บอกแล้วไม่ฟัง
Group Blog
 
All blogs
 

=> รู้ก่อน... รีไทร์ก่อน

รู้ก่อน... รีไทร์ก่อน
25 มีนาคม 2554 15:40 น.

       ๐ พบคำตอบง่ายๆ เพื่อจะรีไทร์ก่อนแก่
       
       ๐ กับ “วีรณัฐ โรจนประภา” นักธุรกิจร้อยล้านที่พิสูจน์มาแล้ว
       
       ๐ แล้วจะรู้ว่าธรรมะจัดสรรให้ได้อย่างไร
       
       ๐ “ต้องกล้า”แล้วทุกอย่างจะมาเอง
       
       เมื่อเราถามตัวเองว่าทำงานไปเพื่ออะไร และอยากมีชีวิตอย่างไร? “วีรณัฐ โรจนประภา” นักธุรกิจร้อยล้าน ก็เป็นเหมือนกับหลายๆ คนที่สุดท้ายกลับไม่ได้คำตอบที่แท้จริง เมื่อไปถึงเป้าหมาย จนได้พบกับคำตอบใหม่ที่แค่เริ่มคิดก็ใช่แล้ว
       
       ๐ ก่อนจะพบคำตอบ
       
       หลังจากเรียนจบทางด้านคอมพิวเตอร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาก็ใช้เวลาไปกับการหาประสบการณ์ในสิ่งที่ตัวเองอยากจะรู้ด้วยการทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทข้ามชาติและบริษัทของคนไทย และสามารถดูดซับความรู้ที่เป็นความรู้เฉพาะทางมากมายได้อย่างรวดเร็วภายในช่วงเวลาเพียง 2 ปี ที่ใช้ไปกับ 3 บริษัท เริ่มด้วยบริษัท คอลเกต ปาล์มโอลีฟ ที่ทำให้ได้ความรู้ด้านการผลิตและยังได้รู้ถึงระบบการทำงานแบบตะวันตก จากนั้นก็ได้รู้เรื่องการตลาดและมีโอกาสได้สัมผัสกับคนในแวดวงงานบริการ ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ และไปได้ความรู้ด้านการเงินและกลยุทธ์ในธุรกิจไฟแนนซ์มอเตอร์มอเตอร์ไซค์ซึ่งเป็นธุรกิจของญาติ
       
       จากนั้นจึงเริ่มลงมือทำตามสิ่งที่คิดไว้แล้วตั้งแต่ต้นคือการเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยความอยากเพราะคิดว่าท้าทายกว่าและเห็นตัวอย่างจากพ่อกับแม่ซึ่งทำธุรกิจโรงพิมพ์ประสบความสำเร็จอย่างดี ด้วยการชักชวนเพื่อนเปิดบริษัทรับจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์ ทำโปรแกรม Auto Cad เพื่อช่วยให้งานออกแบบทำได้ง่ายขึ้น ทำธุรกิจโฆษณา เปิดร้านให้เช่าวิดีโอที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้นเพราะใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างฐานข้อมูลต่างๆ เปิดร้านฟาสต์ฟู้ดข้าวมันไก่เพราะอยากเห็นอาหารไทยที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมไม่แพ้ต่างชาติ ทำ Audio Book ซึ่งรวบรวมวิทยากรที่มีชื่อเสียงด้านการฝีกอบรมไว้ได้ทั้งหมด เช่น ดร.เสรี วงศ์มณฑา ฯลฯ ทำคณะละครวิทยุ เปิดบริษัทเครื่องเสียง บริษัทขายตรงสินค้าแปลกๆ เช่น เครื่องออกกำลังกาย ฯลฯ
       
       โดยมีวิธีคิดคือ ความถนัดในงาน ประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ สามารถสร้างและเก็บเกี่ยวเพิ่มเติมได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้มองถึงเบื้องหลังหรือสิ่งที่ทำมาก่อนสักเท่าไร แต่ตัดสินใจทำจาก “ความอยากของตัวเอง” ในการที่จะทำสิ่งนั้นเป็นหลัก และมักจะมองและทำสิ่งที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป้าหมายหลักในตอนนั้นคือความสุขที่ได้ทำและต้องการจะรู้ว่าตัวเองทำได้หรือไม่ โดยไม่ได้มุ่งไปที่ตัวเงินเป็นหลัก
       
       จนกระทั่งในตอนที่ทำบริษัทนำเข้าสินค้าหลากหลายประเภท ในช่วงเวลานั้นคือปี 2540 เกิดการลอยตัวค่าเงินทำให้ได้กำไรจากส่วนต่างอยู่มากพอสมควรประมาณเกือบ 20 ล้านบาท จากการตัดสินใจทำฟอร์เวิร์ดค่าเงินดอลล่าร์ที่เป็นหนี้ในธุรกิจไว้ทั้งหมด และรวบรวมเครดิตทั้งหมดให้บริษัทในประเทศจีนเปิด PO เพื่อนำไปเปิด LC กับธนาคารทันที และไปทำฟอร์เวิร์ดค่าเงินเอาไว้ ภายในวันเดียว ซึ่งเป็นจุดพลิกผันครั้งใหญ่ หลังจากที่ได้วิเคราะห์ข่าวในช่วงนั้น
       
       ๐ จุดเปลี่ยนสู่เป้าหมายใหม่
       
       เหตุการณ์ครั้งนั้นกลายเป็นจุดอิ่มตัวในชีวิต หลังจากที่รู้สึกภูมิใจในตัวเองอย่างยิ่งว่าตัวเองเก่ง ทำให้คิดได้ว่าที่ทำทุกอย่างผ่านมาในชีวิตไม่ได้ต้องการเงิน แต่ต้องการ “ความภูมิใจในตัวเอง” หรือ “ความเก่ง” นี่เอง แต่เมื่อได้มาแล้วกลับรู้สึกอย่างนั้นอยู่เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้รู้สึกเคว้งคว้างเพราะคิดว่าจะต้องทำงานแบบนี้อีกกี่ปีจึงจะมาภูมิใจแบบนี้อีกแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น แล้วก็เกิดความทุกข์อีก พึ่งพาไม่ได้จริง เป็นการเหนื่อยมาทั้งชีวิตเพื่อจะได้สิ่งนี้เพราะเชื่อว่าคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ทำให้ได้พบหนทางธรรมะ
       
       เขาใช้เวลาอยู่ 2 เดือนไปกับการหาเป้าหมายใหม่ในชีวิต เพราะใจไม่เอาแล้วกับการทำงานหรือใช้ชีวิตแบบเดิม แต่ไม่พบจึงหันไปบวชและทำให้ได้อ่านหนังสือธรรมะเรื่องพุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (พระธรรมปิฎก) ในช่วง 1 เดือน ทำให้ได้เป้าหมายใหม่และเป็นสิ่งท้าทายซึ่งเหมาะกับชีวิตของเขาจริงๆ แล้วคือ “การปฎิบัติธรรม” เพื่อไปสู่นิพพาน เพราะวิถีทางโลกไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง ต้องเป็นวิถีทางธรรมซึ่งเมื่อทำสำเร็จจะอยู่กับเขาได้ตลอดไป
       
       จึงมุ่งสู่ชีวิตทางธรรมและทยอยปิดบริษัทของตัวเองที่ทำมาทั้งหมดซึ่งคิดเป็นมูลค่านับร้อยล้านบาทในเวลากว่า 1 ปี เพราะไม่มีแรงขับเคลื่อนใดๆ ให้ทำได้อีกแล้ว แต่ในธรรมชาติของการปฎิบัติธรรมมีความต้องการแบ่งปัน โดยเฉพาะเมื่อเกิดความอึดอัดกับหนังสือต่างๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาด โดยเฉพาะที่แปลมาจากต่างประเทศ เพราะเห็นว่ามีหนังสือดีๆ ของไทยที่ไม่ได้รับการเผยแพร่มากมาย จึงเปิดร้านหนังสือขึ้นมา แต่เป็นการทำเพื่อเลี้ยงชีพไม่ใช่ธุรกิจ โดยเน้นไปที่หนังสือธรรมะ เพราะเมื่อ 7-8 ปีที่แล้วหนังสือธรรมะยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากร้านขายหนังสือที่เปิดอยู่ในเวลานั้น
       
       จนกระทั่งเป็นร้านที่มียอดขายหนังสือธรรมะสูงที่สุด และเป็นจุดเปลี่ยนให้ร้านหนังสือต่างๆ ให้ความสำคัญกับหนังสือธรรมะจนกลายเป็นหมวดหนังสือขายดี จึงหยุดกิจการร้านหนังสือไปเพราะเห็นว่าหนังสือธรรมะกลายเป็นที่นิยมแล้ว ขณะที่มีหนังสือธรรมมะในแบบอื่น คือหนังสือธรรมะที่ทำขึ้นมาเพื่อต้องการแจก จึงหันมาทำในส่วนนี้ โดยพัฒนาต่อไปเป็นรูปแบบของมูลนิธิ พร้อมไปกับการสร้างชุมชนธรรมะในรูปแบบใหม่คือโครงการ Banana Family Parkขึ้นมาบนพื้นที่ 2 ไร่เศษในซอยอารีย์ที่สามารถซื้อมาได้ในราคาถูกเพราะเจ้าของที่ดินคนเดิมสนับสนุนให้สร้างเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ในรูปแบบนี้ ซึ่งมีร้านค้าต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับธรรมะ โดยแนวทางที่ทำคือ “ลูกค้าที่มาใช้บริการคือพนักงาน” เช่น ร้านที่มาเช่าพื้นที่มาจากการที่ลูกค้าเป็นคนไปหาและติดต่อมาลง
       
       “ศาลาปันมี” ที่ทำขึ้นมา แผลงมาจากศาลาเศรษฐีเพราะในอดีตเศรษฐีเป็นตำแหน่งที่พระราชาตั้งให้ ถ้าทำงานจนมีฐานะและพอจะแบ่งปันเป็นในเชิงรูปธรรมคือสามารถสร้างโรงทานได้ ถ้าสร้าง 1 โรงจะได้ตำแหน่งเศรษฐี ถ้าสร้างได้ทั้ง 4 มุมเมืองจะได้ตำแหน่งมหาเศรษฐี นี่คือการปันสิ่งที่มี ในการทำงานก็เช่นเดียวกันคือการมาช่วยกันทำงานแล้วแบ่งปันกันไป
       
       จุดเริ่มต้นที่จะทำอย่างนี้ได้คือการเอาเป้าหมายเรื่องเงินออกไปให้ได้ก่อน จุดเป้าหมายในการเลี้ยงชีพคือความสุขในการมีชีวิตอยู่ การมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรบ้าง สิ่งที่ทำอยู่ในแต่ละวันก็เป็นไปเพื่อสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเป้าหมายถูกทางว่าต้องการทำเพื่อธรรมะก็จะได้อย่างนั้น ซึ่งไม่ได้ปฏิเสธความรวย แต่เป็นความรวยอย่างมีเหตุมีผลค่อยเป็นค่อยไปและยั่งยืน
       
       ๐ ถึงตั้งแต่ตอนทำ
       
       ความแตกต่างของสองเส้นทางเดินอยู่ที่การทำธุรกิจทั่วไปคือ “ถึงแล้วจึงจะถึง” แต่การหาเลี้ยงชีพแบบนี้คือ “ถึงตั้งแต่ตอนทำ” ไม่ใช่ทำร้ายสังคมแล้วจึงมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) แต่ต้องรับผิดชอบสังคมตั้งแต่เริ่มทำ สำหรับการทำงานต้องรู้หน้าที่ และรู้จักประโยชน์ของคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน คนในครอบครัว และสังคม เพราะจะทำให้เราสำเร็จตั้งแต่ตอนที่ทำ โดยไม่ต้องพูดถึงผลของงานที่เกิดขึ้นเพราะผลจะดีอยู่แล้ว เช่น สังคมในคอมมูนิตี้แห่งนี้อยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทรทำให้ทุกคนดูแลกัน
       
       “ถ้าใครนำแนวทางของที่นี่ไปทำก็จะได้สังคมแบบนี้ที่เขาสร้างขึ้นมาเองเหมือนกันและจะกระจายออกไปเองในแบบที่เขาทำแบบที่เหมาะกับครอบครัวหรือชุมชนของเขา ไม่ได้มีสูตรสำเร็จแบบตะวันตก แต่เป็นเรื่องของสัมมทิฐิว่าเมื่อชิวิตเราตั้งเป้าไว้ถูกเราจะเดินไปถูก เช่น เรามุ่งหน้าไปทางเหนือสุดท้ายก็ไปถึงเชียงใหม่ ซึ่งที่นี่ทำให้ดูเพื่อเป็นแรงบันดาลใจว่ามีสังคมแบบนี้อยู่จริง เราตั้งใจจะช่วยเราก็มีความสุขแล้ว แม้จะช่วยไม่สำเร็จก็ตาม แค่คิดดีทำดีและได้ลงมือทำก็ถือว่าเป็นความสำเร็จแล้ว แม้ผลที่ออกมาจะไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเพราะมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้อง”
       
       ข้อแนะนำสำหรับคนที่อยากจะเดินมาทางนี้คือ ลองให้โอกาสตัวเองเป็น “เศรษฐีทันใจ” ซึ่งไม่ได้วัดกันที่ว่ามีเงินมากน้อยแค่ไหนกี่ร้อยพันล้าน แต่วัดว่าพอใจในสิ่งที่เป็นหรือยัง ถ้าพอใจแล้วสามารถแบ่งปันได้หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องกำลังกาย เวลา สมอง ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้ความสุขอีกแบบหนึ่งคือการให้
       
       ที่จริงแล้วคือ “การเชื่อในเรื่องความดี” แต่ที่สำคัญคือคนในสังคมทุกวันนี้กลับ “ไม่กล้า” ที่จะเชื่อในความดี ซึ่งการได้ออกจากสังคมที่แก่งแย่ง ทำไปตามเหตุปัจจัย ถ้าถึงก็คือถึงไม่ทุรนทุรายกับเป้าหมายว่าจะนิพพานหรือไม่ เพราะเรารู้ทางแล้วก็เดินไปเรื่อยๆ เท่านั้น มีความสุขในระหว่างทางที่เดิน ไม่กังวลกับเป้าหมาย
       
       “ต้องบอกว่าธรรมมะจะจัดสรรสิ่งที่เหมาะสมกับทุกคน เพราะถ้างานที่ทำอยู่ร้อน แต่ใจเปลี่ยนไปเป็นเย็นแล้ว ถึงจุดหนึ่งจะมีทางที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่ถ้างานที่ทำอยู่เอื้อกับวิถีชีวิตแบบนั้นคือเย็นอยู่แล้วก็จะไม่ต้องเปลี่ยนอะไร” เขาย้ำในตอนท้าย




 

Create Date : 26 มีนาคม 2554    
Last Update : 26 มีนาคม 2554 21:24:04 น.
Counter : 916 Pageviews.  

=> รู้ก่อน... รีไทร์ก่อน

รู้ก่อน... รีไทร์ก่อน
25 มีนาคม 2554 15:40 น.

       ๐ พบคำตอบง่ายๆ เพื่อจะรีไทร์ก่อนแก่
       
       ๐ กับ “วีรณัฐ โรจนประภา” นักธุรกิจร้อยล้านที่พิสูจน์มาแล้ว
       
       ๐ แล้วจะรู้ว่าธรรมะจัดสรรให้ได้อย่างไร
       
       ๐ “ต้องกล้า”แล้วทุกอย่างจะมาเอง
       
       เมื่อเราถามตัวเองว่าทำงานไปเพื่ออะไร และอยากมีชีวิตอย่างไร? “วีรณัฐ โรจนประภา” นักธุรกิจร้อยล้าน ก็เป็นเหมือนกับหลายๆ คนที่สุดท้ายกลับไม่ได้คำตอบที่แท้จริง เมื่อไปถึงเป้าหมาย จนได้พบกับคำตอบใหม่ที่แค่เริ่มคิดก็ใช่แล้ว
       
       ๐ ก่อนจะพบคำตอบ
       
       หลังจากเรียนจบทางด้านคอมพิวเตอร์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาก็ใช้เวลาไปกับการหาประสบการณ์ในสิ่งที่ตัวเองอยากจะรู้ด้วยการทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทข้ามชาติและบริษัทของคนไทย และสามารถดูดซับความรู้ที่เป็นความรู้เฉพาะทางมากมายได้อย่างรวดเร็วภายในช่วงเวลาเพียง 2 ปี ที่ใช้ไปกับ 3 บริษัท เริ่มด้วยบริษัท คอลเกต ปาล์มโอลีฟ ที่ทำให้ได้ความรู้ด้านการผลิตและยังได้รู้ถึงระบบการทำงานแบบตะวันตก จากนั้นก็ได้รู้เรื่องการตลาดและมีโอกาสได้สัมผัสกับคนในแวดวงงานบริการ ที่โรงแรมบางกอกพาเลซ และไปได้ความรู้ด้านการเงินและกลยุทธ์ในธุรกิจไฟแนนซ์มอเตอร์มอเตอร์ไซค์ซึ่งเป็นธุรกิจของญาติ
       
       จากนั้นจึงเริ่มลงมือทำตามสิ่งที่คิดไว้แล้วตั้งแต่ต้นคือการเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยความอยากเพราะคิดว่าท้าทายกว่าและเห็นตัวอย่างจากพ่อกับแม่ซึ่งทำธุรกิจโรงพิมพ์ประสบความสำเร็จอย่างดี ด้วยการชักชวนเพื่อนเปิดบริษัทรับจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์ ทำโปรแกรม Auto Cad เพื่อช่วยให้งานออกแบบทำได้ง่ายขึ้น ทำธุรกิจโฆษณา เปิดร้านให้เช่าวิดีโอที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้นเพราะใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างฐานข้อมูลต่างๆ เปิดร้านฟาสต์ฟู้ดข้าวมันไก่เพราะอยากเห็นอาหารไทยที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมไม่แพ้ต่างชาติ ทำ Audio Book ซึ่งรวบรวมวิทยากรที่มีชื่อเสียงด้านการฝีกอบรมไว้ได้ทั้งหมด เช่น ดร.เสรี วงศ์มณฑา ฯลฯ ทำคณะละครวิทยุ เปิดบริษัทเครื่องเสียง บริษัทขายตรงสินค้าแปลกๆ เช่น เครื่องออกกำลังกาย ฯลฯ
       
       โดยมีวิธีคิดคือ ความถนัดในงาน ประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ สามารถสร้างและเก็บเกี่ยวเพิ่มเติมได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้มองถึงเบื้องหลังหรือสิ่งที่ทำมาก่อนสักเท่าไร แต่ตัดสินใจทำจาก “ความอยากของตัวเอง” ในการที่จะทำสิ่งนั้นเป็นหลัก และมักจะมองและทำสิ่งที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป้าหมายหลักในตอนนั้นคือความสุขที่ได้ทำและต้องการจะรู้ว่าตัวเองทำได้หรือไม่ โดยไม่ได้มุ่งไปที่ตัวเงินเป็นหลัก
       
       จนกระทั่งในตอนที่ทำบริษัทนำเข้าสินค้าหลากหลายประเภท ในช่วงเวลานั้นคือปี 2540 เกิดการลอยตัวค่าเงินทำให้ได้กำไรจากส่วนต่างอยู่มากพอสมควรประมาณเกือบ 20 ล้านบาท จากการตัดสินใจทำฟอร์เวิร์ดค่าเงินดอลล่าร์ที่เป็นหนี้ในธุรกิจไว้ทั้งหมด และรวบรวมเครดิตทั้งหมดให้บริษัทในประเทศจีนเปิด PO เพื่อนำไปเปิด LC กับธนาคารทันที และไปทำฟอร์เวิร์ดค่าเงินเอาไว้ ภายในวันเดียว ซึ่งเป็นจุดพลิกผันครั้งใหญ่ หลังจากที่ได้วิเคราะห์ข่าวในช่วงนั้น
       
       ๐ จุดเปลี่ยนสู่เป้าหมายใหม่
       
       เหตุการณ์ครั้งนั้นกลายเป็นจุดอิ่มตัวในชีวิต หลังจากที่รู้สึกภูมิใจในตัวเองอย่างยิ่งว่าตัวเองเก่ง ทำให้คิดได้ว่าที่ทำทุกอย่างผ่านมาในชีวิตไม่ได้ต้องการเงิน แต่ต้องการ “ความภูมิใจในตัวเอง” หรือ “ความเก่ง” นี่เอง แต่เมื่อได้มาแล้วกลับรู้สึกอย่างนั้นอยู่เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้รู้สึกเคว้งคว้างเพราะคิดว่าจะต้องทำงานแบบนี้อีกกี่ปีจึงจะมาภูมิใจแบบนี้อีกแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น แล้วก็เกิดความทุกข์อีก พึ่งพาไม่ได้จริง เป็นการเหนื่อยมาทั้งชีวิตเพื่อจะได้สิ่งนี้เพราะเชื่อว่าคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ทำให้ได้พบหนทางธรรมะ
       
       เขาใช้เวลาอยู่ 2 เดือนไปกับการหาเป้าหมายใหม่ในชีวิต เพราะใจไม่เอาแล้วกับการทำงานหรือใช้ชีวิตแบบเดิม แต่ไม่พบจึงหันไปบวชและทำให้ได้อ่านหนังสือธรรมะเรื่องพุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (พระธรรมปิฎก) ในช่วง 1 เดือน ทำให้ได้เป้าหมายใหม่และเป็นสิ่งท้าทายซึ่งเหมาะกับชีวิตของเขาจริงๆ แล้วคือ “การปฎิบัติธรรม” เพื่อไปสู่นิพพาน เพราะวิถีทางโลกไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง ต้องเป็นวิถีทางธรรมซึ่งเมื่อทำสำเร็จจะอยู่กับเขาได้ตลอดไป
       
       จึงมุ่งสู่ชีวิตทางธรรมและทยอยปิดบริษัทของตัวเองที่ทำมาทั้งหมดซึ่งคิดเป็นมูลค่านับร้อยล้านบาทในเวลากว่า 1 ปี เพราะไม่มีแรงขับเคลื่อนใดๆ ให้ทำได้อีกแล้ว แต่ในธรรมชาติของการปฎิบัติธรรมมีความต้องการแบ่งปัน โดยเฉพาะเมื่อเกิดความอึดอัดกับหนังสือต่างๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาด โดยเฉพาะที่แปลมาจากต่างประเทศ เพราะเห็นว่ามีหนังสือดีๆ ของไทยที่ไม่ได้รับการเผยแพร่มากมาย จึงเปิดร้านหนังสือขึ้นมา แต่เป็นการทำเพื่อเลี้ยงชีพไม่ใช่ธุรกิจ โดยเน้นไปที่หนังสือธรรมะ เพราะเมื่อ 7-8 ปีที่แล้วหนังสือธรรมะยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากร้านขายหนังสือที่เปิดอยู่ในเวลานั้น
       
       จนกระทั่งเป็นร้านที่มียอดขายหนังสือธรรมะสูงที่สุด และเป็นจุดเปลี่ยนให้ร้านหนังสือต่างๆ ให้ความสำคัญกับหนังสือธรรมะจนกลายเป็นหมวดหนังสือขายดี จึงหยุดกิจการร้านหนังสือไปเพราะเห็นว่าหนังสือธรรมะกลายเป็นที่นิยมแล้ว ขณะที่มีหนังสือธรรมมะในแบบอื่น คือหนังสือธรรมะที่ทำขึ้นมาเพื่อต้องการแจก จึงหันมาทำในส่วนนี้ โดยพัฒนาต่อไปเป็นรูปแบบของมูลนิธิ พร้อมไปกับการสร้างชุมชนธรรมะในรูปแบบใหม่คือโครงการ Banana Family Parkขึ้นมาบนพื้นที่ 2 ไร่เศษในซอยอารีย์ที่สามารถซื้อมาได้ในราคาถูกเพราะเจ้าของที่ดินคนเดิมสนับสนุนให้สร้างเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ในรูปแบบนี้ ซึ่งมีร้านค้าต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับธรรมะ โดยแนวทางที่ทำคือ “ลูกค้าที่มาใช้บริการคือพนักงาน” เช่น ร้านที่มาเช่าพื้นที่มาจากการที่ลูกค้าเป็นคนไปหาและติดต่อมาลง
       
       “ศาลาปันมี” ที่ทำขึ้นมา แผลงมาจากศาลาเศรษฐีเพราะในอดีตเศรษฐีเป็นตำแหน่งที่พระราชาตั้งให้ ถ้าทำงานจนมีฐานะและพอจะแบ่งปันเป็นในเชิงรูปธรรมคือสามารถสร้างโรงทานได้ ถ้าสร้าง 1 โรงจะได้ตำแหน่งเศรษฐี ถ้าสร้างได้ทั้ง 4 มุมเมืองจะได้ตำแหน่งมหาเศรษฐี นี่คือการปันสิ่งที่มี ในการทำงานก็เช่นเดียวกันคือการมาช่วยกันทำงานแล้วแบ่งปันกันไป
       
       จุดเริ่มต้นที่จะทำอย่างนี้ได้คือการเอาเป้าหมายเรื่องเงินออกไปให้ได้ก่อน จุดเป้าหมายในการเลี้ยงชีพคือความสุขในการมีชีวิตอยู่ การมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรบ้าง สิ่งที่ทำอยู่ในแต่ละวันก็เป็นไปเพื่อสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเป้าหมายถูกทางว่าต้องการทำเพื่อธรรมะก็จะได้อย่างนั้น ซึ่งไม่ได้ปฏิเสธความรวย แต่เป็นความรวยอย่างมีเหตุมีผลค่อยเป็นค่อยไปและยั่งยืน
       
       ๐ ถึงตั้งแต่ตอนทำ
       
       ความแตกต่างของสองเส้นทางเดินอยู่ที่การทำธุรกิจทั่วไปคือ “ถึงแล้วจึงจะถึง” แต่การหาเลี้ยงชีพแบบนี้คือ “ถึงตั้งแต่ตอนทำ” ไม่ใช่ทำร้ายสังคมแล้วจึงมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) แต่ต้องรับผิดชอบสังคมตั้งแต่เริ่มทำ สำหรับการทำงานต้องรู้หน้าที่ และรู้จักประโยชน์ของคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน คนในครอบครัว และสังคม เพราะจะทำให้เราสำเร็จตั้งแต่ตอนที่ทำ โดยไม่ต้องพูดถึงผลของงานที่เกิดขึ้นเพราะผลจะดีอยู่แล้ว เช่น สังคมในคอมมูนิตี้แห่งนี้อยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทรทำให้ทุกคนดูแลกัน
       
       “ถ้าใครนำแนวทางของที่นี่ไปทำก็จะได้สังคมแบบนี้ที่เขาสร้างขึ้นมาเองเหมือนกันและจะกระจายออกไปเองในแบบที่เขาทำแบบที่เหมาะกับครอบครัวหรือชุมชนของเขา ไม่ได้มีสูตรสำเร็จแบบตะวันตก แต่เป็นเรื่องของสัมมทิฐิว่าเมื่อชิวิตเราตั้งเป้าไว้ถูกเราจะเดินไปถูก เช่น เรามุ่งหน้าไปทางเหนือสุดท้ายก็ไปถึงเชียงใหม่ ซึ่งที่นี่ทำให้ดูเพื่อเป็นแรงบันดาลใจว่ามีสังคมแบบนี้อยู่จริง เราตั้งใจจะช่วยเราก็มีความสุขแล้ว แม้จะช่วยไม่สำเร็จก็ตาม แค่คิดดีทำดีและได้ลงมือทำก็ถือว่าเป็นความสำเร็จแล้ว แม้ผลที่ออกมาจะไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเพราะมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้อง”
       
       ข้อแนะนำสำหรับคนที่อยากจะเดินมาทางนี้คือ ลองให้โอกาสตัวเองเป็น “เศรษฐีทันใจ” ซึ่งไม่ได้วัดกันที่ว่ามีเงินมากน้อยแค่ไหนกี่ร้อยพันล้าน แต่วัดว่าพอใจในสิ่งที่เป็นหรือยัง ถ้าพอใจแล้วสามารถแบ่งปันได้หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องกำลังกาย เวลา สมอง ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้ความสุขอีกแบบหนึ่งคือการให้
       
       ที่จริงแล้วคือ “การเชื่อในเรื่องความดี” แต่ที่สำคัญคือคนในสังคมทุกวันนี้กลับ “ไม่กล้า” ที่จะเชื่อในความดี ซึ่งการได้ออกจากสังคมที่แก่งแย่ง ทำไปตามเหตุปัจจัย ถ้าถึงก็คือถึงไม่ทุรนทุรายกับเป้าหมายว่าจะนิพพานหรือไม่ เพราะเรารู้ทางแล้วก็เดินไปเรื่อยๆ เท่านั้น มีความสุขในระหว่างทางที่เดิน ไม่กังวลกับเป้าหมาย
       
       “ต้องบอกว่าธรรมมะจะจัดสรรสิ่งที่เหมาะสมกับทุกคน เพราะถ้างานที่ทำอยู่ร้อน แต่ใจเปลี่ยนไปเป็นเย็นแล้ว ถึงจุดหนึ่งจะมีทางที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่ถ้างานที่ทำอยู่เอื้อกับวิถีชีวิตแบบนั้นคือเย็นอยู่แล้วก็จะไม่ต้องเปลี่ยนอะไร” เขาย้ำในตอนท้าย




 

Create Date : 26 มีนาคม 2554    
Last Update : 26 มีนาคม 2554 21:02:16 น.
Counter : 426 Pageviews.  

=> สูตรแห่งความสุข...ตำราชีวิตประจำวัน

สูตรแห่งความสุข...ตำราชีวิตประจำวัน By สุทธิชัย หยุ่น


สูตรเกี่ยวกับบุคลิกของตัวเองที่ควรไปจะคู่กับสูตรสุขภาพมีอย่างนี้ครับ


๑. อย่าเปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับคนอื่น คุณไม่รู้หรอกว่าคนที่คุณอิจฉานั้นเขามีความทุกข์ยิ่งกว่าคุณอย่างไรบ้าง

๒. อย่าคิดทางลบเกี่ยวกับเรื่องที่คุณควบคุมหรือกำหนดไม่ได้ แทนที่จะมองโลกในแง่ร้าย, ก็ทุ่มเทกำลังและพลังงานให้กับความคิดทางบวก ณ ปัจจุบันเสีย

๓. อย่าทำอะไรเกินกว่าที่ตัวเองทำได้...รู้ว่าขีดจำกัดของตัวเองอยู่ที่ไหน

๔. อย่าเอาจริงเอาจังกับตัวเองนัก เพราะคนอื่นเขาไม่ได้ซีเรียสกับคุณเท่าไหร่หรอก

๕. อย่าเสียเวลาและพลังงานอันมีค่าของคุณกับเรื่องหยุมหยิมหรือเรื่องซุบซิบ....นอกเสียจากว่ามันจะทำให้คุณผ่อนคลายได้อย่างจริงจัง

๖. จงฝันตอนตื่นมากกว่าตอนหลับ

๗. ความรู้สึกอิจฉาริษยาเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า ๆ ปลี้ ๆ...คิดให้ดีก็จะรู้ว่าคุณมีทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องมีแล้ว

๘. ลืมเรื่องขัดแย้งในอดีตเสีย และอย่าได้เตือนสามีหรือภรรยาคุณเกี่ยวกับความผิดพลาดในอดีตของอีกฝ่ายหนึ่งเลย เพราะมันจะทำลายความสุขปัจจุบันของคุณ

๙. ชีวิตนี้สั้นเกินกว่าที่เราจะไปโกรธเกลียดใคร...จงอย่าเกลียดคนอื่น

๑๐.ประกาศสงบศึกกับอดีตให้สิ้น, จะได้ไม่ทำลายปัจจุบันของคุณ

๑๑.ไม่มีใครกำหนดความสุขของคุณได้นอกจากคุณเอง

๑๒.จงเข้าใจเสียว่าชีวิตก็คือโรงเรียน คุณมาเพื่อเรียนรู้ และปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรซึ่งมาแล้วก็หายไป...เหมือนโจทย์วิชาพีชคณิต...แต่สิ่งที่คุณเรียนรู้นั้นอยู่กับคุณตลอดชีวิต

๑๓. จงยิ้มและหัวเราะมากขึ้น

๑๔. คุณไม่จำเป็นต้องชนะทุกครั้งที่ถกแถลงกับคนอื่นหรอก...บางครั้งก็ยอมรับว่าเราเห็นแตกต่างกันได้...เห็นพ้องที่จะเห็นต่างก็ไม่เห็นเสียหายแต่อย่างไร


แล้วเราควรจะมีทัศนคติอย่างไรต่อชุมชนและคนรอบข้างเราล่ะ?


๑. อย่าลืมโทรฯหาครอบครัวบ่อย ๆ

๒. จงหาอะไรดี ๆ ให้คนอื่นทุกวัน

๓. จงให้อภัยทุกคนสำหรับทุกอย่าง

๔. จงหาเวลาอยู่กับคนอายุเกิน 70 และต่ำกว่า 6 ขวบ

๕. พยายามทำให้อย่างน้อย 3 คนยิ้มได้ทุกวัน

๖. คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับคุณไม่ใช่เรื่องของคุณสัก หน่อย

๗. งานของคุณไม่ดูแลคุณตอนคุณป่วยหรอก แต่ครอบครัวและเพื่อนคุณต่างหากเล่าที่จะดูแลคุณ ในยามคุณมีปัญหาสุขภาพ ดังนั้น, อย่าได้ห่างเหินกับคนใกล้ชิดเป็นอันขาด


และถ้าหากสามารถดำรงชีวิตให้มีความหมายได้, ก็ควรจะทำดังต่อไปนี้

๑. ทำสิ่งที่ควรทำ

๒. อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่สวย, ไม่น่ารื่นรมย์, จงทิ้ง
ไปเสีย...เก็บไว้ทำไม?

๓. เวลาและพระเจ้าย่อมรักษาแผลทุกอย่างได้

๔. ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือเลวปานใด, เดี๋ยวมันก็เปลี่ยน

๕. ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรในตอนเช้าของทุกวัน, จงลุกจากเตียง, แต่งตัวและปรากฎตัวต่อหน้า คนที่เราร่วมงานด้วย...get up, dress up and show up.

๖. สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง

๗. ถ้าคุณยังลุกขึ้นตอนเช้าได้, อย่าลืมขอบคุณพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือเสียด้วย

๘. เชื่อเถอะว่าส่วนลึก ๆ ในใจของคุณนั้นมีความสุขเสมอ....ดังนั้น, ส่วนนอกของคุณทุกข์โศกไปทำไมเล่า?




 

Create Date : 30 กันยายน 2553    
Last Update : 30 กันยายน 2553 11:44:35 น.
Counter : 414 Pageviews.  

=> 10 วิธีง่ายๆ ช่วยคลายเครียด

รอบตัวก่อให้เกิด "ความเครียด" จนทำให้คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น


จากตัวเลขของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยทางจิตกว่า 12 ล้านคน ซึ่งรายงานจากสำมโน-ประชากร เมื่อเดือนธันวาคม 2552 ประเทศไทยมีจำนวน ประชากร 63 ล้านคน แสดงว่าคนไทย 1 ใน 5 ป่วยทางจิตและมีจำนวนกว่าแสนรายที่ต้องเข้ารับการรักษา


ความเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรนั้น


นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ โรงพยาบาลนครธน ได้อธิบายว่า เมื่อจิตของคนเราถูกกระทบด้วยสภาพอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ ตื่นกลัว หรือเบิกบาน จะส่งกระแสจิตไปยังสมอง ทำให้เราตกอยู่ ในห้วงอารมณ์นั้นๆ และสมองจะหลั่งสารเคมีออกมาในร่างกาย ในแต่ละวันคนเราต้องเผชิญกับอารมณ์หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกเชิงลบต่างๆ ความวิตกกังวล ความหวาดระแวง อารมณ์เหล่านี้จะฝังลึกอยู่ในจิตสำนึกและคอยรบกวนเราอยู่เสมอ ความกดดันทางจิตใจนี้เองจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกาย ลดต่ำลง ระบบการทำงานของอวัยวะแปรปรวน จนไม่ สามารถต้านทานเชื้อโรคร้ายต่างๆ และยังเป็นสาเหตุสำคัญก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งแพร่กระจายสู่โรคมะเร็งร้ายใน ที่สุด


สำหรับวิธีหรือเครื่องมือที่จะช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียดได้ นั้น สามารถทำได้โดยวิธีง่ายๆ 10 วิธี ได้แก่


1. การใช้ชีวิตให้ช้าลง ความเร่งรีบของชีวิตเป็นสาเหตุใหญ่ของความเครียดในปัจจุบัน ถ้าสามารถวางแผนตารางชีวิตได้เหมาะสม ความเร่งรีบและความเครียดจะลดลงตามไปด้วย


2. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำ เช่น เดินเร็ว, วิ่งเหยาะ, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ จะช่วยเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมอง สมองจะหลั่งฮอร์โมนความสุขให้จิตใจโปร่งเบาและสบาย


3. เข้านอนหัวค่ำตื่นแต่เช้าจะส่งผลให้จิตใจและสมองสดชื่นแจ่มใส


4. ฝึกหายใจลึกและช้า อัตราการหายใจไม่เกิน 10 ครั้งต่อนาที จะช่วยจิตผ่อนคลายได้มาก


5. ฝึกชี่กง ไทเก็ก โยคะ จิตใจจะจับจ้องจดจ่อสอดคล้องกับช่วงจังหวะการหายใจ ทำให้จิตใจสงบนิ่ง


6. ฝึกยิ้ม หัวเราะ การมีอารมณ์ขันจะช่วยให้เรามีอารมณ์ดี


7. ฝึกสมาธิช่วย ให้จิตสงบ คลื่นสมองจะช้าลงและมีระเบียบมากขึ้น


8. การใช้ศิลปะบำบัด เช่น ร้องเพลง, เล่นดนตรี ฯลฯ ทำให้่จิตใจผ่อนคลาย


9. รับพลังธรรมชาติ ไปสัมผัสแสงแดดและธรรมชาติ เติมพลังทั้งใจและกาย


วิธีสุดท้ายที่ 10. สวดมนต์ อธิษฐานจิต จะเป็นพลังจิตที่ช่วยให้เราสงบ เย็น และเป็นสุข.





 

Create Date : 30 กันยายน 2553    
Last Update : 30 กันยายน 2553 10:51:20 น.
Counter : 349 Pageviews.  

=> การจัดการกับความกดดัน‏

นักพูดท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ในการพูดของเขาครั้งหนึ่งถึงเรื่อง

“ การจัดการกับความกดดัน ”

เขาได้ยกน้ำขึ้นมาหนึ่งแก้วแล้วถามผู้ฟังว่า

คุณคิดว่าแก้วนี้น่ะหนักมั๊ย ?


มันก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณถือมันนานแค่ไหน

ก็ถ้าคุณถือแค่ซักนาทีนึง ... มันก็ยัง OK นะ

ถ้าคุณถือจนชั่วโมงนึง ... นั่นก็จะทำให้ปวดแขนได้

แต่ถ้าถือไว้ซักวันนึงล่ะ ... ที่นี้คุณจะต้องเรียกรถพยาบาลแน่ๆ


มันก็น้ำหนักเท่าเดิมแหละนะ ..

แต่ว่ายิ่งคุณถือไว้นานเท่าไหร่ มันก็ยิ่งหนักขึ้นเท่านั้น

ถ้าคุณแบกภาระนั้นไว้ตลอดเวลา

ไม่ช้าก็เร็ว คุณก็จะไม่สามารถที่จะแบกรับมันได้อีก

แม้มันจะหนักเท่าเดิมก็ตาม


สิ่งที่คุณควรทำก็คือ วางแก้วลง...

ผ่อนคลายซักครู่ แล้วค่อยถือมันอีกครั้ง


เราต้องปล่อยวางภาระต่างๆบ้าง แล้วเราจะได้รู้สึกสดชื่นขึ้น

เพื่อที่จะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้


เมื่อกลับบ้านแล้ว จงวางภาระต่างๆ ที่ๆ ทำงานไว้

อย่าแบกภาระนั้นกลับไปด้วย

เพราะยังไงก็ตาม คุณก็สามารถจะแบกมันได้อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น

พัก และ ผ่อนคลายเสียบ้าง …






 

Create Date : 20 กันยายน 2553    
Last Update : 20 กันยายน 2553 17:23:02 น.
Counter : 339 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

amaridar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add amaridar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.