Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 

บุคคลไม่ควรสละตนเป็นทาสสิ่งใดเพราะอิสรภาพทั้งปวงเป็นสุข


รูปภาพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า

บุคคลไม่พึงให้ตน ไม่พึงสละตน
พึงปล่อยวาจาที่ดี ไม่พึงปล่อยวาจาที่ชั่ว

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ ข้อ ๒๑๓ - ๒๑๔ )

:b42: :b42: :b42:

พระพุทธพจน์มีว่า

ปุตฺตามตฺถิ ธนมตฺถิ อิติ พาโล
วิหญฺญติ อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ
กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ

คนเขลาเดือดร้อนอยู่ว่า บุตรของเรามี ทรัพย์ของเรามี
ที่จริงแล้ว ตนของตนยังไม่มี บุตรและทรัพย์จะมีได้อย่างไร
(ธรรมบท - ขุททกนิกาย)


ในที่นี้กล่าวถึงในแง่ของสมมติ คือ มีตัวตน เราเขา
ในแง่นี้..บุคคลเป็นอิสรชนหรือเป็นเสรีชน
ไม่พึงทำตนให้ตกเป็นทาสของผู้ใดหรือสิ่งใด
เพราะเมื่อมอบตนให้เป็นทาสแก่เขาแล้วก็หมดอิสรภาพในตัวเองทันที
เช่น การเสพสิ่งเสพติด ทั้งที่รู้ว่ามีโทษแต่ก็ต้องเสพมันเพราะตกเป็นทาสมันเสียแล้ว

การปฏิญาณตนเป็นทาสของพระรัตนตรัย
ดังในบทสวดที่ว่า
พุทฺธสฺสาหสฺสมิ ทาโส ว ธมฺมสฺสาหสฺสมิ ทาโส ว สงฺฆสฺสาหสฺสมิ ทาโส ว
แปลว่า ข้าพเจ้าขอเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
ก็เพียงเพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของกิเลสซึ่งเป็นนายอันทารุณโหดร้ายเท่านั้น



บางแห่ง พระพุทธองค์ ตรัสว่า

สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ
การอยู่ในอำนาจของผู้อื่นโดยประการทั้งปวงเป็นทุกข์
สพฺพํ อิสฺสริยํ สุขํ
อิสรภาพทั้งปวงเป็นสุข
สาธารเณ วิหญฺญนฺติ
บุคคลย่อมเดือดร้อนเพราะเป็นคนของสาธารณชน
โยคา หิ ทุรติกฺกมา
เพราะความเกี่ยวข้องกันเป็นสิ่งที่ล่วงได้ยากหรือข้ามได้ยาก
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ หน้า ๖๓ ข้อ ๙๙)



เช่น เมื่อมีคนรู้จักหรือนับถือกันเดือดร้อน
ขอความช่วยเหลือหรือให้กระทำการต่างๆ
เราย่อมปฏิเสธโดยยาก ย่อมเกรงใจเขา
จนบางครั้งอาจต้องกล้ำกลืนฝืนใจ ตกกระไดพลอยโจนไปก็มี
นี่ คือ การเดือดร้อนจากการเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน
เป็นการสูญเสียอิสรภาพของตนทางหนึ่งเช่นกัน



และพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

น วายาเมยฺย สพฺพตถ
บุคคลไม่พึงพยายามในสิ่งทั้งปวง
นาญฺญสฺส ปฺริโส สิยา
ไม่พึงเป็นคนของผู้อื่น
นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย
ไม่พึงอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
ธมฺเมน น วณี จเร
ไม่พึงเป็นผู้มีแผลประพฤติธรรม
(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๑๓๔ หน้า ๑๗๙)



หมายความว่า จะพยายามในสิ่งใด
ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้ดีก่อนว่า สิ่งนั้นควรพยายามหรือไม่
คือ ให้ปัญญานำความเพียร
เหมือนคนจะขุดแร่ ต้องสำรวจสายแร่ก่อน ไม่ใช่เริ่มขุดไปตั้งแต่หัวบันไดบ้าน

การไม่พึงเป็นคนของผู้อื่น คือ ให้เป็นตัวของตัวเอง
การอาศัยผู้อื่นอยู่ให้ทำเพียงชั่วคราว
เช่น เมื่อเยาว์วัยก็อาศัยพ่อแม่ ญาติ แต่เมื่อโตแล้วก็ต้องพึ่งตนเอง
และควรทำตนเป็นที่พึ่งของคนอื่นด้วย
เหมือนเช่น ต้นไม้ ที่เติบใหญ่แล้วให้ร่มเงา


และเมื่อประพฤติธรรมใด
ให้ประพฤติด้วยความสุจริตใจ ไม่ประพฤติเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
ซึ่งการหลอกลวงผู้อื่นนั้นเปรียบเหมือนคนมีแผลแต่เอาผ้าสวยๆมาปิดไว้
คือ การประพฤติธรรมบังหน้าเพื่อทำความชั่วอย่างอื่น




รูปภาพ


พระพุทธเจ้า ทรงแสดงเสรี ๒ อย่าง คือ

๑. เสรีธรรม หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มี สติปัฏฐาน เป็นต้น
๒. เสรีชน หมายถึง ผู้ประกอบด้วยเสรีธรรมดังกล่าว

ผู้ปฏิบัติธรรมบริบูรณ์แล้ว ได้รับเสรีภาพทางใจอย่างยอดเยี่ยม
ผู้อยู่เหนือกิเลส จึงจะเรียกว่า เสรีชน หรือ เสรีบุคคล

พระพุทธศาสนาส่งเสริมเสรีภาพของมนุษย์
ต้องการให้มีอิสรภาพทั้งทางกายและใจ
อิสรภาพทางใจ คือ การไม่ตกเป็นทาสของกิเลสทั้งปวงนั้นเอง




:b41: :b41: :b41:



เรียบเรียง จาก
นิตยสารศุภมิตร
ปีที่ ๕๒ ฉบับที่ ๕๖๔
เดือน ก.ค - ส.ค ๒๕๕๐. หน้า ๒๑ - ๒๖



ดุกระทู้ที่ธรรมจักร


//www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40042&p=276807#p276807








Free TextEditor




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2554
0 comments
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2554 20:34:00 น.
Counter : 784 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.