bloggang.com mainmenu search
6 มกราคม 2555 : คุยกันเล่น #21 พลุซ้อมมือ (ถ่ายภาพจากอาคารสูง)

พลุซ้อมมือ พลุชุดนี้ที่จริงควรนำมาให้ชมกันก่อนภาพจริงๆ ที่ถ่ายภาพมาเมื่อค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2554
แต่หาวันลงก่อนไม่ได้ เลยมาลงให้ชมกันแบบภาพซ้อมมือ และภาพจริงๆ ที่เลือกมาลงให้ชมกันอีกทีครับ


ค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ไม่มีโอกาสไปถ่ายภาพพลุตามสถานที่จัดงาน Count Down กัน รวมถึงที่งานราชพฤกษ์ 2554 นี้ด้วย

ค่ำคืนวันที่ 27 ธันวาคมนี้ เลยได้มาลองซ้อมมือกับการถ่ายภาพพลุจากอาคารสถานที่ทำงาน
และได้เลือกตำแหน่งถ่ายภาพพลุจากสถานที่จัดงานราชพฤกษ์ แบบซ้อมมือกันมาก่อน

ที่จริงก็เคยขึ้นมาถ่ายภาพบนอาคารสูงของสถานที่ทำงานกันมาครั้งหนึ่งแล้ว
ครั้งก่อนหน้านั้นดูไม่ค่อยจะประทับใจสักเท่าไร
ดูเหมือนจะเตรียมช่วงเลนส์มาผิดไปด้วย และก็คงบวกกับมุมถ่ายภาพที่ไม่ค่อยจะ work สักเท่าไร เพราะยังมีอาคารด้านหน้ามาบดบังภาพตัวอาคารบ้านเรือน แสงสียามค่ำคืนของในตัวเมืองเชียงใหม่อยู่ ครั้งนั้นเลยไม่ได้ภาพประทับใจสักเท่าไร



กับการถ่ายภาพครั้งนี้ มีเรื่องที่อยากทดสอบ 2-3 เรื่องด้วยกัน
1. ช่วงเลนส์ควรเตรียมใช้ช่วงไหนดี จำเป็นต้องซูมกันสุดๆ กับสถานที่ไกลๆ หรือเปล่า
2. จำเป็นแค่ไหนกับการตั้งค่า ISO สูงๆ เพื่อต้องเผื่อค่าแสงของฉากหน้าที่อาจจะมืดๆ
3. จำเป็นแค่ไหนที่อาจต้องลดค่า F ลงมา เพราะอาจจะต้องถ่ายภาพพลุแตกตัวในเวลาที่น้อยลงกว่าเดิม (น้อยกว่า 4 วินาที)



เริ่มจากเรื่องช่วงเลนส์กันก่อนเลย
สถานที่ถ่ายภาพกับจุดที่พลุยิงขึ้น ครั้งนี้ดูว่าจะถ่ายภาพกันไกลๆ มากพอสมควร
จากสถานที่ทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ ไปยังสถานที่จัดงานราชพฤกษ์ (น่าจะหลายกิโลเมตรอยู่ (10 กิโลเมตรหรือกว่านี้นิดหน่อย)

ครั้งนี้ไม่คิดอะไรมาก รู้ว่ามีเลนส์ช่วงเทเล ไกลสุดที่ 300 มม. ขอหยิบติดกล้องออกไปตัวเดียว

เดินมองหาตำแหน่งที่พลุจะขึ้นมา ว่าควรตั้งขาตั้งกล้องหันไปยังตำแหน่งไหนดี
แล้วก็เห็นเจ้ากระเช้าราชพฤกษ์ลอยฟ้า กลมๆ วงรี เป็นสีๆ เห็นได้จากตาเปล่า แบบไกลๆ
ตอนนี้ซูมมาสุดๆ ที่ 300 มม. และเล็งกันไว้ที่เจ้ากระเช้าราชพฤกษ์ลอยฟ้านี่ล่ะ (แต่ก็ภาพมาแบบโฟกัสไม่ตรง เบลอๆ ซะงั้น)
วางภาพแบบปล่อยส่วนบนให้สูงกว่าตัวกระเช้าราชพฤกษ์ลอยฟ้าอยู่พอประมาณ
เพราะเล็งๆ ไว้กับภาพที่ถ่ายภาพภายในงานราชพฤกษ์ ดูว่าพลุไม่สูงกันมากมาย

แต่พอเริ่มเห็นภาพพลุมาจากไกลๆ ที่วางซูมไว้ที่ 300 มม. มันดูแคบเกินไป
เพราะพลุแตกตัวลูกใหญ่โต แบบแน่าแปลกใจ
สุดท้ายแล้วถ่ายภาพกันที่ช่วงเลนส์ 250 มม.

ดูจากภาพนี้แล้วหากถ่ายภาพมาที่มีการจุดพลุบริเวณหลังหอคำหลวง
ซึ่งอาจจะเป็นพลุขนาดใหญ่กว่า อลังการกว่า สงสัยจะได้ลดช่วงเลนส์ลงมาอีกสักหน่อยแล้ว
อาจได้เตรียมเลนส์ 70-200 มม. ไปแทนแล้วล่ะ



ในเรื่อง ISO ที่คิดไปก่อนการถ่ายภาพและปรับตั้งไปล่วงหน้าไว้ด้วย
เป็นเรื่องที่คาดเดาไปเองว่า หากเจอฉากหน้าที่มืดๆ แสงน้อยๆ หรือไม่มีฉากหน้าที่สำคัญๆ อะไร
การปรับตั้ง ISO น้อยๆ เช่น 100 หรือ 200 อาจจะทำให้ถ่ายภาพได้ฉากหน้ามาแบบมืดๆ

ครั้งนี้เลยแอบปรับไปถึง 800 แบบล่วงหน้าไว้ก่อนเลย
แต่พอเจอภาพแรกที่่ถ่ายภาพมาแล้วได้แสง over มากมาย
เลยรีบปรับลดแบบมั่วๆ เร็วๆ ลดมาเหลือที่ ISO 200 เหมือนตามสูตรการถ่ายภาพพลุแบบทั่วๆ ไป



ประเด็นเรื่องการปรับค่า F เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกันกับค่า ISO
ที่เป็นเรื่องที่ตัวเองห่วงๆ ว่าฉากหน้าจะมืดมากไปหรือเปล่า
เลยเลือกปรับ F กว้างกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา จากที่เคยปรับล่วงหน้าไว้ F 11-16
ครั้งนี้เลือกปรับมาอยู่ที่ F 8



ภาพ set นี้ ดูว่ายังมีภาพเบลอๆ ของเส้นพลุ
เรื่องนี้ไม่มั่นใจนักว่าจะเป็นเพราะว่าใช้มือกดชัตเตอร์แช่เอาไว้ ระหว่างการถ่ายภาพพลุหรือเปล่า
เพราะครั้งนี้เลือกมาถ่ายภาพแบบลองๆ ซ้อมมือ ไม่ได้คิดจะถ่ายภาพอย่างจริงจัง
มาลองถ่ายภาพแบบเพื่อหาค่าการปรับถ่ายภาพไว้ล่วงหน้า
เพื่อจะได้เตรียมเลนส์ไปถูก
เพราะคิดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ wide ในการถ่ายภาพจากอาคารสูง และถ่ายภาพพลุจากระยะไกลๆ คงน่าจะใช้เลนส์ช่วง normal สำหรับพลุที่ดูว่าจะไม่ไกลมากนัก
ส่วนพลุจากมุมถ่ายภาพไปที่งานราชพฤกษ์ หรือ ถ่ายภาพไปที่สนามกีฬา 700 ปี คงจะเตรียมช่วง 70-200 มม. ไปแทน แต่ไม่รู้จะมีเวลาเปลี่ยนเลนส์ไปมาหรือเปล่า หากว่าจุดพลุในเวลาเดียวกันในช่วง countdown

ในเรื่องเวลาการถ่ายภาพพลุ ที่คาดไว้เองว่าจะถ่ายภาพพลุแบบช่วงเวลาสั้นๆ 1-2 วินาที เท่านั้น
จากภาพที่ถ่ายมาทั้งหมด มี 2 ภาพที่ถ่ายมาในช่วง 2 วินาที : 2 ภาพที่ถ่ายมาในช่วง 3 วินาที และ 1 ภาพที่เป็น 5 วินาที

สรุปจากการซ้อมมือครั้งนี้ คงกลับไปตั้งค่าการถ่ายภาพพลุแบบปกติได้เลย
แต่ที่น่าจะต้องเตรียมทำไว้ คือ หลบมุมไฟสปอตไลท์ของไฟถนน หรือ ไฟจากสถานที่บางแห่ง ซึ่งดูว่าเค้าอาจจะไม่ปิดไฟ เพื่อการถ่ายภาพพลุ เหมือนการถ่ายภาพภายในงานที่จัดแสดงการจุดพลุ มักจะปิดไฟในบริเวณงานกันด้วย

อีกชุดหนึ่งที่มาซ้อมมือถ่ายภาพพลุจากราชพฤกษ์ ด้วยมุมเดิมๆ แต่เปลี่ยนช่วงเลนส์ใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อจะได้ดูระยะเลนส์ที่ให้มั่นใจกันอีกครั้งหนึ่ง











++++++++++++=++++++++++++


จากภาพช่วงซ้อมมือที่ยังไม่มั่นใจในการตั้งค่าการถ่ายภาพพลุ ว่าเมื่อถ่ายภาพจากอาคารสูง และถ่ายภาพไกลๆ จากสถานที่จุดพลุ
ทำให้ตอนที่พลุขึ้นเราจะได้ยินเสียงของพลุที่เดินทางมาถึงจุดที่ถ่ายภาพอยู่นั้น จะได้ยินเสียงที่ช้ากว่าภายในงาน
ทำให้ไม่สามารถคาดจังหวะ หรือ ถ่ายภาพตามสูตรการถ่ายภาพพลุทั่วๆ ไป ที่บอกกันว่า เมื่อรู้ตำแหน่งการจุดพลุแล้ว พอได้ยินเสียงพลุ ก็ให้กดชัตเตอร์ไปได้เลย ....แต่เมื่ออยู่ไกลๆ ก็คงทำแบบนั้นไม่ได้

เรื่องการดูแสงของพลุตอนที่ถูกจุด สามารถพอสังเกตได้อยู่ครับ แต่เมื่ออยู่ไกลๆ ก็อาจจะพอเห็นกันได้ยากๆ อยู่ในการจุดพลุบางรูปแบบ

เอาเป็นว่าสรุปกันอีกทีว่าพอมาถ่ายภาพพลุจากอาคารสูงๆ ก็ใช้วิธีการถ่ายภาพหรือสูตรการถ่ายภาพพลุ ด้วยวิธีเดียวกันเลย

มาชมกันครับกับภาพจริงๆ ที่เลือกบางส่วนมาให้ชมกัน
เริ่มจากภาพพลุ 3 ภาพกับพลุของ Goodview ที่จุดกันแบบอลังการและชุดสุดท้ายเป็นพลูลูกใหญ่มากๆ ดีใจที่ยังพอเปลี่ยนเลนส์มาถ่ายภาพชุดนี้ทันอยู่







คราวนี้เลือกภาพในชุดรแรกๆ ที่ตั้งใจถ่ายภาพแบบให้เห็นพลุในหลายๆ จุด แบบที่ถูกจุดขึ้นพร้อมๆ กัน
โชคยังดีด้วยที่ตำแหน่งการถ่ายภาพพลุ ยังอยู่ใกล้ๆ กัน พอให้อยู่ในระนาบเดียวกันได้
เลยขอ crop ภาพมาให้ชมกันแบบพาโนรามาให้ชมกันครับ























ชมกันเป็นตัวอย่างแค่นี้ล่ะครับ กับพลุซ้อมมือที่ถ่ายภาพมาก่อนวันจริง และนำภาพพลุที่ถ่ายภาพในวันจริงๆ มาให้ชมกันด้วยครับ

ต้องถือว่าพอได้ซ้อมมือมาก่อนวันจริง ทำให้วันจริงดูไม่ตื่นเต้น ยังพอควบคุมการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี



สุดท้ายนี้แวะมาขอบคุณเพื่อนๆ ที่แวะมาชมภาพถ่ายที่ blog และมาทักทายกันที่ blog ด้วยครับ
Create Date :06 มกราคม 2555 Last Update :6 มกราคม 2555 6:35:13 น. Counter : Pageviews. Comments :10