"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
17 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ







ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ





ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 — ) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ประวัติ

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่บ้านห้องแถว ถนนทรงพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เกิดและเติบโตจากครอบครัวชนชั้นกลาง คุณพ่อชื่อ เชิญ (เปลี่ยนนามสกุลเดิมจาก "แก่นแก้ว" เป็น "เกษตรศิริ") จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

คุณพ่อรับราชการเป็นเทศมนตรี อำเภอบ้านโป่ง และทำการค้าขายมี "ร้านขายปืนบ้านโป่ง" คุณแม่ชื่อ ฉวีรัตน์ (สกุลเดิม "เอี่ยมโอภาส") จบการศึกษาจากโรงเรียนพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาชีพเป็นพยาบาลและผดุงครรภ์

เมื่อ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อายุได้เพียง 7 เดือน เกิดเหตุการณ์กองทัพญี่ปุ่นบุกไทย (8 ธันวาคม 2484) และใช้บริเวณสถานีรถไฟหนองปลาดุก ซึ่งใกล้กับอำเภอบ้านโป่ง เป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นเพื่อควบคุมการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จนก่อให้เกิด "เหตุการณ์บ้านโป่ง" ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว

และเมื่อถึงช่วงปลายสงคราม ซึ่งเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนักที่หนองปลาดุก คุณแม่ฉวีรัตน์ จึงได้พา ดร.ชาญวิทย์ (อายุ 3 ขวบ) หนีหลบภัยสงครามไปยังบ้านญาติในคลองบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เริ่มเรียน จากโรงเรียนเฉลิมวิทยา ที่วัดกลางปากน้ำ จังหวัดสมุทรปรากการ ซึ่งคุณตาคุณยายเป็นเจ้าของโรงเรียน จากนั้นกลับมาเรียนที่บ้านโป่งอีกครั้ง โดยเริ่มชั้นประถมศึกษา 1 - 2 ที่โรงเรียนนารีวุฒิวิทยาลัย โรงเรียนแม่ชีคาทอลิก โดยเรียนเพียง 1 ปี (ข้ามชั้น ป. 1 ไป ป. 2) เนื่องจากอ่านออกเขียนได้มาอยู่แล้ว

จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับประถม 3 - 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 (ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2497 เป็นเวลา 5 ปี) ที่โรงเรียนสารสิทธิพิทยาลัย โรงเรียนบาทหลวงคาทอลิก

เมื่ออายุ 14 ปี พ.ศ. 2498 ดร.ชาญวิทย์เดินทางเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 8 จากนั้นสอบเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (แผนกการทูต) โดยมีผลการเรียนดีจนได้รับเกียรตินิยมดี และได้รับรางวัลภูมิพล ในปี พ.ศ. 2506

ไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุน Rockefeller Foundation ผ่านภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ไปเรียนในระดับปริญญาโททางการทูตที่ Occidental College รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2508 - 2510)

จากนั้นให้เรียนต่อระดับปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล รัฐนิวยอร์ก เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2510 - 2515) โดยเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง The Rise of Ayudhaya

การเป็นนักเรียนนอกในยุค 60s ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวิธีคิดและการมองโลกของ ดร. ชาญวิทย์ ซึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นยุคที่เกิดกระแส "ซ้ายใหม่" หรือ New Left ในกลุ่มคนหนุ่มสาวในสหรัฐฯ ที่กบฏต่อทุกอย่างที่เป็นจารีตดั้งเดิม

โดยการทุ่มเทชีวิตให้กับการชุมนุนประท้วง ในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น สงครามเวียดนาม การแต่งกาย ฯลฯ จนเกิดเป็นค่านิยม Hippies หรือบุปผาชน ประสบการณ์ชีวิตช่วงนี้ส่งผลให้ ดร.ชาญวิทย์ เกิดจิตวิญญาณที่อิสระเสรี

และเกิดจิตสำนึกที่จะเรียนรู้และขุดคุ้ยแสวงหาความจริง ความถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเป็นนักประวัติศาสตร์ของ ดร.ชาญวิทย์ ในเวลาต่อมา และจากประสบการณ์นี้เองส่งผลให้ ดร.ชาญวิทย์ ผลิตผลงานต่างๆ ที่ก้าวทันโลกและรักษ์รากเหง้า

ด้วยความกล้าหาญทางจริยธรรม เพื่อการต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม และความเสมอภาคในสังคม และในขอบเขตเหนือความเป็นรัฐประชาชาติ ด้วยความมุ่งหวังให้สาธารณะชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและมีส่วนในกระบวนการเรียนรู้ด้วย จนบางคนเรียก ดร.ชาญวิทย์ว่า "ปัญญาชนสาธารณะ"

การศึกษา

ประถมศึกษา โรงเรียนเฉลิมวิทยา สมุทรปราการ
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ราชบุรี
มัธยมศึกษาตอนปลายและเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ สาขาการทูต (เกียรตินิยมดี-รางวัลภูมิพล) คณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาโท สาขา Diplomacy and World Affairs จาก วิทยาลัยออกซิเดนทอล วิทยาลัยเอกชนขนาดเล็กในเมือง ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2510
ปริญญาเอก ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล นิวยอร์ก พ.ศ. 2515

การทำงาน

เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2516
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาพื้นฐานสมัยนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519
หัวหน้าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ พ.ศ. 2524 - 2526
รองผู้อำนวยการและกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษา พ.ศ. 2525 - 2528
รองอธิการบดี (ฝ่ายธรรมศาสตร์ 50 ปี) และกรรมการสภามหาวิทยาลัย สมัยคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2526 - 2529
รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา พ.ศ. 2529 - 2531
คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534 - 2537
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มิ.ย. 2537 - 2538)

ปัจจุบัน ประธานที่ปรึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAs) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อื่น ๆ

นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต (พ.ศ. 2520-2521)
ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (พ.ศ. 2521-2522)
ผู้ควบคุมวิชาสัมมนาเรื่องประเทศไทย โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ (พ.ศ. 2528)
บรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2524-2526)
เลขานุการก่อตั้งกองทุนธรรมศาสตร์ 50 ปี (พ.ศ. 2527)
ประธานกรรมการก่อตั้งกองทุนศิลปศาสตร์ 30 ปี (พ.ศ. 2535)
ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน)
กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (พ.ศ. 2521-ปัจจุบัน)
กรรมการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2533)
ฯลฯ


งานเขียนบางส่วน

14 ตุลา บันทึกประวัติศาสตร์, ISBN 9749144961
3 ทศวรรษ 14 ตุลากับประชาธิปไตยไทย, ISBN 9749248724
การค้าสังคโลก, ISBN 5501307677
ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี, ISBN 9748701794
เจ้านโรดม สีหนุกับนโยบายความเป็นกลางของกัมพูชา, ISBN 5501354810
รายงานชวา สมัย ร.5, ISBN 9749171683
สยามพาณิชย์, ISBN 5502053415
บทความในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม

ผู้สถาปนา โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์ค่ะ


Create Date : 17 กันยายน 2553
Last Update : 18 กันยายน 2553 0:56:03 น. 0 comments
Counter : 1953 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.