"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
ประตูพระบรมมหาราชวัง


ประตูพระบรมมหาราชวัง


ประตูรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง ( Entrances to The Grand Palace Compond )
ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระบรมมหาราชวังขึ้น พร้อมกับสร้างประตูไม้ ยอดทรงมณฑป รอบกำแพงพระบรมมหาราชวังด้วย จำนวน ๑๗ ประตู

แต่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการขยายอาณาเขตของพระบรมมหาราชวัง จึงก่อกำแพง พระบรมมหาราชวังทางทิศตะวันตกกับทิศใต้ใหม่ ทำให้จำนวนประตูลดลง

จนกระทั้งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แก้ไขลักษณะประตู ซึ่งเดิมสร้างด้วยไม้แบบมณฑป ทาสีดินแดง มาเป็นประตูแบบฝรั่ง ก่ออิฐถือปูน

และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แก้ไขลักษณะซุ้มประตูแบบฝรั่งมาเป็นแบบปรางค์
ทั้งหมด แต่แก้ได้เฉพาะประตูตามแนวกำแพงทางทิศเหนือกับทิศตะวันออก เสด็จสวรรคตเสียก่อน จึงมีซุ้มประตูตามแนวกำแพงพระบรมมหาราชวังที่ต่างกันมาถึงบัดนี้

ประตูรอบกำแพงพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน มี ๒ ชั้น ได้แก่

๑. ประตูชั้นนอก

๑.๑. ประตูสุนทรทิศา ตั้งอยู่ตรงที่แนวกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านตะวันตกมาบบรรจบกับแนวกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านเหนือ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ และใน รัชกาลที่ ๓ ได้แก้ไขซุ้มประตูให้เป็นแบบฝรั่ง ดังปรากฏมาจนบัดนี้

๑.๒. ประตูวิมานเทเวศร์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูสุวรรณภิบาล สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เพื่อใช้เป็นทางอัญเชิญพระราชสาสน์จากต่างประเทศ โดยเริ่มแห่ผ่านเข้ามาทาง ประตูวิมานเทเวศร์ แล้วผ่านหน้าศาลาลูกขุนใน จึงเลี้ยวเข้าประตูพิมานไชยศรี ตรงไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

๑.๓. ประตูวิเศษไชยศรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูพิมานไชยศรี สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระมหามณเฑียร และได้เกิดฟ้าผ่าที่ประตูนี้ ในตอนที่อัญเชิญพระแสงขรรค์ชัยศรีเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง จึงได้รับพระราชทานนามประตูว่า " ประตูวิเศษไชยศรี "

๑.๔. ประตูมณีนพรัตน์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเศวตกุฎาคารวิหารยอด ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เพื่อใช้เป็นประตูฉนวนให้ฝ่ายในออกไปงานพระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง จึงมีนามสามัญว่า " ประตูฉนวนวัดพระแก้วมรกต "

๑.๕. ประตูสวัสดิโสภา ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูเกยหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใกล้กับป้อมเผด็จดัสกร สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เพื่อใช้เข้าออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และให้ประชาชนเข้ามาปิดทองคำเปลวบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จึงมีนามสามัญว่า " ประตูทอง "

๑.๖. ประตูเทวาพิทักษ์ ตั้งอยู่ข้างพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทกับป้อมขยันยิงยุทธ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ และในรัชกาลที่ ๔ ได้แก้ไขเป็นประตู ๒ ชั้น เพื่อเพิ่มความ ปลอดภัยให้แก่บริเวณพระอภิเนาว์นิเวศน์ ในพระราชอุทยานสวนศิวาลัย แต่ในปัจจุบันใช้เป็นทางเข้าสู่พระที่นั่งบรมพิมาน เพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ

๑.๗. ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ตั้งอยู่ใกล้พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทกับป้อมฤทธิรุดโรมรัน สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินสู่พระราชฐานชั้นใน เป้นการส่วนพระองค์ หรือเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีที่จัดขึ้นในพระราชฐานชั้นใน และมีประตูราชสำราญคั่นระหว่างประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์กับพระราชฐานชั้นใน

๑.๘. ประตูวิจิตรบรรจง ตั้งอยู่ระหว่างป้อมมณีปราการกับป้อมพิศาลสีมา และอยู่ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นประตูแบบคฤห สร้างขึ้น ในรัชกาลที่ ๒ เพื่อใช้เป็นทางอัญเชิญพระบรมศพของพระบรมวงศานุวงศ์ออกนอกพระบรมมหาราชวัง จึงมีนามสามัญว่า " ประตูฉนวนวัดโพธิ์ "

๑.๙. ประตูอนงคารักษ์ ตั้งอยู่ถัดจากป้อมพิศาลสีมาไปทางทิศตะวันตก และอยู่ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นประตูแบบคฤห สร้างขึ้น ในรัชกาลที่ ๒ เพื่อใช้เป็นทางเอาศพของข้าราชบริพารออกนอกพระบรมมหาราชวัง จึงมีนามสามัญว่า " ประตูผีชั้นนอก "

๑.๑๐. ประตูพิทักษ์บวร ตั้งอยู่ใกล้ป้อมภูผาสุทัศน์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เป็นประตูที่ทาสีแดง และอยู่ริมตลาดท้ายสนม จึงมีนามสามัญว่า " ประตูแดงท้ายสนม " หรือ " ประตูท้ายสนม "

๑.๑๑. ประตูช่องกุด ตั้งอยู่ใกล้ป้อมสัตบรรพต สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เป็นประตูที่เจาะทะลุกำแพงพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ประชาชนภายนอกใช้เข้าออก และติดต่อกับ ข้าราชบริพารในพระบรมมหาราชวัง

๑.๑๒. ประตูอุดมสุดารักษ์ ตั้งอยู่ระหว่างป้อมโสฬสศิลากับป้อมมหาโลหะ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เพื่อใช้เป็นทางเสด็จออกสู่ท่าราชวรดิฐของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และให้ข้าราชบริพารฝ่ายใน ใช้เป็นทางออกสู่ท่าราชวรดิฐกับตลาด จึงมีนามสามัญว่า " ประตูดิน "

๑.๑๓. ประตูเทวาภิรมย์ ตั้งอยู่ระหว่างป้อมทัศนานิกรกับป้อมมหาโลหะสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ สันนิษฐานว่าใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินออกสู่ท่าราชวรดิฐ


๒. ประตูชั้นกลาง

๒.๑. ประตูรัตนพิศาล ตั้งอยู่ระหว่างอาคารกระทรวงการต่างประเทศ (อดีต ) กับอาคารพระคลังมหาสมบัติ ( อดีต ) สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบมณฑป กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นนอกกับพระราชฐานชั้นกลาง ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน ได้แก้ไขให้เป็นประตูไม่มีหลังคา กับตั้งป้อมทหารรักษาวังข้างประตูรัตนพิศาล

๒.๒. ประตูสุวรรณภิบาล ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูวิมานเทเวศร์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบมณฑป กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นนอกกับพระราชฐานชั้นกลาง และทำเป็นประตู ๒ ชั้น แต่ในรัชกาลที่ ๕ ได้แก้ไขให้เป็นประตู ๑ ชั้น มีซุ้มประตูแบบฝรั่ง และใช้เป็นทางไปสู่หมู่พระมหาปราสาท เนื่องในพระราชพิธีสำคัญ

๒.๓. ประตูพิมานไชยศรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูวิเศษไชยศรี สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตู ๒ ชั้น แบบมณฑป กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นนอกกับพระราชฐาน ชั้นกลาง ซึ่งเคยเกิดฟ้าผ่าที่ประตูนี้ ในตอนที่อัญเชิญพระแสงขรรค์ชัยศรีเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง จึงได้รับพระราชทานนามประตูว่า " ประตูพิมานไชยศรี " และ ่ในรัชกาลที่ ๕ ได้แก้ไข ซุ้มประตูให้เป็นแบบฝรั่งมาจนถึงปัจจุบัน

๒.๔. ประตูดุสิตศาสดา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ใกล้กับหอพระสุราลัยพิมาน สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบพรหมพักตร์ กั้นระหว่าง พระราชฐานชั้นกลางกับพระราชฐานชั้นใน เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินออกสู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๒.๕. ประตูสนามราชกิจ ตั้งอยู่ระหว่างหมู่พระมหามณเฑียรกับหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ เป็นประตูแบบปรางค์ กั้นระหว่างพระราชฐาน ชั้นกลางกับพระราชฐานชั้นใน และมียามเฝ้าประตูตลอดเวลา จึงมีนามสามัญว่า " ประตูยามค่ำ " หรือ " ประตูย่ำค่ำ "

๒.๖. ประตูพรหมโสภา ตั้งอยู่ระหว่างหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกับหมู่พระมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เป็นประตูแบบปรางค์ กั้นระหว่างพระราชฐาน ชั้นกลางกับพระราชฐานชั้นใน

๒.๗. ประตูพรหมศรีสวัสดิ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งดุลิตมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เป็นประตูแบบปรางค์ กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นกลาง กับพระราชฐานชั้นใน

๒.๘. ประตูศรีสุนทรทวาร ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูเทวาภิรมย์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบปรางค์ กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นกลางกับพระราชฐานชั้นใน สันนิษฐานว่าเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินออกสู่ท่าราชวรดิฐ


๓. ประตูชั้นใน

๓.๑. ประตูยาตรากษัตริย์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูอุดมสุดารักษ์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับพื้นที่นอกแนวกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นใน เพื่อใช้เป็นทางเสด็จออกสู่ท่าราชวรดิฐของพระบรมวงศานุวงศ์กับข้าราชบริพารฝ่ายใน

๓.๒. ประตูอนงคลีลา ตั้งอยู่ถัดจากประตูศรีสุดาวงศ์ไปทางทิศเหนือ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบมณฑป กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับพื้นที่นอกแนว กำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นใน แต่ในรัชกาลที่ ๔ แก้ไขเป็นแบบหลังคาจั่ว ใช้เป็นทางเข้าออกของข้าราชบริพารฝ่ายใน

๓.๓. ประตูราชสำราญ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ใกล้พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับสวนศิวาลัย และในรัชกาลที่ ๔ ได้แก้ไขรูปแบบของประตูราชสำราญ ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

๓.๔. ประตูศรีสุดาวงศ์ ตั้งอยู่เยื้องกับประตูช่องกุด สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบมณฑป กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับพื้นที่นอกแนวกำแพง พระบรมมหาราชวังชั้นใน และในรัชกาลที่ ๔ แก้ไขเป็นแบบหลังคาจั่ว เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ประตูช่องกุดของข้าราชบริพารฝ่ายใน

๓.๕. ประตูมังกรเล่นลม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระที่นั่งมหิศรปราสาท สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบจีน กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับสวนศิวาลัย

๓.๖. ประตูกลมเกลาตรู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งมหิศรปราสาท สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบจีน กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับสวนศิวาลัย

๓.๗. ประตูชมพู่ไพที ตั้งอยู่ถัดจากประตูกลมเกลาตรูไปทางทิศใต้ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูแบบจีน กั้นระหว่างพระราชฐานชั้นในกับสวนศิวาลัย และได้รับ พระราชนามประตูว่า " ประตูชมพู่ไพที " เพราะปลูกต้นชมพู่ไว้ริมประตู

๓.๘. ประตูเหล็กเพชร ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูเหล็กกล้า ที่กั้นระหว่างบริเวณพระที่นั่งบรมพิมานกับถนนถนอมวิถีที่ตัดผ่านหน้าหมู่พระมหามณเฑียร

๓.๙. ประตูเหล็กกล้า ตั้งอยู่ตรงหน้าหอแก้ว ที่กั้นระหว่างบริเวณพระที่นั่งบรมพิมานกับถนนเขื่อนขันธ์นิเวศน์ด้านตะวันตก

๓.๑๐. ประตูเขื่อนขันธ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวนศิวาลัย เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่สวนศิวาลัย

๓.๑๑. ประตูแถลงราชกิจ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูเทวาพิทักษ์ กั้นระหว่างสวนศิวาลัยกับพื้นที่นอกแนวเขื่อนเพชรของสวนศิวาลัย เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนิน เข้าสู่สวนศิวาลัย


๔. ประตูภายในหมู่พระที่นั่ง

๔.๑. พระทวารเทวราชมเหศวร ตั้งอยู่หลังพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนิน เข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

๔.๒. พระทวารเทวาภิบาล ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ประกอบด้วยพระทวาร ๓ บาน แต่ทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน จะ ใช้พระทวารบานกลางเท่านั้น

๔.๓. พระทวารเทเวศรักษา ตั้งอยู่ใกล้พระที่นั่งสนามจันทร์ เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

๔.๔. พระทวารจักรพรรดิภิรมย์ ตั้งอยู่ที่มุขกระสันตรงพระที่นั่งบุษบก ภายในท้องพระโรงหลัง ของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

๔.๕. พระทวารข้างพิมาน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับประตูชาลอมรินทร เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

๔.๖. พระทวารชาลอมรินทร์ ตั้งอยู่ระหว่างหอศาสตราคมกับพระที่นั่งราชฤดี เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก วัด วัง เวียง โดย "ฝุ่นเมือง"




Create Date : 23 สิงหาคม 2552
Last Update : 23 สิงหาคม 2552 23:25:31 น. 0 comments
Counter : 3305 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.