"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
กังฟูเส้าหลิน หากหลวงจีนทำไม่ได้ ต้องนั่งคุกเข่าบนพื้นที่เต็มไปด้วยหิมะ จนกว่าจะหมดธูปหนึ่งก้าน







กังฟูเส้าหลิน กังฟูแบบโบราณของจีน





กังฟู หมายถึงวิชาที่ว่าด้วยการใช้เทคนิค ในการเข้าปะทะต่อสู้เป็นสำคัญ มีรูปแบบการร่ายรำ วิทยายุทธและชั้นเชิงในการต่อสู้เป็นหลัก ในการฝึกกังฟูเส้าหลิน จะมีหลักศิลปะกายบริหารที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ

โดยมุ่งเน้นการประสานพลังภายในและภายนอกซึ่งเป็นจุดเด่นโดยเฉพาะ

เป็นการถ่ายทอดวิชาแบบโบราณจากรุ่นสู่รุ่นมานานกว่าพันปี การฝึกกังฟูควบคู่กับการศึกษาพระธรรมของหลวงจีนวัดเส้าหลิน ไม่ได้เป็นการฝึกฝนไว้เพื่อต่อสู้หรือทำร้ายผู้อื่น

แต่เป็นการฝึกเพื่อให้เข้าถึงธรรมะและเป็นอีกทางที่เข้าสู่พระธรรม ทำให้มีสมาธิเพิ่มมากขึ้น มีความรู้กว้างขวาง ทำสมาธิเพื่อให้จิตใจโล่งและสงบทำให้เข้าถึงแก่นธรรมได้มากขึ้น

ภายหลังจากที่ตั๊กม้อได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนในจีนและพำนักที่วัดเส้าหลิน ได้สังเกตเห็นว่าการที่หลวงจีนแต่ละองค์มีร่างกายอ่อนแอ ไม่แข็งแรง

เมื่อนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐานนาน ๆ มักเกิดอาการปวดเมื่อย อาจทำให้สุขภาพร่างกายเกิดการเสื่อมถอย เนื่องจากไม่ได้ออกกำลังกาย จึงคิดค้นวิชากังฟูและเพลงหมัดมวยขึ้น

โดยพิจารณารากฐานจากท่วงท่าและกิริยาของสรรพสัตว์น้อยใหญ่ในป่าบนเทือกเขาซงซาน นำมาดัดแปลงเป็นกระบวนท่าต่าง ๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้หลวงจีนได้ฝึกฝน ภายใต้การเคลื่อนไหวร่างกายและความสงบนิ่ง เพาะบ่มจิตใจให้บริสุทธ์เพื่อเข้าถึงแก่นของธรรมะ และนำไปใช้ในการป้องกันตัว

วิชากังฟูในยุคแรกเริ่มจากกระบวนท่าพื้น ๆ จากเหล่าสรรพสัตว์ที่สามารถพบเห็นได้เช่น เสือที่ดึงเอาลักษณะเฉพาะในการล่าเหยื่อ กวางที่ดึงเอาลักษณะเฉพาะในการเดิน ลิงที่ดึงเอาลักษณะเฉพาะในการเคลื่อนที่ไปมาอย่างรวดเร็ว

นกที่ดึงเอาลักษณะเฉพาะในการลอยตัวอยู่กลางอากาศ และหมีที่ดึงเอาลักษณะเฉพาะของความแข็งแรง บึกบึนในการต่อสู้ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่กระบวนท่าอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้นหลังจากตั๊กม้อถ่ายทอดวิชากังฟูให้แก่หลวงจีน ควบคู่กับการปฏิบัติธรรม กิจวัตรประจำวันหลังจากทำวัตรเช้า ทำสมาธิสวดมนต์เสร็จสิ้น หลวงจีนวัดเส้าหลินทุกองค์ ต่างฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรำเพลงมวย และฝึกกังฟูมาเป็นเวลานานกว่าพันปีจนถึงปัจจุบัน

การฝึกของหลวงจีนจะเริ่มฝึกในช่วงเช้าตรู่ของแต่ละวัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการศึกษาและท่องพระธรรม และในขณะเดียวกันใช้ช่วงเวลาเช้า 2 ชั่วโมง และช่วงบ่ายอีก 2 ชั่วโมงในการฝึกกังฟู

โดยคงรูปแบบกระบวนท่าต่าง ๆ จากวัฒนธรรมการฝึกดั้งเดิมของกังฟูเส้าหลิน จากประวัติที่บันทึกกระบวนท่าทั้งหมด 708 ชุด โดยที่หลวงจีนสามารถที่จะเลือกฝึกเพียงบางกระบวนท่าเท่านั้น

ยกเว้นการฝึกขั้นพื้นฐานคือเพลงหมัดวัดเส้าหลิน ในส่วนของเพลงหมัดมวย ยังคงเอกลักษณ์สำคัญที่การดัดแปลงท่วงท่ามาจากสัตว์นานาชนิดหลากหลายรูปแบบ

โดยกระบวนท่าที่ได้รับความนิยมคือ เพลงหมัดพยัคฆ์ เพลงมวยเหยี่ยว เพลงหมัดตั๊กแตนสวดมนต์ เพลงหมัดกระเรียนขาว เพลงหมัดเสือดาว เพลงหมัดราชสีห์ เพลงมวยนาคี เพลงมวยมังกร ฯลฯ

ซึ่งในการฝึกเพลงหมัดมวยนั้น จะได้ทั้งพละกำลังภายนอกภายใน และการสงบจิตใจตามมาด้วย

การฝึกกังฟูในสภาพอากาศที่หนาวเหน็บท่ามกลางหิมะ เป็นหนึ่งในกิจกรรมปกติของหลวงจีน ความยากลำบากในการฝึกฝน ถือเป็นการเพาะบ่มจิตใจและร่างกายให้แข็งแกร่ง

การนั่งทำสมาธิท่ามกลางหิมะ ถือเป็นการฝึกบำเพ็ญตบะอย่างหนึ่ง ตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของวัดเส้าหลิน ถ้าหลวงจีนองค์ไหนนั่งทำสมาธิสาย หรือไม่สามารถทำสมาธิได้ จะถูกลงโทษด้วยการให้นั่งคุกเข่าบนพื้นที่เต็มไปด้วยหิมะ จนกว่าจะหมดธูปหนึ่งก้าน

ในประเทศจีนกังฟูเส้าหลินมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก กังฟูหลายอย่างในจีนล้วนแต่มีต้นกำเนิดมาจากวัดเส้าหลินแทบทั้งสิ้น รวมถึงเพลงหมัดมวยที่ปรากฏในภาพยนตร์จีนกำลังภายในหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งมักปรากฏภาพหมัดนกกระเรียนขาว หมัดมังกรเส้าหลินเหนือ

กระบวนท่าเพลงหมัดมวยของเส้าหลินเหนือ มักเน้นการเตะต่อยเป็นหลัก ในขณะที่เส้าหลินใต้เน้นกระบวนท่าที่ใช้ฝ่ามือจู่โจม เพลงหมัดมวยเด่น ๆ เช่นหมัดเสือดำ หมัดนกกระเรียนของวัดเส้าหลิน

แท้จริงแล้ววิชากังฟูไม่มีการแบ่งแยกเป็นฝ่ามือและเท้า กังฟูของตั๊กม้อเป็นวิชาที่ใช้ในการต่อสู้จู่โจมพร้อมกันด้วยหมัด มือและฝ่าเท้า


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิวุธวาร สิริมานรมณีย์นะคะ



Create Date : 27 ตุลาคม 2553
Last Update : 27 ตุลาคม 2553 20:33:23 น. 0 comments
Counter : 3124 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.