|
กลยุทธ์บรรลุความสำเร็จแบบซุนวู

รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง เป็นข้อความจากหนังสือตำราพิชัยสงครามซุนวู ที่นักกลยุทธ์ทุกคนจะต้องอ่าน แต่แม้ซุนวูจะสอนให้เรารู้จักหาข้อมูลเกี่ยวกับข้าศึก(รู้เขา) และสมรภูมิ รู้จักประเมินตนเอง แต่ซุนวูไม่เคยบอกว่า มันจะทำให้เราชนะได้ทุกครั้ง คำนี้จึงเป็นเพียงคำที่ถูกนำมาเติมแต่งในภายหลังเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว ซุนวูบอกไว้ในบทที่ 1 ของตำราว่าในการศึกนั้นว่า ใครจะชนะ ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบหลายๆ ประเด็น คือ
1.ประมุขของฝ่ายใดมีคุณธรรมมากกว่ากัน(หมายถึงคุณธรรมในการปกครองลูกน้อง)
2.ขุนพลของฝ่ายใดมีความสามารถมากกว่ากัน
3.ดินฟ้าอากาศ และชัยภูมิของฝ่ายใดอำนวยผลมากกว่ากัน
4.กองทัพของฝ่ายใดมีวินัยมากกว่ากัน
5.ทหารของฝ่ายใดได้รับการฝึกปรือมากกว่ากัน
6.กองทัพของฝ่ายใดมีอานุภาพเกรียงไกรกว่ากัน
7.การปูนบำเหน็จความดีความชอบ และลงโทษ ของฝ่ายใดยุติธรรมมากกว่ากัน
จะเห็นว่าซุนวูได้บอกให้รู้ถึงปัจจัยที่จะบ่งบอกถึงความแพ้-ชนะไว้ถึง 7 ประการ และการประเมินก็คงต้องนำทั้ง 7 ประการมาประเมินร่วมกัน ว่าใครมีโอกาสแพ้หรือชนะมากกว่ากัน
ในชีวิตจริงของการบรรลุความสำเร็จก็เช่นกัน ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัย และการได้ครอบครองปัจจัยเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด ก็ย่อมหมายถึงระดับของความสำเร็จที่จะตามมา หากเรานำหลักการประเมินในตำราพิชัยฯซุนวูมาแปลง ก็อาจกล่าวว่า ความสำเร็จขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.มีความเป็นผู้นำที่ดี (ในงานที่ต้องทำเป็นทีม) หรืออาจหมายถึงศักยภาพของตัวเราเอง ทั้งแรงผลักดัน ความสามารถ
2.การเลือกหรือการมีผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี มีความสามารถ
3.ดินฟ้าอากาศและชัยภูมินี้ สามารถแปลความได้หลายมิติดังนี้
-ชัยภูมิที่ตั้งมั่น คือ พื้นฐานครอบครัว และสิ่งแวดล้อมสนับสนุนหรือไม่ -สมรภูมิที่ต้องลงไปรบ คือ พื้นที่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของงานเป้าหมาย ซึ่งจะเกี่ยวโยงถึงความถนัดด้วย เหมือนกองทัพที่เคยชินกับที่โล่ง แต่ต้องทำการรบในที่ป่า ปัจจัยนี้จึงเกี่ยวกับความถนัด
-สภาพอากาศ คือสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เปรียบเหมือนปัจจัยภายนอก เช่น สภาวะเศรษฐกิจ กระแสของธุรกิจหรืออาชีพ ฯลฯ สิ่งนี้เอื้ออำนวยฝ่ายใดมากกว่ากัน -ถ้ามองในมุมด้านความสำเร็จของรายได้ ชัยภูมิ ซึ่งเปรียบได้กับสายอาชีพนี้ ย่อมทำให้มีความได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกันไป
4.วินัยของการทำงานเป็นทีมดีกว่า ไม่ทะเลาะกันเอง
5.มีการพัฒนาบุคลากรที่ดีกว่าและสม่ำเสมอ
6.ความได้เปรียบเบื้องต้น เช่น ในด้านชื่อเสียง ทุนทรัพย์ ฯลฯ
7.ประสิทธิภาพในการให้รางวัลเพื่อจูงใจ และลงโทษเมื่อทำผิด
*เราจะเห็นได้ว่าปัจจัยด้าน กองทัพ มีความสำคัญอย่างมาก มีการกล่าวถึงไว้หลายข้อ งานที่ทำคนเดียว หรือองค์กรที่มีกองทัพเล็กกว่า ย่อมจะสู้องค์กรที่มีกองทัพใหญ่กว่าไม่ได้ในทันที การจะตัดสินใจออกรบกับศัตรูหรือไม่ จึงต้องพิจารณาระดับของความแตกต่างด้วย
แต่แน่นอนว่า การบรรลุความสำเร็จไม่ได้จบลงเพียงตรงที่เรารู้ว่าอะไรคือปัจจัยที่ประกอบขึ้นเป็นความสำเร็จ เพราะการรู้ว่าอะไรคือปัจจัยของความสำเร็จก็เป็นเรื่องหนึ่ง และปัญหาเรื่องการจะได้ครอบครองปัจจัยเหล่านั้นได้อย่างไร(ซึ่งก็มักมีทั้งง่ายและยาก) หรือการจะเหนือกว่าคู่ต่อสู้ในปัจจัยนั้นๆ ได้อย่างไรก็เป็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะเกี่ยวไปถึงทักษะในการวางกลยุทธ์เพื่อจะได้มาซึ่งปัจจัยต่างๆ ทักษะการวางกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต่อมาที่ผู้ซึ่งต้องการบรรลุความสำเร็จจำเป็นต้องเรียนรู้
บทนี้ผมขอเกริ่นเริ่มต้นไว้เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันนะครับ วันจันทร์จะมาวิเคราะห์เบื้องหลังความสำเร็จของ บิล เกตส์ กัน
Create Date : 31 มกราคม 2551 |
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2551 15:44:56 น. |
|
3 comments
|
Counter : 4275 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: แกะแดง IP: 58.8.230.238 วันที่: 31 พฤษภาคม 2551 เวลา:23:27:12 น. |
|
|
|
โดย: aoom IP: 112.142.59.48 วันที่: 20 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:23:45 น. |
|
|
|
โดย: สิทธิพงศ์ ภูมิฐาน IP: 101.108.111.215 วันที่: 16 พฤษภาคม 2555 เวลา:23:33:10 น. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]

|
จากทักษะของการเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ บวกกับความสนใจใน"กระบวนการ"และ"ปัจจัย"ที่ก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จ ที่ทำให้ผมศึกษาและวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวจำนวนมาก จนเชี่ยวชาญในองค์ความรู้พอที่จะขอเรียกตัวเองว่า "ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งความสำเร็จ"
|
|
|
|
|
|
|