"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
ไท่เก๊ก และมวยไท่เก๊กตระกูลอู่ หรือมวยไท่เก๊กตระกูลเฮ่อ







การฝึกฝนไท่เก๊ก ในประเทศจีน




วิชามวยไท่เก๊ก หรือ ไท่เก็กคุ้ง (จีนตัวเต็ม: 太極拳; จีนตัวย่อ: 太极拳; พินอิน: Tàijíquán) เรียกกันตามภาษาจีนแต้จิ๋วซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่คนจีนบ้านเรา อ่านแบบจีนกลางว่า ไท่จี๋เฉวียน เขียนเป็นภาษาอังกฤษคือ Taijiquan หรือ Tai'chi Chuan

แต่ในบ้านเราเรียกกันหลายสำเนียงทั้ง ไท่เก๊ก ไทเก็ก ไท้เก๊ก ไท่จี๋ ไท้จี๋ ไทชิ ไทกิ๊บ

วิชามวยไท่เก๊กเป็นศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักพรตชื่อ จางซานฟง (เตียซำฮงในภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งมีชีวิตอย่ในช่วงปี ค.ศ. 12xx-14xx

แต่วิชานี้มามีชื่อเสียงเอาในสมัยราชวงศ์ชิง โดยท่านหยางลู่ฉานซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายขจรขจายไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยอาจารย์ต่งอิงเจี๋ย (ตั่งเองเกี๊ยก) นำมวยไทเก๊กมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2498

ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 อาจารย์ต่งส่งบุตรชายของท่านคืออาจารย์ต่งหูหลิ่ง (ตั่งโหวเนี่ย) มาเป็นครูมวยไทเก๊กคนแรกในประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่ามวยไทเก๊กในไทยนั้น สืบสายมาจากมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง

ในปัจจุบัน มวยไท่เก๊กที่แพร่หลายกันอยู่ทั่วไปมีอยู่มากมายหลายสาย หลายตระกูล ซึ่งสายมวยอันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 สายหลักคือ ไท่เก๊กตระกูลเฉิน, ตระกูลหยาง, ตระกูลอู่, ตระกูลอู๋ และตระกูลซุน

ซึ่งภายหลังรัฐบาลจีนได้นำท่ามวยของทั้งห้าตระกูล มาเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันลีลายุทธ์ด้วย นอกจากห้าตระกูลนี้แล้ว ภายหลังยังมีมวยไท่เก๊กตระกูลอื่นๆ ซึ่งแตกแยกย่อยไปจากห้าตระกูลนี้

รวมถึงยังปรากฏมวยไท่เก๊กประจำถิ่นอีกหลายๆ สายปรากฏออกมาอีกมากมาย หากไม่ว่าจะเป็นมวยไท่เก๊กสายใดตระกูลใด แม้ท่วงท่าจะแตกต่างกัน แต่ยังอิงเคล็ดความเดียวกัน และล้วนนับถือท่านจางซานฟงเป็นปรมาจารย์เช่นเดียวกัน

มวยไท่เก๊กมีลักษณะนุ่มนวล โอนอ่อน ผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวลื่นไหลต่อเนื่อง การหายใจสอดประสานไปกับการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งต้องตั้งจิตติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายไปตลอด ทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ หรือการออกแรงกระแทก

จึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บร่างกายได้น้อย เมื่อเทียบกับกีฬาที่ใช้แรงชนิดอื่นๆ ทำให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แม้แก่ชราอายุ 90-100 กว่าปีก็ยังฝึกฝนได้

ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังสามารถใช้เป็นศิลปะป้องกันตัวได้ หากได้รับการฝึกฝนเพื่อใช้ต่อสู้ ในปัจจุบันไท่เก๊กมีผู้นิยมฝึกฝนกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก



มวยไท่เก๊กตระกูลอู่ (มวยไท่เก๊กตระกูลเฮ่อก็เรียก) เป็นมวยไท่เก๊กสายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์อู่อวี่เซียง (ค.ศ. 1870-1942)

มวยไท่เก๊กสกุลอู่มีลักษณะเด่นคือ เคลื่อนไหวเป็นวงแคบ เน้นการใช้อี่(จิตชักนำร่างกาย) ทุกส่วนเคลื่อนไหวต่อเนื่องดุจน้ำไหล ภายนอกเหมือนเรียบง่าย แต่แฝงความละเอียดอ่อนไว้ภายใน

หลักเบื้องต้นที่สำคัญได้แก่ คอ ศีรษะและกระดูกสันหลังตั้งตรง (โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง (lower back)) เท้าข้างหนึ่งว่างข้างหนึ่งเต็ม (หยิน-หยาง) เท้าที่เต็มจะรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย แต่ไม่เกร็งจนขาตาย

ส่วนเท้าที่ว่างต้องเบาคล่องแต่ถูกอี่ควบคุม เท้าที่เต็มและว่างนี้จะต้องพร้อมสลับความเต็มและว่างในทันที ข้อศอกไม่ยกขึ้น หัวไหล่ผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวภายใน นอกจากนี้ยังมีหลักการอันละเอียดอ่อนอีกมากมาย

แต่ในเบื้องต้นผู้ฝึกใหม่จะได้รับการสอนให้จมน้ำหนัก ของร่างกายลงล่างและรวมจิต (focus) ให้เป็นทิศทางเดียว ฝึกท่ายืนให้ต้นขาแข็งแรงยืนได้มั่นคงแล้วจึงฝึกการก้าวเท้า และฝึกท่ามวยและเทคนิค 13 ประการตามลำดับ เมื่อฝึกท่ามวยได้ดีแล้วจึงฝึกการผลักมือ (ทุ่ยโส่ว) เเละฝึกการต่อสู้อิสระทั้งการบุกและการป้องกัน

อย่างไรก็ดีในปัจจุบันผู้ฝึกมวยบางส่วน (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) จะเน้นจุดประสงค์ด้านสุขภาพมากกว่าการต่อสู้จริง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนอาจให้ผู้ฝึกบางคนฝึกลัดขั้นตอนไปที่ การฝึกกำลังภายในเร็วขึ้น และอนุโลมให้ผู้ที่ขาและหัวเข่าไม่แข็งแรงใช้ท่ายืนเเละท่าก้าวเท้าแบบประยุกต์ตามความเหมาะสม

เนื่องจากในอดีตอาจาย์ผู้สอนมวยไท่เก๊กตระกูลอู่ ได้รับศิษย์ค่อนข้างน้อย วิทยายุทธ์ชนิดนี้จึงเผยแพร่ในวงจำกัด สำหรับในประเทศไทยมีการเชิญอาจารย์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน มาฝึกสอนที่สวนลุมพินี


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วุธวารวัฒนสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสวัฒนสิริค่ะ



Create Date : 27 ตุลาคม 2553
Last Update : 27 ตุลาคม 2553 19:06:40 น. 0 comments
Counter : 1660 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.