"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน







ธงชาติจีน




วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน

สิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักในชื่อ สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 4 ของจีน ซึ่งรวมถึง เข็มทิศ ดินปืน กระดาษ และการพิมพ์ สมัยนี้ภูมิศาสตร์ก็เจริญขึ้นมาเช่นกัน จากหนังสือจวงจื่อ ได้เก็บทฤษฎีของฮุ่ยซือ ไว้ว่า

ข้าพเจ้าทราบว่า ศูนย์กลางของฝากฟ้า อยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน และตอนใต้ของรัฐเยว่ คำว่าใต้ฟ้าที่คนสมัยนั้นเรียก หมายถึง แผ่นดินจีนนั่นเอง รัฐเอียน อยู่บริเวณปักกิ่ง ส่วนรัฐเยว่ อยู่บริเวณแม่น้ำแยงซีเกียง

การที่จะหาจุดศูนย์กลางของจีนในสมัยโบราณนั้น ต้องไปดูทางตอนใต้ของรัฐเอียน ตอนเหนือของรัฐเยว่ นี่มีเหตุผล คือ นักวิชาการไม่เพียงทราบว่าโลกหมุน แต่ยังทราบอีกว่าโลกกลมอีกด้วย

ฉะนั้น ฮุ่ยซือจึงกล้าพูดว่า จุดศูนย์กลางของจีนอยู่ทางตอนเหนือของรัฐเอียน ตอนใต้ของรัฐเยว่ ทั้งนี้เพราะโลกกลม เมื่อเดินทางจากตอนเหนือของรัฐเอียน ก็จะสามารถไปถึงตอนใต้ของรัฐเอียนได้ ภูมิศาสตร์จีนก็เจริญไม่น้อยเช่นเดียวกัน

กงซูจื่อ เป็นวิศวกรที่ใครๆ ในสมัยนั้นก็รู้จักกันดี มีคำกล่าวว่า ผลงานอันยอดเยี่ยมของกงซูจื่อ หากไม่ใช้เครื่องมือเรขาคณิต ก็ไม่อาจสร้างรูปเหลี่ยม หรือวงกลม กงซูจื่อสร้างสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น นกพยนต์ เมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว

กงซูจื่อใช้ไม้ไผ่สร้างนกบินขึ้นไปบนท้องฟ้า บินได้สามวันไม่ตกพื้นเลย แต่ว่าเราต้องตระหนักว่าส่วนประกอบของนกพยนต์ กับเครื่องบินนั้นย่อมไม่เหมือนกัน แต่นกพยนต์ต้องอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย ถึงจะบินบนอากาศได้

เรื่องนกพยนต์นี้ไม่อาจยืนยันได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ทั้งวงเวียนและไม้ฉากเป็นอุปกรณ์ บ่งบอกถึงมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ของจีนในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจอีกอย่างของกงซูจื่อ มีบันทึกไว้ในตำราหลี่จี้ว่า

กงซูจื่อเคนเสนอให้ใช้เครื่องกลชนิดหนึ่ง ส่งโลงศพเข้าไปเก็บในสุสาน แต่ผู้คนพากันคัดค้านว่ากงซูจื่อไม่ควรนำมารดาผู้อื่น มาอวดอ้างว่าตนนั้นเก่ง เราจึงเห็นได้ว่า กงซูจื่อมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี จนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างเครื่องจักรกลได้

สมัยซ้องได้มีการพัฒนาทางด้านการใช้ถ่านหิน และอุตสาหกรรมหลอมเหล็ก จีนมีอาวุธที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก การใช้ถ่านหินในเตาเผาด้วยอุณหภูมิที่พอเหมาะ นับเป็นสิ่งที่ก้าวหนามากที่สุดของประวัติศาสตร์โลก

ด้านคณิตศาสตร์ก็ก้าวหน้าไปมาก นาฬิกาดาวที่ซูซ่ง คิดขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1090 เป็นการวางกฎด้านความคิดที่สำคัญ และยังชี้ให้เห็นว่านาฬิกาไขลานมิใช่เกิดจากคนตะวันตกตามที่เราเข้าใจกัน

ด้านการแพทย์ ซ่งฉี เขียนกฎหมายแพทย์ออกมาเป็นคนแรกของโลก มีหนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคเด็ก การฝังเข็ม การปรุงยา ออกมามากมายในช่วงนี้ มีวัคซีนป้องกันโรคหัดตั้งแต่ ค.ศ. 1014

มีการตั้งข้อตกลงหรือสัญญาในอาชีพต่างๆ เช่น กสิกรรม การทหาร สถาปัตยกรรม หนังสือที่สำคัญที่สุดในสมัยนี้ชื่อ เม่ง จี บิ ตัน เป็นหนังสือที่ให้ความรู้หลายด้าน คนเขียนคือ เซนกัว และคณะ

หนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้รู้เรื่องราว เกี่ยวกับเข็มแม่เหล็กเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีเรื่องการพิมพ์ การทำแผนที่แบบแสดงพื้นที่สูงต่ำ และเรื่องฟอสซิล


การต่อเรือสมัยนี้มีการสร้างใบและพายด้วย นอกจากนี้ยังมีตัวต่อเรืออย่างดี เรือไม่มีช่องรั่วเหมือนเมื่อก่อน หางเสือได้ปรับปรุงอย่างดี มีเข็มทิศ จีนเดินเรือได้จากญี่ปุ่นลงไปถึงสุมาตรา

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ซ้อง เนื่องจากสภาพการเมืองและสังคมเอื้ออำนวย กล่าวคือ สมัยก่อนราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเป็นช่วง 5 ราชวงศ์ บ้านเมืองจึงระส่ำระส่าย ไร้เสถียรภาพทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงไม่มีทางเจริญขึ้นมาได้ ในสมัยต่อมา คือ สมัยราชวงศ์ซ้อง บ้านเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทาง ราชสำนักต้องการทรัพย์สินเงินทองไปให้สินบนแก่ชาวต่างชาติที่อยู่อาศัยโดยรอบ

ชาวจีนทุกคนจึงต้องทำมาหากิน เพื่อหาเงินมาพัฒนาบ้านเมือง เศรษฐกิจจึงเจริญ และตามมาด้วยยุคเฟื่องฟูของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


อาทิตยวารสิริวิบูลย์ รัศมิสูรย์ส่องจำรูญจรัสเรืองนะคะ



Create Date : 02 มกราคม 2554
Last Update : 2 มกราคม 2554 8:03:38 น. 0 comments
Counter : 1806 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.