ออกญาเสนาภิมุขหรือชื่อจริงว่ายามาดะ นิซาเอมอง นางามาสะ เป็นมีฐานะเป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ควบคุมทหารชาวญี่ปุ่นอยู่ในบังคับบัญชาและเป็นผู้ปกครองของชุมชนชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุทธยาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๑๖๐ ถึง ๒๑๗๒ นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นคนกลางในการติดต่อเจรจาทางการทูตระหว่างกรุงศรีอยุทธยากับรัฐบาลเอโดะอีกด้วย
แต่สัณนิษฐานว่าสถานะของทหารอาสาญี่ปุ่นในตอนนั้นไม่น่าจะเป็นที่ไ้ว้วางใจต่อชนชั้นปกครองในขณะนั้น(โดยเฉพาะออกญากลาโหมสุริยวงศ์) ทหารญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นนักรบที่แข็งแกร่งและในอดีตก็เคยก็กบฏบุกถึงองค์พระมหากษัตริย์ได้ด้วยจำนวนเพียง ๒๘๐ คน ด้วยเหตุนี้ทหารญี่ปุ่นจึงค่อนข้างเป็นที่น่าหวั่นเกรงอยู่ ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อมีออกญาเสนาภิมุขเป็นผู้นำอยู่ซึ่งในเอกสารของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต หัวหน้าสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา(VOC) ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองมักจะให้ภาพของออกญาเสนาภิมุขว่าเป็นคนที่จงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ แม้จะร่วมมือกับเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์หลายครั้งแต่ก็เป็นคนที่มีจุดยืนและทำความต้องการของตนเองและพร้อมจะขัดใจเจ้าพระยากลาโหมอยู่บ่อยครั้ง
ตัวอย่างเช่นตอนออกญาศรีวรวงศ์(เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์)จับขุนนางที่เป็นแกนนำสนับสนุนพระศรีสิงห์(Pra Sijsingh)ไปประหารชีวิต ออกญาเสนาภิมุขซึ่งอยู่ข้างออกญาศรีวรวงศ์ก็ได้ช่วยเหลือออกพระศรีเนาวรัตน์(Opra sirsijancrat)กับออกพระจุฬา(Opra tjula)ซึ่งเป็นแกนำด้วยการเอาตัวไปบังตอนเพชฌฆาตจะลงดาบและยื่นคำร้องให้ออกญาศรีวรวงศ์ไว้ชีวิตคนทั้งสอง
ต่อมาเมื่อครั้งเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์โค่นล้มสมเด็จพระเชษฐาธิราช(ซึ่งมีทหารอาสาญี่ปุ่นร่วมด้วยจึงสัณนิษฐานว่าออกญาเสนาภิมุขร่วมก่อการด้วย) ออกญาเสนาภิมุขไำด้กล่าวทิ้งท้ายกับเจ้าพระยากลาโหมไว้ว่า ตนเองจะไม่ยอมให้ใครได้ราชบัลลังก์ไปนอกจากสายพระโลหิตของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเท่านั้น ราวกับจะเป็นการเตือนออกญากลาโหมสุริยวงศ์ว่า 'อย่ากล้าแย่งชิงราชสมบัติ'
และล่าสุดเป็นตอนที่ออกญากำแพงถูกประหารชีวิตด้วยฝีมือเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ในข้อหากบฏ ซึ่งออกญากำแพงก็แสดงอาการที่ส่อว่าต้องการชิงราชสมบัติอยู่เหมือนกัน
กรณีออกญากำแพง
ในวันนั้นออกญาเสนาภิมุขไม่ได้อยู่ในพระราชวัง และมาทราบข่าวในภายหลังจึงไม่พอใจเป็นอย่างมาก ออกญาเสนาภิมุขได้เอาศพของออกญากำแพงที่ถูกแขวนประจานอยู่ลงมาและนำไปฝัง(ที่ฝังคงเพราะเป็นมุสลิม) และได้หลั่งน้ำตาให้กับ'มิตร'คนนี้ของตนเองด้วย(สังเกตว่าออกญาเสนาภิมุขค่อนข้างจะมีความสัมพันธ์กับคนมุสลิม ดูจากออกพระศรีเนาวรัตน์กับออกพระจุฬาก็เป็นมุสลิม) ฟาน ฟลีตอธิบายว่าการกระทำของออกญาเสนาภิมุขเป็นเพราะความสงสารเห็นใจ อย่างไรเสียเรื่องนี้ก็ไม่พ้นสายตาของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ไปได้
ตามหลักฐานของฟาน ฟลีตที่กล่าวๆมาแล้ว พอเห็นได้ว่าออกญาเสนาภิมุขเป็นคนที่ไม่ค่อยปิดบังความรู้สึกของตนเอง ซึ่งทำให้ตนเองเป็นคนที่สามารถอ่านออกได้ง่ายและทำให้ตกเป็นเป้าความหวาดดระแวงของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ซึ่งเกรงว่าออกญาเสนาภิมุขจะใช้กำลังของตนก่อการที่อาจจะเป็นการคุกคามก็ได้(เช่นการบุกวังหลวงอย่างที่ญี่ปุ่นเคยทำมาก่อน) และเจ้าพระยากลาโหมก็กลัวว่าออกญาเสนาภิมุขจะล้างแค้นให้ออกญากำแพงด้วย
ส่วนออกญาเสนาภิมุขซึ่งไม่ได้รู้ว่าออกญากำแพงตายเพราะเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ แต่ถึงจุดนี้ก็เริ่มระแวงเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ว่าทำไมเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ไม่พยายามกราบทูลยับยั้งการประหารและทำไมถึงไม่ติดต่อตนซึ่งไม่อยู่ตอนนั้นเพื่อที่ตนอาจจะทูลแก้ต่างให้ออกญากำแพงได้ แต่เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่ผ่านๆมา สัณนิษฐานว่าออกญาเสนาภิมุขก็น่าจะเข้าใจได้ว่าเรื่องทั้งหมดเป็นเพราะเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
ด้วยเหตุนี้ออกญาเสนาภิมุขจึงไม่เข้าพระราชวังเพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์นั้นพยายามไปพบออกญาเสนาภิมุขที่บ้านเพื่อที่จะได้อธิบายแก้ต่างให้ตนเองเรื่องออกญากำแพง รวมไปถึงบอกถึงความยากลำบากในภาระหน้าที่ๆตนได้รับ แต่ออกญาเสนาภิมุขให้คำตอบด้วยการปิดประตูบ้านไม่ต้อนรับ
กรณีเรือฮอลันดา
เรือยอร์ชของ VOC
ภาพจากห้องโถงของ VOC ในเมืองรอตเทอร์ดาม
ในเวลานั้นชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ เซบอลต์ วอนเดอเรียร์(Sebalt Wonderaer) พ่อค้าอิสระซึ่งเป็นกัปตันเรือยอร์ชเพิร์ล(Pearl) ภายหลังได้เป็นผู้เก็บผลประโยชน์รายได้ของบริษัทอินเดียตะวันออก(VOC)ที่เมืองปัตตาเวีย ได้เดินทางมาที่กรุงศรีอยุทธยา ทำให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์กังวลว่าออกญาเสนาภิมุขอาจจะร่วมมือกับชาวฮอลันดาเพื่อแก้แค้นให้ออกญากำแพงและอาจเป็นภัยคุคามได้
เพื่อเป็นการกันไว้ก่อน เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงให้ออกญาพระคลัง(Oija Barckelangh)ซึ่ง
เป็นเสนาบดีกรมท่าให้ไปติดต่อกับกัปตัน กล่าวว่าด้วยสภาวะไม่สงบในบ้านเมืองตอนนี้วอนเดอเรียร์ควรยุ่งแค่เรื่องการดูแลเรือของตนและไม่ควรยุ่งเกี่ยวหรือรวมกลุ่มกำลังกับใคร นอกจากนี้ยังได้มอบดาบทองจากพระคลังหลวงให้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงความไว้เนื้อเชื่อใจของสมเด็จพระอาทิตยวงศ์และเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ในตัววอนเดอเรียร์
อีกด้านหนึ่ง เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็ปล่อยข่าวลือออกไปว่า ออกญาเสนาภิมุขกับชาวญี่ปุ่นจะสมคบคิดกับชาวฮอลันดาเพื่อวางแผนร้ายทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่วในหมู่ขุนนาง แต่ฟาน ฟลีตกล่าวว่าทั้งหมดนี้ ออกญากลาโหมสุริยวงศ์มีจุดประสงค์ที่แท้จริงคือต้องการจะพบกับออกญาเสนาภิมุขเท่านั้น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ออกญาเสนาภิมุขถูกเพ่งเล็งและเป็นที่หวาดระแวงอย่างมาก ทางราชสำนักได้เรียกให้ออกญาเสนาภิมุขเข้าพระราชวังหลวง แต่ออกญาเสนาภิมุขอ้างว่าป่วยไม่ยอมเข้าวัง ออกญากลาโหมสุริยวงศ์ซึ่งทราบในสถานะอันลำบากของออกญาเสนาภิมุขตอนนี้ ด้วยเหตุนี้จึงไปหาออกญาเสนาภิมุขที่บ้านเป็นครั้งที่สอง ออกญาเสนาภิมุขซึ่งกำลังนั่งไม่ติดอยู่ในตอนนี้จึงเปิดประตูบ้านให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
ด้วยวาทศิลป์อันเหนือชั้นของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ทำให้ออกญาเสนาภิมุขเลิกกังขาในตัวเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ และนอกจากนี้ออกญากลาโหมสุริยวงศ์ยังกล่าวด้วยว่าออกญาเสนาภิมุขจะได้ก้าวหน้าได้ตำแหน่งระดับสูงในราชการ ด้วยเหตุทั้งสองคนได้กลับมามีมิตรภาพต่อกันและสาบานว่าจะคอยช่วยเหลือกัน ไม่ขัดขวางกัน
เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์กลับมาเป็นที่เชื่อใจของออกญาเสนาภิมุข ซึ่งเป็นไปตามหมากที่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เดินไว้ รอเมื่อถึงเวลาอันสมควรออกญาเสนาภิมุขก็จะถูกเขี่ยออกไปจากกระดาน