Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
7 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
บุคคลไม่พึงปล่อยวาจาชั่วและพึงอดทนต่อวาจาล่วงเกินของผู้อื่น




รูปภาพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า

บุคคลไม่พึงให้ตน ไม่พึงสละตน
พึงปล่อยวาจาที่ดี ไม่พึงปล่อยวาจาที่ชั่ว

(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ ข้อ ๒๑๓ - ๒๑๔ )

:b42: :b42: :b42:


:b39: โปรดศึกษาเรื่อง วจีสุจริต โดยละเอียดได้จากกระทู้
วจีสุจริต (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
viewtopic.php?f=1&t=18799

:b44: เนื้อหากระทู้นี้ต่อเนื่องกันกับกระทู้
บุคคลไม่ควรสละตนเป็นทาสสิ่งใดเพราะอิสรภาพทั้งปวงเป็นสุข
viewtopic.php?f=7&t=40042


:b44: :b45: :b45: :b44:


วาจาชั่วนั้น โดยใจความสำคัญก็อยู่ในขอบเขตวจีทุจริต ๔
คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ


ส่วนวาจาสุจริต ๔ คือ
เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นคำหยาบ และเว้นคำเพ้อเจ้อ
พูดแต่วาจาจริง ประสานสามัคคี อ่อนหวาน
และมีประโยชน์


การที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องฝึก ที่สำคัญ คือ ฝึกใจ
ฝึกใจให้อดทนต่อคำว่าเสียดสี ไม่สนใจต่อคำเพ้อเจ้อของผู้อื่น


มีเรื่องเล่าว่า พระเถระรูปหนึ่ง ชื่อ อภัย
คืนหนึ่งกล่าวธรรมกถาว่าด้วยเรื่อง อริยวงศ์ ๔ ได้แก่
สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และการพอใจยินดีในการภาวนา
ชาวบ้านพากันเลื่อมใสศรัทธาธรรมเทศนาของท่าน
พากันบูชาท่านเป็นหมู่ใหญ่

พระเถระอีกรูปหนึ่งริษยาท่าน จึงด่าว่า
"พระอภัย..ทำให้โกลาหลวุ่นวายทั้งคืนโดยอ้างเลศว่ากล่าวอริยวงศ์"

เมื่อเสร็จกิจแล้ว พระเถระทั้งสองเดินกลับยังที่อยู่ของตน
ไปทางเดียวกัน พระเถระผู้ริษยาก็ว่าพระอภัยไปตลอดทาง
พระอภัยไม่ได้พูดอะไรแม้แต่คำเดียว

เมื่อถึงทางแยกจะเข้าที่อยู่ของตน
พระอภัยไหว้พระเถระผู้ริษยาองค์นั้นแล้วแยกกัน
แต่พระเถระรูปนั้นทำเป็นเหมือนไม่เห็นไม่ได้ยินแล้วหลีกไป

เมื่อพระอภัยถึงที่อยู่ ลูกศิษย์ถามท่านว่า
เมื่อถูกด่าอยู่เหตุใดจึงไม่โต้ตอบเลย
พระเถระตอบว่า

"ความอดทนเป็นภาระของเรา
ความไม่อดทนหาใช่ภาระไม่
จิตของเรามิได้พรากจากกรรมฐานเลยแม้ชั่วระยะเวลายกเท้าก้าวเดิน"


ความอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นเป็นความอดทนอันประเสริฐ
เรื่องความอดทนมีปรากฏในสรภังคชาดกอีกด้วยว่า

"บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศกทุกเมื่อ
ฤาษีทั้งหลายสรรเสริญการละความลบหลู่คุณของผู้อื่น
บุคคลควรอดทนต่อคำหยาบที่คนอื่นกล่าวแล้ว
สัตบุรุษ (คนดี) ทั้งหลายกล่าวความอดทนนั้นว่าสูงสุด"


ท่านสรภังคดาบสกล่าวต่อไปว่า

"บางทีคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าได้
เพราะความกลัว จำเป็นต้องอดทน
ผู้อดทนต่อคำของผู้เสมอกันได้
เพราะเกรงกำลังของกัน
ส่วนผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ต่ำต้อยกว่าตนได้
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด"



และในอีกคราวหนึ่ง พระศาสดาถูกพราหมณ์ ๔ พี่น้องด่าว่า
แต่พระองค์ทรงเอาชนะด้วยความอดทน
พราหมณ์เหล่านั้นได้ออกบวชและบรรลุอรหัตตผลทุกท่าน

พระศาสดาทรงตรัสถึงการณ์นี้ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย, เพราะประกอบด้วยขันติ
เราจึงไม่ประทุษร้ายในบุคคลที่ประทุษร้าย
เราจึงเป็นที่พึ่งพิงของมหาชน"

และตรัสต่อว่า

"ผู้ใดไม่ประทุษร้ายซึ่งบุคคลผู้ด่า ผู้ประหารและจองจำ
เขาอดกลั้นไว้ได้ เราเรียกผู้เช่นนั้น
ซึ่งมีขันติเป็นกำลัง เป็นพวกพ้องว่า เป็นพรามหณ์"


พุทธบริษัทต้องดำเนินตามคำสอนและปฏิปทาของพระสาวกผู้บัณฑิต
คือ มีความอดทนต่อคำล่วงเกินหยาบช้าของผู้อื่น

เมื่อเห็นว่า คำล่วงเกินหยาบช้าเป็นความไม่ดี
ทำไมเล่า...เราจะต้องทำสิ่งไม่ดีด้วย
เราควรมีความอดทน เสงี่ยม สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
เพื่อเป็นตัวอย่างว่า ที่ดีนั้น..เป็นอย่างไร



คำส่อเสียด เป็นคำยุยงให้คนแตกแยก
คนที่เสื่อมจากคุณความดีเป็นคนแรก คือ ตัวเราเอง จึงควรเว้นเสีย

คำเพ้อเจ้อ คือ วาจาไร้สาระ
เสียเวลา เสียประโยชน์ทั้งของตนและคนฟัง
จึงควรเว้น พูดแต่วาจาดีที่เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต

คำเท็จ คือ คำหลอกลวงและทำให้เดือดร้อน
มีโทษมากจึงควรเว้นเสีย

และความจริงที่ไม่มีประโยชน์บางประการ
ก็พึงเว้นเสีย ให้พูดแต่วาจาที่ดี มีประโยชน์
เป็นไปเพื่อคลายทุกข์ คลายความยึดมั่นถือมั่นลง เป็นต้น



:b53: :b53: :b53:

เรียบเรียง จาก
นิตยสารศุภมิตร
ปีที่ ๕๒ ฉบับที่ ๕๖๔
เดือน ก.ค - ส.ค ๒๕๕๐. หน้า ๒๖ - ๒๙


ดูกระทู้ที่ธรรมจักร



//www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40050





Free TextEditor


Create Date : 07 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2554 19:15:21 น. 3 comments
Counter : 566 Pageviews.

 
จับใจค่ะ และจะนำไปปฏิบัติให้ได้สม่ำเสมอ ขอบคุณค่ะ


โดย: mamadoosi (mamadoosi ) วันที่: 8 พฤศจิกายน 2554 เวลา:8:24:34 น.  

 
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆครับ


โดย: โอม37 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2554 เวลา:20:19:16 น.  

 
อนุโมทนาในธรรมทานครับ



โดย: ใบไม้เบาหวิว วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:21:45:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.