"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
5 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
มณฑลเหลียวหนิง






แผนที่มณฑลเหลียวหนิง




มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่

มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.


ที่ตั้งและอาณาเขตมณฑลเหลียวหนิงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และมณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน

ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลเหลือง และประเทศเกาหลีเหนือ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน และประเทศเกาหลีเหนือ

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลเหอเป่ย์ ประเทศจีน


ประชากร

มณฑลเหลียวหนิงประกอบด้วยประชากร 44 ชนชาติ ได้แก่ ชนชาติฮั่น มองโกล แมนจู หุย เกาหลี ซีป๋อ จ้วง เหมียว ถู่เจีย อี๋ และต๋าว่อเอ๋อร์ เป็นต้น ชนกลุ่มน้อยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของประชากร โดยในจำนวนนี้ ประชากรชนชาติแมนจู มองโกล หุย เกาหลี และซีป๋อ มีจำนวนค่อนข้างมาก

ปี 2551 มณฑลเหลียวหนิงมีประชากรจำนวน 43.15 ล้านคน โดยเป็นประชากรชาวเมือง 25.92 ล้านคน และเป็นประชากรชาวชนบท 17.23 ล้านคน มีอัตราการเกิดของประชากรร้อยละ 6.32 อัตราการตายของประชากรร้อยละ 5.22 และอัตราขยายตัวของประชากรร้อยละ 1.10

มีประชากร (2004) 42,170,000 คน ความหนาแน่น 289 จีดีพี (2003) 687.3 พันล้าน เหรินหมินปี้ ต่อประชากร 16,300 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น


ภูมิประเทศ

เขตภูเขาทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของมณฑล บริเวณที่ราบติดทะเลทางตะวันตกของมณฑล ถูกเรียกตามความคุ้นเคยว่า “ระเบียงเหลียวซี” ภูมิอากาศ เหลียวหนิงตั้งอยู่ปีกตะวันออกของภาคพื้นทวีป


ภูมิอากาศ

มณฑลเหลียวหนิงมีภูมิอากาศ แบบลมมรสุมภาคพื้นทวีปแบบอบอุ่นแถบ เหนือ ฤดูร้อนอบอุ่น ฤดูหนาวยาวนาน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงสั้น พื้นที่ทิศตะวันออกชุ่มชื้น ส่วนทิศตะวันตกแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 7 – 11 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 400 มิลลิเมตรต่อปี


เศรษฐกิจทรัพยากร

พบแหล่งแร่สะสมอยู่ถึง 64 ชนิด เช่น เหล็ก แร่โบร์รัม หินแมกนีไซท์ เพชร หยก หินปูน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และยูเรเนียมเป็นต้น มีแหล่งน้ำมันมากเป็นอันดับสามของประเทศ มีน้ำมันใต้ดินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 และก๊าซธรรมชาติร้อยละ 10 ของประเทศ

นอกจากนั้น ยังมีทรัพยากรแร่โลหะเหมาะสำหรับการทำอุตสาหกรรมโลหะผสม ได้แก่ แร่เหล็ก แมงกานีส แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซีลิกา หินปูน ฟลูออไรด์ และแร่ Dolomite เป็นต้น โดยแร่เหล็กมีปริมาณมากถึงหนึ่งในสี่ของทั้งประเทศ ส่วนแร่แมงกานีส โบรอน เพชร หยก และหินปูน มีมากอยู่ในอันดับต้นของประเทศ

การเกษตรเหลียวหนิงเป็นหนึ่ง ในมณฑลเกษตรกรรมที่สำคัญมณฑลหนึ่งของจีน เกษตรกรรมที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและส่งเสริมคุณภาพให้ดีขึ้น

อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี หลอมโลหะ โทรคมนาคม และเครื่องจักรกล


ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

ได้ปรากฏหลักฐานฟอลซิลกะโหลกศีรษะมนุษย์ apeman บริเวณต้าฉือเฉียว เทือกเขาจินหนิว เมืองหยิงโข่ว แสดงให้เห็นว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่บริเวณนี้เมื่อ 280,000 ปีก่อน และปรากฏหลักฐานเครื่องมือมนุษย์ช่วงกลางยุคหินเมื่อ 150,000 ปีก่อน ที่บริเวณเมืองเฉาหยาง

นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานมนุษย์ยุคหินใหม่ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อ 6,000 – 7,000 ปีก่อนหลงเหลืออยู่ในเมืองเสิ่นหยาง

ศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล มณฑลเหลียวหนิงซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของนครรัฐยานในสมัยชุนชิว เป็นเมืองที่อยู่ติดกับเมืองของราชวงศ์ซาง หลังจากนั้น มณฑลเหลียวหนิง ถูกปกครองโดยหลายราชวงศ์

มณฑลเหลียวหนิงปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644 – 1911) โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระราชวังโบราณ “เสิ่นหยางกู้กง” ในปี 1931-1945 เมืองเสิ่นหยางถูกปกครองโดยประเทศญี่ปุ่น

หลังจากจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 รัฐบาลประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แบ่งมณฑลเหลียวหนิงออกเป็นสองมณฑล คือ เหลียวหนิงตะวันออก และเหลียวหนิงตะวันตก

ต่อมาในปี 1954 เหลียวหนิงตะวันออก และเหลียวหนิงตะวันตกได้รวมเป็นมณฑลเหลียวหนิงอีกครั้ง โดยมีเมืองเสิ่นหยางเป็นเมืองหลวง


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ภุมวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์นะคะ



Create Date : 05 เมษายน 2554
Last Update : 5 เมษายน 2554 7:18:29 น. 0 comments
Counter : 1286 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.