"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
5 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
โองการแช่งน้ำ


ประวัติ


โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ของไทย นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นตรงกัน ว่าแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่นักวิชาการบางท่าน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่าวรรณคดีเรื่องนี้น่าจะแต่งขึ้นอย่างน้อยก็ในสมัย พระเจ้าอู่ทอง ผู้ทรงสถาปนาเมืองอโยธยา (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอยุธยา) ขึ้น


คำศัพท์และสำนวนภาษา
โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีที่ใช้คำเก่า แต่เป็นคำไทยแม้เป็นส่วนมาก ทำให้อ่านเข้าใจยาก ทำให้นักวิจารณ์สับสน ซึ่งแตกต่างจากวรรณคดีที่ใช้ภาษาบาลีหรือสันสกฤต ที่สามารถสืบหาความหมายได้ง่ายกว่า เช่น ลิลิตยวนพ่าย ซึ่งใช้คำศัพท์บาลีสันสกฤตปะปนอยู่ตลอดทั้งเรื่อง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระราชดำริ ว่า "โองการแช่งน้ำนี้เรียกว่า โคลง เขียนเป็นหนังสือพราหมณ์ แต่เมื่อตรวจดูจะกำหนดเค่าว่าเป็นโคลงอย่างไรก็ไม่ได้สนัด ได้เค้าๆ บ้างแล้วก็เลือนไป แต่เนื้อความนั้นเป็นภาษาไทย ถอยคำที่ใช้ลึกซึ้งที่ไม่เข้าใจบ้างก็มี..." ("พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล", พระราชพิธีสิบสองเดือน)

คำศัพท์ในโองการแช่งน้ำมีการผสมผสาน เริ่มตั้งแต่คำศัพท์บาลีและสันสกฤต โดยเฉพาะในช่วงต้นที่เป็นการบูชาเทพเจ้าทั้งสาม เช่น โอม สิทธิ มฤตยู จันทร์ ธรณี เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ไทยโบราณ มีลักษณะของคำโดดพยางค์เดียวเป็นส่วนใหญ่ หลายคำปรากฏอยู่ในเอกสารภาษาไทย และจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัย และอยุธยา นอกจากนี้ยังปรากฏคำในภาษาถิ่นของไทยด้วย เช่น สรวง แผ้ว แกล้ว แล้งไข้ แอ่น แกว่น ฯลฯ

สำหรับคำเขมรนั้นปรากฏไม่มากนัก เช่น ถวัด แสนง ขนาย ขจาย ฯลฯ

ในส่วนของสำนวนภาษานั้นมีลักษณะการแช่งที่ปรากฏทั่วไปในสังคมไทย เช่น "ขอให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี"


ลักษณะคำประพันธ์
เชื่อกันว่าโองการแช่งน้ำฉบับนี้ แต่งขึ้นด้วย โคลงห้า ที่นิยมใช้กันในอาณาจักรล้านช้างในยุคเดียวกันนั้น กล่าวคือ บาทหนึ่ง มี 5 คำ เป็นวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 2 คำ หนึ่งบทมี 4 บาท นิยมใช้เอกโท (เอกสี่ โทสาม) แต่สามารถเพิ่มสร้อยหน้า และสร้อยหลังบาทได้ ทั้งนี้ยังมีร่ายสลับ จึงนิยมเรียกว่า ลิลิต แม้จะไม่สอดคล้องกับธรรมเนียมการแต่งลิลิตทั่วไป ที่มักจะแต่งร่ายสุภาพร้อยกับโคลงสุภาพ หรือร่ายดั้นร้อยกับโคลงดั้น ก็ตาม

ตามหลักแล้ว ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า เข้าลิลิต

วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ สำหรับโองการแช่งน้ำ แม้จะเคยเรียกกันว่า ลิลิตโองการแช่งน้ำ มาก่อน แต่ในปัจจุบันนักวรรณคดีส่วนใหญ่สมัครใจที่จะเรียกชื่อโดยไม่มีคำว่าลิลิต ทั้งๆ ที่ในโองการแช่งน้ำ ก็แต่งด้วยร่ายสลับโคลง ทว่าเป็นร่ายโบราณ สลับกับโคลงห้า ซึ่งไม่ปรากฏแบบแผนที่ไหนมาก่อน


เนื้อหา
เนื้อหาในลิลิตโองการแช่งน้ำอาจแบ่งได้เป็น 5 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

1.สดุดีเทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ตามความเชื่อของฮินดู ได้แก่ พระผู้ประทับเหนือหลังครุฑ "สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี"(พระนารายณ์) พระผู้ประทับบนวัวเผือก "เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเปนปิ่น" (พระศิวะ) และผู้ประทับ "เหนือขุนห่าน" (พระพรหม) เป็นร่ายสามบทสั้นๆ

2.กล่าวถึงกำเนิดโลก และสังคมมนุษย์ อัญเชิญเทพยดา พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีต่างๆ มาเป็นพยาน ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า

3.คำสาปแช่งผู้ทรยศ คิดไม่ซื่อต่อเจ้าแผ่นดิน ให้ประสบภยันตรายนานา ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า เป็นเนื้อหาที่ยาวที่สุดในบรรดา 5 ส่วน

4.คำอวยพรแก่ผู้จงรักภักดีแก่ผู้ที่มีความจงรักภักดี มีเนื้อหาสั้นๆ

5.ถวายพระพรเจ้าแผ่นดิน เป็นร่ายสั้นๆ เพียง 6 วรรค


ลิลิตโองการแช่งน้ำ

นานา อเนกน้าว เดิมกัลป์ :จะขอกล่าวถึงเรื่องต่างๆ นานา เมื่อครั้ง ปฐมกัป (เดิมกัลป์)
จักร่ำ จักราพาฬ เมื่อไหม้ : จะกล่าวร่ำร้อง บอกถึงคราวเมื่อ จักรวาล ถูกไฟไหม้
กล่าวถึง ตระวันเจ็ด อันพลุ่ง :จะกล่าวถึง ดวงตะวัน อันลุกพลุ่ง มีเจ็ดดวง
น้ำแล้งไข้ ขอดหาย ฯ : น้ำแห้งแล้ง แห้งขอด เหือดหายไปจากโลก
เจ็ดปลา มันพุ่งหล้า เป็นไฟ : ปลาใหญ่เจ็ดตัวต้องตาย ไขมันของปลาลุกเป็นไฟ
วะวาบ จัตุราบาย แผ่นขว้ำ : ไฟไหม้ลุกวาบๆ ไปถึง จตุระ+อบาย (อบายภูมิทั้งสี่)
ชักไตรตรึงษ์ เป็นเผ้า : ไฟทำลายสวรรค์ชั้น ไตรตรึงษ์/ดาวดึงส์ เป็นผงเผ้า
แลบ่ล้ำ สีลอง ฯ : แสงแห่งไฟนั้นเรืองลอง บ่มีแสงไฟใด สีสว่างล้ำกว่าแสงนี้
สามรรถญาณ : ผู้มีญาณอันสามารถ (พระพรหม)
ครอบเกล้าครองพรหม : ผู้คุ้ม(ครอบ-คลุม)เกล้า(ชาวเทวดา)ครองสวรรค์ชั้นพรหม
ฝูงเทพนองบนปานเบียดแป้ง : เทวดาจากสวรรค์ชั้นล่างๆ หนีตาย ขึ้นมาอาศัย บนพรหมโลก
สรลมเต็มพระสุธาวาสแห่งหั้น : เทวดาเบียดเสียดเหมือนผงแป้งสระหลมสลอนเต็มพรหมชั้นสุธาวาส
ฟ้าแจ้งจอดนิโรโธ ฯ : ฟ้าเริ่มสว่างแจ้ง(ไม่มีควันไฟแล้วไฟที่เคยไหม้) ดับ (นิโรธ) ลง
กล่าวถึงน้ำฟ้าฟาดฟองหาว : กล่าวถึง ฝนตก เป็นละอองฟาดฟอง ไปทั่วฟากฟ้า
ดับเดโชฉ่ำหล้า : ดับ ความร้อน (เดโช) ชื่นฉ่ำทั่วหล้า
ปลากินดาวเดือนแอ่น : ฝนตกทำให้น้ำท่วมปลาว่ายกินดาวและเดือน(จนพุง)แอ่น
ลมกล้าป่วนไปมา ฯ : ลมพัด (อย่างแกร่งกล้า) ไปมา
แลเป็นแผ่นเมืองอินทร์ : แผ่นดินเริ่ม คุมรูป เกิดขึ้น (เมืองอินทร์=เมืองอันยิ่งใหญ่)
เมืองธาดาแรกตั้ง : เมืองอัน พระพรหม (ธาดา) ก่อตั้งขึ้น
ขุนแผนแรกเอาดินดูที่ : เทวดาวิศวกร(ขุนแผน)ตนแรกออกดูทำเลสร้างเมือง
ทุกยั้งฟ้าก่อคืน ฯ : ทั่วทุกผืนดินและพื้นฟ้าก็ก่อร่างสร้างรูปกลับคืนเหมือนเดิม
แลเป็นสี่ปวงดิน : แลเกิดเป็นทวีปทั้งสี่
เป็นเขายืนทรง้ำหล้า : บังเกิดภูเขา สูงทระง้ำ ค้ำแผ่นดิน
เป็นเรือนอินทร์ถาเถือก : บังเกิดเมืองสวรรค์ขึ้นมาใหม่(เมืองอินทร์)จนดารดาษ
เป็นสร้อยฟ้าคลี่จึ่งบาน ฯ : วิมานคลี่คลายเรียงรายเหมือนสร้อยประดับฟากฟ้าชวนเบิกบาน
จึ่งเจ้าตั้งผาเผือกผาเยอ : พระพรหมสร้าง เขาไกรลาส เขาพระสุเมรุ
ผาหอมหวานจึ่งขึ้น : สร้างเขาคันธมาส ขึ้น
หอมอายดินเลอก่อน : กลิ่นดินที่ถูกย่างไฟช่างมีกลิ่นอายอันเลอเลิศกว่ากลิ่นดินสมัยก่อน
สรดึ้นหมู่แมนมา ฯ : เทวดาจากเมืองแมนก็สระดิ้นกันลงมา(จะกินดิน)
ตนเขาเรืองร่อนหล้าเลอหาว : เทวดา มีตัวตนเรืองรองบินร่อนลงมาจากฟากฟ้า
หาวันคืนไป่ได้ : ไม่ตาย (อยู่เหนือเวลาหาวันคืนไป่ได้)
จ้าวชิมดินแสงหล่น : พอเทวดา ชิม/กิน ดิน แสงสว่างที่มีในร่างก็หล่นหาย
เพียงดับไต้มืดมูล ฯ : มืดเหมือนใครดับคบไฟ(คบไฟเรียกว่า ไต้ เช่น จุดไต้ตำตอ)

ลิลิตโองการแช่งน้ำ กล่าวถึงเหตุการณ์ โลกประลัยด้วยไฟ เพราะมี ตระวันเจ็ด(ดวง) อัน (ลุกไหม้) พลุ่ง (พล่าน) ดังนั้น น้ำ จึง แล้ง ไข้ ขอดหาย (น้ำแล้งและเป็นไข้ เพราะน้ำมีความร้อนสูง น้ำจึงแห้งขอดหายไป)

เจ็ดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟ (ทวีปทั้ง 7 เกิดโกลาหล เพราะ หินเหลวร้อนพุ่งปะทุสู่ท้องฟ้า คนโบราณเชื่อว่า ใต้เปลือกโลกมีปลา ตัวใหญ่ชื่อปลาอานนท์ หนุนเปลือกโลกอยู่ ที่จริงปลาอานนท์ นี้ก็คือเปลือกโลกของทวีปต่างๆนั่นเอง )


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Create Date : 05 กันยายน 2552
Last Update : 5 กันยายน 2552 16:39:22 น. 0 comments
Counter : 2465 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.