"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
5 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
ลิลิตยวนพ่าย

ยวนพ่ายโคลงสั้น

ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์

ผู้แต่ง ไม่ปรากฏนาม แต่คงเป็นผู้รู้เรื่องวรรณคดีสันสกฤตและพงศาวดารอย่างลึกซึ้ง จึงแต่งได้ดีมาก

ทำนองการแต่ง แต่งเป็นลิลิตดั้น กล่าวคือเป็นร่ายดั้นและโคลงดั้น บาทกุญชร ต่อมาไม่ใช่คำว่าลิลิตเรียกเพราะการแต่งไม่ได้มีร่ายดั้นประกอบทุกบท มีเพียงร่ายดั้นนำเพียงตอนแรกเท่านั้นจึกเรียก ยวนพ่ายโคลงดั้น

ความมุ่งหมายของการแต่ง เพื่อยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์

ความหมายของคำว่า “ลิลิต” พจพนานุกรมฉบับราชบัณฑิยสถาน 2525 (2538:735) ให้คำนิยามไว้ว่า “ คำประพันธ์ ซึ่งใช้โคลงและร่ายสัมผัสกัน” ในด้านเนื้อหาเป็นการสดุดีวีรกรรมพระมหากษัตริย์

ความหมายของคำว่า “ยวน” คำว่า ยวน ในที่นี้หมายถึงคนล้านนา เพี้ยนมาจาก โยน หรือ โยนก เรียกกันสามัญว่าไท-ยวน ได้แก่คนไทยถิ่นเหนือนั่นเอง

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และเนื้อหา กล่าวถึงสงครามระหว่างไทยใต้(อยุธยา) และไทยเหนือ (ล้านนา) กล่าวโดยสรุปดังนี้

1. เป็นโคลงดั้นยอพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 60 บท คือ โคลงบทที่ 1 – 60 กล่าวถึงเหตุการณ์สมัยพระราชบิดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยกทัพไปรบเขมร พระองค์ประสูติตอนที่พระราชบิดาประชุมพล พระราชบิดาปราบเขมรได้ พระราชบิดาสวรรคต พระองค์ขึ้นเสวยราช


2. โคลงบทที่ 61 – 112 กล่าวถึงเจ้าเมืองพิษณุโลกเอาใจออกห่างจากกรุงศรีอยุธยาไปติดต่อกับพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยกทัพไปตีและปราบปรามมาจนสงบ (ยวนพ่าย) เสด็จประทับที่เมืองพิษณุโลก ทรงทุนุบำรุงพระพุทธศาสนาส่งพระราชบุตรไปลังกา นิมนต์พระเถระมาเผยแพร่พุทธศาสนา พระองค์ทรงผนวชและสร้างวัดพุทธไธศวรรย์

3.โคลงตั้งแต่บทที่ 113 เป็นต้นไป กล่าวถึงพระเจ้าติโลกราชตั้งหมื่นด้งนครเจ้าเชียงชื่น พระเจ้าติโลกราชเสียจริตประหารชีวิตราชบุตร และเรียกหมื่นด้งนครไปเชียงใหม่และประหารชีวิต ภรรยาหมื่นด้งนครแค้นใจ ได้ขอให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถช่วย จึงเกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเชียงใหม่ (ยวนพ่าย)

4. โคลงตั้งแต่บทที่ 290 – 365 เป็นการยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

เรื่องย่อ ตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ

ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น (เชลียง) เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับ เชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่

ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย

พระเจ้าติโลกราชทรงยกทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่ พ่ายไปได้เมืองเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง

ลักษณะคำประพันธ์และภาษาที่ใช้ เป็นร่ายดั้น 2 ตอน และโคลงดั้นบาทกุญชร จำนวน 365 บท ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยโบราณ เขมรและสันสกฤต – บาลี จำนวนมาก อ่านเข้าใจยาก แต่มีความไพเราะ หนักแน่นและประณีตบรรจง


1.ร่ายนำต้นเรื่อง ศรีสิทธิสวัสดิ์ ชยัศดุมงคล วิมลวิบุล อดุลยาดิเรก เอกภูธรกรกช ทสนัชสมุขชลิต วิกสิตสโรดม บรมนพอภิวาท บทรโชพระโคดม สมนุพระสัทธรรมาทิตย์ บพิตรมหิทธิมเหาฬาร …..ฯลฯ

2.โคลงบทแรก

พรหมพิษณุปรเมศเจ้า.............จอมเมรุมาศเฮย
ยำเมศมารุตอร..................... อาศนม้า
พรุณคนิกุเพนทรา..................สูรยเสพย
เรืองรวีวรจ้าจ้า.......................แจ่มจันทร์

3.โคลงที่แสดงอรรถธรรมลึกซึ้ง

เบญเจนทริเยศบั้น..................เบญจา
นันตริยเบญจัก......................ไปล่เปลื้อง
เบญจประการนา....................พิธมารค ก็ดี
เบญจยศนั้นเรื้อง....................รวดพรหม

4. โคลงที่แทรงอารมณ์ขันลึกๆ

เชลยลากลู่ม้า.......................มือมัด
เขาเมื่อยจูงขาย.....................แลกเหล้า
พระยศพ่อท่านทัด..................ไตรโลกย์
ดินหื่นหอมฟ้าเร้า....................รวดขจร

5. อ้างวรรณกรรมอินเดียหลายเรื่อง ในยวนพ่าย กวีผู้ประพันธ์ได้อ้างอิงชื่อตัวละครสำคัญในภารตวรรณกรรมหลายเรื่อง (วรรรณกรรมในอิน เดีย) เช่น รามายณะ และ ภารยุทธ์ เป็นต้น ตัวอย่าง

(1)

พระทรงทัณฑาศเพี้ยง.............ยมยุทธ ยิ่งแฮ
ทรงคทาเทียมภิม...................เลิศล้น
กลทรงสราวุธ........................ราเมศ เพี้ยงพอ
ขมาศโจมรพ้น.......................ที่เทียง

(2)

การช้างพิฆเนศร์น่าว...............ปูนปาน ท่านนา
อัศวทำเทียมกลางรงค์.............เลิศแล้ว
การยุทธเชี่ยวชาญกล..............กลแกว่น
ไหรหว่าอรชุนแก้ว..................ก่อนบรรพ์

(3)

กลริรณแม่นเพี้ยง...................พระกฤษณ
กลต่อกลกันกล.....................เกียจกั้ง
กลกลตอบกลคิด...................กลใคร่ ถึงเลย
กลต่อกลตั้งไว้......................รอยรณ

ข้อสังเกต มีการเล่นคำว่า “กล” ด้วย

6. ร่ายระบุพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ลิลิตยวนพ่ายมีหลักฐานที่ทำให้นักวรรคดีวินิจฉัยว่า แต่งสดุดีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังนี้

“แต่นั้นบั้นนฤเมนทรนฤเบศ นเรศนรินทราธิบดีศรีสรรเพชรญ์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนายกดิลกผู้เป็นเจ้า เกล้าภูมิพล สกลชมพูธิเบศ คือเดชกษัตรีพงศ์ ทรงมงกุฎรัตน์พสราภรณ์ วิภูสิตเสร็จ เสด็จเหรนือปฤษภาคกุญชร ดุจอมรสถิตเอราวัณ ครรไลยังนครคู่ฟ้า ถวัลย์วิภูผ่านหล้า แหล่งเฟี้ยมฟีกบุญ ท่านนา”

แต่ประการสำคัญที่พึงกล่าวไว้คือ ไม่สามารถทราบได้ว่า ใครคือผู้แต่ง

7. ตัวอย่างโคลงถวายพระราชสดุดียอพระเกียรติ ในลิลิตยวนพ่ายอุดมไปด้วยร่ายและโคลงยอพระเกียรติ เช่น

“ชัยยานุภาพท้าว.................เทียนทิน- กรแฮ
เมืองเทพคนธรรพฤๅ............อยู่ถ้อย
ชัยชัยพ่อเพียงอินทร...........นุภาพ
บุญเบิกเมืองถ้วนร้อย...........รอบถวาย

ชัยชัยเมื่อปราบอ้อม............กำแพงเพชร
ผืนแผ่นผายเสมา................ออกกว้าง
ชัยชัยท่านตรัสเตร็จ............ในนารถ
ยศโยคบุญท้าวอ้าง..............อาจครวญ

กษัตริย์สุรราชเรื้อง.............รสธรรม์
บรรหายศยอยวน...............พ่ายฟ้า
สมภารปราบไปกัลป์...........ทุกทวีป
ร้อยพิภาพเหลื่มหล้า...........อยู่เย็น

ร้อยท้าวรวมรีบเข้า.............มาทูล ท่านนา
ถวายประทุมทองเป็น..........ปิ่นเกล้า
สมภารพ่อเพียงสูรย์...........โศภิต
มอญและยวนพ่ายเข้า.........ข่ายเขมร

ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะมาจนทุกวันนี้ ยังสมบูรณ์หรือถูกแต่งเหมือนวรรณคดีบางเรื่อง ถ้อยคำที่ใช้ในโบราณและคำสันสกฤตส่วนมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำเหล่านี้ยังไม่ถูกดัดแปลงแก้ไขจากคนชั้นหลัง จึงเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้านภาษาอย่างมาก

ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับการรบทัพจับศึก แต่ลิลิต เรื่องนี้ก็ยังมีลักษณะวรรณคดีดีเด่นเพราะใช้ถ้อยคำไพเราะ โวหารพรรณนาที่ ก่อให้เกิดจิตนาภาพ

ให้อารมณ์ชื่นชมยินดีในบุญญาธิการของพระเจ้าแผ่นดิน และความรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดีประเภท สดุดีความดีเด่นของลิลิตยวนพ่าย ทำให้กวีภายหลังถือเป็นแบบอย่าง

เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา ปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


สรุปว่า ลิลิตยวนพ่ายมิได้เป็นวรรณคดีขนบประเพณีโดยตรง แต่เป็นวรรณคดีนำทางให้เกิดการยอพระเกียรติ คือ การยอพระเกียรติหรือแต่งสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ เป็นขนบประเพณีที่พึงกระทำสำหรับขุนนาง ข้าราชบริพารหรือเชื้อพระวงศ์สืบมา ถือเป็นการถวายความจงรักภัคดีรูปแบบหนึ่ง


คุณค่าของเรื่องลิลิตยวนพ่าย

1. ในด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีรุ่นหลัง ลิลิตยวนพ่ายมีอิทธิพลต่อนักกวีรุ่นหลังอย่างแน่นอน จะเห็นได้จาก ลิลิตตะเลงพ่าย ที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

2. ในด้านอักษรศาสตร์ ลิลิตยวนพ่านนับเป็นวรรณคดียอพระเกียรติเล่มแรก ที่เป็นบทกวี มีสำนวนโวหารไพเราะอย่างยิ่ง แต่ก็ยากที่จะเข้าใจเหมือนกัน เพราะเต็มไปด้วยศัพท์คำยาก

3. ในด้านวิถีชีวิต ได้แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยอยุธยาว่านิยมยกย่องพระมหากษัตริย์ของตนและจงรักภักดียิ่งนัก ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติ

4. ในด้านประวัติศาสตร์ ทำให้มองเห็น ได้รู้เรื่องราวเหตุการณ์ความเป็นไปในสมัยนั้น ไดรู้ถึงการทำสงครามระหว่างพระมหากษัตริย์ต่างเมืองกัน การรบซึ่งใช้ช้างและม้าเป็นพาหนะ และมีอาวุธด้วย ได้แลเห็นว่าชาติกว่าจะเป็นชาติมาได้ ต้องมีบาดแผลไม่น้อยเลย ชีวิตของชาติ ชีวิตของคนก็เช่นกัน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Create Date : 05 กันยายน 2552
Last Update : 5 ตุลาคม 2552 18:19:21 น. 0 comments
Counter : 11588 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.