Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
20 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 

ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องกลัวโลกหน้า


รูปภาพ

ผู้ไม่ได้ทำบุญกุศลไว้ย่อมกลัวโลกหน้า
ผู้ได้ทำบุญกุศลไว้ย่อมไม่กลัวโลกหน้า มีบุญเป็นที่พึ่งพำนัก


พระพุทธองค์ตรัสว่า

บุคคลตั้งวาจาใจไว้ชอบ มิได้ทำบาปด้วยกาย
อยู่ครองเรือนมีข้าวและน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้มีศรัทธา
อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่รู้ถ้อยคำ (ของผู้ขอความช่วยเหลือ)
ผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ๔ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ดำรงธรรม ไม่ต้องกลัวปรโลก(โลกหน้า)

(พระำไตรปิฎก เล่ม ๑๕ ข้อ ๒๐๗-๒๐๘)



:b44: :b39: :b39: :b44:


พระบาลี(พระพุทธพจน์)บางแห่งกล่าวถึงความเห็นที่เข้าข่าย มิจฉาทิฎฐิ หลายประการ
มีอยู่ประการหนึ่งว่า เห็นว่า โลกหน้าไม่มี - นตฺถิ ปรโลโก
เมื่อเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เขาย่อมไม่ปฏิบัตตนอันเป็นเหตุเกื้อกูลแก่ความเป็นอยู่ในโลกหน้า
เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาย่อมถอยห่างจากกุศลกรรม ไปคลุกคลีกับอกุศลกรรมย่อมเป็นไปได้มาก

ความกลัวในโลกหน้าในหมู่ชาวพุทธมีอยู่แทบทุกคนยกเว้นท่านผู้บำเพ็ญความดีเต็มที่แล้ว
ท่านเหล่านั้นก็จะอุ่นใจและมั่นใจว่า เมื่อตายแล้วตนไปสู่สุคติแน่นอนเพราะไม่ได้ทำชั่ว
แต่ถ้าอกุศลกรรมในชาติก่อนเกิดให้ผลก็อาจส่งผลให้ไปเกิดในอบายเหมือนกัน

ท่านผู้ที่มั่นใจได้แน่นอนต่อสัมปรายภพ
ก็คือ ท่านผู้บรรลุโลกุตตรธรรมแล้วตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
ท่านเป็นผู้ที่เข้าสู่กระแสพระนิพพานแล้ว (โสตาปนฺโน)
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺโม)
เป็นผู้มีคติแน่นอน (นิยโต) จะต้องได้บรรลุธรรมถึงที่สุดในภายภาคหน้า (สมฺโพธิปรายโน)

อบาย ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานปิดแล้วสำหรับท่าน
(จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต)

ท่านเหล่านั้น ไม่ทำ อภิฐาน ๖ (ฉ จาฉิฐานานิ อภพฺโพกาตํ) อีก
อภิฐาน แปลว่า เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้บรรลุธรรมแล้ว ได้แก่

๑.) ฆ่ามารดา
๒.) ฆ่าบิดา
๓.) ฆ่าพระอรหันต์
๔.) ทำพระโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ
๕.) ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๖.) การไปเข้ารีดนับถือศาสนาอื่น (อัญญสัตถุทเทส)

ที่แท้ คือ อนันตริยกรรม ๕ และเพิ่มอัญญสัตถุทเทสเข้ามาอีก ๑


ดังพุทธภาษิตว่า

ปฐพฺยา เอกรชฺเชน
สคฺคสฺส คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปจฺเจน
โสตาปตฺติผลํ วรํ

โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน
ประเสริฐกว่าการไปสวรรค์และกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง
(ขุททกนิกาย ธรรมบท)


เพราะความเป็นพระราชาก็ดี การได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ก็ดี
ความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวงก็ดีล้วนต้องทุกข์ไปตามชนิดของความเป็นนั้นๆ
และสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ อาจตกต่ำลงมาได้
แต่พระโสดาบันนั้นมีคติแน่นอน มีแต่สูงขึ้นไปและได้บรรลุธรรมแน่นอน
กิเลสตัวใดท่านละแล้วก็เป็นอันละขาด เหมือนกะทิเคี่ยวเป็นน้ำมันแล้วไม่กลับมาเป็นกะทิอีก
คุณธรรมของพระอริยเจ้ามีพระโสดาบัน เป็นต้นก็ฉันนั้น
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่ต้องกลัวปรโลก เพราะท่านมั่นใจว่า ท่านไปดีแน่นอน


คนเรายิ่งทำชั่วมากก็ยิ่งกลัวโลกหน้ามากขึ้นเท่านั้น
แม้อยู่ในโลกนี้ก็อยู่อย่างประหวั่นพรั่นพรึง
ไม่มั่นใจในตนเอง กลัวคนอื่นรู้ความชั่วของตน
กลัวความชั่วที่สะสมไว้จะให้ผลในวันใดวันหนึ่ง

ด้วยเหตุเหล่านี้ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า
ถ้าจะไม่ให้กลัวปรโลก บุคคลพึงตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ
ไม่ทำบาปด้วยกาย แม้จะอยู่ครองเรือนก็เป็นผู้มีศรัทธา เป็นคนอ่อนโยน
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้ถ้อยคำของผู้ขอความช่วยเหลือ
ผู้ตั้งอยู่ในคุณธรรมเช่นนี้ ไม่ต้องกลัวปรโลก

ดังจะขยายความเพื่อความเข้าใจ ดังนี้

๑.) การไม่ทำบาปด้วยกาย วาจา ใจ
ให้ตั้งกาย วาจา ใจ ไว้โดยชอบ เว้นการทุจริตอย่างสม่ำเสมอ

ทุจริตทางกาย คือ การเบียดเบียนโดยใช้กาย เช่น ฆ่าสัตว์ ผิดในกาม ปล้นจี้ทรัพย์ผู้อื่น กิริยาหยาบ ฯลฯ
ทุจริตทางวาจา คือ พูดเท็จ ยุยง เสียดสี คำหยาบ เพ้อเจ้อ พูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ฯลฯ
ทุจริตทางใจ คือ ละโมบ คิดอยากได้ของผู้อื่น เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นว่าบาปบุญไม่มี ฯลฯ

โดยเฉพาะทุจริตทางใจ คนส่วนใหญ่มักไม่ทันเห็นเพราะเป็นของละเอียด
ความคิดชั่วต่างๆเป็นทุจริตทางใจ (มโนทุจริต) ทั้งสิ้น
ความชั่วทางกาย วาจา ก็มาจากความชั่วทางใจก่อน
เมื่อระงับไว้ไม่ได้แล้วก็แสดงออกมาทางกาย วาจา
ถ้าใจสงบ กาย วาจา ก็พลอยสงบไปด้วย

ดังพุทธภาษิตว่า
สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
เมื่อใจของเขาสงบ วาจาและกายก็พลอยสงบไปด้วย





๒.) เป็นผู้ศรัทธา
คือ เชื่อกรรม (กัมมสัทธา) ผลของกรรม (วิปากสัทธา)
เชื่อความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน (กัมมัสสกตาสัทธา)
และเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสัทธา)

การเชื่อทั้ง ๔ อย่างนี้ จะทำให้เราตั้งการดำเนินชีวิตเอาไว้ในทางที่ดี
สามารถยังตัวเองไปสู่ความเจริญที่ยั่งยืน
ดีกว่าการเชื่อมงคลภายนอกซึ่งเลื่อนลอย

๓.) เป็นผู้อ่อนโยน
อ่อนน้อมต่อคนทั้งหลาย ไม่กระด้างด้วยมานะ(ความทะนงตน)
ในเรื่องชาติตระกูล ยศศักดิ์ โภคะและวิชา เป็นต้น
แม้เป็นผู้มีเพียบพร้อมทุกอย่างก็ประพฤติตนเสมือนเป็นผู้ไม่มีอะไร
ตำหนิตนเองได้และยกย่องคนอื่นได้เสมอ
มีใจอ่อนโยน ประกอบด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

๔.) มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีอัธยาศัยในการแจกทาน แบ่งปันสิ่งที่ตนได้มาโดยชอบธรรม
ปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ คอยสำเหนียกเสมอว่า
สมบัติในโลกนั้นเราเพียงอาศัยใช้ชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อตายไปย่อมเอาไปไม่ได้ จึงควรทำให้มันเป็นสิ่งที่ติดตามเราไปได้
นั่นคือ การเผื่อแผ่แบ่งปันแก่ผู้อื่น ก่อเกิดความยินดีในการให้


๕.) รู้จักถ้อยคำ(ของผู้ขอความช่วยเหลือ)
บางครั้งผุ้มาขอความช่วยเหลือมิได้เอ่ยปากตรงๆอาจเพราะเกรงใจหรือละอาย
แต่ผู้มีอัธยาศัยอันงาม ควรแสดงน้ำใจด้วยตัวเองตามฐานะของตนโดยไม่ให้เขาต้องลำบากใจ
ซึ่งการให้ความช่วยเหลือก็มีมากมายหลายวิธี เช่น ให้ทรัพย์ ให้คำแนะนำ ให้ที่พักพิง ฯลฯ
โดยทั้งนี้ไม่พึงดูหมิ่นผู้มาขอความช่วยเหลือ

ตามธรรมดาของผุ้มีอัธยาศัยประณีตนั้น
เมื่อจะขอของผู้อื่นแม้เล็กน้อยก็รู้สึกเหมือนมาก
และเมื่อจะให้ของแก่ผู้อื่น แม้จะมากก็รู้สึกว่าน้อยไป


ส่วนผู้มีอัธยาศัยหยาบ ย่อมมีวิสัยตรงกันข้าม




ผู้ที่ประพฤติตนตามแนวทางดังกล่าวย่อมสงบ
ผู้ที่สงบย่อมมีอาการแห่งผู้สงบ อาทิ นั่ง นอน ยืน เดิน ก็เป็นสุข ไม่ผุดลุกผุดนั่ง
ใจที่สงบจึงส่งผลต่อกาย วาจา ดังนี้
เราจึงควรฝึกตนให้เป็นผู้สุจริตจะนำมาซึ่งความสงบอันเป็นความสุขแท้
เป็นที่พึ่งแก่ตนได้แม้ในโลกนี้และโลกหน้า


เสียใจหรือทุกข์ใจ ... ไปนรก
ดีใจ พอใจ ... ไปสวรรค์
เย็นใจ สงบใจ ...ไปนิพพาน




สรุปและเรียบเรียงจาก นิตยสารศุภมิตร
ปีที่ ๕๒ ฉบับที่ ๕๖๑ เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
หน้า๕๑-๕๗


กระทุ้ที่ธรรมจักร


//www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40165&p=278170#p278170








Free TextEditor




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2554
3 comments
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2554 6:11:11 น.
Counter : 668 Pageviews.

 

แวะมาเยี่ยมในวันหยุด...สวัสดีครับ

 

โดย: **mp5** 20 พฤศจิกายน 2554 13:37:43 น.  

 

ผมเคยอ่านหนังสือของท่านพุทธทาสหลายเล่ม เหตุที่ผมสนใจการปฎิบัติธรรมก็เพราะหนังสือของท่านนี่แหละ เดิมท่านพุทธทาสสอนในลักษณะที่ว่า นรก สวรรค์ ไม่มี ที่แท้ นรกอยู่ในใจ สวรรค์อยู่ในใจ มีหนังสือของท่านกล่าวในทำนองนี้หลายเล่ม ทำให้ท่านโดนตำหนิจากพระหลายรูป ชาวพุทธหลายคน ว่าสอนผิดจากพระไตรปิฎก

คุณหนูขาวมณีคิดว่าอย่างไรครับ

 

โดย: ใบไม้เบาหวิว 21 พฤศจิกายน 2554 18:35:12 น.  

 

 

โดย: bow_relax 23 พฤศจิกายน 2554 22:59:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.