Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
พระพุทธองค์สอนโดยมุ่งประโยชน์ผู้รับการสอนโดยแท้จริง

รูปภาพ



อปัณณกสูตร (ม.ม.๒๐/๒๒๓)

อปัณณกธรรม

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว
ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของท่านทั้งหลาย เป็นที่ให้
ท่านทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ มีอยู่หรือ?

พราหมณ์และคฤหบดีกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นที่ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ หามีไม่.



ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ศาสดาที่ชอบใจ พึงสมาทาน
"อปัณณกธรรม" นี้แล้วประพฤติ ด้วยว่าอปัณณกธรรมที่ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว จักเป็น
ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนาน



:b42:

คัดลอกข้อความจากพระสูตรฉบับเต็ม

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (อปัณณกสูตร)

//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=1833&Z=2382


ประเด็นสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระสูตรนี้ คือ


๑.

พระพุทธพจน์ที่ว่า "แม้จะไม่นับถือใครเป็นศาสดา แต่ก็ควรมีอปัณกธรรมสำหรับเป็นหลักปฏิบัตของชีวิต เพื่อประโยชน์และความสุขของชีวิต" (ข้อ ๑๐๔) ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่าำคัญของพระพุทธศาสนา ๒ ประการ คือ

๑.๑) หลักการในการสอน

หรือการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า กล่าว คือ ในการสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์มิได้มุ่งที่จะสอนให้ใครมานับถือพระองค์เป็นศาสดา หรือว่าหันมานับถือพระพุทธศาสนา แต่ทรงมุ่งสอนให้เขาได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ และสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับการสอน

โดยทรงนำหลักการที่พวกเขาสามารถนำเอาไปปฏิบัติแล้วเกิดประโยชน์และความสุขแก่ชีวิตของพวกเขาได้จริง เป็นการสอนที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างแท้จริง

หลักการของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ชัดเจนใน พรหมจริยาสูตร (อํ.จตุกฺก.๒๑/๒๕/๓๓) ความว่า

"พรหมจรรย์นี้่ เรามิใช่ประพฤจิเพื่อหลอกลวงคน เพื่อเรียกร้องให้คนมานับถือ เพื่อลาภสักการะหรือคำสรรเสริญ เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อหักล้างลัทธิอื่น เพื่อให้คนเข้าใจว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ (คือ เป็นผู้วิเศษ) ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อความสำรวม เพื่อละกิเลส เพื่อคลายความกำหนัดยินดี เพื่อดับทุกข์"

และใน โคตมสูตร (อํ.ติก.๒๐/๕๖๕/๓๖๕) ความว่า

"เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง เราแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุผลและแสดงธรรมอย่างมีปาฏิหาริย์ คือ สามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริง"



๑.๒) ความเป็นสากลของพุทธธรรม


กล่าวคือ คำสอนของพระพุทธศาสนานั้น มีลักษณะเป็นสากล คือ เป็นหลักการหรือหลักปฏิบัติที่มนุษย์ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ และเมื่อปฏิบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ย่อมได้รับผลจริงเหมือนกันทั้งนั้น

มิใช่เป็นหลักการคำสอนที่ใช้ได้สำหรับชาวพุทธเท่านั้น ทั้งนี้เพราะหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น เป็นหลักความจริงตามธรรมชาติ และก็ให้ผลปฏิบัติตามธรรมชาติหรือตามกระบวนการของมันเอง เรียกว่า มีความเป็นวัตถุวิสัย / ภาววิสัย** ทั้งหลักการและกระบวนการให้ผล

------------

อ่านต่อในกระทู้ที่ธรรมจักร




Create Date : 10 ตุลาคม 2555
Last Update : 10 ตุลาคม 2555 16:57:52 น. 0 comments
Counter : 689 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.