|
Logical Communication..สื่อสารอย่างมีตรรกะ ชนะ (ใจ) ทุกสถานการณ์

Logical Communication สื่อสารอย่างมีตรรกะ ชนะ (ใจ) ทุกสถานการณ์ โดย...Nishimura Katsumi / Kaya Koichiro แปล..ประวัติ เพียรเจริญ ISBN...978-974-443-357-2 ดูปกชัด ๆ click
ไม่พูดพร่ำทำเพลง ไหน ๆ ก็ใกล้งานหนังสือละ ก็เลยอัพให้บล็อกคึกคักหน่อย เพื่อน ๆ อย่าลืมแวะเวียนมาดูกันนะคะ
บ.ก. ขอบอกเลยว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับ ทุกคน ที่
วิตกกังวล ว่าตัวเองเป็นคนพูดไม่เก่ง กังวลใจ เมื่อต้องติดต่องานกับคนอื่น ประหม่า เมื่อต้องพูดคุยกับคนที่พบกันครั้งแรก หงุดหงิด เวลาที่ต้องแสดงความเห็นในที่ประชุม เหนื่อยใจ เวลาต้องโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อ มั่นใจ เวลาสื่อสาร แต่อยากรู้เทคนิคและแทคติกมากขึ้น
(จริง ๆ ก็เอามาจากโปรยปกนี่แหละ )
และถ้าอ่านแล้วก็จะ สื่อสารได้อย่างสนุกสนาน และเป็น ผู้ถาม-ผู้ตอบ ที่มีศักยภาพ (สูง) ในทุกสถานการณ์ (นี่ก็โปรยปกอีก )
ก็อย่างที่ว่าค่ะ Logical Communication สื่อสารอย่างมีตรรกะ ชนะ (ใจ) ทุกสถานการณ์ เน้นที่การสื่อสาร และต้องเป็นการสื่อสาร 2 ทางด้วยนะคะ คือ ต้องมีการถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ไม่ใช่ว่าสื่อสารทางเดียว พูดอยู่คนเดียว ใครไม่รู้เรื่องก็ช่วยไม่ได้ ขอแค่ฉันได้แสดงความคิดเห็นแค่นั้นเป็นพอ!! คิดอย่างนี้ไม่ได้นะคะ ยิ่งในโลกธุรกิจ ไม่ว่าจะในองค์กรหรือนอกองค์กร การสื่อสารก็ยิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้เข้าใจความคิดของกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลใหม่ ๆ หรือบางครั้งอาจจะได้ไอเดียอะไรใหม่ ๆ โดยไม่รู้ตัว
พูดถึงคำว่า Logical Communication ก็คือ การสื่อสารอย่างมีตรรกะ (ตรงตัวได้อีก) เป็นเหตุเป็นผล และสอดคล้องกลมกลืนกัน
ถ้าจะพูดให้เห็นภาพหน่อย ก็คือถ้าเป็นการพูดแบบลอจิคอล คือ การพูดเป็นลำดับ สอดคล้อง เป็นเหตุเป็นผล ไม่สะเปะสะปะไปทางนู้นทีทางนี้ที นึกอะไรได้ก็พูดออกมาหมด
ส่วนถ้าเป็นการฟังแบบลอจิคอล ก็คือ การฟังให้ได้ความ โดยใช้เทคนิค 1.ถามเมื่อไม่เข้าใจ 2.สรุปเรื่องที่ฟังเป็นข้อ ๆ และ 3.พยายามรวบรวมคีย์เวิร์ดสำคัญ ๆ จะได้รู้ว่าอีกฝ่ายต้องการสื่ออะไรให้ชัดเจน
ถ้าสามารถทั้งพูดและฟังแบบลอจิคอลได้ คราวนี้ถ้าได้พูดคุยกับใครก็จะได้ไม่ถูกว่าว่า “เอ๊ะ! อะไรเนี่ย พูดไม่เข้าใจรึไง” “พูดไรเนี่ยไม่รู้เรื่องเลย” “อ้าว เมื่อกี้ไม่ได้ฟังเหรอ” กันสักที 
ในหนังสือส่วนใหญ่ก็จะมี ตัวอย่างการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ มาให้ดูกันค่ะ ว่าถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ หรือถ้ามีเป้าหมายอย่างนี้ควรจะพูดหรือถามยังไงดี
เรื่องรายละเอียดใครสนใจคงต้องไปอ่านดูนะคะ พูดเป็นหลักการมากไปเดี๋ยวจะเบื่อซะก่อนตอนนี้ บ.ก.มีตัวอย่างทริกเล็กน้อย ๆ จากหนังสือมาฝากค่ะ (ขอบอกว่า บ.ก.ชอบบทนี้มาก) ในบทที่ 5 จะมีตัวอย่างสไตล์การสื่อสารลักษณะต่าง ๆ อ่านแล้วก็ลองนึกดูนะคะว่า เราเป็นคนสื่อสารสไตล์ไหน เช่น
-สไตล์ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา ที่ดูเหมือนฟังแต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ฟังเลย -สไตล์เผด็จการ ที่ได้ยินเฉพาะความเห็นที่เหมือนกับของตน -สไตล์เอาแต่ก้มหน้า ไม่ยอมออกความคิดเห็น -สไตล์ Mr. YES ที่พยักหน้าเห็นด้วยตลอดดดดดด -สไตล์พนักงานร้านขายเสื้อผ้า ที่เอาแต่ชมๆๆ และชม -สไตล์ถามคำตอบคำ ที่มักจะทำให้การพุดคุยติดขัด
เป็นไงคะ เพื่อน ๆ สื่อสารกันสไตล์ไหน แต่ก็นะ เลือกแล้วก็ไม่ต้องภูมิอกภูมิใจ เพราะว่านี่น่ะถือว่าเป็น ปัญหาในการสื่อสาร ค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะผู้เขียนมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้สื่อสารกับคนอื่นได้ดีขึ้น
อย่างคนที่ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา ก้อแนะนำว่า ให้มองหน้าคู่สนทนาเวลาฟังเรื่องที่เขาพูด พวกที่ชอบเผด็จการ ก็หัดเติมประโยค “...แล้วคุณคิดว่ายังไงบ้าง” ลงไปท้ายประโยคบ้าง คนที่เอาแต่ก้มหน้าก้มตา ก็ไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะยอมรับไหม ขอแค่รวบรวมความคิด แล้วพูดออกมาให้เป็นเหตุเป็นผลก็พอ คนที่ชมๆๆ อย่างเดียว ก็ให้หัดพูดข้อเสียของอะไรก็ได้วันละ 1 ข้อ ฯลฯ
อ่านจบเล่มแล้วก็รู้สึกว่าเทคนิคเรื่องการสื่อสารที่เยอะจริง ๆ แต่เรื่องแบบนี้อ่านอย่างเดียวคงไม่ได้ประโยชน์สักเท่าไร ต้องลงมือทำด้วยนะคะ ถึงจะได้ผลตามสโลแกน “อ่านรอบเดียวก็เข้าใจ นำไปใช้จริงได้ทันที”
Create Date : 05 มีนาคม 2552 |
Last Update : 22 กันยายน 2552 14:50:20 น. |
|
2 comments
|
Counter : 3297 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: hiroko วันที่: 8 มีนาคม 2552 เวลา:22:30:49 น. |
|
|
|
โดย: นก IP: 124.121.235.118 วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:47:25 น. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]

|
สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สรรค์สร้างสาระสู่สังคม มุ่งมั่นผลิตตำราวิชาการและหนังสือเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ การบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร สำหรับภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม
|
|
|
|
|
|
|