.....ภาษาตระกูลไท เป็นวัฒนธรรมของคนไท สมควรจะเผยแพร่ให้โลกรู้จักอย่างทั่วถึง มากกว่าจะเก็บไว้สอนกันอย่างเร้นลับ ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ปล่อยให้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา.....
Group Blog
 
All Blogs
 
คู่มือTai Phake Primer 1

Tai Phake Primer ภาษาไทพ่าเก เบื้องต้น


“ ลิก - สอน - กวาม - ไต ” แบบเรียนภาษาไต
สอน ในภาษาไต มีความหมายทั้ง สอน หรือ เรียน แล้วแต่บริบท
ในที่นี้ แปลว่า “ เรียน ”



Stephen Morey นักภาษาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ซี่งเข้าไปค้นคว้าภาษาไต ในอัสสัมของอินเดีย เป็นผู้แต่ง Tai Phake Primer พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ธ.ค.๒๕๔๒ มีทั้งสิ้น ๓๓ หน้า (รวมปก) โดยแปล คำ หรือ ประโยค ภาษาไทพ่าเก เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอัสสัม (หรือ ฮินดี ? ) แต่ไม่มีคำอธิบายใด ๆ



ส่วน รศ.วิไลศักดิ์ กิ่งคำ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวบรวมข้อมูลภาษาไทพ่าเก และเขียนเป็นตำราภาษาไทย ชื่อ “ ไตพ่าเก่ – ภาษาไทย ” ในลักษณะของการเปรียบเทียบภาษาไทพ่าเกกับภาษาไทย พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ก.ย.๒๕๔๙



เมื่อตรวจเทียบ ตัวหนังสือ, อักขรวิธี และคำศัพท์ดั้งเดิม แล้ว จะพบว่า ภาษาไทพ่าเก ตลอดจนภาษาไท ต่าง ๆ ในรัฐอัสสัม/อรุณาจัลประเทศ ของอินเดีย ไม่แตกต่างจากภาษาไทใหญ่ ของรัฐฉาน หรือ ภาษาไทเหนือ (ไทมาว) ของแคว้นใต้คง มากนัก

ทั้งหมด อาจเป็นภาษาเดียวกันมาก่อน แต่ภายหลัง มีการแยกย้ายกันไปอยู่คนละสถานที่ และมีวิวัฒนาการทางภาษาต่างกัน เวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทำให้การเขียน การพูด และคำศัพท์ ของแต่ละกลุ่ม ผิดเพี้ยนกัน จนทำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าในปัจจุบัน เข้าใจว่าเป็นคนละภาษา

คู่มือ Tai Phake Primer ต่อไปนี้ ได้ลบคำแปลเดิม ที่เป็นภาษาอัสสัม (หรือ ฮินดี ?) แล้วนำคำแปลเป็น ภาษาไทใหญ่ มาใส่แทน เพื่อเปรียบเทียบกับภาษาไทพ่าเก เท่านั้น



พยัญชนะไทพ่าเก เดิมมี ๑๗ ตัว (ภายหลังเพิ่มตัว ร เป็น ๑๘ ตัว)
๗ ตัว ในวงกลมสีเขียว เขียนหรือใช้ต่างจากภาษาไทใหญ่

เช่น ตัว ผ/พ ในภาษาไทพ่าเก ตรงกับ ตัว จ ในภาษาไทใหญ่



สระภาษาไทพ่าเก
บางตัว เหมือนสระภาษาไทใหญ่ แบบเก่า คือ เขียน รูป เดียว อ่านได้มากกว่า ๑ เสียง แล้วแต่ความหมาย

เช่น ลำดับที่ ๗ รูปสระ เอ แต่บางคำ ออกเสียงเป็น สระ แอ
ลำดับที่ ๑๓ รูปสระ อือ แต่บางคำ ออกเสียงเป็น สระ เออ



ตัวสะกด ภาษาไทพ่าเก เรียก “ ตัวซ้อน ”
ภาษาไทใหญ่ เรียก “ ตัวแพ้ต ” หรือ “ ตัวส้าต ”
คำที่ ๔ ที่แปลว่า armour ตรวจไม่พบคำที่ตรงกันในภาษาไทใหญ่ อาจเป็นคำยืมจากภาษาอื่น



ตัวเลข



สระ อา
ภาษาไทพ่าเก เหมือน ภาษาไทใหญ่ แบบเก่า ที่ นอกจากรูปสระเดียว ออกได้หลายเสียงแล้ว
ยังไม่มี วรรณยุกต์ แต่ออกเสียงได้ต่างกัน แล้วแต่ความหมายที่ต้องการ

เช่น เขียน มา ออกเสียงได้ทั้ง มา, หมา และ ม้า
เขียน กา ออกเสียงได้ทั้ง กา (สัตว์), ก่า (ไป) และ ก้า (เต้นรำ)

กา ที่อยู่ท้ายประโยค มีความหมายว่า เป็น อดีตกาล หรือแปลว่า แล้ว

ปัจจุบัน ทราบว่า กำลังมีการเพิ่มรูปสระ และวรรณยุกต์ เพื่อให้ครบตามเสียงที่มี ตลอดจนจัดทำ Unicode Font แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ



สระ อี
หลี (ดี) ในภาษาไทใหญ่ เป็น นี ในภาษาไทพ่าเก



สระ อู
อยู่ ใน ภาษาไทใหญ่ เป็น อู ในภาษาไทพ่าเก



สระ เอ
บางคำ ที่ภาษาไทใหญ่ เขียน/ออกเสียง สระ แอ
ภาษาไทพ่าเก จะออกเสียงเป็น สระ เอ เหมือนกับภาษาไทเหนือ/ไทมาว

แต่คำว่า แม่ ไทพ่าเก เขียน เม แต่ออกเสียง แม
ในขณะที่ ไทเหนือ/ไทมาว เขียน/ออกเสียง เม

เจ (shop) ยังไม่พบคำที่ตรงกันใน ภาษาไทใหญ่ อาจเป็น คำยืม



สระ ไอ



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2556 15:22:33 น. 0 comments
Counter : 10284 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายช่างปลูกเรือน
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท

ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น"
ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรือนำไปใช้

โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น


Copyleft
Friends' blogs
[Add นายช่างปลูกเรือน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.