Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
สวดมนต์เพื่ออะไร


รูปภาพ


ชาวพุทธเรา...สวดมนต์กันมาก สวดผิดบ้าง ถูกบ้าง
สวดสิ่งที่ควรสวดบ้าง สวดสิ่งที่ไม่ควรสวดบ้าง นั่นเพราะความไม่รู้
จึงแล้วแต่ผู้ที่ตนเคารพนับถือจะแนะนำให้สวดอะไรก็สวดตามกันไป

การสวดมนต์นั้น จริงแล้วเป็น "วิธีการ" ในการทำจิตให้สงบ
ไม่ใช่ "พิธีการ" วิธีการและพิธีการนั้นแตกต่างกันอย่างไร ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป


การสวดมนต์ เป็นวิธีการในการทำจิตให้สงบ เป็นบริกรรมสมาธิ
ถ้าจุดมุ่งหมายอย่างนี้แล้ว..สวดอะไรก็ได้เพื่อให้จิตสง

คือ เป็นการทำสมาธิโดยการบริกรรม
สวดเบาๆสิ้นมนต์ไปบทหนึ่งๆว่าซ้ำๆจนจิตใจจดจ่อ
จะสวดบทเดียวหรือหลายบทก็ได้
ให้จิตใจจดจ่อกับบทสวดแล้วเป็นอันใช้ได้


ตัวอย่างบทสวดที่นิยมกันทั้งในฝ่ายพระและฝ่ายฆราวาส
เป็นบทที่ดี เช่น บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นต้น
ถ้าสวดคนเดียว ต้องการสมาธิ จะสวดซ้ำไปมากี่เที่ยวก็ได้

เดิมที คำสอนของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้จารึกลงเป็นตัวอักษร
พระพุทธพจน์ถูกถ่ายทอดต่อกันด้วยการท่องจำสืบต่อกันมา
สมัยก่อน เวลาไปช่วยกันท่องหนังสือ เขาเรียกว่า การต่อหนังสือ
สวดมนต์ฉบับหลวงเล่มใหญ่ ๔๐๐-๕๐๐ หน้า บางคนจำได้หมด
เพราะท่องไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีเทคนิคอะไรเป็นพิเศษ
มีแต่ความศรัทธา และฉันทะ มีอุตสาหะในการท่องจำ
การท่องพระพุทธพจน์นั่นเองที่เป็นการสวดมนต์ในภายหลัง

มาเปรียบเทียบการสวดมนต์กับการสวดปาติโมกข์ก็ได้
การสวดปาติโมกข์ คือ การท่องพระวินัย ๒๒๗ ข้อท่ามกลางสงฆ์ทุก ๑๕ วัน
เมื่อก่อนนี้ พระท่านจะสวดพร้อมกันและรู้ความหมายด้วย
เพราะเป็นภาษาของท่านเอง
ต่อเมื่อพระพุทธศาสนามาอยู่ในเมืองไทย
เราก็สวดเพื่อรักษาธรรมเนียมเดิมไว้แต่ส่วนมากไม่ค่อยรู้ว่า สวดอะไร
เพราะไม่ใช่ภาษาของเรา ถ้าไม่ได้เรียนภาษา เราก็ไม่เข้าใจ
การสวดปาติโมกข์ ที่เคยเป็นวิธีการทบทวนพระวินัยจึงได้กลายเป็น "พิธีการ" ไป


พิธีการ พิธีกรรม นั้น บางครั้งผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็อาจไม่รู้ความก็ได้
คนสวดก็ไม่รู้เนื้อความ คนฟังก็ไม่รู้เนื้อความ
จนกลายเป็นเรื่องความศักดิ์สิทธิ ความขลังไปเลยก็ยังมี


ตัวอย่างที่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎก
พบเรื่องพระมหากัสสปและพระโมคคัลานะป่วยหนัก
พระพุทธเจ้าทรงทราบ เสด็จไปทรงเยี่ยมและทรงแสดงโพชฌงค์ ๗
เมื่อทรงแสดงธรรมจบลง พระมหากัสสปและพระโมคคัลานะหายป่วย
(ปรากฏใน สังยุตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ หน้า ๑๑๓-๑๑๕)

ในเมืองไทยก็นิยมสวดบทโพชฌงค์ให้กับผู้ป่วย
ผู้ป่วยก็หายบ้าง ไม่หายบ้างก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของผู้ป่วยนั่นเอง


ทำไมพระมหากัสสปหรือพระโมคคัลานะฟังโพชฌงค์แล้วหายจากเวทนากล้า
เพราะโพชฌงค์ ๗ นั้น มีบริบูรณ์อยู่แล้วในพระอรหันต์เหล่านั้น
แต่ผู้ป่วยทั่วไปที่เรานิยมไปสวดให้ฟังกันนั้น
ไม่ได้มีโพชฌงค์ ๗ สมบูรณ์ในตัวเหมือนท่านเหล่านั้น

โพชฌงฺโค สติ สงฺขาโต - มีสติ
ธมฺมานํ วิจโย ตถา -มีธรรมวิจยะ
วิริยมฺปิติ ปสฺสทธิ - มีวิริยะ มีปิติ มีปัสสัทธิ
โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา -มีสมาธิ อุเบกขา

สิ่งเหล่านี้...ในตัวมีไหม ถ้าไม่มีก็คือเหตุผัจจัยมันไม่พร้อม
การสวดโพชฌงค์ ให้ฟังก็เป็นเพียงแต่พิธีการเท่านั้น
ที่พระมหากัสสปและพระโมคคัลลานะหายป่วยหลังจากฟังโพชฌงค์นั้น
เพราะท่านมีโพชฌงค์ ๗ อยู่ในตัวท่านบริบูรณ์ดีแล้วนั่นเอง
แต่คนเราธรรมดา มีโพชฌงค์อยู่เท่าไร อาจไม่มีเลยก็เป็นได้
แล้วจะเอาอะไรมาเป็นปัจจัย เป็นยาหรือธรรมโอสถในการรักษา
แม้อาการภายนอกจะทำเหมือนกัน คือ ฟังโพชฌงค์เหมือนกัน
แต่ภายในนั้นไม่เหมือนกัน
เปรียบเหมือนกับผลไม้พลาสติกกับผลไม้จริง
ผลไม้พลาสติกแม้ดูภายนอกแล้วเหมือนกับผลไม้จริงๆแต่มันกินไม่ได้

ดังนั้นการทำอะไรแต่เพียงพอเป็น"พิธี"
กับการทำโดยเข้าใจในความหมายอันแท้จริง จึงให้ผลไม่เหมือนกันแน่นอน

การสวดมนต์นั้น
ที่บางคนก็สวดเพื่อคุ้มครองตัวเอง คุ้มครองบ้านเรือน
บ้างเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่ตัว
บางคนสวดเพื่อทบทวนความรู้ในข้อธรรม ฯลฯ
สิ่งสำคัญของการสวดมนต์ คือ การรู้เรื่อง รู้ความหมายไปด้วย
สวดมนต์ไป รู้ เข้าใจไปด้วย
ก็จะได้ทั้งสมาธิและปัญญา ได้ความปลอดโปร่ง สงบใจ


คนที่หดหู่ ว้าเหว่ ไม่สบายใจ ฟุ้งซ่าน
หากได้สวดมนต์สักพัก สวดคนเดียว เบาๆช้าๆก็จะได้ความสงบใจเป็นบริกรรมภาวนา
ถ้ารู้เรื่อง เข้าใจความไปด้วยก็ได้ปัญญา
อีกทั้งได้ศีล เพราะกาย วาจาก็สงบเรียบร้อยไปด้วย

จุดมุ่งหมายสูงสุดในการสวดมนต์
คือ สำรวมใจให้อยู่กับบทสวด ทำให้ได้ศีล สมาธิ ปัญญา
ถ้าตั้งเป้าหมายแบบนี้แล้วจะไม่ผิดหวังเลย
ต่างจากการตั้งเป้าหมายอย่างอื่น เช่น ความขลัง ฯลฯ อาจต้องผิดหวังบ้าง สมหวังบ้าง


คุณค่าของการสวดมนต์จึงอยู่ที่การสำรวมกาย วาจา ใจ
เข้าใจความหมายด้วยจะยิ่งเพิ่มความคิดความอ่านให้แตกฉานลึกซึ้งยิ่งขึ้น
การสวดมนต์ จึงควรทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
เพื่อไม่ให้การสวดมนต์นั้นขาดทุนเปล่า
คือ สวดไปไม่ได้อะไร นอกจากเสียเวลาเปล่าและได้แต่อุปาทานว่า เราได้สวดแล้วเท่านั้นเอง




:b41: :b41: :b46: :b46: :b41: :b41:



สรุปและเรียบเรียงจาก
นิตยสารศุภมิตร ปีที่ ๔๘ ฉบับที่ ๕๔๑
เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๔๖ หน้า ๒๔- ๓๑



ดูกระทู้ที่ธรรมจักร


//www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40488







Free TextEditor


Create Date : 17 ธันวาคม 2554
Last Update : 17 ธันวาคม 2554 20:40:26 น. 0 comments
Counter : 652 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.