|
จากหางหมาสู่หัวสิงห์ กลยุทธ์ไต่บันไดองค์กร

มีคำถามยอดฮิตอยู่บ่อยๆ จะต้องเลือกระหว่างเป็นหัวหมา(ผู้นำองค์กรเล็ก)กับหางสิงห์(ผู้ตามองค์กรใหญ่) จะเลือกอย่างไรดี? ในฐานะของนักกลยุทธ์ ที่คิดอะไรก็จะออกไปทางกลยุทธ์เป็นหลัก ผมจึงอยากแสดงความเห็นเป็นกลยุทธ์สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนสำหรับการก้าวเดินในองค์กรดังนี้ครับ
ก่อนอื่นก็ต้องสรุปกันก่อนว่าแท้จริงแล้ว เป้าหมายของทุกคนที่ต้องการก้าวหน้าในองค์กรก็คือ การก้าวไปสู่การเป็นหัวสิงห์(ถ้าทำได้) ฉะนั้นจุดสุดท้ายของเป้าหมายก็คงไม่ใช่ หัวหมาหรือหางสิงห์ที่ตั้งเป็นคำถามกัน การเป็นหัวหมาหรือหางสิงห์ หรือตัวสิงห์ จึงเป็นเพียงขั้นตอนระหว่างกลางที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า กลยุทธ์ที่จะใช้จึงเกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าในหมากต่อไปมากกว่า
เมื่อเกี่ยวข้องกับหมากต่อไป ก็ย่อมจะต้องคิดพิจารณาว่า อะไรที่เป็นปัจจัยที่จำเป็นที่จะต้องใช้ในการทำให้ชีวิตการงานก้าวหน้า ? อะไรเป็นปัจจัยที่จะทำให้โอกาสในการไต่บันไดเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว คำตอบโดยทั่วๆ ไปก็คือ 1.ผลงานที่จะบ่งบอกถึงความสามารถของเราได้ระดับหนึ่ง(เวลาที่ไปสมัครงานที่อื่น) เช่น ผลงาน ตำแหน่ง หรือชื่อเสียงของบริษัท 2.อาจเกี่ยวกับคอนเนคชั่น 3. อื่นๆ ซึ่งเอาเป็นว่าพิจารณาเฉพาะสองอย่างแรกก่อนก็แล้วกัน
เมื่อมาถึงตรงนี้ งานที่เราจะรับทำไม่ว่าจะเป็นหัวหมาหรือหางสิงห์ จึงต้องเน้นที่เครดิตด้านชื่อเสียงหรือผลงานเป็นหลัก ส่วนเรื่องรายได้นั้นควรพิจารณาให้อยู่ในระดับมาตรฐานก็น่าจะพอ
เครดิตและผลงานนั้น ย่อมมาจากบริษัทที่เราสังกัดอยู่ด้วย แต่หากการอยู่ในองค์กรใหญ่แต่ไม่มีบทบาท ไม่มีผลงาน การจะนำเครดิตตรงนี้ไปใช้ก็น่าจะยาก แต่หากเป็นตำแหน่งในบริษัทที่เล็กกว่า แต่มีผลงานที่จับต้องได้ พิสูจน์ได้ ก็จะดีกว่า และถ้าได้ทั้งสองอย่างก็จะดีมาก
แต่ปัญหาของการสังกัดบริษัทใหญ่ก็คือ ระเบียบขั้นตอนมากมาย ทำโครงการอะไรก็อาจไม่รวดเร็วทันใจ คนเก่งๆ ก็มีมาก การจะมีโอกาสแสดงผลงานที่ดีในองค์กรใหญ่จึงค่อนข้างยาก ถ้าไม่เก่งจริงๆ
การเลือกเติบโตในองค์กรเล็กแต่มีโอกาสแสดงผลงานจึงน่าจะดีกว่า ยิ่งเมื่อมีความก้าวหน้าไปอยู่ในระดับหัวหน้างานหรือหัวหน้าองค์กร(หัวหมา) ก็จะยิ่งดี เพราะนั่นจะเป็นการที่เราได้ควบคุมชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราด้วยว่าจะทำได้ดีเพียงใด การพยายามทำงานที่เหมือนกับได้ควบคุมหางเสือเรือของตนเองได้ตลอดเวลา จะทำให้เราสามารถทำอะไรได้ดั่งใจมากขึ้น
เมื่อเราสามารถอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเป็น"ผู้ควบคุม"ได้ตลอดเวลา และเป็นผู้สร้างผลงานได้สม่ำเสมอ เราก็สามารถก้าวจากหัวหมา ไปเป็นหัวสิงห์ ไปเป็นหัวมังกร ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ได้
ในทางกลับกัน หากเราเลือกงานที่ตัวองค์กร โดยไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งที่สามารถแสดงผลงานได้ ไม่สามารถควบคุมชะตาชีวิตตนเองได้ หากมีนายที่ดีก็ถือว่าโชคดีไป แต่หากไปได้นายที่แย่ก็จะเหมือนถูกดองไว้ให้หลงกับภาพพจน์เหล่านี้ บางทีเพื่อนๆ ที่เดินไปในสายองค์กรเล็กอาจมีความก้าวหน้ามากกว่าได้
อีกประเด็นของการเลือกองค์กรใหญ่ก็คือ ต้องระวังการเข้าไปทำงานในองค์ใหญ่ที่กำลังเป็นขาลงของธุรกิจ จะทำให้อนาคตตีบตันได้ คนที่เลือกงานในบริษัทที่ดูมีแนวโน้มกำลังก้าวหน้าจะช่วยได้มาก โอกาสการขยายการเติบโตของบริษัทและการเพิ่มตำแหน่งระดับสูงมีมาก แบบนี้ก็จะง่ายขึ้น โดยแทบไม่ต้องทำอะไรมาก
เรื่องคอนเนคชั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำงานไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือคนที่วางแผนจะทำธุรกิจต้องสะสม การรู้จักคนมาก รู้จักคนสำคัญ รู้จักคนเก่งในวงการที่เกี่ยวเนื่อง จะช่วยให้มีโอกาสสำหรับความก้าวหน้าได้หลายประการเช่นกัน หลายคนมีโอกาสก้าวหน้าดีมาก เพราะรู้จักคนมากกว่าแค่ในองค์กร ทำให้มีการดึงตัวไปทำงานสำคัญอยู่บ่อยๆ เป็นการก้าวกระโดดอีกวิธีหนึ่งครับ
ทั้งหมดทั้งปวงที่กล่าวมา จะเห็นว่า การวางกลยุทธ์สำหรับการก้าวเดินในสายงานประจำ จะมองที่โอกาสในการแสดงผลงาน และโอกาสในความก้าวหน้าเป็นหลัก คำตอบตายตัวจึงไม่มี บริษัทใหญ่ก็ดีถ้ามีโอกาสเติบโตด้วย หรือบริษัทเล็กก็ได้ ถ้าได้แสดงและสะสมผลงานให้ตัวเอง
ยุทธศาสตร์คือการวางแผนระยะยาว จงวางยุทธ์ศาสตร์ของตัวเองก่อนก้าวเดิน จงมองเส้นทางอนาคตของตัวเองแบบมีการวางแผนระยะยาวครับ แล้วจะไปถึงฝันที่สูงได้
โชคดีทุกคนครับ <
Create Date : 23 เมษายน 2551 |
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 17:28:03 น. |
|
6 comments
|
Counter : 5604 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ขามเรียง วันที่: 23 เมษายน 2551 เวลา:13:17:18 น. |
|
|
|
โดย: noon IP: 158.108.210.146 วันที่: 27 เมษายน 2551 เวลา:1:39:32 น. |
|
|
|
โดย: Culture วันที่: 22 สิงหาคม 2552 เวลา:18:46:46 น. |
|
|
|
โดย: Motorcycle parts IP: 58.248.178.253 วันที่: 28 มิถุนายน 2555 เวลา:14:37:04 น. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]

|
จากทักษะของการเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ บวกกับความสนใจใน"กระบวนการ"และ"ปัจจัย"ที่ก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จ ที่ทำให้ผมศึกษาและวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวจำนวนมาก จนเชี่ยวชาญในองค์ความรู้พอที่จะขอเรียกตัวเองว่า "ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งความสำเร็จ"
|
|
|
|
|
|
|
แต่ก็มาเยี่ยมคุณJimmyอยู่บ่อยๆครับ แบบเงียบๆ