"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
การพักรบตางกู (Tanggu Truce)







การเจรจาที่ตางกู





การพักรบตางกู (Tanggu Truce จีนตัวเต็ม: 塘沽協定; จีนตัวย่อ: 塘沽协定; พินอิน: Tánggū Xiédìng) , (ญี่ปุ่น: 塘沽協定 Tanku kyōtei ?) เป็นการพักรบ ระหว่างประเทศจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่อำเภอตางกู เทียนจิน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 อย่างเป็นทางการ ภายหลังญีปุ่นรุกรานแมนจูเรียเมื่อสองปีที่แล้ว


เบื้องหลัง

หลังจาก กรณีมุกเดน เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 กองทัพกวนตงของจักรวรรดิญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย และสามารถยึดครองแมนจูเรียทั้งหมดได้เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1932 จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง ผู้ซึ่งถูกเนรเทศในสัมปทานนครเทียนจิน

กองทัพญี่ปุ่นได้เลือกให้พระองค์ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแมนจูกัว ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม 1933 เพื่อที่จะรักษาแนวชายแดนด้านทิศใต้ กองทัพผสมญี่ปุ่น-แมนจูกัวได้รุกรานเรอเหอ และภายหลังยึดมณฑลนี้ได้ในเดือนมีนาคม

กองทัพญี่ปุ่นยังได้กวาดล้างกองทัพชาตินิยมจีน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เอาชนะกองทัพจีนได้ที่กำแพงเมืองจีน และเข้าสู่มณฑลเหอเป่ย์

มหาอำนาจตะวันตกได้ประณามการกระทำของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้น เมื่อสันนิบาตชาติประกาศให้ญี่ปุ่นยอมยุติความเคลื่อนไหวลง หลังจากนั้น ญี่ปุ่นไม่ปฏิบัติตาม และได้ถอนตัวออกจากความเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ เมื่อปี 1933

ด้านกองทัพญี่ปุ่นยังไม่ได้รับพระบัญชาใหม่ จากสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ กองทัพญี่ปุ่นยังไปไม่ถึงกำแพงเมืองจีนในตอนนี้ กองทัพญี่ปุ่นได้หยุดการรุกรานเมื่อเดือนพฤษภาคม 1933


การเจรจา

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1933 ผู้แทนชาวจีนและชาวญี่ปุ่นได้เดินทางมาประชุมเพื่อหาทางเจรจายุติความขัดแย้งครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นต้องการเขตปลอดทหาร ยาวตั้งแต่กำแพงเมืองจีนไปทางใต้กว่า 100 กิโลเมตร และจากปักกิ่งไปยังเทียนจิน

รวมไปถึงให้ญี่ปุ่นครอบครองกำแพงเมืองจีนอีกด้วย โดยห้ามมิให้มีทหารของก๊กมินตั๋งแม้แต่นายเดียว อยู่ในเขตปลอดทหารแห่งนี้ และยังต้องอนุญาตให้ฝ่ายญี่ปุ่นมีเครื่องบินตรวจการณ์ หรือกองทหารลาดตระเวน เพื่อรักษาข้อตกลงดังนี้ด้วย

และประชาชนซึ่งอยู่ในเขตปลอดทหารนี้ จะอยู่ภายใต้อำนาจของกองกำลังรักษาเขตปลอดทหาร

จากข้อตกลงดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นจากกองกำลังรักษาสันติภาพที่ว่านี้ และแย่งอำนาจโดยที่รัฐบาลจีนและรัฐบาลญี่ปุ่นไม่อาจแก้ไขได้ หลังจากที่เจียงไคเช็คได้พ่ายแพ้ในการรบครั้งสำคัญหลายครั้ง และสูญเสียเขตอิทธิพลให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีน

ซึ่งได้ทำให้เจียงไคเช็คมีความวิตกกังวล ต่อพรรคคอมมิวนิสต์มากกว่าพวกญี่ปุ่นเสียอีก ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงยอมรับข้อตกลงของญี่ปุ่น โดยไม่มีเงื่อนไข และนอกเหนือจากนั้น เขตปลอดทหารนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดินแดนที่เหลืออยู่ของขุนศึกแห่งแมนจูเรีย จางเซวฺเหลียง


ผลที่ตามมา

การพักรบตางกูได้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ ในดินแดนแมนจูกัวของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้รับบทเรียนสำคัญจากเรอเหอ การพักรบครั้งนี้ได้ยุติการสู้รบระหว่างจีนและญี่ปุ่นเป็นเวลาช่วงระยะเวลาหนึ่ง และความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้รับการฟื้นฟู

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 สถานทูตชั้นสองของญี่ปุ่นในจีนได้เลื่อนสถานะขึ้นเป็นสถานทูต และเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 1935 ข้อตกลงเฮอ-อุเมสุสิ้นสุดลง

ช่วงเวลาพักรบนี้ ทำให้รัฐบาลของเจียงไคเช็คได้เรียกระดมพล และพยายามแผ่อิทธิพลไปยังพรรคคอมมิวนิสต์จีน แม้ว่าจะต้องแลกกับการเสียดินแดนทางภาคเหนือก็ตาม

แต่ทว่า ความคิดเห็นของประชาชนจีนส่วนใหญ่ได้มองว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเอื้ออำนวยให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่น และได้สร้างความอับอายให้แก่ประเทศชาติ ถึงแม้ว่าข้อตกลงจะเป็นการสร้างเขตปลอดทหารก็ตาม

แต่ว่าอิทธิพลของญี่ปุ่นยังคงคุกคามดินแดนจีนอยู่ดี และได้กลายมาเป็นความจริง เมื่อญี่ปุ่นรุกรานจีนในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1937


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานรมณีย์ค่ะ



Create Date : 27 ตุลาคม 2553
Last Update : 27 ตุลาคม 2553 10:40:07 น. 0 comments
Counter : 895 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.