความร่ำรวย เลิกนิสัยสู่ความยากจน”



ยังอยู่ในวังวนของหนังสือเรื่องเงินๆ ทองๆ

จะว่าไปแล้วเล่มนี้ไม่เกี่ยวกับสมองเท่าไหร่

ออกแนว “ความคิดคนรวย ความคิดคนจน”

“นิสัยคนรวย นิสัยคนจน”

ในบทหนึ่งนี่จะมีตัวอย่างความคิดให้เห็นของคนทั้งสองประเภทเปรียบเทียบกัน



อ่านไปร้องไห้ ปาดน้ำตา เช็ดเหงื่อ

ยิ่งอ่าน ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองน่าจะยากจนถาวรตลอดชีวิต

หรืออาจจะมีสมองคนจนมาตั้งแต่กำเนิด

ฉันมีนิสัย ความคิดไม่ดีล้านเจ็ดเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆตามเนื้อหาในเล่ม

บอกไม่ถูกเลยอะไรร้ายแรง น่ากลัวกว่ากัน


ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวทุกคนดีกว่า...

นิสัยการใช้บัตรเอทีเอ็ม

เงินหมดกระเป๋าเมื่อไหร่ ก็ใช้บริการบัตรเอทีเอ็มเมื่อนั้น

ไม่ได้มีกำหนดกฎเกณฑ์อะไร ทั้งจำนวนเงินที่ใช้ ระยะเวลา

ไม่กล้ากดเงินมาติดตัวไว้เยอะๆ

ต่างจากคนรวยที่มักจะกำหนดทุกอย่างเอาไว้

เช่นจะกดเงินทุกๆ 10 วันเป็นจำนวนเงินเท่านี้ เพื่อใช้ต่อวันเป็นจำนวนเงินxxx บาท

เรียกว่ามีการวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี จัดการการเงินได้รู้จักยับยั้งชั่งใจ

หนังสือสรุปไว้แบบนี้

“กดเงินทีละจำนวนน้อยๆ

เพราะถ้ามีเงินอยู่ในมือมากกลัวว่าจะใช้เงินโดยไม่คิด

แต่นี่เองที่เป็นปัญหา

เพราะหมายความว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้”



บางพฤติกรรมทางการเงินที่ฉันรูสึกว่าตัวเองทำได้ดีแสนดี

แต่มันกลับไม่อยู่ในสมองคนรวย

ฉันมีเงินออม เงินเก็บเพราะเกรงนักว่าชีวิตสูงวัยของตัวเองจะยากลำบาก

เอาจริงๆ นะ...มันไม่สนุกเลยสักนิด เครียด กดดันยิ่งเก็บก็เหมือนยิ่งน้อย

แต่คนรวยนั้นเก็บเงินเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ

แน่แหละการเก็บเงินไปเที่ยวย่อมสนุกกว่าเก็บเพื่อยามชราอยู่แล้ว

ในหนังสือให้เหตุผลเพิ่มเติมไว้ว่า

การกำหนดจำนวนเงิน เป้าหมายที่เป็นรูปธรรมโอเคกว่าเป้าหมายที่ดูเลื่อนลอย

ความสำเร็จในการเก็บเงินไปเที่ยวจะเป็นพลังเป็นประสบการณ์ในการเก็บเงินครั้งต่อไป

“ยิ่งเริ่มต้นออมเงินเร็วขึ้นเท่าไหร่

เราจะสามารถเข้าใจ เรื่องการออมเงินได้เร็วยิ่งขึ้น

ส่งผลให้ท่าทีในการเตรียมพร้อม

ในยามแก่ชราเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย”



อ่านง่ายๆ สนุกดี

เงินเป็นเรื่องใหญ่ของชีวิต ใช้เงินกันทุกวันอยู่แล้ว

หาความรู้ หากรอบความคิดที่ดีติดตัวไว้

อุ่นใจกว่า



โชคดีมีเงิน!!!



สมองคนรวย สมองคนจน-มย็องจ็องซ็อน

สำนักพิมพ์อมรินทร์ how to

184 หน้า 225 บาท









Create Date : 06 กรกฎาคม 2561
Last Update : 6 กรกฎาคม 2561 22:33:34 น. 3 comments
Counter : 1342 Pageviews.

 
ดูบอลไป อัพบล๊อกไป


โดย: เขียนหนังสือไว้อ่านเล่น วันที่: 6 กรกฎาคม 2561 เวลา:22:34:35 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องตูน

เห็นชื่อหนังสือ
แล้วนึกถึงพ่อรวยสอนลูก
พี่ก๋าอ่านแค่เล่มเดียวแล้วก็ไม่อ่านอีกเลย 555

จนกับรวย
บางทีไม่ใช่แค่แนวคิด
แต่เป็นวิธีการใช้ชีวิต

อย่างพี่ก๋ามีลูก
ก็ไม่รวยหรอกครับ 555
ภาระที่เข้ามา
ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราจัดสรรการเงินได้ยากมาก
แต่มองในแง่ดี
ถึงไม่ได้รวยมาก
แต่เราก็มีความสุขนะ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กรกฎาคม 2561 เวลา:6:23:17 น.  

 
สวัสดีค่ะน้องตูน
สมัยเรียนจบเริ่มต้นวัยทำงานพี่ก็อ่านแนวนี้
ตอนนี้เลิกอ่านแนวนี้ละค่ะ

มันสำคัญตรงที่ว่า อ่านแล้วหยิบยกมา
ลงมือปฏิบัติหรือเปล่า บางอย่างในหนังสือ
มันใช้ไม่ได้ทั้งหมดกับวิถีชีวิตของเรา
อีกอย่างพื้นฐานข้อจำกัดชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน

สำหรับพี่คิดว่า เงินออมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง
ที่เราควรจะเริ่มคิดนับตั้งแต่วินาทีที่เราเรียนจบ
และทำงานหาเงิน บางคนเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ได้รับค่าขนม
รายเดือน รายอาทิตย์ จากพ่อแม่แล้ว
และทำงานพิเศษหลังเลิกเรียน

แต่เงินก็ไม่ได้เป็นเครื่องหมายว่า เรามีความสุข
คนรวยมากก็ใช่ว่าจะมีความสุขมาก
คนจนจะมีความสุขน้อยกว่าคนรวย
แต่ทุกคนไม่ว่ารวยหรือจน ต้องวางแผนชีวิตให้ดี

พี่เองเริ่มวางแผนการเงินตัวเองจริงจัง
ก็อายุปาเข้าเลข 3 แล้วค่ะ 10 กว่าปีมานี้ก็เห็นผล
เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนที่ไม่ได้วางแผนอะไรเลย
เห็นความแตกต่างในการใช้ชีวิตที่ประมาทชัดเจน



โดย: JinnyTent วันที่: 7 กรกฎาคม 2561 เวลา:19:18:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้งมงายพระจันทร์
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




โลกไม่ใช่โรงละครเศร้า
แม้เราจะพรากจากทุกวัน
โลกไม่ใช่ลานดนตรีเงียบงัน
แม้บางฝันจะไม่สำเร็จสักที
โลกไม่ใช่สวนสนุกเก่าร้าง
แม้ความอ้างว้างจะอยู่ทุกที่
โลกคือโลก-มีร้ายและดี
เพื่อให้ชีวิตมีความหมายนัก

--เหมือนพระจันทร์--
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้งมงายพระจันทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.