"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
4 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย

ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย

ดนตรีเป็นงานศิลป์แขนงหนึ่งที่มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมอันกว้างใหญ่ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิด สร้างสรรค์เรียนรู้เลียนแบบจากธรรมชาติ เป็นการตอบสนองความต้องการ (response) โดยตรง

โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีในการบรรเลงขับกล่อมตามกิริยาท่าทางของมนุษย์ที่พึงกระทำได้ ได้แก่ ดีด-สี-ตี-เป่า

ดนตรีไทยจึงมีบทบาทต่อชีวิตของมนุษย์ เป็นเครื่องมือที่สามารถตอบสนองความต้องการในการประเทืองอารมณ์ กระตุ้นความรู้สึกของเราอย่างมาก ถ้าขาดเสียงเพลงและเสียงดนตรีแล้วจะทำให้มนุษย์อยู่อย่างแห้งแล้ว ไร้อารมณ์ความรู้สึก ไม่มีเครื่องมือประเทืองจิดใจ ไม่ละเอียดอ่อนและไม่เกิดความสุขความสนุกสนาน ดังประโยคที่ว่า "เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ"

ดนตรีไทยสมัยอยุธยา

เรื่องของศิลปะโดยเฉพาะการดนตรีจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ก็ในเวลาที่บ้านเมืองมีความสงบสุข ประชาชนพลเมืองอยู่ดีกินดีปราศจากศึกสงคราม แต่ว่าตั้งแต่สมัยที่อาณาจักรสุโขทัยได้มารวมกับอยุธยานี้ บ้านเมืองก็มีศึกสงครามภายนอกและสงครามภายในมีอยู่เสมอ

เพราะฉะนั้นการดนตรีต่างๆ จึงมิได้เจริญก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่มีอยู่เดิมอย่างไรและที่รับมาจากสุโขทัยอย่างไรก็คงสภาพเช่นเดิมนั้น แม้แต่วงปี่พาทย์เครื่องห้าก็คงมีเครื่องดนตรีอยู่เท่าเดิม คือ ปี่ใน ฆ้องวง ตะโพน กลองทัดลูกเดียว และฉิ่ง

การที่ปี่พาทย์เครื่องห้ามีอยู่เพียงเท่านี้ โดยไม่มีระนาดนั้นได้ใช้กันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการบรรเลงประกอบโขน ละครหรืองานพิธีใดๆ และปรากฏว่าใช้กันมาถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ดังได้ปรากฏตามจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ เอกอัครราชทูตพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ผู้เข้ามาทูลเกล้าฯถวายพระราชสาส์นในกรุงสยามที่บันทึกไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๒๓๑ ในจดหมายเหตุนี้

ลาลูแบร์ได้บันทึกไว้อย่างละเอียดลออว่า เครื่องบรรเลงในวงดนตรีมีอะไรบ้าง รูปร่างเป็นอย่างไร (ในสายตาฝรั่ง) ก็บันทึกไว้อย่างเรียบร้อย แต่ก็ไม่ปรากฏมีระนาดอยู่ในวงเลย จะว่าลาลูแบร์ไม่เห็นก็คงจะเป็นไปไม่ได้

เพราะว่าระนาดนั้นไม่ใช่ของเล็ก และการตั้งวงปี่พาทย์ระนาดจะต้องตั้งข้างหน้าวงเสมอ เมื่อลาลูแบร์ไม่ได้บันทึกเรื่องระนาดลงไว้จึงเชื่อได้ว่า วงปี่พาทย์สมัยนั้นคงจะยังไม่มีระนาดเป็นแน่

แม้คำพากย์ไหว้ครูหนังใหญ่ของเก่าที่เรียกกันว่า “พากย์สามตระ” นั้น ในฉบับที่ถือว่าเก่าที่สุดก็มีว่าดังนี้

“ชัยศรีโขลนทวาร.............เบิกบานประตู
ฆ้องกลองตะโพนครู..........ดูเล่นให้สุขสำราญ”


อีกความหนึ่งว่า

“พลโห่ขานโห่หวั่นไหว.........ปี่แจ้วจับใจ
ตะโพนและกลองฆ้องขาน”

คำพากย์สามตระทั้งสองบทนี้ไม่มีระนาดทั้งนั้น หลักฐานที่จะอ้างอีกอย่างหนึ่งที่ว่าไม่มีระนาดก็คือ ภาพวงดนตรีบนลายตู้ไม้จำหลักเรื่องวิธูรชาดก สมัยอยุธยา ซึ่งเวลานี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ภาพวงดนตรีภาพนี้ก็มีแต่ฆ้องวงไม่มีระนาด วงปี่พาทย์เครื่องห้าเพิ่งจะมามีระนาดเอาก็คงจะตอนปลายสมัยอยุธยา ซึ่งไทยเราจะคิดขึ้นเองหรือว่าได้แบบมาจากมอญก็ไม่ทราบ

แต่ถึงแม้มีระนาดเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งก็ยังคงเรียกว่า ปี่พาทย์เครื่องห้าอยู่เช่นเดิม เพราะเห็นว่าฉิ่งเป็นเครื่องประกอบจังหวะที่เล็ก จึงไม่นับ หรือว่ายังจะนับถือคำว่า “ห้า” ซึ่งมาจาก “ปัญจดุริยางค์” ของอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดก็ได้


มโหรี

ในสมัยอยุธยาได้มีวงดนตรีเกิดขึ้นอีกวงหนึ่ง คือ วงดนตรีที่ในสมัยปัจจุบันเราเรียกว่า “มโหรี” วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่ผู้หญิงเป็นผู้บรรเลง สำหรับขับกล่อมถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงพระสำราญ

วงมโหรีครั้งแรกมีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนดีดพิณที่เรียกว่ากระจับปี่คนหนึ่ง สีซอสามสายคนหนึ่ง ตีทับ (คือโทน) คนหนึ่ง กับคนร้องตีกรับพวงด้วยคนหนึ่ง

ต่อมาจึงได้เพิ่มคนบรรเลงและเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ รำมะนาให้ตีคู่กับโทนคนหนึ่ง กับคนเป่าขลุ่ยอีกคนหนึ่ง วงมโหรีตอนนี้ จึงมีอยู่ ๖ คน ภายหลังจึงได้เพิ่มฉิ่งขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คงจะให้คนร้องตีแทนกรับ

สมัยต่อมาได้นำเอาจะเข้ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของมอญเข้ากับประสมแทนกระจับปี่เพราะเป็นสิ่งที่บรรเลงทำนองได้ละเอียดลออกว่า เสียงก็ไพเราะกว่า และเป็นสิ่งที่วางกับพื้นราบดีดได้ถนัดกว่ากระจับปี่ วงมโหรีได้เป็นมาดังนี้ตลอดสมัยอยุธยา


วงมโหรีโบราณ เครื่องสี่

วงมโหรีโบราณเครื่องหก

วงเครื่องสาย


เครื่องดนตรีจำพวกเครื่องสายนั้นในสมัยอยุธยาได้มีอยู่แล้วหลายอย่าง สมัยอยุธยาคงจะมีผู้เล่นดนตรีจำพวกซอ ขลุ่ย อยู่เป็นอันมาก และอาจจะเล่นกันอย่างแพร่หลายจนความสนุกสนานเพลิดเพลินนั้น ทำให้เล่นกันเกินขอบเขตเข้าไปจนถึงใกล้พระราชฐาน

จึงถึงกับมีบทบัญญัติกำหนดโทษไว้ในกฎมณเฑียรบาลในตอนหนึ่ง ว่าดังนี้

“ อนึ่งในท่อน้ำ ในสระแก้ว ผู้ใดขี่เรือคฤ เรือปทุน เรือกูบ และเรือมีสาตราวุธ และใส่หมวกคลุมหัวนอนมา ชายหญิงนั่งมาด้วยกัน อนึ่งชเลาะตีด่ากัน ร้องเพลงเรือ เป่าปี่เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับ โห่ร้องนี่นัน

อนึ่งพิริยหมู่แขก ขอม ลาว พะม่า เมง มอญ มสุม แสง จีน จาม ชวา นานาประเทษทั้งปวง และเข้ามาเดิรในท้ายสนมก็ดี ทั้งนี้อัยการขุนสนมห้าม ถ้ามิได้ห้ามปรามเกาะกุมเอามาถึงศาลา ให้แก่เจ้าน้ำเจ้าท่าแลให้นานาประเทษไปมาในท้ายสนมได้ โทษเจ้าพนักงานถึงตาย”


โทนทับ

เครื่องดนตรีต่างๆ ที่ได้ระบุมาในกฎมณเฑียรบาลนี้ นอกจากปี่ซึ่งอยู่ในวงปี่พาทย์และกระจับปี่ในวงมโหรีแล้ว ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่อยู่ในวงเครื่องสายทั้งสิ้น คือ มีซอ ขลุ่ย จะเข้ และโทนทับ

ส่วนซอนั้นจะเป็นซอสามสายอย่างวงมโหรี หรือจะเป็นซอด้วงซออู้อย่างที่เราบรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายก็ไม่ทราบได้ แต่เท่าที่พิจารณาตามสภาพการณ์ซึ่งเล่นกันมากมายแพร่หลายถึงต้องบัญญัติไว้เป็นกฎหมายห้ามกันอย่างนี้

คงต้องเป็นของที่ค่อนข้างจะเล่นง่ายและหาง่าย จึงเข้าใจว่าซอที่ระบุในกฏมณเฑียรบาลนี้จะเป็นซอด้วงซออู้ ที่บัญญัติไว้ว่า “ซอ” เฉย ๆ ก็เพื่อให้คลุมไปถึงซอสามสายและซออื่นๆ ที่จะมีผู้คิดสร้างเลี่ยงกฎหมายในภายหลังด้วย

ถ้าเป็นอย่างนี้วงเครื่องสายไทยในสมัยอยุธยาก็มีพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้ว คือ มีซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยเป็นเครื่องบรรเลงทำนอง โทน ทับ และฉิ่งเป็นเครื่องบรรเลงประกอบจังหวะ ส่วนขลุ่ยก็คงจะมีแต่ขลุ่ยเลาขนาดกลาง ซึ่งเราเรียกกันในสมัยนี้ว่า “ขลุ่ยเพียงออ” เลาเดียว

“ขลุ่ยหลิบ” คือขลุ่ยขนาดเล็กมีเสียงสูงนั้นยังไม่มี แต่ “โทนทับ” นั้นเป็นการเรียกทับศัพท์ เพราะทับคือโทน โทนก็คือทับ จึงเห็นได้ว่าเวลานั้นเครื่องกำกับจังหวะมีแต่โทนคือทับอย่างเดียว ยังไม่มีรำมะนามาผสม

ส่วนชื่อวงที่มีเครื่องสายผสมนี้คงจะไม่เรียกว่า วงเครื่องสาย แต่อาจจะเรียกว่า “ดนตรี” ก็ได้ เพราะในกฎมณเฑียรบาลนั่นเองแยกเรียกมโหรีกับดนตรีเป็นคนละอย่าง

กฎมณเฑียรบาลที่ว่านั้นคือ ตอนซึ่งว่าด้วยการพิธีตรองเปรียงที่กำหนดเรือต่างๆ มีอยู่ตอนหนึ่งว่า

“เรือปลาลูกขุนเฝ้า น่าเรือเบญจา เรือจะเข้แนมทั้งสองข้าง ซ้ายดนตรี ขวามโหรีฯ”

คำว่า “ดนตรี” ในที่นี้ย่อมเหมาะที่จะเรียกชื่อวงเครื่องสายยิ่งกว่าวงอื่นใด เพราะคำว่า “ดนตรี” ก็แปลตรงอยู่ว่า “ผู้มีสาย”

เท่าที่ได้รวบรวมกล่าวมาแล้ว ย่อมเป็นที่แน่นอนว่า ในสมัยอยุธยานั้นมีเครื่องดนตรีครบทั้ง ๓ ประเภท คือ ปี่พาทย์ มโหรี และเครื่องสาย

จากหนังสือ ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ สุรพล สุวรรณ

อ้างอิง : สุรพล สุวรรณ.2549.ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : แอคทีฟพริ้นท์.


ขอขอบคุณ สถาบันอยุธยาศึกษา-ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย


ภุมวารสิริสวัสดิ์ - มานมนัสรื่นรมณีย์ ที่มาอ่านค่ะ


Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2552 11:25:58 น. 0 comments
Counter : 8735 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.