วิพากษ์ หรือ วิจารณ์







วิพากษ์ หรือ วิจารณ์


วันนี้ผมได้อ่านบทความชวนฉุกคิดของนักเขียนรางวัลซีไรต์ท่านหนึ่ง แล้วทำให้ผมอยากกลับมา Recheck ตัวเองในฐานะนักอ่าน และคนๆ หนึ่งในสังคม ว่าความคิดเห็นของเราต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวทุกวันนี้ เข้าข่าย วิพากษ์ หรือ วิจารณ์ มากกว่ากัน

แน่นอนว่า หลายคนอาจเคยสับสนว่า วิพากษ์วิจารณ์ มีความหมายเดียวกัน แต่โดยนัยความหมายของคำศัพท์สองคำนี้ต่างกัน บทความนี้ นอกจากจะช่วยให้เราสำรวจตัวเองแล้ว ยังอาจมีประโยชน์ต่อเราในแง่การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ที่เราประสบพบเห็นด้วย

ผมเชื่อว่าสังคมโลกยังต้องการ การวิจารณ์มากกว่าการวิพากษ์ แต่เพราะคนเรามักเชื่อสิ่งที่เห็นตรงหน้า และยึดเอาความรู้สึกของตัวเองเป็นที่ตั้งก่อนเสมอ เราจึงมักวิพากษ์มากกว่าวิจารณ์ แต่ลองเปิดใจให้กว้าง อ่านบทความนี้ดู แล้วลองวิจารณ์ในแบบของคุณดูครับ


“หนังสือที่ดี บอกไม่ได้จากหน้าปก

ใจที่สกปรก ก็บอกไม่ได้จากหน้าตา”

- Rachata


การเป็นนักเขียนหนีไม่พ้นการถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่นักเขียนก็เป็นมนุษย์มีเลือดเนื้อเหมือนคนอื่น ได้ยินได้อ่านคำที่ตัวเองไม่ชอบก็อาจเถียงกลับ บ่อยครั้งเราจึงเห็นการวิวาทะตามสื่อ ตอบโต้กันไปมา ถ้าเจตนาของการตอบโต้ คือสร้างเรทติ้ง ก็ว่าอย่าง แต่ถ้าตอบโต้เพราะอารมณ์ ก็เสียเวลาสร้างสรรค์งานเปล่าๆ

ริเป็นนักเขียน นักสร้างสรรค์งาน ก็ต้องยอมรับแพ็คเกจที่มาด้วยกัน นั่นคือ คำชมกับคำด่า

จากประสบการณ์การถูกวิพากษ์วิจารณ์มาหนักหน่วง ในช่วงสามสิบปีนี้ ไม่ได้ทำให้เป็นพระอิฐพระปูนก็จริง แต่ก็เกิดภูมิต้านทานแห่งอุเบกขาเพิ่มขึ้นหลายเปอร์เซ็นต์ และลดความฟูมฟายลงไปได้มาก

สิ่งแรกที่นักเขียนหรือคนในวงการอื่นต้องทำ คือวิเคราะห์ให้ออกว่า อะไรคือวิพากษ์ อะไรคือวิจารณ์

อ้าว! ไม่เหมือนกันหรอกหรือ ?

สื่อบ้านเราใช้คำสองคำนี้รวมกันจนได้ยินคู่กันตลอด นั่นคือ “วิพากษ์วิจารณ์” แต่สองคำนี้เป็นคนละคำ คนละความหมายกัน และเรามักใช้กันผิดความหมาย

วิพากษ์ (judge) = พิพากษ์ = พิพากษา = ตัดสิน (ว = พ)

วิจารณ์ (comment) = พิจารณ์ = พิจารณา คือ การดูงานแล้วว่าตามเนื้อผ้า

วิพากษ์ มีนัยของการใช้อารมณ์ความรู้สึกไปตัดสิน มักมีนัยทางลบ เช่น “หนังสือเฮงซวย เขียนโดยพวกขวาตกขอบ” ข้อความนี้ไม่ได้วิจารณ์หนังสือเลย ด่านักเขียนอย่างเดียว นักเขียนอ่านแล้วก็เหมือนเดิม ไม่สามารถนำไปใช้พัฒนาตัวเอง

ส่วน วิจารณ์ วิเคราะห์งานชิ้นหนึ่งๆ โดยรองรับด้วยเหตุผล ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง เช่น "หนังสือเล่มนี้เขียนไม่ดีนัก เพราะมันแสดงความเห็นเฉพาะด้านอนุรักษ์นิยม ไม่แสดงอีกมุมหนึ่ง ทำให้ผู้อ่านรับข้อมูลไม่ครบด้าน" อย่างนี้นักเขียนนำไปพัฒนาตัวเองได้

ผมบอกนักเขียนรุ่นน้องเสมอว่า อย่าไปใส่ใจกับคำวิพากษ์ ไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เสมือนฟังคนบอกว่า "รถติดชิบหาย" แล้วยังไงหรือ ? มันแก้อะไรได้หรือ ?

แต่หากเป็นคำวิจารณ์ ให้รับฟังอย่างสงบเงี่ยม หลังจากนั้นให้วิเคราะห์ว่ามันจริงหรือไม่จริง ถ้าจริงก็น้อมรับและขอบคุณผู้วิจารณ์ ถ้าไม่จริงก็อยู่เฉยๆ ไม่ต้องประกาศที่ไหนว่าเราฉลาดกว่าเขา

หน้าที่นักเขียนคือ เขียน ไม่ใช่เถียง ไม่งั้นคงเรียกว่านักเถียง

ต่อให้เป็นคำชม ก็ต้องวิเคราะห์ว่ามันจริงหรือเปล่า เพราะบ่อยครั้งคำชมก็เป็นรูปหนึ่งของ 'วิพากษ์' นั่นคือทำด้วยอารมณ์ เช่น ชื่นชมนักเขียนมาก เขียนอะไรมาก็ดีไว้ก่อน อย่างนี้ก็มี นักเขียนจึงต้องอ่านระหว่างบรรทัดให้ออก และบ่อยครั้งคำชมก็ผิดประเด็น

คำว่า วิพากษ์ และ วิจารณ์ ยังกินพื้นที่อื่นๆ นอกจากคนทำงานศิลปะด้วย นั่นคือการใช้ชีวิต เราพบการวิพากษ์-วิจารณ์เสมอ

แต่งตัวแบบนี้ก็ถูกวิพากษ์-วิจารณ์ว่าไม่สวย ไม่เหมาะสม ไม่มีความเป็นไทย แต่งตัวแบบนั้นก็ถูกหาว่าเชย

ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้


วิพากษ์ : "ชุดนี้เธอใส่แล้วดูเหมือนยายบ้า"

วิจารณ์ : "ชุดที่เธอใส่นี้ไม่เข้ากับเธอ เพราะเธอรูปร่างท้วม ใส่ชุดที่มีเส้นขวางมากๆ ยิ่งทำให้ดูท้วมกว่าเดิม"


อย่างแรกฟังแล้วลมออกหู อย่างที่สองฟังแล้วนำไปปรับปรุงตัวได้


วิพากษ์ : "คุณเขียนเรื่องนี้ห่วยแตกจริงๆ"

วิจารณ์ : "คุณเขียนเรื่องนี้ไม่ดี เพราะองค์ประกอบมากไป ทำให้เรื่องรุงรัง ถ้าตัดองค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องออก น่าจะดีขึ้น"


ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนหรือไม่ ก็ต้องรู้จักวิเคราะห์ให้ออก มิเช่นนั้นก็จะต้องเต้นแร้งเต้นกาไปตามจังหวะที่คนอื่นกำหนด ชีวิตนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรอีก แล้ววันๆ ได้แต่ตั้งรับ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมวิพากษ์



เก็บมาฝาก (อ่าน) จาก...

บทความ “วิพากษ์กับวิจารณ์ ต่างกันอย่างไร” ของ วินทร์ เลียววาริณ

Cr. facebook.com/winlyovarin



Jim-793009

11 : 05 : 2016








Create Date : 11 พฤษภาคม 2559
Last Update : 11 พฤษภาคม 2559 17:27:45 น.
Counter : 27659 Pageviews.

7 comments
  
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ เป็นประโยชน์มากๆ โหวตให้เลยค่ะ
โดย: kunaom วันที่: 12 พฤษภาคม 2559 เวลา:13:26:21 น.
  
ชอบย่อหน้าสุดท้ายมากเป็นพิเศษ

โหวตให้ค่ะ
โดย: ออโอ วันที่: 12 พฤษภาคม 2559 เวลา:21:30:49 น.
  
คุณ kunaom และ คุณ ออโอ ขอบคุณที่โหวตให้ครับ ดีใจที่ได้นำบทความดีๆ มาของวินทร์ เลียววาริณ แบ่งปันกันอ่านในอีกช่องทางหนึ่ง หวังว่าทุกคนจะได้สาระและกำลังใจเหมือนกับผมนะครับ
โดย: Jim-793009 วันที่: 15 พฤษภาคม 2559 เวลา:19:53:48 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ ความเข้าใจในมุมใหม่จากบทความ จากเนื้อหามีความลื่นไหล อ่านได้อย่างเพลินๆและง่ายต่อความเข้าใจดีคะ
โดย: ัyoyo IP: 49.230.88.177 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:21:17:54 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ ความเข้าใจในมุมใหม่จากบทความ จากเนื้อหามีความลื่นไหล อ่านได้อย่างเพลินๆและง่ายต่อความเข้าใจดีคะ
โดย: ัyoyo IP: 49.230.88.177 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:21:18:08 น.
  
best motion sickness medicine //meclizinex.com/# buy meclizine for sale
โดย: meclizine 25mg IP: 37.139.53.22 วันที่: 27 กรกฎาคม 2566 เวลา:13:16:43 น.
  
research cialis tadalafilise.cyou/#
โดย: Kevinjoync IP: 37.139.53.22 วันที่: 20 สิงหาคม 2566 เวลา:15:24:05 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Jim-793009
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



"เขียน" ถ้าสิ่งนั้นคือความสุขอย่างแรกที่เรามองเห็นและนึกถึง ^_^

วรรณกรรมจึงงามกว่าเพชร คมกว่าดาบ เป็นโอสถอันประเสริฐยิ่งของชาวโลก
- กฤษณา อโศกสิน

"หนังสือบางเล่มผมไม่ได้อ่านเพราะชอบหรือไม่ชอบ เมื่อเป็นนิยายรักยอดนิยม ถ้าไม่อ่านก็เสียโอกาสทำความเข้าใจคนอื่น...ดีสำหรับผม ไม่ได้หมายความว่าคุณอ่านแล้วจะเข้าใจ หรือชอบในระดับเดียวกัน"
- ประชาคม ลุนาชัย [ร้านหนังสือที่มีแต่นิยายรัก]

"...สำหรับนักอ่าน หนึ่งในการค้นพบที่น่าตื่นเต้นที่สุดในชีวิต คือการพบว่าตัวเองเป็นนักอ่าน ไม่ใช่แค่อ่านออก แต่ตกหลุมรักมัน ตกหลุมรักอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ตกหลุมรักหัวปักหัวปำ หนังสือเล่มแรกที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้นจะไม่มีวันถูกลืม..."
- Finders Keepers, Stephen King
New Comments