"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
19 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย

 

รู้จักประเพณีต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีน

astvผู้จัดการออนไลน์--เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชนชาวฮั่น และยังถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกด้วย โดยกำหนดให้วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่

ในอดีตช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง จะเริ่มตั้งแต่พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟในวันที่ 23 หรือ 24 ของปีเก่า จนถึงเทศกาลหยวนเซียวหรือเทศกาลโคม (แรม 15 ค่ำเดือนอ้าย) โดยแต่ละช่วงจะมีพิธีกรรมธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกัน บางส่วนยังคงสืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ขณะที่บางส่วนได้เลือนหายไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา



รู้จักประเพณีต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีน
ตัวอักษร ฝูกลับหัว (福倒) โชคความสุขได้มาถึงบ้านแล้ว

ติด “ฝูกลับหัว” (福倒) โชคมงคลได้มาถึงบ้านแล้ว
       ระหว่างเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนนอกจากนิยมตกแต่งบ้านเรือนด้วยกระดาษแดง ภาพวาด และภาพกระดาษตัดสีสันสดใส สร้างบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริง และเพื่อเป็นการต้อนรับความสุขและขอโชคขอพร ก็ยังนำอักษรมงคล เช่นตัว ‘福’ (ฝู) หรือตัว 春 (ชุน) มาติดที่บานประตูหน้าบ้าน ตามกำแพง หรือบริเวณเหนือกรอบบนของประตู

       การติดอักษรมงคลที่แพร่หลายที่สุด คือ 福 เป็นประเพณีมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยซ่ง และมักติดกลับหัวซึ่งในภาาษจีนกลางเรียก 福倒 (ฝูเต้า)ที่มีความหมายว่า สิริมงคลหรือโชคดีได้มาถึงบ้านแล้ว

       เรื่องการกลับหัวตัวอักษรนี้มีเหตุที่มาเมื่อครั้งอดีตกาล ซึ่งเล่าสืบกันมาในหมู่สามัญชนว่า

       “สมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจางแห่งราชวงศ์หมิง ได้ใช้อักษร ‘ฝู’ เป็นเครื่องหมายลับในการสังหารคน หม่าฮองเฮาทราบเรื่องจึงคิดอุบายเพื่อหลีกเลี่ยงภัยดังกล่าวไม่ให้เกิดแก่ราษฎร ด้วยมีพระราชเสาวนีย์ให้ทุกบ้านติดตัวฝูที่หน้าประตูเพื่อลวงให้ฮ่องเต้สับสน

       “รุ่งขึ้นชาวเมืองต่างนำตัวอักษรฝูมาติดที่หน้าประตูตามนั้น ทว่ามีบ้านหนึ่งไม่รู้หนังสือจึงติดตัวฝูกลับหัวด้วยความไม่ตั้งใจ เมื่อฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นเข้าก็ทรงกริ้ว รับสั่งให้ประหารคนในบ้านทั้งหมด หม่าฮองเฮาเห็นท่าไม่ดีจึงรีบทูลยับยั้งไว้ว่า ‘บ้านนี้ทราบว่าพระองค์จะเสด็จมา จึงตั้งใจติดตัวฝูกลับหัว ( 福倒-ฝูเต้า) เพื่อแสดงความปิติยินดีต่อการเสด็จเยือนของพระองค์

ราวกับว่าความสุขสวัสดีและโชคลาภได้มาถึงที่บ้าน’ ได้ยินดังนี้แล้วจูหยวนจางจึงไว้ชีวิตชาวบ้านผู้นั้น การติดตัวฝูกลับหัวสืบต่อมานอกจากเพื่อขอโชคสิริมงคลตามความหมายของตัวอักษรแล้ว ยังเป็นการระลึกถึงคุณความดีของหม่าฮองเฮาในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย”



รู้จักประเพณีต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีน

เชิญเทพผู้พิทักษ์ประตู

ในวันส่งท้ายปีเก่าหรือที่เรียกว่า ฉูซี (除夕) ชาวจีนมีธรรมเนียมในการติด ‘เหมินเสิน (门神)’ หรือ ภาพเทพเจ้าผู้คุ้มครองประตู

       ‘เหมินเสิน’ มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน ในอดีตกาลจะถือตัวประตูเป็นเทพเจ้าโดยตรง จนกระทั่งหลังสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 B.C.- ค.ศ.220) จึงได้ปรากฏการใช้ภาพคนมาเป็นตัวแทนเทพเจ้า แรกเริ่มเดิมทีใช้ภาพนักรบผู้กล้านามว่า ‘เฉิงชิ่ง (成庆)’ ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาพวาดของ ‘จิงเคอ (荆轲)’ จอมยุทธ์ชื่อดังสมัยจ้านกั๋ว (475 - 221 B.C.)

       ‘เหมินเสิน’ ในราชวงศ์ใต้และเหนือ (ค.ศ.420 - 589) จะเป็นภาพคู่เทพเจ้าสองพี่น้อง ‘เสินถู (神荼)’ ‘ยูไล (郁垒)’ ตลอดจนสองขุนพลเอกในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 - 907) ที่มีชื่อว่า ‘ฉินซูเป่า (秦叔宝) และอี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ (尉迟敬德)’แต่ต่อมากษัตริย์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินรู้สึกเห็นใจว่าสองขุนพลจะลำบากเกินไป จึงได้สั่งให้จิตรกรหลวงวาดภาพสองขุนพลขึ้นมา แล้วใช้ติดไว้ที่ประตูทั้งสองข้างแทน จึงได้กลายเป็นภาพ ‘เหมินเสิน’ ในเวลาต่อมาเมื่อถึงยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.907-960) ได้เริ่มนำภาพของ จงขุย (钟馗) เทพผู้ปราบภูตผีปีศาจ มาติดเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย

       หลังราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960 - 1127) ‘เหมินเสิน’ ยังมีรูปแบบเหมือนก่อนหน้านั้น แต่เพิ่มการประดับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงามขึ้น ในห้องรับแขกและห้องนอนจะมีการติดภาพเทพเจ้า 3 องค์ (三星) ที่เราคุ้นหูกันดีว่า ‘ฮก ลก ซิ่ว (福 - 禄 - 寿)’ นอกจากนั้น ยังมีภาพชุมนุมเทพเจ้า (万神图) ตามอย่างลัทธิเต๋า และภาพพระพุทธเจ้า 3 ปาง ซันเป่าฝอ (三宝佛) ฯลฯ ด้วย

       ว่ากันว่า การติดภาพ ‘เหมินเสิน’ ก็เพื่อป้องกันขับไล่สิ่งชั่วร้าย หรือเป็นเสมือนเทพผู้คอยปกปักษ์รักษานั่นเอง


รู้จักประเพณีต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีน
สัตว์ประหลาดในคติปรัมปราจีน ที่มาทำร้ายผู้คนในคืนส่งท้ายปีเก่า

คืนส่งท้ายปีเก่า

ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับ “ฉูซีเยี่ย (除夕夜)” หรือ คืนส่งท้ายปีเก่าว่า ในยุคโบราณสมัยที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีสัตว์ประหลาดที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ชื่อว่า “เหนียน (年)” ทุกปีในคืนวันส่งท้ายปี จะขึ้นจากทะเลมาอาละวาดทำร้ายผู้คนและทำลายเรือกสวนไร่นา

ในวันนั้นของทุกปีชาวบ้านจึงมักจะหลบกันอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่ฟ้ายังไม่มืด ปิดประตูหน้าต่างแน่นหนา และไม่หลับไม่นอนเพื่อเฝ้าระวัง รอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นจึงเปิดประตูออกมา และกล่าวคำยินดีแก่เพื่อนบ้านที่โชคดีไม่ถูก “เหนียน” ทำร้าย

       ในคืนส่งท้ายปีของปีหนึ่ง “เหนียน” ได้เข้าไปอาละวาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กินชาวบ้านจนเรียบ ยกเว้นคู่บ่าวสาวที่เพิ่งแต่งงาน เนื่องจากสวมชุดสีแดงจึงปลอดภัย และเด็กคนหนึ่งที่กำลังเล่นประทัดอยู่กลางถนน ซึ่งเสียงดังจนทำให้ “เหนียน” ตกใจกลัวหนีไป ชาวบ้านจึงรู้จุดอ่อนของ “เหนียน”

       ดังนั้น เมื่อถึงคืนส่งท้ายปีเก่า ชาวบ้านจึงพากันสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง นำสิ่งของที่มีสีแดงมาประดับตกแต่งบ้านเรือน และจุดประทัด ทำให้ “เหนียน” สัตว์ประหลาดตัวร้ายไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างสงบสุข จากนั้นมาจึงมีธรรมเนียมปฏิบัติ ในคืนส่งท้ายปีจะไม่ยอมนอนเพื่อ “เฝ้าปี” หรือเรียกในภาษาจีนว่า โส่วซุ่ย(守岁) เฝ้าดูปีเก่าล่วงไปจนวันใหม่ย่างเข้ามา

       ในคืน “เฝ้าปี” สมาชิกในบ้านมีกิจกรรมร่วมกันมากมาย ทั้งด้านการกินและดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารทั่วไป เกี๊ยว เหนียนเกา (ขนมเข่ง) เหล้า เบียร์ เมล็ดแตง ของว่าง การเล่นเกม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่นกันในห้องรับแขก เช่นผู้ใหญ่ก็เล่นหมากล้อม หมากฮอร์ส ไพ่กระดาษ ไพ่นกกระจอก ส่วนเด็กๆ ก็มีเกมแบบเด็กๆ เช่น ขี่ม้าไม้ไผ่ วิ่งไล่จับ ซ่อนแอบ

       กระทั่งใกล้เวลาเที่ยงคืน ผู้อาวุโสในบ้านก็จะเริ่มตั้งโต๊ะเพื่อจัดเรียงธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษ และต้อนรับเทพแห่งโชคลาภ นอกจากนั้นก็ยังมีการจุดประทัด จุดโคมไฟ ซึ่งเมื่อใกล้เวลาเที่ยงคืนเท่าไหร่ เสียงประทัดก็ยิ่งดังมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งรุ่งอรุณแรกของปี ก็จะสวัสดีปีใหม่กัน กินเกี๊ยว เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์โสรวารค่ะ    




Create Date : 19 เมษายน 2557
Last Update : 19 เมษายน 2557 11:54:33 น. 0 comments
Counter : 2089 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.