"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 
22 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ต่อลมหายใจให้ “งานสลักดุนภาชนะโลหะ” ผ่านการประกวด “หัตถศิลป์บัวหลวง ครั้งที่ 1”

 

การแสดงชุด ไพรทมิฬ จาก เดอะไทยโพรดักชั่น เชียงราย ที่สวมใส่งานสลักดุนภาชนะโลหะแนวสร้างสรรค์ ฝีมือ อัฐพล คำวงษ์

 

       ART EYE VIEW ---งานช่าง เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติได้อย่างชัดเจน ควรค่าแก่การเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้ชื่นชมและภูมิใจ
       
       นอกจากเวทีประกวด จิตรกรรมบัวหลวง ที่จัดต่อเนื่องมาหลายปี ล่าสุด มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ยังได้ริเริ่มให้มีการจัดประกวด “หัตถศิลป์บัวหลวง” เพื่อสนับสนุนให้ช่างศิลป์ไทยประเภทต่างๆ ได้แสดงฝีมือสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบของงานหัตถศิลป์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเปิดเวทีให้แสดงผลงาน อันจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนางานฝีมือออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก่อนที่จะสูญหายไปด้วยการแทนที่ของงานพาณิชย์ศิลป์
       
       โดยการประกวด “หัตถศิลป์บัวหลวง ครั้งที่ 1 ” มูลนิธิฯ ได้เลือกงานช่างประเภท งานสลักดุนภาชนะโลหะ เช่น ขัน โตก เตียบ ตะลุ่ม พาน คนโท กล่อง ฯลฯ มาเป็นหัวข้อให้บรรดาช่างต่างๆที่ต้องการส่งผลงานเข้าประกวดในปีแรก และแบ่งการประกวดเป็น 2 ประเภท ได้แก่
       
       งานสลักดุนภาชนะโลหะแนวประเพณี ซึ่งมีกระบวนการสร้างสรรค์ แนวความคิด และลวดลาย ที่ดำรงค์เอกลักษณ์แบบไทยประเพณี
       
       งานสลักดุนภาชนะโลหะแนวสร้างสรรค์ ซึ่งมีกระบวนการสร้างสรรค์ แนวความคิด เทคนิค ลวดลาย เรื่องราว และเนื้อหาสาระที่มีการแสดงออกถึงความเป็นไทยได้อย่างอิสระเสรี
       
       และผลงานทั้งสองประเภทที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นงานขึ้นรูปสลักดุน ที่มีขนาดผลงานสูงไม่น้อยกว่า 30 ซม. และกว้างไม่เกิน 150 ซม. ทำจากโลหะต่างๆ เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง หรือโลหะอื่นๆ โดยชิ้นงานสามารถใช้วัสดุอื่นเป็นส่วนประกอบได้ไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ ของชิ้นงาน ติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อย พร้อมที่จะนำไปจัดแสดงนิทรรศการได้
       
       ช่างศิลป์เดี่ยว หรือ กลุ่ม มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวดได้ไม่เกิน 3 ชิ้น และเป็นผลงานที่ไม่เคยส่งเข้าประกวดเวทีอื่นมาก่อน
       
       ผลงานของผู้ชนะเลิศทั้ง 2 ประเภท จะได้รับรางวัลเป็นเงิน 200,000 บาท,รองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง 150,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับสอง 100,000 บาท
       
       ผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด สามารถส่งผลงานได้ระหว่างวันที่ 15 - 18 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลา 10.00 - 15.30 น. ณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชั้น 29 ถ.สีลม กรุงเทพฯ โทร.0-2230-2560,0-2230-2567 โดยสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ //www.bangkokbank.com
       
       จากนั้นพิธีมอบรางวัลและจัดแสดงผลงานสู่สาธารณชน จะมีขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2555 ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถ.ราชดำเนิน

เผ่าทอง ทองเจือ,คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช และถวัลย์ ดัชนี ร่วมแถลงข่าว

 

       คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช กรรมการมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การประกวดหัตถศิลป์บัวหลวง ในครั้งที่ 1 นี้ เลือกส่งเสริมงานหัตถศิลป์ประเภท งานสลักดุน เป็นประเภทแรก ก่อนที่จะเปลี่ยนไปประกวดงานหัตถศิลป์ประเภทอื่นๆในการประกวดหัตถศิลป์บัวหลวง ครั้งต่อๆ ไป
       
       “นอกจากเราจัดประกวดงานสลักดุนแนวประเพณีแล้ว เรายังจัดประกวดงานสลักดุนแนวสร้างสรรค์ด้วย เราต้องการให้งานสลักดุนอยู่ในประเทศไทยเรา ให้คนไทยเห็นความสำคัญ ให้ช่างของเรามีโอกาสในการคิดสร้างสรรค์ผลงาน
       
       แม้ว่าในส่วนที่สร้างโดยยึดตามแบบโบราณหรือแนวประเพณี ก็เป็นสิ่งที่เราควรอนุรักษ์เอาไว้ หรือจะเป็นงานแนวสร้างสรรค์ แบบสมัยใหม่ ที่เราสามารถนำไปใช้สอยได้ ล้วนแต่เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนหรือประชาชนทั่วไปที่อยากจะสะสมงานพวกนี้เอาไว้
       
       งานในแนวโบราณ ถ้าทำออกมาสวยงามจริงๆ เราก็ต้องเอาไปเก็บตู้เซฟ หรืออะไร แต่ถ้าเป็นงานแนวสมัยใหม่เราก็สามารถเอาไปใช้ได้ อย่างเข็มขัดที่คุณ Rolf สวมมาในวันนี้
       
        เพราะฉะนั้นเราอยากจะส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสนใจทางด้านนี้ เพื่อที่จะให้ช่างของเรามีโอกาสคิดสร้างสรรค์ผลงานไปเรื่อยๆ เราคิดว่าถ้ามีการเผยแพร่ออกไป และคนเห็นความสวยงามแล้ว ชาวต่างชาติเค้าก็จะหันมาสนใจงานของเราด้วย”

เผ่าทอง ทองเจือ บอกเล่าเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ งานสลักดุนภาชนะโลหะ

 

       ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ ของงานสลักดุนภาชนะโลหะในเมืองไทย
        
        โดย อ.เผ่าทอง ทองเจือ
       
       “มันเป็นจารีตสำหรับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดเลย ในเรื่องของงานสลักดุน เราผ่านยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มา เมื่อสัก 8,000 ปีเนี่ย หลังจากนั้นเราก็จะเริ่มมีงานสลักดุนเกิดขึ้น เราพบงานสลักดุนทั้งในวัฒนธรรมมอญที่ทราวดี ทั้งในพม่า และประเทศในเอเชียอื่นๆ เราพบกับการสลักดุนในวัฒนธรรมเขมร ซึ่งทั้งสองวัฒนธรรมทั้งมอญกับเขมรให้อิทธิพลกับการสลักดุนในประเทศของเรามาก รวมไปถึงทั้งอินเดียแล้วก็จีนด้วย
        
       
       ในสมัยโบราณที่เราพบชิ้นงานสลักดุน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นทองสลักดุนเป็นพระพุทธรูป หรือแผ่นทองสลักดุนเป็นรูปเทพเจ้าของฮินดู เราพบงานสลักดุนทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู
        
       
       งานสลักดุนค่อยๆพัฒนามาจนถึงในสมัยสุโขทัย เราเริ่มพบวัตถุเครื่องใช้เป็นของมีค่าต่างๆในวัฒนธรรมของสุโขทัยของเราเป็นจำนวนมาก ของกัมพูชาจะพบงานสลักดุนในข้าวของถวายองค์เทพเจ้า พระอิศวรก็ดี พระนารายก็ดี พระพรหมก็ดี ซึ่งเป็นประติมากรรมหิน
        
       
        ในพิธีกรรมของเค้าเวลาจะมีการถวายสักการะเต็มรูปแบบเนี่ย ก็จะทำเครื่องสลักดุนด้วยทองคำ โลหะที่ถูกยอมรับว่ามีค่าที่สุด ไม่ว่าจะเป็นมงกุฎ ตุ้มหู กำไลต้นแขน กำไลข้อมือ หรือแหวนทั้งหลายเนี่ย รวมไปถึงเข็มขัดต่างๆ ในประติมากรรมเขมรเป็นต้นแบบซึ่งทำให้เราได้เห็นว่ามีการใช้ทองคำสลักดุน ประดับเป็นเครื่องประดับจริงๆถวายองค์เทวรูป นุ่งผ้าให้ และยกผ้าไหมจริงๆถวายให้กับองค์เทวรูป เหมือนกับว่าเป็นมนุษย์จริงๆ
       
       เพราะฉะนั้นงานสลักดุนจะอยู่ในวิถีชีวิตของเราทั้งในลักษณะของเป็นเทพและเป็นลักษณะของเครื่องใช้พระมหากษัตริย์ เพราะถือว่าทรงเป็นสมมุติเทพเหมือนกัน
       
       ต่อมาเครื่องสลักดุนทองหรือเงินต่างๆเนี่ย ได้พัฒนามากระทั่งอยู่ในวิถีชีวิตของเสนาบดี ข้าราชการ และสามัญชน ในสมัยอยุธยาก็ดี รัตนโกสินทร์ก็ดีเนี่ย เราพบลักษณะของการสลักดุนโลหะมีค่าต่างๆเนี่ยเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างพระปรางค์วัดราชบูรณะที่พระนครศรีอยุธยา เป็นกรุที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือของการสลักดุนอย่างเต็มรูปแบบ
        
       เรื่อยมาจนสมัยรัตนโกสินทร์ ชิ้นงานที่สำคัญที่สุดก็น่าจะเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขันธ์ไชยศรี พระแส้จามรี ฉลองพระบาทเชิงงอน ไม้เท้า หรือทานพระกร วัตถุทั้ง 5 สิ่งนี้ถือเป็นตัวแทนของงานสลักดุนในยุครัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์ที่สุด
       
       จากงานสลักดุนสมัยรัชกาลที่ 1 2 3 พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 งานสลักดุนของเราจะเริ่มตกต่ำลง หลังจากเราเปิดประเทศไปคบหาตะวันตก ชิ้นงานต่างๆที่เป็นงานจากต่างประเทศ เป็นตะวันตกพัฒนาเข้ามาเยอะ ประกอบกับเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึง สงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจของโลกจะตกต่ำลงมาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นองค์อุปถัมภ์ในเรื่องของการทำงานสลักดุนก็เริ่มเปลี่ยนมือไป
       หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 สถาบันพระมหากษัตริย์ลดบทบาทในการเป็นองค์อุปถัมภ์ในด้านศิลปะทุกแขนง ทำให้งานสลักดุนและงานศิลปะแขนงต่างๆลดน้อยถอยลงไปเป็นจำนวนมาก
       
       เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ธนาคารกรุงเทพ เริ่มมาทำงานประกวดศิลปะต่างๆ ถือเป็นการฟื้นฟูศิลปกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศเกือบจะทุกแขนงแม้จะยังไม่ครบในขณะนั้น
       
       ในเชิงการวิเคราะห์ของเราก็จะมองว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เพราะว่าธนาคารเข้ามาทำบทบาทหน้าที่ในส่วนที่ขาดหายไปในด้านศิลปวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นต้องถือว่าธนาคารกรุงเทพเป็นองค์กรแรกที่ทำในเรื่องนี้ ในเรื่องของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ในปัจจุบันก็จะมีหน่วยงานต่างๆของราชการก็ดี ของเอกชนก็ดี พยายามที่จะเข้ามาช่วยฟื้นฟูในเรื่องนี้
       
       แต่งานสลักดุนมันต้องใช้โลหะวัตถุที่ต้องมีราคามาก เพราะฉะนั้นคนที่จะอุปถัมภ์ มีกำลังทรัพย์ที่จะจัดจ้างหรือจัดซื้อก็ลดน้อยลง โอกาสครั้งนี้ก็เป็นโอกาสครั้งสำคัญที่จะฟื้นฝีมือขึ้นมา
       
       ในการประกวดครั้งนี้เราจะมี 2 รูปแบบคือแบบประเพณีนิยม ซึ่งประโยชน์ใช้สอยจะน้อยลง เพราะเกี่ยวข้องกับราชสำนัก พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งคนทั่วไปก็ไม่สามารถเป็นผู้บริโภคชิ้นงานเหล่านี้ได้
       
       แต่งานสลักดุนอีกประเภทที่เราจัดประกวดด้วยในครั้งนี้ คืองานที่ออกแบบให้ร่วมสมัย คนทั่วไปสามารถบริโภคได้ และสามารถนำไปเป็นประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นในการประกวดครั้งนี้เรามี 2 รูปแบบ ช่างศิลป์ หรือศิลปินที่สันทัดด้านไหน ก็สามารถส่งชิ้นงานเข้าประกวดได้ และการประกวดครั้งนี้เรามีเวลาให้ศิลปินมีเวลาร่วมปีสำหรับการสร้างชิ้นงาน”
       
       Photo by ธัชกร กิจไชยภณ

ผลงานของ อัฐพล คำวงษ์
       

คณะนักแสดงจากลำปาง ที่สวมใส่งานสลักดุนภาชนะโลหะแนวประเพณี ผลงานของ วิถี พานิชพันธุ์

 

Mr.Rolf Von Bueren แห่ง Lotus Arts de Vive หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน มาร่วมงานพร้อมโชว์เข็มขัดที่สร้างสรรค์ขึ้นเอง

ขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
คุณธัชกร กิจไชยภณ

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 22 สิงหาคม 2555
Last Update : 22 สิงหาคม 2555 10:57:29 น. 0 comments
Counter : 2126 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.