"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
อุรุมชี และเจิ้งโจว ชะลอเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” เพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่ - เครื่องมือ

เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- อุรุมชีและเจิ้งโจว ตัดสินใจชะลอการเปิดให้บริการ “เกาะปลอดสำหรับเด็ก” เพราะขาดแคลนบุคลากรและเครื่องอำนวยความสะดวก



อุรุมชี และเจิ้งโจว ชะลอเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” เพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่-เครื่องมือ
เจ้าหน้าที่ดูแลเด็กใน “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ประจำเมืองซีอาน ในมณฑลส่านซี (ภาพ: ซินหวา)

สำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งอุรุมชี เมืองเอกของซินเจียง และเจิ้งโจว ในมณฑลเหอหนัน เลื่อนกำหนดการเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ออกไป หลังจากที่เดิม มีกำหนดเปิดในเดือนหน้า (ก.ค.) สถานีวิทยุแห่งชาติจีน รายงาน

นางโหว เสี่ยวเสวีย ผู้อำนวยประจำศูนย์เจิ้งโจว ระบุว่า ทางศูนย์ไม่มีบุคลากรดูแลเด็กได้เพียงพอ แม้ว่าจะประกาศรับสมัครไปหลายเดือนแล้ว ก็ตาม เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ 1 คน จะต้องดูแลเด็กมากกว่า 10 คน ซึ่งเกินกว่าอัตราที่รัฐกำหนดไว้ว่า เจ้าหน้าที่ 1 คนควรจะได้ดูแลเด็กเพียง 1-2 คนเท่านั้น

       การเลื่อนกำหนดการครั้งนี้ เป็นสัญญาปัญหาล่าสุดที่เกิดขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล ในการเปิดศูนย์รับเลี้ยงเด็กทั่วประเทศจนกระทั่งถึงปลายปีหน้า (2558) โดยศูนย์ดังกล่าวจะรับดูแลเด็กอ่อนและเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ไม่มีปัญญาเลี้ยง ทั้งจัดหาตู้อบ ผ้าห่ม แอร์คอนดิชั่น เพื่อดูแลเด็กเป็นอย่างดี

จากนั้นก็จะหาบ้านหลังใหม่ให้กับพวกเขา ทั้งนี้พ่อแม่ เพียงแค่นำเด็กไปวางไว้ในที่ “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” จากนั้นกดกริ่งให้สัญญาณ เจ้าหน้าที่ก็จะมานำตัวเด็กไปดูแล โดยที่ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับผู้นำเด็กมาทิ้ง

       ก่อนหน้านี้ นโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมากในสือจยางจวง มณฑลเหอเป่ย ซึ่งเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2555 ทำให้กระทรวงกิจการพลเรือนประกาศขยายโครงการจัดตั้ง “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ไปทั่วประเทศ ในเดือนก.ค.ปีที่ผ่านมา(2556)

       แน่นอนว่า การที่รัฐบาลประกาศขยายนโยบาย ได้รับเสียงชื่นชมอย่างท้วมท้นเพราะสามารถช่วยชีวิตเด็กได้อีกหลายร้อยคน แต่ทว่า ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า นโยบายดังกล่าว ยิ่งทำให้พ่อแม่ตัดใจทิ้งลูกกันง่ายขึ้น ทั้งนี้เพราะการทิ้งเด็ก โดยไม่ผ่านศูนย์รับเลี้ยง ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

       ปัจจุบัน จีนเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ตามโครงการดังกล่าว ไปแล้วถึง 25 แห่ง ใน 10 มณฑล ส่วนใหญ่ รับดูแลเด็กป่วยและพิการ

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ฯ แต่ละแห่งก็ประสบกับปัญหาคล้ายคลึงกัน นั่นคือ การขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการดำเนินงานของทางศูนย์ เนื่องจากยอดเด็กที่ถูกนำมาทิ้งล้นทะลักในหลายแห่ง



อุรุมชี และเจิ้งโจว ชะลอเปิด “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” เพราะขาดแคลนเจ้าหน้าที่-เครื่องมือ
รัฐบาลจีนกำหนดให้เจ้าหน้าที่หนึ่งคนดูแลเด็กเพียง 1-2 คน แต่จากรายงานของศูนย์รับเลี้ยงเด็กแต่ละที่พบว่า เจ้าหน้าที่หนึ่งคนต้องทำงานหนักดูแลเด็ก ประมาณ 10 คน (ภาพ: ซินหวา)

เดือนที่แล้ว (เม.ย.) “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ในก่วงโจว ต้องประกาศปิดชั่วคราว แม้จะเปิดให้บริการได้เพียงแค่ 2 วัน หลังผู้ปกครองแห่ทิ้งเด็กถึง 266 คนให้ทางศูนย์ฯ รับเลี้ยง ซึ่งเกินกำลังเจ้าหน้าที่จะรับไหว

       ในขณะที่นายจัง ตงฟาง ผู้อำนวยการสำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งอุรุมชี เปิดเผยว่า พื้นที่ทางศูนย์กว้างขวางกว่า 86 ตารางฟุต ถือว่าเพียงพอต่อการสร้าง ”เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” แต่ทางศูนย์ฯ ก็มีปัญหาอีกหลายด้านเช่นเดียวกับที่ศูนย์อื่นๆ ประสบ ดังนั้นจึงไม่สามารถเปิดให้บริการในเดือน มิ.ย. ตามกำหนดการได้

       ด้านเจ้าหน้าที่ประจำ “เกาะปลอดภัยสำหรับเด็ก” ในหนันจิง เปิดเผยว่า เด็กจำนวนมากมาจากครอบครัวนอกพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาด้านเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น เพราะคำนวณจากประชากรในพื้นที่เท่านั้น

       อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายดังกล่าวจะมีปัญหาติดขัดหลายด้าน และเต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ แต่หลายคนก็ยังเชื่อว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี

“เราเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ทิ้งเด็กๆ ไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนผลจากการทิ้ง (เด็กๆ) ได้" ฮั่น จินฮง ผู้อำนวยการสำนักประกันสังคมเพื่อเด็กแห่งสือจยางจวง กล่าวกับสถานีวิทยุแห่งชาติจีน

 

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ




Create Date : 30 พฤษภาคม 2557
Last Update : 30 พฤษภาคม 2557 9:01:30 น. 0 comments
Counter : 1472 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.