"True success is not the learning, but in its application to the benefit of mankind"
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
เมษายน 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
27 เมษายน 2555

ปีพระราชสมภพของพระเจ้าเสือ



สำหรับผู้ศึกษาพระพงศาวดารไทยจะทราบกันโดยทั่วไปว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์กับพระธิดาของกษัตริย์เชียงใหม่(พระแสนเมือง) ซึ่งทรงได้มาเป็นชายาลับๆในขณะที่ทรงตีเมืองเชียงใหม่แตก ต่อมาระหว่างเสด็จกลับนางมีครรภ์จึงทรงยกนางให้ออกพระเพทราชา ในจุลศักราช ๑๐๒๔ ปีขาล (พ.ศ.๒๒๐๕) นางได้คลอดบุตรชายระหว่างที่ตามเสด็จสมเด็จพระนารายณ์ไปพิษณุโลก พระเพทราชาชื่อว่าเดื่อ ต่อมาก็คือพระเจ้าเสือ

เนื้อหาตอนนี้มีเขียนครั้งแรกในพระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน(ชำระสมัย ร.๑) พร้อมกับเรื่องราวอีกหลายเรื่อง(ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างพิสดาร)ที่ถูกเขียนแทรกขึ้นมาจากพงศาวดารฉบับที่เก่ากว่าคือฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)(ชำระพ.ศ.๒๓๓๘ สมัย ร.๑ )ซึ่งความสมัยสมเด็จพระนารายณ์ขาดไป ๒ เล่มสมุดไทย จากนั้นพงศาวดารทุกฉบับที่ชำระต่อๆมาจะเขียนไปในทางเดียวกันหมดคือรับเรื่องที่ถูกเพิ่มมาไว้ด้วย

แต่เรื่องที่ถูกเพิ่มขึ้นมาส่วนใหญ่มีความน่าเชื่อถือน้อย เป็นการเล่าเรื่องยาวๆโดยไม่มีศักราชบ้าง มีอภินิหารมากบ้าง มีบทสนทนามาก เน้นตัวบุคคลที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์บ้าง ผิดกับพระราชพงศาวดารตอนอื่นๆซึ่งเป็นของเดิมจะเน้นการบรรยายเหตุการณ์เป็นหลัก 

เรื่องพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับก็เช่นเดียวกัน ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด)ซึ่งข้อความสมัยสมเด็จพระนารายณ์น่าจะเป็นของเดิมสมัยกรุงศรีอยุทธยากับพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) ไม่บอกถึงความเป็นโอรสลับและปีพระราชสมภพทั้งสองฉบับ

เรื่องความเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์มีกล่าวอยู่ในเอกสารคำให้การเชลยไทยสมัยเสียกรุงครั้งที่สอง แต่กล่าวว่าพระมารดาคือนางกุสาวดีหรือเจาจอมสมบุญ ไม่มีการกล่าวว่าพระมารดาเป็นชาวเชียงใหม่(หลักฐานยุโรปที่อยู่ร่วมสมัยมักลือกันว่าพระปีย์เป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ ไม่ใช่พระเจ้าเสือซึ่งพระเจ้าเสือในตอนนั้นก็มีชาวตะวันตกรู้จักอยู่แต่ไม่มีการกล่าวถึงเลย ความน่าเชื่อเรื่องความเป็นโอรสลับของพระเจ้าเสือจึงมีน้อย)


ปีพระราชสมภพ
ตั้งแต่พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน รวมถึงฉบับที่ชำระที่ชำระต่อๆมาจนฉบับสุดท้าย พยายามกล่าวตลอดว่าพระเจ้าเสือพระราชสมภพในปีขาล จ.ศ.๑๐๒๔(พ.ศ.๒๒๐๕) ซึ่งเป็นปีที่ตีเชียงใหม่ได้ แต่ว่าในมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่าได้ให้วันที่กรุงศรีอยุทธยาตีเมืองเชียงใหม่คือวันจันทร์ แรม ๔ เดือน ๔ จ.ศ.๑๐๒๔ 

เดือน ๔ จัดเป็นปลายปีแล้ว ถึงเดือน ๕ ต้องเปลี่ยนศักราช จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่จะตั้งครรภ์และคลอดให้ทันในศักราช ๑๐๒๔ 

แต่มีหลักฐานที่ร่วมสมัยพระเจ้าเสืออยู่คือบันทึกของเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์(Engelbert Kaempfer) นายแพทย์เยอรมันที่ตามคณะทูตของ VOC เข้ามาในกรุงศรีอยุทธยาในพ.ศ. ๒๑๓๓ สมัยสมเด็จพระเพทราชา ซึ่งเวลานั้นพระเจ้าเสือดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ระบุว่าเวลานั้นพระเจ้าเสือมีพระชนม์ได้ ๒๐ พรรษาลองหักลบแบบหยาบๆจะได้ประมาณ  พ.ศ.๒๒๑๓

Engelbert Kaempfer
หมอแกมป์เฟอร์(Engelbert Kaempfer)

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปีพระราชสมภพอื่นๆอีกคือพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงษ์(จาด)กล่าวว่าทรงได้เป็นกรมพระราชวังบวรฯ(พ.ศ.๒๒๓๑)เมื่อพระชนม์ ๒๗ พรรษา กับคำให้การชาวกรุงเก่าซึ่งปีศักราชผิดจึงยากจะนำมาวิเคราะห์


หลักฐานที่ไม่บอกปีพระราชสมภพ


วัดโพธิ์ประทับช้าง พระเจ้าเสือทรงสร้างในสถานที่พระราชสมภพ

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด) น่าเชื่อว่าความสมัยสมเด็จพระนารายณ์ลงมาจนจบน่าจะเป็นความเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ยังน่าสงสัยเพราะมีข้อผิดพลาดคือระบุปีการเกิดเหตุการณ์บางเหตุการณ์เช่น ปีเกิดกบฏธรรมเถียรบอกขัดแย้งกับบันทึกของแกมป์เฟอร์ที่อยู่ร่วมสมัย แต่ก็มีข้อความสมัยพระเจ้าเสือตอนหนึ่งที่น่าสนใจและแตกต่างกับฉบับอื่นๆที่ชำระภายหลังคือ
“ลุศักราช ๑๐๖๗ ปีระกาสัปตศก พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป ณ เมืองพระพิษณุโลกถึงที่โพทับช้าง มีพระโองการตรัสว่า สมเด็จพระนารายเป็นเจ้า เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปตีเมืองล้านช้างสมเด็จพระมารดาทรงพระครรภ์แก่ เสด็จมาส่งตั้งจวนใต้ต้นมะเดื่อประสูติกู....”

พงศาวดารสมัยหลังที่ยึดกันเป็นกระแสหลักกล่าวเหตุการณ์คือหลังจากตีเชียงใหม่ได้ ธิดาพระเจ้าเชียงใหม่ตั้งครรภ์ ยกนางให้พระเพทราชา ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์จะเสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก นางเกิดคลอดโอรสที่โพธิ์ประทับช้าง แต่ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด)กลับกล่าวว่าคลอดเมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จไปตีล้านช้าง ขัดแย้งกัน


ศึกล้านช้าง
ในหลักฐานของไทยไม่เคยมีการกล่าวว่าสมเด็จพระนารายณ์ยกไปตีล้านช้าง แต่พบในหลักฐานฮอลันดาว่าใน กลาง พ.ศ.๒๒๑๑ มีการเตรียมทัพไปตีล้านช้างแต่ล้มเลิกไป ต่อมาใน พ.ศ.๒๒๑๓ จึงมีการกำหนดทำสงครามกับล้านช้างอีกครั้ง แล้วจึงเกิดสงครามใหญ่ในช่วง พ.ศ.๒๒๑๔-๒๒๑๖ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ 

เมื่อเทียบปีที่เกิดสงครามกับล้านช้างกับปีพระราชสมภพของพระเจ้าเสือที่หักลบแบบหยาบๆจากบันทึกของแกมป์เฟอร์พบว่ามีความใกล้เคียงกันมาก จึงมีความเป็นไปได้มากที่พระเจ้าเสือจะพระราชสมภพในช่วงสงครามล้านช้างมากกว่าใน พ.ศ.๒๒๐๕ ปีพระราชสมภพที่น่าจะเป็นไปได้น่าจะเป็นประมาณ พ.ศ.๒๒๑๓-๒๒๑๔ เพราะหลักฐานค่อนข้างมีความสอดคล้องกัน

นอกจากนี้เรื่องที่สมเด็จพระนารายณ์ได้ธิดาพระแสนเมืองมาเป็นชายาลับๆยังไม่มีหลักฐานอื่นนอกจากพระราชพงศาวดารของไทยที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ เรื่องนี้จึงต้องพิจารณากันต่อไป


สมเด็จพระเจ้าเสือกับพระองค์รัตนาสนมเอก 
จากภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องพันท้ายนรสิงห์





 

Create Date : 27 เมษายน 2555
1 comments
Last Update : 27 เมษายน 2555 19:33:16 น.
Counter : 12271 Pageviews.

 

หลายเรื่องหากมีหลักฐาน

ก็น่าจะนำมารวบรวมชำระใหม่ได้แล้วนะคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 2 พฤศจิกายน 2555 14:50:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ศรีสรรเพชญ์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ศรีสรรเพชญ์'s blog to your web]