Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 

Shimla - Toy Train รถไฟจิ๋วไต่ภูเขา



สถานีรถไฟ กัลกา  

คือจุดหมายแรก ของนักเดินทางทั้งหลายที่ต่างคิดจะใช้เป็นเส้นทางมุ่งตรงมาจาก
สถานีรถไฟเดลีเก่า 
(station code : DLI) เพื่อที่จะเชื่อมต่อรถไฟขึ้นไปยัง ชิมลา

หากไม่มีสิ่งใดผิดพลาด มันก็ควรจะเริ่มต้นจากการขึ้นรถไฟที่ Delhi รอบค่ำ
วิ่งตรงมาถึง Kalka ให้ทันยามเช้ามืดและขึ้นรถไฟจิ๋วสู่ชิมลายามรุ่งสาง 
รอดูแสงแรกจากดวงอาทิตย์ที่จะโผล่ขึ้นฟ้า พาดผ่าน แมกไม้ และป่าเขา

นั่นคือแผนการเดินทางที่สมบูรณ์และยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับเส้นทางนี้ 

ส่วนในเอนทรี่นี้ไม่ได้เป็นไปตามแผนด้านบนนะคะ ได้แต่จะพาขึ้นรถไฟ
ขบวนที่ว่านี้ออกเที่ยวชมเส้นทางสายประวัติศาสตร์ และภาพทิวทัศน์
อันประกอบไปด้วย รถไฟ สิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ทางธรรมชาติ 





รายนามของขบวนรถที่ใช้สำหรับวิ่งขึ้นทางภูเขานั้น มีทั้งหมด 4 แห่ง
ข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Mountain_Railways_of_India






ขนาดรางของ Toy Train ขบวนนี้ มีความกว้างเพียงแค่ 2 ฟุต 6 นิ้ว จึงทำให้
ตู้โดยสารมีขนาดที่เล็กตามไปด้วยกับสัดส่วนที่ดูกระทัดรัดแบบนี้ ด้วยภาพลักษณ์
ของมันที่ดูเหมือน 'รถไฟของเล่น' นี้ จึงเป็นที่มาของคำเรียก 'Toy Train'

จากระยะทางจากสถานีฯ กัลกา - ชิมลา คือ 96 กิโลเมตร หัวจักรจะทำการลากขบวน
เคลื่อนที่ตามไปอย่างช้า ๆ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล เริ่มแรก 655 เมตร
และจะทำการไต่ขึ้นภูเขาไปเรื่อยจนสิ้นสุดที่ปลายทางสุดท้ายที่ 2,075 เมตร

กับความเร็วในระดับ 25 กิโลเมตร / ชั่วโมง 

เจ้าสิ่งก่อสร้างจากยุคอาณานิคมนี้เริ่มเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1903
โดยยุคสมัยนั้นบรรดาข้าหลวงและผู้มีฐานะ ต่างนิยมใช้เส้นทางนี้ในการสัญจร
นอกเหนือไปจากนั้นก็ยังถูกใช้สำหรับการลำเลียงสินค้าขนส่งซื้อขายแลกเปลี่ยน
จากเมืองด้านล่าง ทำให้ชิมลาเริ่มพบปะกับโลกภายนอกมากขึ้น

ส่วนในปี ค.ศ. 2008 เส้นทางนี้ ก็ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO 




เที่ยวรถไฟรอบเที่ยงวัน กับชั้นโดยสารประเภทธรรมดา (ชั้น3)
ที่มาซื้อตั๋วโดยสารก่อนรถไฟออกหนึ่งชั่วโมง ราคา 50 รูปี คงน่าจะเป็นการลงทุน
สำหรับรถไฟสายประวัติศาสตร์ และขึ้นชื่อว่าเป็นมรดกโลกที่ดูคุ้มค่าแล้วเนอะ 

เมื่อได้เวลาแล้ว ก็ออกเดินทางกันเลย ...










เนื่องด้วยมันเป็นรถไฟชั้นสามและไม่ได้วิ่งตรงไปถึงปลายทางแบบรวดเดียวจบ
ถึงแม้จะดูเหมือนว่าเส้นทางรถไฟนี้สร้างมาเพื่อการท่องเที่ยว... แต่เปล่าเลย
เพราะในความเป็นจริงแล้ว มันก็คือพาหนะสำหรับการสัญจรตามปกติของผู้คน

ดังนั้นระหว่างสถานีต่าง ๆ ก็จะมีชาวบ้านที่ขึ้นมาและลงจากรถไฟไปเรื่อย ๆ
ส่วนคนที่นั่งยาวไปถึงสุดทางอาจแย่หน่อย ที่หากลุกขึ้นเมื่อไหร่ก็อาจเสียที่ได้




พื้นที่ภายในตู้ขบวนรถไฟในช่วงเวลาที่ยังมีคนขึ้นมาไม่มากนัก






บางสถานีมีการหยุดพักนานหน่อย ใครที่มีคนช่วยเฝ้าที่ก็ลงมายืดเส้นยืดสายข้าง
นอกได้ ส่วนกลุ่มคนต่างชาติที่มากันเป็นคณะ พวกเขาได้เหมาตู้ขบวนไว้โดย
เฉพาะและมีคนดูแล

ซึ่งจะมีคนเอาของกินมาเดินเร่ขายของ
ให้คนบนรถไฟเรียกซื้อในระหว่างนี้ด้วย



Barog Tunnel หมายเลข 33 เป็นช่องอุโมงที่มีความยาวที่สุด 1,143.61 เมตร



รายนามสถานีทั้ง 18 แห่ง
ที่จอด รับ - ส่ง, ระยะทาง และ ระดับความสูง




### ข้อมูลตัวเลข ###

ระดับความสูงอ้างอิงจากป้ายประชาสัมพันธ์ของสถานีรถไฟ Kalka
ลำดับรายชื่อสถานี เทียงเคียงจาก 
https://en.wikipedia.org/wiki/Kalka%E2%80%93Shimla_Railway






เริ่มเห็นตัวเมืองไกล ๆ แล้ว !






การเดินทางครั้งนี้ใช้ระยะเวลาที่ไปทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง 
ผ่าน 18 สถานีฯ ที่จอดรับ-ส่ง ลอดผ่าน 102 อุโมงค์
ข้ามสะพานโค้ง 886 หน บนสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่มีอายุร่วมร้อยปี

อุโมงค์หมายเลขสุดท้าย ที่ลำดับ 103 คือสัญญาณการสิ้นสุดลง ณ สถานีชิมลา
ในช่วงเวลา 6 โมงเย็น กับบรรยากาศภายนอกที่เริ่มมืดลง และมีฝนปรอยลงมา
เหล่านักท่องเที่ยวและผู้คน ต่างพากันทยอยตัวลงจากรถไฟ และเดินออกจากที่นี่
ไปตามจุดมุ่งหมายของแต่ละคน

การนั่งรถไฟจิ๋วไต่ภูเขาหนนี้ คงเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวจริง ๆ 
แต่ถ้าครั้งต่อไปจะเป็นรถไฟประเภท Luxury ล่ะ?...
เอ่อ ก็ไม่แน่นะ คงอาจมีเปลี่ยนใจ





 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2557
3 comments
Last Update : 23 ธันวาคม 2560 14:45:41 น.
Counter : 2125 Pageviews.

 

6 ชม. นั่งยาว ๆ โดยไม่ลุกไปไหน เพื่อไม่เสียที่นั่งคงยากอยู่เนอะ

น่าสนใจตอนสรุปนี่แหละ ลอดผ่าน 102 อุโมงค์ ข้ามสะพานโค้ง 886 หน กับค่าตั๋วรถไฟ 50 รูปี คุ้มสุดคุ้ม

ลำดับรายชื่อสถานีเทียบเคียงจาก ฟ้าเขียน เทียงเคียง

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 27 กุมภาพันธ์ 2560 16:03:34 น.  

 

ตามมานั่งรถไฟความเร็วไม่สูง แต่ความสูงซู๊งงงงงสูง ของชิมลาด้วยคนจ้า
แถมเป็นเส้นทางมรดกโลกด้วย ส่วนของไทยตัวรถไฟเองมีลุ้นได้เป็นมรดกโลก ตึ่งโป๊ะ!
ได้แขวะรถไฟบ้านเราแล้วสบายใจ อ่านต่อได้...
มีช่วงพักเบรคยืดเส้นยืดสายด้วย
แต่ 100 กม. ใช้เวลาหกชั่วโมงเนี่ย รับไม่ได้จริงๆ -___-

 

โดย: ชีริว 2 มีนาคม 2560 22:39:19 น.  

 

ว้าวววววว...
50รูปี=22บาทไทย
อัดตราเงินรูปีวันนี้/เงินไทยที่..1 รูปีอินเดีย เท่ากับ
0.44 บาท
30 ม.ค. 18:05,

ขบวนรถไฟสายนี้ "ลุงเดา"คงจะเป็นยุค ล่าอนานิคมเป็นแน่ ชนชั้นฉันเท่านั้น ที่ใช้....

ลุงแอ็ดตนหนึ่ง ชอบรถไฟเป็นชีวิตจิตใจ อาจจะเป็นเพราะมันมีอดีต ที่น่าจดจำสำหรับลุงก็ได้ จากชีวิตของ เด็กวัดไว้หางเปีย เธอนามหนึ่งที่มาทำให้ฉัน มีชีวิตที่แปลี่ยนแปลงไป แม้นจนวันนี้ ฉันก็ยังหวลคิดถึงอยู่เสมอ,

เมื่อหลายปีก่อน ลุงมีเพื่อนรุ่นพี่ พวกเขาเรียกกันว่า"หัวหน้า"ได้ชวนลุงไปนั่งรถไฟ สายมรณะกาญจนบุรี อีกแหละ..เพื่อนคุณนั้น ให้ลุงนั่งไปแต่เพียงลำพัง เมื่อถึงที่หมายแล้ว จะไปรอรับ,,,
การหาเพื่อนบนรถไฟจึงเริ่มขึ้น โชคดีได้คุณน้องไกค์ นำเที่ยวไทยช่วยประสานให้ จึงได้เพื่อน ต่างภาษา,

6ชม.ที่ให้นั้น ลุงเชื่อ100% เมื่อใด?ก็ตาม ที่หลานฟ้ากาบริเอล หวลคิดถึง วันนั้น บนรถไฟ ฯลฯ บรรยาศในครั้งนั้น ก็จะมองเห็นภาพ"ในใจ"ได้ชัดเจนที่สุดแล,

ขอมอบเพลงที่ลุงชอบ แด่หลานฟ้า(อาจไม่ชอบ)และเธอผู้คุมวงฯลฯ ได้ไพเราะยิ่งนัก...
https://www.youtube.com/watch?v=X-jdl9hcCeg

ปล.
คนชอบรถไฟ ชอบนั่งรถไฟ ถ้ามีเพื่อนที่ชอบรถไฟ นั่งไปท่องเที่ยวด้วยกัน มันก็ยังเป็น"ฝัน"ที่รอคอย....
https://www.youtube.com/watch?v=GCC8cb0zBK4&t=71s


 

โดย: ธนู ลุงแอ็ดชวนเที่ยว (สมาชิกหมายเลข 4365762 ) 31 มกราคม 2562 1:45:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


กาบริเอล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
และออกเดินทางท่องเที่ยวบ้าง

ไม่ชอบพบปะผู้คนมากนัก
เป็นมนุษย์จำพวก introvert

การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ

ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้

....

เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014


###ไม่สะดวกพูดคุยหลังไมค์นะคะ###

© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย 
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข 
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต


New Comments
Friends' blogs
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.